ข้ามไปเนื้อหา

รายพระนามฟาโรห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟาโรห์แห่งอียิปต์
มงกุฎสเกนต์ที่ผสมระหว่างมงกุฎแดงแห่งอียิปต์ล่างกับมงกุฎขาวแห่งอียิปต์บน
ภาพฟาโรห์แบบทั่วไป
รายละเอียด
พระราชอิสริยยศตำแหน่งห้าพระนาม
กษัตริย์องค์แรกนาร์เมอร์ (เมเนส)
กษัตริย์องค์สุดท้าย
[2]
สถาปนาเมื่อป. 3100 ปีก่อนคริสตกาล
การล้มล้าง
  • 343 ปีก่อนคริสตกาล
    (ฟาโรห์ชาวอียิปต์พระองค์สุดท้าย)[1]
  • 30 ปีก่อนคริสตกาล
    (ฟาโรห์กรีกองค์สุดท้าย)
  • ค.ศ. 313
    (จักรพรรดิโรมันพระองค์สุดท้ายที่ได้รับฉายาว่าทรงเป็นฟาโรห์)[2]
ที่ประทับแตกต่างกันไปตามยุคสมัย
ผู้แต่งตั้งเทวสิทธิ์

ตำแหน่ง "ฟาโรห์" ได้ถูกใช้สำหรับผู้ปกครองอียิปต์โบราณที่ทรงปกครองหลังจากการรวมดินแดนอียิปต์บนและอียิปต์ล่างโดยฟาโรห์นาร์เมอร์ในช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์เมื่อประมาณ 3100 ปีก่อนคริสตกาล อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งดังกล่าวไม่ได้ถูกใช้เพื่อกล่าวถึงผู้ปกครองแห่งอียิปต์ในในช่วงเวลาดังกล่าวจนกระทั่งถึงสมัยของราชวงศ์ที่สิบแปดของสมัยราชอาณาจักรใหม่เมื่อประมาณ 1400 ปีก่อนคริสตกาล นอกจากตำแหน่งฟาโรห์ที่ถูกใช้เรียกผู้ปกครองคนในช่วงเวลาต่อมาแล้ว ยังปรากฏตำแหน่งราชวงศ์อียิปต์โบราณที่ผู้ปกครองแห่งอียิปต์ทรงใช้ ซึ่งยังคงใช้อย่างคงที่ตลอดเส้นเวลาประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ เมื่อเริ่มแรกประกอบด้วยพระนามฮอรัส, พระนามต้นกกและผึ้ง (nswt-bjtj) และพระนามสองสตรี (nbtj) โดยมีการเพิ่มการใช้พระนามฮอรัสทองคำ, พระนามประสูติ และพระนามครองราชย์กันอย่างต่อเนื่องกันในช่วงราชวงศ์ที่เข้ามาปกครองหลังจากนั้น

อียิปต์ถูกปกครองอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยในบางส่วนโดยฟาโรห์ชาวพื้นเมืองเป็นระยะเวลาประมาณ 2,500 ปี จนกระทั่งถูกยึดครองโดยราชอาณาจักรแห่งคูชในปลายศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล ซึ่งผู้ปกครองได้นำตำแหน่งฟาโรห์แบบดั้งเดิมมาใช้สำหรับพระองค์เอง หลังจากการพิชิตโดยชาวคูช อียิปต์เข้าสู่ช่วงเวลาของการปกครองโดยชาวพื้นเมืองที่เป็นอิสระอีกช่วงหนึ่งก่อนที่จะถูกยึดครองอีกครั้งโดยจักรวรรดิอะคีเมนิด ซึ่งผู้ปกครองเกล่านั้นทรงได้รับฉายาว่า "ฟาโรห์" ด้วย ฟาโรห์ชาวพื้นเมืองพระองค์สุดท้ายของอียิปต์คือ เนคทาเนโบที่ 2 ซึ่งทรงเป็นฟาโรห์ก่อนที่จักรวรรดิอะคีเมนิดจะพิชิตอียิปต์เป็นครั้งที่สอง

การปกครองของจักรวรรดิอะคีเมนิดเหนือดินแดนอียิปต์สิ้นสุดลงโดยการพิชิตของอเล็กซานเดอร์มหาราชเมื่อ 332 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากนั้นก็ถูกปกครองโดยฟาโรห์ชาวกรีกจากราชวงศ์ปโตเลมี ส่วนการปกครองของราชวงศ์ปโตเลมีและเอกราชของอียิปต์สิ้นสุดลงเมื่ออียิปต์กลายเป็นมณฑลหนึ่งของจักรวรรดิโรมันเมื่อ 30 ปีก่อนคริสตกาล จักรพรรดิออกุสตุสและจักรพรรดิโรมันพระองค์ต่อมาได้รับการขนานพระนามว่าทรงเป็นฟาโรห์ในอียิปต์จนถึงรัชสมัยของจักรพรรดิมักซีมินัส ดาซาในปี ค.ศ. 314

ช่วงเวลาที่ระบุในรายพระนามฟาโรห์เป็นช่วงเวลาโดยประมาณ โดยอ้างอิงจากลำดับเหตุการณ์ของอียิปต์โบราณเป็นหลัก โดยส่วนใหญ่อ้างอิงตามฐานข้อมูลของอียิปต์ดิจิทัลสำหรับมหาวิทยาลัย (Digital Egypt for Universities)[3] ที่พัฒนาโดยพิพิธภัณฑ์โบราณคดีอียิปต์เพตรี ส่วนช่วงเวลาอื่นๆ ที่นำมาจากหน่วยงานอื่นอาจจะระบุแยกไว้ต่างหาก

บันทึกพระนามแห่งอียิปต์โบราณ

[แก้]

รายพระนามฟาโรห์ในปัจจุบันได้อ้างอิงจากบันทึกทางประวัติศาสตร์ รวมถึงบันทึกพระนามกษัตริย์อียิปต์โบราณและประวัติศาสตร์ในช่วงหลัง เช่น แอกิปเทียกาของแมนิโธ ตลอดจนหลักฐานทางโบราณคดี เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลโบราณ นักไอยคุปต์วิทยาและนักประวัติศาสตร์ได้เตือนให้ระมัดระวังในเรื่องความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง และความสมบูรณ์ของแหล่งข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งข้อมูลหลายแหล่งได้ถูกเขียนขึ้นหลังจากรัชสมัยที่ผู้เขียนได้บันทึกข้อมูลเป็นระยะเวลานาน[4] ส่วนปัญหาเพิ่มเติม คือ รายพระนามกษัตริย์ในสมัยโบราณมักจะปรากฏส่วนที่เสียหาย ไม่สอดคล้องกัน และ/หรือมีการเลือกที่จะบันทึกพระนามของฟาโรห์พระองค์นั้นๆ

บันทึกพระนามกษัตริย์โบราณที่ถูกค้นพบและเป็นที่รู้จักดังต่อไปนี้ (พร้อมกับช่วงสมัยราชวงศ์ที่บันทึกพระนามได้ถูกเชียนขึ้น)[5]

  • ตราประทับของฟาโรห์เดน (ราชวงศ์ที่หนึ่ง) ค้นพบรายพระนามบนตราประทับทรงกระบอกในสุสานของฟาโรห์เดน ซึ่งปรากฏรายพระนามที่เป็นพระนามฮอรัสของผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่หนึ่งทั้งหมดตั้งแต่ฟาโรห์นาร์เมอร์จนถึงฟาโรห์เดน[6]
  • ศิลาปาแลร์โม (ราชวงศ์ที่ห้า) แกะสลักบนแผ่นหินบะซอลต์โอลิวีนที่แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จึงส่งผลให้จารึกดังกล่าวอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์
  • กระดานเขียนกิซา (ราชวงศ์ที่หก) เขียนด้วยหมึกสีแดง เขียว และดำ บนยิปซัมและไม้ซีดาร์ เป็นบันทึกพระนามที่มีการเลือกที่จะบันทึกพระนามของฟาโรห์มาก
  • หินสลักแห่งซัคคาราใต้ (ราชวงศ์ที่หก) แกะสลักบนแผ่นหินบะซอลต์สีดำ เป็นบันทึกพระนามที่มีการเลือกที่จะบันทึกพระนามของฟาโรห์มาก
  • บันทึกพระนามแห่งคาร์นัก (ราชวงศ์ที่สิบแปด) แกะสลักบนหินปูน เป็นบันทึกพระนามที่มีการเลือกที่จะบันทึกพระนามของฟาโรห์มาก
  • บันทึกพระนามแห่งอไบดอสของฟาโรห์เซติที่ 1 (ราชวงศ์ที่สิบเก้า) แกะสลักบนหินปูน เป็นบันทึกพระนามที่มีความละเอียดมาก แต่ไม่บันทึกพระนามของผู้ปกครองบางส่วนในช่วงสมัยระหว่างกลางที่หนึ่งและผู้ปกครองทั้งหมดในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สองแห่งอียิปต์
  • บันทึกพระนามแห่งอไบดอสของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 2 (ราชวงศ์ที่สิบเก้า) แกะสลักบนหินปูน เป็นบันทึกพระนามที่มีการเลือกที่จะบันทึกพระนามของฟาโรห์มาก
  • บันทึกพระนามแห่งแรเมสเซียม (ราชวงศ์ที่สิบเก้า) แกะสลักบนหินปูน ซึ่งบันทึกพระนามของฟาโรห์ส่วนใหญ่จากสมัยราชอาณาจักรใหม่จนถึงฟาโรห์ราเมสเซสที่ 2
  • บันทึกพระนามแห่งซัคคารา (ราชวงศ์ที่สิบเก้า) แกะสลักบนหินปูน เป็นบันทึกพระนามที่มีความละเอียดมาก แต่ไม่บันทึกพระนามของผู้ปกครองส่วนใหญ่จากราชวงศ์ที่หนึ่งไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • บันทึกพระนามแห่งตูริน (ราชวงศ์ที่สิบเก้า) เขียนด้วยหมึกสีแดงและสีดำบนกระดาษปาปิรุส น่าจะเป็นบันทึกพระนามกษัตริย์ที่สมบูรณ์ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งมีความเสียหายอย่างมากในปัจจุบัน
  • บันทึกพระนามแห่งเมดิเนต ฮาบู (ราชวงศ์ที่ยี่สิบ) แกะสลักบนหินปูน และลักษณะคล้ายกับบันทึกพระนามแห่งแรเมสเซียม
  • แอกิปเกียกาของแมนิโธ (สมัยกรีก) อาจจะเขียนบนกระดาษปาปิรุส งานเขียนดั้งเดิมได้สูญหายไปแล้วในปัจจุบัน และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจำนวนมากที่เขียนเกี่ยวกับกับผู้ปกครองบางพระองค์ดูเหมือนเป็นเรื่องที่โกหกขึ้น

ช่วงก่อนยุคราชวงศ์แห่งอียิปต์

[แก้]

ดูบทความหลักที่ อียิปต์โบราณก่อนยุคราชวงศ์

ช่วงก่อนยุคราชวงศ์แห่งอียิปต์ สิ้นสุดลงประมาณ 3100 ปีก่อนคริสตกาล เมื่ออียิปต์รวมเป็นราชอาณาจักรเดียวกันเป็นครั้งแรก

อียิปต์บน

[แก้]

ดูบทความหลักที่ อียิปต์บน และ ราชวงศ์ที่ศูนย์ศูนย์

อียิปต์บน หรือเป็นที่รู้จักกันใน "ดินแดนสีแดง" ประกอบด้วยอาณาเขตพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำไนล์ทางตอนใต้ของอียิปต์ล่าง รวมไปถึงทะเลทรายรอบข้าง

การจัดกลุ่มผู้ปกครองใหม่ตามที่ปรากฏข้างล่าง คือ กลุ่มผู้ปกครองในช่วงก่อนยุคราชวงศ์แห่งอียิปต์บน ซึ่งอยู่ในช่วงปลายของสมัยนะกอดะฮ์ที่ 3 โดยบางครั้งจะเรียกช่วงเวลาดังกล่าวอย่างไม่เป็นทางการว่า ราชวงศ์ที่ศูนย์ศูนย์ (Dynasty 00)

รูปภาพ พระนาม รัชสมัย คำอธิบาย
อา(?) เป็นที่ทราบมาจากเฉพาะภาพสลักที่ค้นพบในทะเลทรายทางตะวันตกในปี ค.ศ. 2004[7] ยังไม่ปรากฏหลักฐานอื่นในการยืนยันเกี่ยวการมีอยู่ของพระองค์
[ฟิงเกอร์ สเนล] การมีอยู่ของผู้ปกครองพระองค์ดังกล่าวยังคงคลุมเครืออยู่มาก[8]
[ฟิช[9]] เป็นที่ทราบมาจากโบราณวัตถุที่ปรากฎพระนามของพระองค์เท่านั้น และพระองค์น่าจะทรงไม่เคยมีตัวตนอยู่จริง[8]
[เอลเลเฟนต์[10]] อาจจะทรงไม่มีตัวตนอยู่จริง
[สตอร์ก[11][12]] อาจจะทรงไม่มีตัวตนอยู่จริง[8]
[บูล] อาจจะทรงไม่มีตัวตนอยู่จริง[8]
[สกอร์เปียนที่ 1] ผู้ปกครองพระองค์แรกของอียิปต์บน

อียิปต์ล่าง

[แก้]

ดูบทความหลักที่ ราชวงศ์ที่ศูนย์แห่งอียิปต์

อียิปต์ล่าง หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม "ดินแดนสีดำ" ประกอบด้วยอาณาเขตทางตอนเหนือของแม่น้ำไนล์ รวมไปถึงพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ และต่อไปนี้เป็นรายพระนามผู้ปกครองที่ยังไม่สมบูรณ์ ดังนี้

รูปภาพ พระนาม รัชสมัย คำอธิบาย

(หมายเลข 1)
[...]ปุ
ไม่ทราบ
หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม

(หมายเลข 2)
ฮเซคิอู (เซคา)
ไม่ทราบ
หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม

(หมายเลข 3)
คายู
ไม่ทราบ
หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม

(หมายเลข 4)
ตีอู (ตียิว)
ไม่ทราบ
หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม

(หมายเลข 5)
เธช (ทเจช)
ไม่ทราบ
หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม

(หมายเลข 6)
เนเฮบ
ไม่ทราบ
หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม

(หมายเลข 7)
วาสเนอร์
ทรงปกครองประมาณหรือก่อนหน้า 3200 ปีก่อนคริสตกาล
หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม

(หมายเลข 8)
เมค
ไม่ทราบ
หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม

(หมายเลข 9)
[...]อา[13]
ไม่ทราบ
หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม
เฮดจู ฮอร์ หลักฐานปรากฏเฉพาะในศิลาแห่งปาแลร์โม
นิ-ฮอร์ ปรากฏหลักฐานเฉพาะจากภาชนะดินและหินที่พบในสุสานใกล้ทาร์ชัน, ทูรา, ทาร์จัน และนากาดา นักวิชาการบางคนเชื่อว่า เซเรค ดังกล่าวเป็นเพียงความพยายามอย่างไม่ละเอียดในการเขียนพระนาม "นาร์เมอร์"[14]
นิ-นิธ ปรากฏหลักฐานจากจารึกในเฮลวานเท่านั้น การอ่านพระนามยังไม่แน่นอน[15]
ฮัต-ฮอร์
ประมาณ 3180 ปีก่อนคริสตกาล
นักวิชาการบางคนเชื่อว่า เซเรค ดังกล่าวเป็นเพียงความพยายามอย่างไม่ละเอียดในการเขียนพระนาม "นาร์เมอร์"[16]
[ดับเบิล ฟอลคอน]
นะกอดะฮ์ที่ 3?? (ศตวรรษที่ 32 ก่อนคริสตกาล)
อาจจะทรงปกครองบริเวณอียิปต์บนด้วย
วาช ปรากฏหลักฐานจากแผ่นศิลาแห่งนาร์เมอร์[17] ประมาณ 3150 ปีก่อนคริสตกาล

ผู้ปกครองช่วงก่อนยุคราชวงศ์: ราชวงศ์ที่ศูนย์

[แก้]

ดูบทความหลักที่ ราชวงศ์ที่ศูนย์แห่งอียิปต์

เนื่องจากผู้ปกครองเหล่านี้ทรงปกครองก่อนหน้าช่วงสมัยราชวงศ์ที่หนึ่ง ซึ่งได้รับการจัดกลุ่มผู้ปกครองอย่างไม่เป็นทางการให้อยู่ใน "ราชวงศ์ที่ศูนย์"

รายพระนามต่อไปนี้ของผู้ปกครองในช่วงก่อนยุคราชวงศ์ ซึ่งอาจจะยังไม่สมบูรณ์ ดังนี้

รูปภาพ พระนาม รัชสมัย คำอธิบาย
[คร็อกโคไดล์]
ประมาณ 3170 ปีก่อนคริสตกาล
อาจจะอ่านพระนามได้ว่า เชนดจู และตัวตนและการมีพระชนม์ชีพอยู่นั้นยังคงเป็นที่ถกเถียง[18]
อิริ-ฮอร์
ประมาณ 3170 ปีก่อนคริสตกาล
ตำแหน่งตามลำดับเวลาที่ถูกต้องนั้นยังไม่แน่ชัด[19]
คา
ประมาณ 3170 ปีก่อนคริสตกาล
พระนามอาจจะอ่าน เซเคนมากกว่า คา ตำแหน่งตามลำดับเวลาที่ถูกต้องนั้นยังไม่แน่ชัด[20]
สกอร์เปียนที่ 2
ประมาณ 3170 ปีก่อนคริสตกาล
อาจจะอ่านพระนามได้ว่า เซอร์เกต อาจจะเป็นพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์นาร์เมอร์[21]

ช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์

[แก้]

สมัยราชวงศ์ตอนต้นแห่งอียิปต์ เริ่มตั้งแต่ประมาณ 3150 - 2686 ปีก่อนคริสตกาล[22]

ราชวงศ์ที่หนึ่ง

[แก้]

ราชวงศ์ที่หนึ่งเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอียิปต์ระหว่าง 3150 - 2890 ปีก่อนคริสตกาล[23]

รูปภาพ พระนาม พระนามประสูติ รัชสมัย คำอธิบาย
นาร์เมอร์
เมเนส? ประมาณ 3150 ปีก่อนคริสตกาล[23] นักวิชาการหลายคนเชื่อว่าเป็นพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เมเนส เนื่องจากปรากฏหลักฐานมากมายที่บ่งชี้เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว[24] พระนามของพระองค์ปรากฏทั่วอียิปต์ และยังพบที่นาฮาล ติลลาห์ในอิสราเอล ซึ่งอยู่ไกลกว่าบริเวณการปกครองของผู้ปกกครองก่อนหน้าพระองค์มาก[25]
อฮา
(เตติ)
เตติ ประมาณ 3125 ปีก่อนคริสตกาล พระนามในภาษากรีก คือ อโธทิส (Athotis)[26] พระองค์อาจจะเป็นพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เมเนส ถึงแม้ว่าฟาโรห์เมเนสจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์นาร์เมอร์มากกว่า[24] การค้าส่วนใหญ่ถูกแทนที่ด้วยการแสวงหาผลประโยชน์โดยตรงจากทรัพยากรผ่านทางด่านหน้าในรัชสมัยของพระองค์[27] พระองค์อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์นาร์เมอร์
ดเจอร์[28] อิเตติ 54 ปี[29] พระนามในภาษากรีก คือ เคนเคเนส (Kénkenes) สุสานของพระองค์ถูกเชื่อว่าเป็นสุสานในตำนานของเทพโอซิริส ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรก ซึ่งทรงมีพระนามฮอรัสทองคำ ความสนใจและการค้ากับพรมแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของอียิปต์ดูเหมือนจะกลับมาอีกครั้งในรัชสมัยของพระองค์[27]
ดเจต[30] อิตา 10 ปี[31] พระนามในภาษากรีก คือ อูเอเนเฟส Ouenephes ซึ่งปรากฏหลักฐานที่ชี้ว่าพระองค์ทรงไม่ได้ครองราชย์อันยาวนาน[32]
เมอร์นิธ ประมาณ 2950 ปีก่อนคริสตกาล อาจจะทรงเป็นฟาโรห์สตรีพระองค์แรกของอียิปต์ พระองค์อาจจะทรงปกครองในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของฟาโรห์เดน ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์ สุสานของพระองค์ก็มีความโดดเด่นในระดับเดียวกับสุสานของฟาโรห์พระองค์อื่นๆ ในช่วงเวลาดังกล่าว
คาสติ เดน[33] 42 ปี[31] พระนามในภาษากรีก: อูซาฟาอิดอส Ousaphaidos ฟาโรห์เดน ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่ปรากฏพระนาม เซนุต-บิติ (พระนามครองราชย์) และทรงเป็นฟาโรห์พระองค์องค์แรกที่ปรากฏทรงสวมมงกุฏคู่ (pschent) ของอียิปต์บนและล่าง[34] ในเทศกาลเซดครั้งที่สองได้รับการยืนยันจากรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งบ่งชี้ว่าพระองค์ทรงอยู่ในพระราชอำนาจมาเป็นระยะเวลานาน[34] ฟาโรห์เดนทรงมุ่งความสนใจไปที่บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของอียิปต์ในรัชสมัยของพระองค์ และยังทรงนำการรบเล็กๆ ในบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ปรากฏในศิลาแห่งปาแลร์โม[35]
เมอร์บิอัป อัดจ์อิบ 10 ปี พระนามในภาษากรีก คือ มิเอบิดอส Miebidós[36]

เป็นที่ทราบจากพระนามเนบติที่คลุมเครือของพระองค์[37]

เซเมอร์เคต อิรี 8 ปีครึ่ง[31] พระนามในภาษากรีก คือ เซเมมเซส Semempsés[38]

ทรงเป็นผู้ปกครองอียิปต์พระองค์แรกที่ทรงมีพระนามเนบติ ตลอดรัชสมัยที่สมบูรณ์ของพระองค์ได้ถูบันทึกไว้ในศิลาแห่งไคโร พบภาชนะหินจำนวนมากของผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์ถูกจารึกด้วยพระนามของฟาโรห์เซเมอร์เคต ดังนั้น พระองค์อาจจะทรงเป็นผู้แย่งชิงพระราชบัลลังก์[39]

กา'อา เกเบห์ 34 ปี พระนามในภาษากรีก คือ บิเอนเนเคส Bienékhes[40]

ทรงปกครองเป็นระยะเวลายาวนาน สุสานของพระองค์เป็นสุสานที่สุดท้ายที่จะมีห้องสุสานย่อย

สเนเฟอร์คา ประมาณ 2900 ปีก่อนคริสตกาล รัชสมัยอันสั้น และไม่ทราบตำแหน่งตามลำดับเวลาที่ถูกต้อง
[ฮอรัส เบิร์ด] ประมาณ 2900 ปีก่อนคริสตกาล รัชสมัยอันสั้น และไม่ทราบตำแหน่งตามลำดับเวลาที่ถูกต้อง

ราชวงศ์ที่สอง

[แก้]

ราชวงศ์ที่สองเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอียิปต์ระหว่าง 2890 - 2686 ปีก่อนคริสตกาล[23]

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ รัชสมัย คำอธิบาย
โฮเทปเซเคมวี[41] เนบติโฮเทป 15 ปี แมนิโธได้เรียกพระองค์ว่า โบอีธอส Boëthos และบันทึกไว้ว่าในรัชสมัยผู้ปกครองพระองค์ดังกล่าวได้เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก พระองค์ทรงยุติประเพณีการฝังพระบรมศพที่สุสานหลวงในอไบดอสที่อุมมุลกะอับ ซึ่งเป็นที่ฝังพระบรมศพของฟาโรห์จากราชวงศ์ที่หนึ่งส่วนใหญ่ โดยเลือกที่จะฝังที่ซักกอเราะฮ์แทนเพื่อให้ใกล้กับเมืองหลวงมากขึ้น[42]
เนบรา[43] 14 ปี พระนามในภาษากรีก คือ คาอิเอคอส Kaíechós (ในช่วงหลังที่คาร์ทูชสมัยรามเสสได้เรียกว่า คาคาว)

ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์แรกที่ใช้สัญลักษณ์ดวงอาทิตย์ในพระนาม อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกับฟาโรห์เวเนก

นิเนทเจอร์[44] บาเนทเจอร์ 43–45 ปี พระนามในภาษากรีก คือ บิโนธริส Binóthris

อาจจะทรงแบ่งดินแดนอียิปต์ระหว่างผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองงค์ ซึ่งพระองค์ถูกกล่าวหาว่าอนุญาตให้สตรีปกครองอย่างฟาโรห์

บา ไม่ทราบ อาจจะทรงเป็นผู้ปกครองอิสระที่ขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์นิเนทเจอร์ หรืออาจจะทรงเคยปกครองในราชวงศ์ที่หนึ่งหรือสาม หรือทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกับฟาโรห์ฮอรัส เบิร์ดก็ได้
เวเนก-เนบติ[45] ประมาณ 2740 ปีก่อนคริสตกาล พระนามในภาษากรีก คือ อูโกทลาส/ทลาส Ougotlas / Tlás

อาจจะทรงเป็นผู้ปกครองอิสระที่ขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์นิเนทเจอร์ หรืออาจจะทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เพอร์อิบเซน, เซเคมอิบ-เพอร์เอนมาอัต หรือราเนบ

วัดจ์เนส วัดจ์-เซน ประมาณ 2740 ปีก่อนคริสตกาล พระนามในภาษากรีก: Tlas (ทลาส)

อาจจะเป็นการตีความสัญลักษณ์อักษรอียิปต์โบราณรูปดอกไม้ที่เรียกว่า เวเนก ผิดไป อาจจะเป็นมกุฎราชกุมารหรือทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกับฟาโรห์เวเนก-เนบติ

นุบเนเฟอร์ ไม่ทราบ อาจจะเป็นพระนามประสูติของฟาโรห์เนบรา และอาจจะทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์วัดจ์เอนเอสหรือฟาโรห์นิเนทเจอร์
เซเนดจ์[46] 47 ปี (สันนิษฐาน) พระนามในภาษากรีก คือ เซเธเนส Sethenes

อาจจะทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เพอร์อิบเซน แต่อย่างไรก็ตาม ข้อสันนิษฐานดังกล่าวก็ยังมีข้อโต้แย้งอยู่มาก[47]

เพอร์อิบเซน เซธ-เพอร์อิบเซน ไม่ทราบ ทรงใช้สัญลักษณ์ของเทพเซธวางไว้เหนือเซเรคของพระองค์แทนสัญลักษณ์นกฟอลคอลของเทพฮอรัส พระองค์ทรงส่งเสริมลัทธิบูชาดวงอาทิตย์ในอียิปต์และลดอำนาจของขุนนาง เจ้านาย และเจ้าครองที่ดิน นักวิชาการบางคนเชื่อว่าพระองค์ปกครองอียิปต์ในช่วงที่แตกแยก[48]
เซเคมอิบ เซเคมอิบ-เพอร์เอนมาอัต ประมาณ 2720 ปีก่อนคริสตกาล อาจจะทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เซธ-เพอร์อิบเซน[49]
เนเฟอร์คาเรที่ 1 25 ปี (ตามแมนิโธ) พระนามในภาษากรีก คือ เนเฟอร์เคเรส Néphercherés

พระนามของพระองค์ปรากฏเฉพาะในบันทึกพระนามจากสมัยรามเสสเท่านั้น และไม่ปรากฏทางหลักฐานที่ยืนยันทางโบราณคดี

เนเฟอร์คาเซเคอร์ 8 ปี พระนามในภาษากรีก คือ เซโซคริส Sesóchris

พระนามของพระองค์ปรากฏเฉพาะในบันทึกพระนามจากสมัยรามเสสเท่านั้น และไม่ปรากฏทางหลักฐานที่ยืนยันทางโบราณคดี ตามตำนานจากสมัยราชอาณาจักรเก่าได้กล่าวว่า ผู้ปกครองพระองค์ดังกล่าวช่วยอียิปต์จากภัยแล้งอันยาวนาน[50]

ฮอรัส ซา ไม่ทราบ อาจจะเป็นรูปแบบหนึ่งของพระนามฮอรัสว่า ซานัคต์ ซึ่งอาจจะเป็นพระนามฮอรัสของฟาโรห์เวเนกหรือฟาโรห์เซเนดจ์ ตำแหน่งตามลำดับเวลาที่ถูกต้องยังคลุมเครือ
—("ฮู'ดเจฟา") 11 ปี (ตามบันทึกพระนามแห่งตูริน) พระนามของพระองค์ปรากฏเฉพาะในบันทึกพระนามจากสมัยรามเสสเท่านั้น "พระนาม" ของพระองค์เป็นคำถอดความที่ชี้ให้เห็นว่าพระนามเดิมของฟาโรห์พระองค์ดังกล่าวได้สูญหายไปแล้วในสมัยรามเสส
คาเซเคม/คาเซเคมวี[51] เบ(เ)บติ 18 ปี พระนามในภาษากรีก คือ เคเนเรส Chenerés

เป็นไปได้ว่าเมื่อฟาโรห์คาเซเคมทรงขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองแห่งอียิปต์บน และพระองค์ทรงเป็นผู้นำดำเนินการทางทหารกับอียิปต์ล่าง ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของพระองค์ เพื่อรำลึกถึงความสำเร็จในการรวมอียิปต์อีกครั้ง พระองค์จึงเปลี่ยนพระนามเป็น คาเซเคมวี[52] และพระนามเซเรคของพระองค์ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ปรากฏสัญลักษณ์ของเทพฮอรัสและเทพเซธ พระองค์ทรงเป็นหนึ่งในผู้ที่ทรงโปรดให้สร้างสิ่งปลูกสร้างพระองค์แรกของอียิปต์ สถานที่ฝังพระบรมศพของพระองค์ที่รู้จักกันในนาม ชูเน็ท-เอซ-เซบิบ ซึ่งเป็นโครงสร้างอิฐโคลนขนาดมหึมา[53]

ช่วงสมัยราชอาณาจักรเก่าแห่งอียิปต์

[แก้]

สมัยราชอาณาจักรเก่าแห่งอียิปต์เป็นช่วงเวลาที่ยาวนานของความมั่นคงและการพัฒนาที่เกิดหลังจากช่วงสมัยราชวงศ์ตอนต้นและก่อนหน้าช่วงสมัยระหว่างกลางที่หนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดความวุ่นวายในดินแดนอียิปต์ สมัยราชอาณาจักรเก่าครอบคลุมตั้งแต่ 2686 ถึง 2181 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์ที่สาม

[แก้]

ราชวงศ์ที่สามเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอียิปต์ระหว่าง 2686 ถึง 2613 ปีก่อนคริสตกาล[23]

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ รัชสมัย คำอธิบาย
ดโจเซอร์[54][55] เนทเจอร์อิเคต 19 หรือ 28 ปี อาจจะประมาณ 2650 ปีก่อนคริสตกาล[56] พระนามในภาษากรีก คือ เซซอร์ธอส Sesorthos และ โทซอร์ธรอส Tosorthros

ทรงโปรดให้สร้างพีระมิดแห่งแรกในอียิปต์ ซึ่งสร้างขึ้นโดยหัวหน้าสถาปนิกและอาลักษณ์นามว่า อิมโฮเทป

เซเคมเคต[57] (ดโจเซอร์-) เตติ 2649–2643 ปีก่อนคริสตกาล พระนามในภาษากรีก คือ ไทเรอิส Tyréis (ในช่วงหลังที่คาร์ทูชสมัยรามเสสได้เรียกฟาโรห์เซเคมเคตว่า เตติ)

ภายในของพีระมิดขั้นบันไดที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ ค้นพบมัมมี่ของทารกอายุ 2 ขวบ[58]

เนบคา? ซานัคต์ ประมาณ 2650 ปีก่อนคริสตกาล มีความเป็นไปได้ที่จะระบุพระนามครองราชย์ "เนบคา" เป็นพระนามของพระองค์ พระนามในภาษากรีก คือ เนเคอร์โอคิส Necherôchis และ เนเคอร์โอเฟส Necherôphes พระองค์อาจจะทรงครองราชย์เป็นเวลา 6 ปี หากพระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ในบันทึกพระนามแห่งตูริน
กาเฮดเจต ไม่ทราบ อาจจะทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ฮูนิ หรืออาจจะภาพแทนฟาโรห์ในรูปแบบโบราณของฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 ไม่ทราบตำแหน่งตามลำดับเวลาที่ถูกต้อง
คาบา 2643–2637 ปีก่อนคริสตกาล อาจจะทรงโปรดให้สร้างพีระมิดขั้นบันไดที่ยังไม่แล้วเสร็จ อาจจะทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ฮูนิ
ฮูนิ[59] 2637–2613 ปีก่อนคริสตกาล พระนามในภาษากรีก คือ อาเคส Áches

อาจจะทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์กาเฮดเจตและฟาโรห์คาบา อาจจะทรงโปรดให้สร้างพีระมิดขั้นบันไดที่ยังไม่แล้วเสร็จและพีระมิดลัทธิอีกหลายแห่งทั่วอียิปต์ มีการสันนิษฐนว่าฟาโรห์ทรงโปรดให้การสร้างพีระมิดแห่งไมดุมมาเป็นระยะเวลานาน แต่อย่างไรก็ตาม ข้อสันนิษฐานดังกล่วได้ถูกหักล้างโดยภาพสลักจากสมัยราชอาณาจักรใหม่ที่ยกย่องฟาโรห์สเนเฟอร์อูแทนที่จะเป็นฟาโรห์ฮูนิ

ราชวงศ์ที่สี่

[แก้]

ราชวงศ์ที่สี่เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอียิปต์ระหว่าง 2613 - 2496 ปีก่อนคริสตกาล[23]

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ รัชสมัย คำอธิบาย
สเนเฟอร์อู เนบมาอัต 2613–2589 ปีก่อนคริสตกาล[23] พระนามในภาษากรีก คือ โซริส Sóris

พระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 48 ปี ทำให้พระองค์ทรงมีเวลามากพอที่จะทรงโปรดให้สร้างพีระมิดไมดุม พีระมิดโค้งงอ และพีระมิดแดง นักวิชาการบางคนเชื่อว่าพระองค์ทรงถูกฝังพระบรมศพอยู่ในพีระมิดแดง และตามที่เชื่อกันมานานแล้วว่าพีระมิดไมดุมไม่ใช่สิ่งปลูกสร้างของฟาโรห์สเนเฟอร์อู แต่เป็นของฟาโรห์ฮูนิแทน เอกสารอียิปต์โบราณได้บันทึกไว้ว่าฟาโรห์สเนเฟอร์อูทรงเป็นผู้ปกครองที่เคร่งศาสนา พระทัยกว้าง และทรงน่ายกย่อง[60]

(คนุม-) คูฟู เม'ดเจดอู 2589–2566 ปีก่อนคริสตกาล พระนามในภาษากรีก คือ เคออปส์ Cheops และ ซูฟิส Suphis

พระองค์ทรงโปรดให้สร้างมหาพีระมิดที่กิซา ฟาโรห์คูฟูทรงถูกมองว่าเป็นกษัตริย์เผด็จการที่โหดร้ายโดยนักเขียนชาวกรีกโบราณ แหล่งข้อมูลจากอียิปต์โบราณได้อธิบายว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองที่ใจดีและเคร่งศาสนา พระองค์ทรงปรากฏอยู่ในบันทึกปาปิรุสเวสต์คาร์ที่บันทึกครั้งแรกในรัชสมัยของฟาโรห์คูฟู ซึ่งอาจจะทำให้นักเขียนชาวกรีกโบราณเชื่อว่าฟาโรห์คูฟูทรงจัดทำบันทึกปาปิรุสเพื่อทรงพยายามสรรเสริญเทพเจ้า

ดเจดเอฟเร เคเปอร์ 2566–2558 ปีก่อนคริสตกาล พระนามในภาษากรีก คือ ราโทอิเซส Rátoises

นักวิชาการบางคนเชื่อว่าพระองค์ทรงโปรดห้สร้างมหาสฟิงซ์ของกิซ่า เพื่อถวายเป็นอนุสาวรีย์แด่ฟาโรห์คูฟู ผู้เป็นพระราชบิดาที่เสด็จสวรรคตไป นอกจากนี้พระองค์ยังทรงโปรดให้ยังสร้างพีระมิดที่อาบู ราวาช อย่างไรก็ตาม พีระมิดดังกล่าวก็ไม่ได้หลงเหลือตัวพีระมิดแล้ว เนื่องจากสันนิษฐานว่าชาวโรมันขโมยวัสดุจากโครงสร้างพีระมิดไป

คาฟเร อูเซอร์อิบ 2558–2532 ปีก่อนคริสตกาล พระนามในภาษากรีก คือ เคเฟรน Chéphren และ ซูฟิสที่ 2 Suphis II

พีระมิดของพระองค์มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองในกิซา นักวิชาการบางคนเชื่อว่าพระองค์ทรงโปรดให้สร้างมหาสฟิงซ์ขึ้นก่อนหน้าฟาโรห์ดเจดเอฟเร หมู่โครงสร้างสุสานของพระองค์มีขนาดใหญ่ที่สุดในที่ราบสูงกิซา

บาคา ประมาณ 2570 ปีก่อนคริสตกาล พระนามในภาษากรีก คือ บิเคอริส Bikheris

อาจจะทรงเป็นเจ้าของพีระมิดแห่งซาวเยต อัล'อัรยันเหนือที่ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ และพระองค์อาจจะทรงไม่มีตัวตนอยู่จริง

เมนคาอูเร คาเคต 2532–2503 ปีก่อนคริสตกาล พระนามในภาษากรีก คือ เมนเคเรส Menchéres

พีระมิดของพระองค์มีขนาดเป็นอันดับสามและเล็กที่สุดในกิซา มีตำนานเล่าว่าพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวของพระองค์สิ้นพระชนม์เนื่องจากพระประชวร และพระองค์ทรงได้ฝังพระราชธิดาไว้ในโลงพระศพทองคำรูปโค

เชปเซสคาฟ เชปเอสเคต 2503–2498 ปีก่อนคริสตกาล พระนามในภาษากรีก คือ เซเบอร์เคเรส Seberchéres

ทรงเป็นเจ้าของสุสานมาสตาบัต อัล-ฟารา'อูน

(ทัมฟ์ธิส) ประมาณ 2500 ปีก่อนคริสตกาล ตามบันทึกของแมนิโธ พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สี่ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันทางโบราณคดีของพระองค์เลย และพระองค์อาจจะทรงไม่มีตัวตนอยู่จริง

ราชวงศ์ที่ห้า

[แก้]

ราชวงศ์ที่ห้าเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอียิปต์ระหว่าง 2498 - 2345 ปีก่อนคริสตกาล[23]

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ รัชสมัย คำอธิบาย
ยูเซอร์คาฟ 2498–2491 ปีก่อนคริสตกาล ทรงถูกฝังพระบรมศพอยู่ในพีระมิดในซักกอเราะฮ์ และพระองค์โปรดให้สร้างวิหารสุริยะแห่งแรกที่อาบูเซอร์
ซาห์อูเร 2490–2477 ปีก่อนคริสตกาล ทรงย้ายสุสานหลวงไปที่อาบูเซอร์ ที่ซึ่งพระองค์ทรงโปรดสร้างพีระมิดของพระองค์ไว้
เนเฟอร์อิร์คาเร คาคาอิ 2477–2467 ปีก่อนคริสตกาล พระราชโอรสในฟาโรห์ซาอูเร พระนามตอนประสูติ คือ ราเนเฟอร์
เนเฟอร์เอฟเร อิซิ 2460–2458 ปีก่อนคริสตกาล พระราชโอรสของฟาโรห์เนเฟอร์อิร์คาเร
เชปเซสคาเร เนทเจอร์อูเซอร์ เพียงไม่กี่เดือน น่าจะทรงขึ้นครองราชย์หลังจากรัชสมัยฟาโรห์เนเฟอร์เอฟเรและทรงครองราชย์เพียงไม่กี่เดือน พระองค์อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ซาห์อูเร[61]
นิอูเซอร์เร อินิ 2445–2422 ปีก่อนคริสตกาล เป็นพระภราดรของฟาโรห์เนเฟอร์เอฟเร ทรงโปรดให้สร้างสุสานของพระองค์ขึ้นอย่างใหญ่โตในสุสานหลวงแห่งอาบูเซอร์
เมนคาอูฮอร์ คาอิอู 2422–2414 ปีก่อนคริสตกาล ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายที่ทรงโปรดให้สร้างวิหารสุริยะ
ดเจดคาเร อิเซซิ 2414–2375 ปีก่อนคริสตกาล ทรงทำการปฏิรูปการบริหารราชอาณาจักรอียิปต์อย่างครอบคลุม ทรงเสวยราชสมบัติยาวนานที่สุดในราชวงศ์ของพระองค์ โดยน่าจะทรงครองราชสมบัติมากกว่า 35 ปี
อูนัส 2375–2345 ปีก่อนคริสตกาล พีระมิดแห่งอูนัสถูกจารึกไว้ด้วยตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดของข้อความพีระมิด นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงโปรดให้สร้างทางเดินแห่งอูนัสขนาดยาว 500 เมตรจากริมฝั่งแม่น้ำไนล์ไปยังสถานที่ฝังพระบรมศพของพระองค์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่จะพิธีฝังพระบรมศพของพระองค์ขึ้นที่นั้น


ราชวงศ์ที่หก

[แก้]

ราชวงศ์ที่หกเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอียิปต์ระหว่าง 2345 - 2181 ปีก่อนคริสตกาล

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ รัชสมัย คำอธิบาย
เตติ 2345–2333 ปีก่อนคริสตกาล ตามบันทึกของแมนิโธ พระองค์ทรงถูกปลงพระชนม์
อูเซอร์คาเร 2333–2332 ปีก่อนคริสตกาล ทรงครองราชย์ตั้งแต่ 1 ถึง 5 ปี พระองค์อาจจะแย่งชิงพระราชบัลลังก์จากฟาโรห์เตติ
เมริเร เปปิที่ 1 2332–2283 ปีก่อนคริสตกาล ทรงเผชิญกับการสมรู้ร่วมคิดและปัญหาทางการเมือง แต่พระองค์กลับทรงกลายเป็นผู้ทรงโปรดให้สร้างสิ่งปลูกสร้างมากที่สุดในราชวงศ์ของพระองค์
เมอร์เอนเร เนมติเอมซาฟที่ 1 2283–2278 ปีก่อนคริสตกาล ทรงปฏิรูปการปกครองของอียิปต์บนโดยการกระจายอำนาจ และทรงรับการยอมจำนนของนิวเบียล่าง
เนเฟอร์คาเร เปปิที่ 2 2278–2183 ปีก่อนคริสตกาล อาจจะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ด้วยพระชนมพรรษา 94 พรรษา หรืออาจจะทรงครองราชย์ได้เพียง 64 ปี
เนเฟอร์คา 2200–2199 ปีก่อนคริสตกาล ทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์เปปิที่ 2 พระองค์อาจจะเป็นพระราชโอรสหรือทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วม พระนามของพระองค์อาจจะเป็นการเขียนผิดของพระนาม "เนเฟอร์คาเร"
เมอร์เอนเร เนมติเอมซาฟที่ 2[62] 1 ปี กับอีก 1 เดือน ประมาณ 2183 ปีก่อนคริสตกาล ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลาอันสั้น พระองค์อาจจะเป็นพระราชโอรสที่ทรงมีพระชนมายุมากของฟาโรห์เปปิที่ 2
นิธอิเกอร์ติ
(นิโตคริส)
ซิพทาห์ที่ 1 ช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 2182–2179 ปีก่อนคริสตกาล เป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เนทเจอร์คาเร ฟาโรห์บุรุษพระองค์นี้ทรงเป็นที่มาของสมเด็จพระราชินีนิโตคริส ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชินีในตำนานของเฮโรโดตุสและแมนิโธ[63] บ้างก็จัดให้พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่เจ็ดและแปดรวมกัน


ช่วงสมัยระหว่างกลางที่หนึ่งแห่งอียิปต์

[แก้]

สมัยระหว่างกลางครั้งที่หนึ่ง (ระหว่าง 2183–2060 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นช่วงเวลาแห่งความระส่ำระสายและความวุ่นวายระหว่างการล่มสลายของราชอาณาจักรเก่าแห่งอียิปต์และการสถาปนาของราชอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์

ราชอาณาจักรเก่าได้ล่มสลายอย่างรวดเร็วหลังจากการเสด็จสวรรคตของฟาโรห์เปปิที่ 2 ที่ทรงครองราชย์ยาวนานกว่า 64 ปี และอาจจะยาวนานถึง 94 ปี ซึ่งยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในประวัติศาสตร์ ช่วงปลายรัชสมัยของพระองค์เต็มไปด้วยความไร้ประสิทธิภาพ เนื่องจากทรงมีพระชนมพรรษามาก ทำให้ดินแดนทั้งสองของอียิปต์ก็แยกออกจากกันและผู้ปกครองท้องถิ่นก็ต้องรับมือกับทุพภิกขภัยที่เกิดขึ้น

ฟาโรห์จากราชวงศ์ที่เจ็ดและแปดแห่งอียิปต์ ซึ่งเป็นกลุ่มฟาโรห์ที่สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากราชวงศ์ที่หก ทรงพยายามรักษาอำนาจบางส่วนในเมมฟิส แต่ก็ต้องพึ่งพาผู้ปกครองท้องถิ่นที่มีอำนาจมากเป็นอันมาก หลังจากผ่านไป 20 ถึง 45 ปี กลุ่มฟาโรห์ที่เมมฟิสก็ทรงถูกโค่นล้มโดยฟาโรห์กลุ่มใหม่ที่ศูนย์กลางอำนาจอยู่ในเฮราคลีโอโพลิส มักนา และไม่นานหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้ปกครองจากเมืองธีบส์ได้ลุกฮือต่อต้านผู้ปกครองท้องถิ่นทางตอนเหนือและรวมดินแดนอียิปต์บนเข้าด้วยกันอีกครั้ง เมื่อประมาณ 2055 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 ผู้เป็นพระราชโอรสและผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์อินเทฟที่ 3 ได้ทรงเอาชนะฟาโรห์จากเฮราคลีโอโพลิส มักนา และทรงรวมดินแดนทั้งสองเข้าด้วยกัน จึงเป็นการเริ่มต้นของสมัยราชอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่เจ็ดและแปด

[แก้]

ราชวงศ์ที่เจ็ดและแปดแห่งอียิปต์ได้ปกครองอียิปต์เป็นระยะเวลาประมาณ 20 - 45 ปี ซึ่งประกอบด้วยฟาโรห์ที่ทรงขึ้นครองราชย์เป็นระยะเวลาอันสั้นจำนวนหลายพระองค์ ซึ่งทั้งหมดทรงปกครองอียิปต์จากเมมฟิสครอบคลุมดินแดนอียิปต์ที่อาจจะถูกแบ่งแยก และไม่ว่าในกรณีใด ฟาโรห์ก็ทรงมีพระราชอำนาจจำกัดเพียงเพราะระบบศักดินาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งได้พัฒนาขึ้นจากการบริหารของรัฐ รายพระนามด้านล่างนี้ได้อ้างอิงจากบันทึกพระนามแห่งอไบดอสที่บันทึกขึ้นนช่วงรัชสมัยของฟาโรห์เซติที่ 1 และอ้างอิงมาจาก Handbuch der ägyptischen Königsnamen[64] ของเยือร์เกิน ฟ็อน เบ็คเคอราธ และจากการตีความบันทึกพระนามแห่งตูรินล่าสุดโดยคิม ไรฮอล์ท ซึ่งเป็นอีกบันทึกพระนามหนึ่งที่บันทึกขึ้นในสมัยรามเสส[65]

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เมนคาเร ปรากฏหลักฐานที่ยืนยันเกี่ยวกับพระองค์จากชิ้นส่วนภาพสลักจากหลุมฝังพระบรมศพของสมเด็จพระราชินีนิอิธ[66][67][68] น่าจะเป็นช่วงเวลาอันสั้นประมาณ 2181 ปีก่อนคริสตกาล
เนเฟอร์คาเรที่ 2 ไม่ทราบ
เนเฟอร์คาเรที่ 3 เนบิ ทรงได้รับการยืนยันโดยคำจารึกในหลุมฝังพระบรมศพของพระนางอังค์เอสเอนเปปิ ผู้เป็นพระราชมารดา ทรงโปรดให้เริ่มสร้างพีระมิดในซักกอเราะฮ์ ไม่ทราบ
ดเจตคาเร เชมาอิ ไม่ทราบ
เนเฟอร์คาเรที่ 4 เคนดู ไม่ทราบ
เมอร์เอนฮอร์ ไม่ทราบ
สเนเฟอร์คา? เนเฟอร์คามิน ไม่ทราบ
ไนคาเร อาจจะทรงได้รับการยืนยันจากตราประทับทรงกระบอก ไม่ทราบ
เนเฟอร์คาเรที่ 5 เทเรรู ไม่ทราบ
เนเฟอร์คาฮอร์ ทรงได้รับการยืนยันจากตราประทับทรงกระบอก ไม่ทราบ
เนเฟอร์คาเรที่ 6 เปปิเซเนบ ไม่ทราบ - 2171 ปีก่อนคริสตกาล
เนเฟอร์คามิน อานู ประมาณ 2170 ปีก่อนคริสตกาล
กาคาเร อิบิ ทรงโปรดให้สร้างพีระมิดอย่างไม่ได้สมบูรณ์มากนักที่ซักกอเราะฮ์ ซึ่งปรากฏตัวอย่างสุดท้ายของการจารึกข้อความพีระมิด 2175–2171 ปีก่อนคริสตกาล
เนเฟอร์คาอูเร ทรงได้รับการยืนยันจากบันทึกคำสั่งจำนวนหนึ่งถึงสามฉบับจากวิหารแห่งมินที่คอปตอส 2167–2163 ปีก่อนคริสตกาล
เนเฟอร์คาอูเร คูวิฮัปอิ ทรงได้รับการยืนยันจากบันทึกคำสั่งจำนวนแปดฉบับจากวิหารแห่งมิน และคำจารึกในหลุมฝังศพของราชมนตรีนามว่า เชมาย 2163–2161 ปีก่อนคริสตกาล
เนเฟอร์อิร์คาเร เปปิ พระองค์อาจจะทรงเป็นเจ้าของพระนามฮอรัส "เดเมดจ์อิบทาวี" ซึ่งในกรณีดังกล่าว พระองค์ทรงได้รับการยืนยันโดยบันทึกคำสั่งจากวิหารแห่งมิน 2161–2160 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์ที่เก้า

[แก้]

ราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์[69] ปกครองระหว่าง 2160 - 2130 ปีก่อนคริสตกาล

บันทึกพระนามแห่งตูรินปรากฏการบันทึกพระนามของฟาโรห์รวมทั้งราชวงศ์ที่เก้าและสิบปกครองจำนวน 18 พระองค์ และพบว่าพระนามจำนวน 12 พระนามได้สูญหาย และพระนามอีกจำนวน 4 พระนามที่หลงเหลืออยู่บางส่วน[70]

รูปภาพ พระนาม คำอธิบาย รัชสมัย
เมริอิบเร เคติที่ 1

(อัคธอเอสที่ 1)

แมนิโธกล่าวว่า ฟาโรห์อัคธอเอสทรงสถาปนาราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์ 2160 ปีก่อนคริสตกาล – ไม่ทราบ[23]
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
เนเฟอร์คาเรที่ 7 ไม่ทราบ
เนบคาอูเร เคติที่ 2

(อัคธอเอสที่ 2)

ไม่ทราบ
เซเนนห์— หรือ เซทุต ไม่ทราบ
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
เมริ— ไม่ทราบ
เชด— ไม่ทราบ
ฮ— ไม่ทราบ
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
อูเซอร์(?)[...] ไม่ทราบ
อิมโฮเทป ทรงเป็นผู้ปกครองในช่วงเวลาสั้น ๆ ของราชวงศ์ที่เก้า พบหลักฐานยืนยันจากเฉพาะศิลาจารึกในวาดิ ฮัมมามาต[71][72][73][74][75] ไม่ทราบตำแหน่งตามลำดับเวลาที่แน่ชัด ไม่ทราบ

ราชวงศ์ที่สิบ

[แก้]

ราชวงศ์ที่สิบเป็นกลุ่มผู้ปกครองท้องถิ่นที่ทรงมีอิทธิพลเหนืออียิปต์ล่างและปกครองตั้งแต่ 2130 ถึง 2040 ปีก่อนคริสตกาล[23]

รูปภาพ พระนาม คำอธิบาย รัชสมัย
เมริฮัตฮอร์ 2130 ปีก่อนคริสตกาล – ไม่ทราบ
เนเฟอร์คาเรที่ 8 ระหว่าง 2130 และ 2040 ปีก่อนคริสตกาล
วาห์คาเร เคติที่ 3

(อัคธอเอสที่ 3)

ไม่ทราบ
เมริคาเร ไม่ทราบ – 2040 ปีก่อนคริสตกาล
พระนามสูญหาย ไม่กี่เดือน


ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด

[แก้]

ราชวงศ์ที่สิบเอ็ดได้รับการสถาปนาขึ้นจากกลุ่มผู้ปกครองท้องถิ่นแห่งธีบส์ที่รับใช้ราชสำนักของฟาโรห์จากราชวงศ์ที่แปด, เก้า, หรือสิบแห่งอียิปต์ โดยมีต้นเชื้อสายมาจากอียิปต์บน ซึ่งปกครองตั้งแต่ 2134 - 1991 ปีก่อนคริสตกาล

รูปภาพ พระนาม คำอธิบาย รัชสมัย
อินโยเทฟ ผู้อาวุโส เป็นผู้ปกครองท้องถิ่นแห่งธีบส์ (อิริ-พัต) ที่รับใช้ราชสำนักของฟาโรห์ไม่ทราบพระนาม ซึ่งต่อมาถือว่าเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบเอ็ด ไม่ทราบ

ผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของอินโยเทฟ ผู้อาวุโส เริ่มต้นด้วยฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 1 กลายทรงเป็นอิสระจากเจ้าผู้ครองทางเหนือและในที่สุดก็สามารถพิชิตอียิปต์ได้ในรัชสมัยของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เทปิอา เมนทูโฮเทปที่ 1 เป็นผู้ปกครองท้องถิ่นแห่งธีบส์ (เทปิ-อา) แต่อาจจะทรงปกครองอย่างอิสระ ไม่ทราบ – 2133 ปีก่อนคริสตกาล
เซเฮอร์ทาวี อินเทฟที่ 1 ทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์พระองค์แรกที่ใช้พระนามฮอรัส 2133 – 2117 ปีก่อนคริสตกาล[23]
วาห์อังค์ อินเตฟที่ 2 ทรงพิชิตเมืองอไบดอสและเขตปกครองท้องถิ่นแห่งอไบดอส 2117 - 2068 ปีก่อนคริสตกาล[23]
นัคต์เนบเทปเนเฟอร์ อินเตฟที่ 3 ทรงพิชิตอัสยูฏและอาจจะทรงย้ายขึ้นไปทางเหนือจนถึงเขตปกครองท้องถิ่นลำดับที่สิบเจ็ด[76] 2068 - 2060 ปีก่อนคริสตกาล[23]

ช่วงสมัยราชอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์

[แก้]

สมัยราชอาณาจักรกลาง (ระหว่าง 2040 – 1802 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นช่วงเวลาที่นับตั้งแต่สิ้นสุดช่วงสมัยระหว่างกลางที่หนึ่งจนถึงช่วงเริ่มต้นของสมัยระหว่างกลางที่สอง นอกจากราชวงศ์ที่สิบสองแล้ว นักวิชาการบางคนยังรวมให้ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด สิบสาม และสิบสี่อยู่ในสมัยราชอาณาจักรกลางอีกด้วย

สมัยอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์สามารถสังเกตเห็นได้จากการขยายตัวของการค้านอกราชอาณาจักรที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้

ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด (ช่วงที่สอง)

[แก้]

ช่วงที่สองของราชวงศ์ที่สิบเอ็ดจะถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยราชอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เนบเฮเทปเร เมนทูโฮเทปที่ 2[77] ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 ทรงพิชิตอียิปต์ได้ทั้งหมดในช่วงประมาณ 2015 ปีก่อนคริสตกาล จึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของราชอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์ และพระองค์ทรงกลายเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของสมัยราชอาณาจักรกลาง
  • 2060–2040 ปีก่อนคริสตกาล[23]
    (ฟาโรห์แห่งอียิปต์บนเท่านั้น)
  • 2040–2009 ปีก่อนคริสตกาล[23]
    (ฟาโรห์แห่งอียิปต์บนและล่าง)
สอังค์คาเร เมนทูโฮเทปที่ 3[78] ทรงส่งคณะเดินทางครั้งแรกไปยังดินแดนแห่งพุนต์ของสมัยราชอาณาจักรกลาง 2010-1998 ปีก่อนคริสตกาล
เนบทาวีเร เมนทูโฮเทปที่ 4[79] ทรงเป็นฟาโรห์ที่คลุมเครือ ซึ่งไม่ปรากฏอยู่ในบันทึกพระนามในเวลาช่วงหลัง ไม่ทราบสถานที่ฝังพระบรมศพของพระองค์ พระองค์อาจจะทรงโดนแย่งชิงพระราชบัลลังก์โดยราชมนตรีและผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์พระนามว่า อเมนเอมฮัตที่ 1 1997-1991 ปีก่อนคริสตกาล

ฟาโรห์ปริศนาที่ปรากฏหลักฐานการมีอยู่เฉพาะบริเวณนิวเบียล่างเท่านั้น

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เมนค์คาเร เซเกอเซนิ[80] ทรงเป็นฟาโรห์ที่คลุมเครือ ซึ่งไม่ปรากฏอยู่ในบันทึกพระนามในเวลาช่วงหลัง ปรากฏหลักฐานยืนยันเฉพาะในบริเวณนิวเบียล่างเท่านั้น ซึ่งน่าจะทรงเป็นผู้แย่งชิงพระราชบัลลังก์ในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบเอ็ดหรือช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบสอง ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ก่อนคริสตกาล
กาคาเร อินิ[80] ทรงเป็นฟาโรห์ที่คลุมเครือ ซึ่งไม่ปรากฏอยู่ในบันทึกพระนามในเวลาช่วงหลัง ปรากฏหลักฐานยืนยันเฉพาะในบริเวณนิวเบียล่างเท่านั้น ซึ่งน่าจะทรงเป็นผู้แย่งชิงพระราชบัลลังก์ในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบเอ็ดหรือช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบสอง ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ก่อนคริสตกาล
ไอย์อิบเคนต์เร[80] เกเรกทาว(อี)เอฟ ทรงเป็นฟาโรห์ที่คลุมเครือ ซึ่งไม่ปรากฏอยู่ในบันทึกพระนามในเวลาช่วงหลัง ปรากฏหลักฐานยืนยันเฉพาะในบริเวณนิวเบียล่างเท่านั้น ซึ่งน่าจะทรงเป็นผู้แย่งชิงพระราชบัลลังก์ในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบเอ็ดหรือช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบสอง ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์ที่สิบสอง

[แก้]

ราชวงศ์ที่สองเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอียิปต์ระหว่าง 1991 - 1802 ปีก่อนคริสตกาล

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เซเฮเทปอิบเร อเมนเอมฮัตที่ 1[81][82]
(อัมมาเนเมสที่ 1)[83]
ทรงมิได้เป็นเชื้อพระวงศ์จากราชวงศ์ที่สิบเอ็ด และพระองค์ทรงโปรดได้สร้างพีระมิดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่รัชสมัยฟาโรห์ฟาโรห์เปปิที่ 1ที่อัลลิชต์[84] พระองค์ทรงฟื้นฟูระบบระเบียบในอียิปต์ และทรงสร้างเมืองหลวงใหม่นามว่า อิทจ์-ทาวี พระองค์อาจจะทรงถูกลอบปลงพระชนม์[85] 1991 – 1962 ปีก่อนคริสตกาล
เคเปอร์คาเร เซนุสเรตที่หนึ่ง[86]
(เซซอนคอซิส)[87]
ทรงโปรดให้สร้างสิ่งปลูกสร้างจำนวนมากทั่วอียิปต์บน รวมทั้งวิหารแห่งอามุนที่คาร์นัก[84] มีการบันทึกว่าพระองค์ทรงได้ส่งคน 17,000 คนไปที่วาดีอัลฮัมมามาต เพื่อนำก้อนหินกลับมาเพื่อสร้างรูปสลักจำนวน 150 รูปและสฟิงซ์จำนวนอีก 60 ตัว[88] นอกจากนี้พระองค์ทรงโปรดให้ยังสร้างพีระมิดที่อัลลิชต์ใกล้กับพีระมิดของผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ 1971 - 1926 ปีก่อนคริสตกาล
[89] นุบคาอูเร อเมนเอมฮัตที่ 2[90]
(อัมเมเนเมสที่ 2)[91]
บันทึกรัชสมัยของพระองค์ได้ถูกบันทึกไว้ในพงศาวดารที่อยู่ในสภาพชำรุด[84] กองทัพเรืออียิปต์อาจจะเข้าโจมตีไซปรัสระหว่างการดำเนินการทางทหารของพระองค์[92] พระองค์ยังทรงโปรดให้สร้างพีระมิดที่ดาห์ชูร์ และทรงปกครองอย่างน้อย 35 ปี 1929-1895 ปีก่อนคริสตกาล
คาเคเปอร์เร เซนุสเรตที่ 2[93]
(แมนิโธไม่ได้บันทึกพระนามของพระองค์)[94]
พระองค์ทรงได้พัฒนาพื้นที่ฟัยยูมให้เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์[95] พระองค์ยังทรงโปรดให้สร้างพีระมิดที่ลาฮูน 1897-1878 ปีก่อนคริสตกาล
คาคาอูเร เซนุสเรตที่ 3[96]
(เซซอสทริส)[97]
ทรงได้กำจัดกลุ่มผู้ปกครองท้องถิ่นและทรงสร้างเขตปกครองท้องถิ่นขึ้นอีก 3 แห่ง[98] นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเป็นผู้นำการดำเนินการทางทหารเข้าสู่นิวเบียล่างในปีที่ 8, 10, 16 และ 18 แห่งการครองราชย์[92] พระองค์ยังทรงโปรดให้สร้างพีระมิดของพระองค์เองที่ดาห์ชูร์ และทรงเป็นฟาโรห์ที่มีพระราชอำนาจและมีอิทธิพลมากที่สุดในราชวงศ์ที่สิบสอง 1878-1860 ปีก่อนคริสตกาล
นิมาอัตเร อเมนเอมฮัตที่ 3[99]
(ลามาเรส)[100]
พระองค์ยังทรงได้พัฒนาพื้นที่ฟัยยูมให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมต่อไป[84] นอกจากนี้พระองค์ยังโปรดให้สร้างอาคารเก็บพระบรมศพขนาดใหญ่ที่ฮาวารา รวมทั้งพีระมิดของพระองค์ อาคารเก็บพระบรมศพดังกล่าวน่าจะเป็นเขาวงกตที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับนักประพันธ์ชาวกรีกโบราณ[101] 1860-1815 ปีก่อนคริสตกาล
มาอาเคอร์อูเร อเมนเอมฮัตที่ 4[102]
(อัมเมเนเมส)[103]
ทรงมีผู้สำเร็จราชการร่วมเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี ตามบันทึกที่โกนอสโซ 1815-1807 ปีก่อนคริสตกาล
โซเบคคาเร โซเบคเนเฟอร์อู[104]
(สเคมิโอฟริส)[105]
ทรงเป็นฟาโรห์สตรีที่ได้รับการยืนยันจากหลักฐานทางโบราณคดีเป็นครั้งแรก 1807-1802 ปีก่อนคริสตกาล

ตำแหน่งผู้ปกครองที่มีความเป็นไปได้เพิ่มเติมพระนามว่า เซอังค์อิบทาวี เซอังค์อิบรา ซึ่งยังไม่มีความแน่นอนอยู่ พระองค์อาจจะเป็นฟาโรห์ที่ขึ้นครองราชย์เป็นระยะเวลาอันหรือเป็นพระนามของฟาโรห์จากช่วงราชวงศ์ที่สิบสองหรือสิบสามแห่งอียิปต์


ช่วงสมัยระหว่างที่สองแห่งอียิปต์

[แก้]

สมัยระหว่างกลางที่สอง (ตั้งแต่ 1802–1550 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นช่วงเวลาที่เกิดความระส่ำระส่ายขึ้นระหว่างการสิ้นสุดของช่วงราชอาณาจักรกลางและจุดเริ่มต้นของช่วงราชอาณาจักรใหม่ เป็นผลกระทบเนื่องจากการบุกรุกเข้ามาของชาวฮิกซอส ซึ่งชาวฮิกซอสได้เข้ามายึดอำนาจของฟาโรห์แล้วขึ้นครองราชย์แทน และสถาปนาขึ้นเป็นราชวงศ์ที่สิบห้า

ราชวงศ์ที่สิบสามอ่อนแอกว่าสมัยราชวงศ์ที่สิบสองและไม่สามารถยึดคืนดินแดนอียิปต์ไว้ได้ ในช่วงเริ่มต้นของราชวงศ์ที่สิบสามใน 1805 ปีก่อนคริสตกาลหรือช่วงกลางของราชวงศ์ที่สิบสามใน 1710 ปีก่อนคริสตกาล ได้มีการสถาปนาราชวงศ์ที่สิบสี่ขึ้นด้วยชาวฮิกซอสในอียิปต์ล่าง

การบุกรุกของชาวฮิกซอสได้เริ่มขึ้นในช่วงรัชกาลของฟาโรห์เซเบคโฮเทปที่ 4 ใน 1720 ปีก่อนคริสตกาล และได้เข้าควบคุมเมืองอวาริส (ปัจจุบันคือ เทล เอล-ดับ'อา / คาตา'นา) และได้ก่อตั้งราชวงศ์ที่สิบสี่ จากนั้นประมาณ 1650 ปีก่อนคริสตกาล ชาวฮิกซอสนำโดยซาลิทิส ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่สิบห้าพิชิตเมมฟิส แล้วจึงล้มล้างราชวงศ์ที่สิบสาม ทำให้อียิปต์บนเสื่อมอำนาจลงซึ่งเป็นผลมาจากการล่มสลายของราชวงศ์ที่สิบสาม ต่อมาราชวงศ์ที่สิบหกได้ปกครองอียิปต์บน แต่ก็ถูกล้มล้างราชวงศ์โดยราชวงศ์ที่สิบห้าหลังจากนั้นไม่นาน

ต่อจากนั้นเมื่อชาวฮิกซอสได้ถอยออกจากอียิปต์บน ทำให้ชาวอียิปต์บนได้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบเจ็ดขึ้นมา และในที่สุดราชวงศ์ที่สิบเจ็ดก็สามารถขับไล่ชาวฮิกซอสออกไปจากอียิปต์ นำโดยฟาโรห์ทาโอที่สอง ฟาโรห์คาโมส และฟาโรห์อาโมส ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบแปด

ราชวงศ์ที่สิบสาม

[แก้]

ราชวงศ์ที่สิบสาม (ตามบันทึกรายพระนามแห่งตูริน) ปกครองจาก 1802 ไปถึงประมาณ 1649 ปีก่อนคริสตกาล และรวมทั้งหมดเป็นเวลา 153 หรือ 154 ปี

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เซเคมเร คูทาวี โซเบคโฮเทปที่ 1 ทรงสถาปนาราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ ปรากฏหลักฐานยืยันจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับรัชสมัยของพระองค์ ในข้อการสันนิษฐานหลักนั้นใ้เรียกพระองค์ โซเบคโฮเทปที่ 1 ส่วนในการศึกษาเก่าให้เรียกพระองค์ว่า โซเบคโฮเทปที่ 2 แทน 1802 – 1800 ปีก่อนคริสตกาล[106]
เมอิบทาวี เซเคมคาเร อเมนเอมฮัต โซนเบฟ อาจจะเป็นพระอนุชาของฟาโรห์เซเคมเร คูทาวี โซเบคโฮเทป และเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4[106] 1800 – 1796 ปีก่อนคริสตกาล[106]
เนริคาเร โซเบค[...] ทรงได้รับการยืนยันจากบันทึกระดับแม่น้ำไนล์จากเซมนา[107] 1796 ปีก่อนคริสตกาล
เซเคมคาเร อเมนเอมฮัตที่ 5 ทรงปกครองเป็นระยะเวลา 3 ถึง 4 ปี[106] 1796 – 1793 ปีก่อนคริสตกาล[106]
อเมนอิ เกมาอู ทรงถูกฝังพระบรมศพไว้ที่พีระมิดของพระองค์ในดาห์ชูร์ 1795 – 1792 ปีก่อนคริสตกาล
โฮเทปอิบเร เกมาอู ซิฮาร์เนดจ์เฮอร์อิเทฟ อาจจะเรียกพระองค์ได้อีกว่า เซโฮเทปอิบเร 1792 – 1790 ปีก่อนคริสตกาล
อิอูฟนิ ทรงปรากฏแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น รัชสมัยที่สั้นมาก, อาจจะราวประมาณ 1790 – 1788 ปีก่อนคริสตกาล[106]
เซอังค์อิบเร อเมนเอมฮัตที่ 6 ทรงปรากฏแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น[108] 1788 – 1785 ปีก่อนคริสตกาล
เซเมนคาเร เนบนูนิ ทรงปรากฏแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น[109] 1785 – 1783 ปีก่อนคริสตกาล[106] หรือ 1739 ปีก่อนคริสตกาล[110]
เซเฮเทปอิบเร เซเวเซคทาวี ทรงปรากฏในบันทึกพระนามแห่งตูริน[111] 1783 – 1781 ปีก่อนคริสตกาล[106]
เซวัดจ์คาเรที่ 1 ทรงเป็นที่ทราบแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น 1781 ปีก่อนคริสตกาล
เนดจ์เอมอิบเร ทรงเป็นที่ทราบแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น 7 เดือน, 1780 ปีก่อนคริสตกาล[106] หรือ 1736 ปีก่อนคริสตกาล[110]
คาอังค์เร โซเบคโฮเทป ในข้อการสมมติฐานหลักเรียกพระองค์ว่า โซเบคโฮเทปที่ 2 ส่วนในการศึกษาที่เก่ากว่าเรียกพระองค์ว่า โซเบคโฮเทปที่ 1 แทน ทรงครองราชย์ประมาณ 3 ปี, 1780 – 1777 ปีก่อนคริสตกาล[106]
เรนเซเนบ 4 เดือน 1777 ปีก่อนคริสตกาล[106]
อาวอิบเร ฮอร์ ทรงเป็นที่โด่งดังมาจากสุสานที่ไม่ได้ความเสียหายและรูปสลักดวงพระวิญญานของพระองค์ ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 1 ปี และอีก 6 เดือน, 1777 – 1775 ปีก่อนคริสตกาล[106]
เซเคมเรคูทาวี คาบาว อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ฮอร์ อาวอิบเร ทรงครองราชย์ประมาณ 3 ปี, 1775 – 1772 ปีก่อนคริสตกาล[106]
ดเจดเคเปอร์เอว อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ฮอร์ อาวอิบเร และเป็นพระอนุชาของฟาโรห์คาบาว ซึ่งก่อนหน้าพระองค์ถูกระบุว่าเป็นพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เคนด์เจอร์ ทรงครองราชย์ประมาณ 2 ปี, 1772 – 1770 ปีก่อนคริสตกาล[106]
เซบคาย อาจจะเป็นฟาโรห์สองพระองค์ พระนามว่า เซบ และพระราชโอรสของพระองค์นามว่า คาย[106]
เซดเจฟาคาเร คาย อเมนเอมฮัต ทรงเป็นที่ทราบมาจากหลักฐานยืนยันจำนวนมากจากจารึกและเอกสารอื่น ๆ 5 ถึง 7 ปี หรือ 3 ปี, 1769 – 1766 ปีก่อนคริสตกาล[106]
คูทาวีเร เวกาฟ ในการศึกษาที่เก่ากว่าได้ระบุว่าพระองค์ทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ ประมาณ 1767 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์คาเร เคนด์เจอร์ อาจจะทรงเป็นฟาโรห์ชาวเซมิติกพระองค์แรก และทรงโปรดให้สร้างพีระมิดที่ซักกอเราะฮ์ ทรงครองราชย์อย่างน้อย 4 ปี กับอีก 3 เดือน ประมาณ 1765 ปีก่อนคริสตกาล
สเมนค์คาเร อิมิเรเมชาว ทรงได้รับการยืนยันมาจากรูปสลักขนาดมหึมาของพระองค์จำนวนสองรูป ทรงครองราชย์น้อยกว่า 10 ปี, ตั้งแต่ 1759 ปีก่อนคริสตกาล[106] หรือ 1711 ปีก่อนคริสตกาล[112]
เซเฮเทปคาเร อินเทฟที่ 4 ทรงครองราชย์น้อยกว่า 10 ปี
เมอร์อิบเร เซธ สิ้นสุดรัชสมัยเมื่อ 1749 ทรงครองราชย์น้อยกว่า 10 ปี
เซเคมเรเซวัดจ์ทาวี โซเบคโฮเทปที่ 3 4 ปี กับอีก 2 เดือน 1755 – 1751 ปีก่อนคริสตกาล
คาเซเคมเร เนเฟอร์โฮเทปที่ 1 11 ปี 1751 – 1740 ปีก่อนคริสตกาล
เมนวัดจ์เร ซิฮัตฮอร์ ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับพระบรมเชษฐาธิราชพระนามว่า เนเฟอร์โฮเทปที่ 1 เป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และพระองค์อาจจะไม่ได้ทรงครองราชย์อย่างอิสระ 1739 ปีก่อนคริสตกาล[106]
คาเนเฟอร์เร โซเบคโฮเทปที่ 4 10 หรือ 11 ปี 1740 – 1730 ปีก่อนคริสตกาล
เมอร์โฮเทปเร โซเบคโฮเทปที่ 5
1730 ปีก่อนคริสตกาล
คาโฮเทปเร โซเบคโฮเทปที่ 6 4 ปี 8 เดือน กับอีก 29 วัน ประมาณ 1725 ปีก่อนคริสตกาล
วาอิบเร อิบอิอาอู 10 ปี กับอีก 8 เดือน 1725 – 1714 ปีก่อนคริสตกาล หรือ 1712 – 1701 ปีก่อนคริสตกาล[106]
เมอร์เนเฟอร์เร ไอย์ที่ 1 ทรงเป็นฟาโรห์ที่ทรงครองราชย์นานที่สุดของราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ 23 ปี, 8 เดือน กับอีก 18 วัน, 1701 – 1677 ปีก่อนคริสตกาล[106] หรือ 1714 – 1691 ปีก่อนคริสตกาล
เมอร์โฮเทปเร อินิ อาจจะเป็นพระราชโอรสของผู้ปกครองพระองค์ก่อนหน้า 2 ปี, 3 หรือ 4 เดือน กับอีก 9 วัน, 1677 – 1675 ปีก่อนคริสตกาล[106] หรือ 1691 – 1689 ปีก่อนคริสตกาล
สอังค์เอนเร เซวัดจ์ตู ทรงปรากฏแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น 3 ปี กับอีก 2 ถึง 4 เดือน, 1675 – 1672 ปีก่อนคริสตกาล[106]
เมอร์เซเคมเร อิเนด อาจจะทรงเป็นพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 2 3 ปี, 1672 – 1669 ปีก่อนคริสตกาล[106]
เซวัดจ์คาเรที่ 2 ฮอร์อิ ทรงครองราชเป็นระยะเวลา 5 ปี 5 ปี
เมอร์คาวเร โซเบคโฮเทปที่ 7 ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 2 ปี กับอีก 6 เดือน[106] 1664 – 1663 ปีก่อนคริสตกาล[106]
พระนามสูญหาย ฟาโรห์จำนวน 7 พระองค์ พระนามสูญหายจากส่วนที่เสียหายของบันทึกพระนามแห่งตูริน[106] 1663 ปีก่อนคริสตกาล –?[106]
พระนามสูญหาย
พระนามสูญหาย
พระนามสูญหาย
พระนามสูญหาย
พระนามสูญหาย
พระนามสูญหาย
เมอร์[...]เร ไม่ทราบ
เมอร์เคเปอร์เร บางช่วงเวลในระหว่าง 1663 ถึง 1649 ปีก่อนคริสตกาล[106]
เมอร์คาเร ทรงปรากฏแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น บางช่วงเวลาในระหว่าง 1663 ถึง 1649 ปีก่อนคริสตกาล[106]
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
เซวัดจ์คาเร เมนทูโฮเทปที่ 5 ประมาณ 1655 บางช่วงเวลในระหว่าง 1663 ถึง 1649 ปีก่อนคริสตกาล[106]
[...]มอสเร ไม่ทราบ
อิบิ [...]มาอัตเร ไม่ทราบ
ฮอร์[...] [...]เวบเอนเร ไม่ทราบ
เซ...คาเร ไม่ทราบ ไม่ทราบ
เซเฮกเอนเร สอังค์พทาห์อิ อาจจะเป็นพระราชโอรสของผู้ปกครองพระองค์ก่อนหน้า ระหว่าง 1663 ถึง 1649 ปีก่อนคริสตกาล
...เร ไม่ทราบ ไม่ทราบ
เซ...เอนเร ไม่ทราบ ไม่ทราบ – 1649 ปีก่อนคริสตกาล[106]

ตำแหน่งตามลำดับเวลาของฟาโรห์ดังต่อไปนี้ยังคงคลุมเครืออยู่

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
ดเจดโฮเทปเร เดดูโมสที่ 1 อาจจะทรงเป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์ ประมาณ 1654 ปีก่อนคริสตกาล
ดเจดเนเฟอร์เร เดดูโมสที่ 2 อาจจะทรงเป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์ ไม่ทราบ
เซวาเอนเร เซเนบมิอู ช่วงปลายของสมัยราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ หลักจาก 1660 ปีก่อนคริสตกาล[113]
เมอร์เชปเซสเร อินิที่ 2 ช่วงปลายของสมัยราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ ไม่ทราบ
เมนคาอูเร สนาอาอิบ อาจจะทรงเป็นฟาโรห์จากราชวงศ์อไบดอสแห่งอียิปต์ ไม่ทราบ

ราชวงศ์ที่สิบสี่

[แก้]

ราชวงศ์ที่สิบสี่เป็นราชวงศ์ท้องถิ่นจากบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฝั่งตะวันออก ซึ่งมีฐานอำนาจอยู่ที่เมืองอวาริส[114] และปกครองตั้งแต่ 1805 ปีก่อนคริสตกาลหรือราว 1710 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงราว 1650 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์ดังกล่าวประกอบด้วยผู้ปกครองหลายพระองค์ที่ทรงมีพระนามในกลุ่มภาษาเซมิติกตะวันตก และด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงเชื่อกันว่าเป็นแหล่งกำเนิดของชาวคานาอันตามที่คิม ไรฮอล์ทข้อความเห็น อย่างไรก็ตาม การจัดผังของราชวงศ์ที่สิบสี่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยวกับตำแหน่งตามลำดับเวลาของฟาโรห์จำนวน 5 พระองค์ก่อนหน้ารัชสมัยของฟาโรห์เนเฮซิที่ยังมีข้อโต้แย้งอยู่มาก

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เซคาเอนเร ยากบิม ตำแหน่งตามลำดับเวลายังคลุมเครือ ซึ่งอ้างอิงจากไรฮอล์ท[114] 1805 – 1780 ปีก่อนคริสตกาล
นุบวอเซอร์เร ยา'อัมมู ตำแหน่งตามลำดับเวลายังคลุมเครือ ซึ่งอ้างอิงจากไรฮอล์ท[114] 1780 – 1770 ปีก่อนคริสตกาล
คาวอเซอร์เร[114] กาเรห์ ตำแหน่งตามลำดับเวลายังคลุมเครือ ซึ่งอ้างอิงจากไรฮอล์ท[114] 1770 – 1760 ปีก่อนคริสตกาล
อาอาโฮเทปเร[114] 'อัมมู ตำแหน่งตามลำดับเวลายังคลุมเครือ ซึ่งอ้างอิงจากไรฮอล์ท[114] 1760 – 1745 ปีก่อนคริสตกาล
มาอาอิบเร เชชิ[115] ตำแหน่งตามลำดับเวลา ระยะเวลาแห่งการครองราชย์ และการขยายขอบเขตของการปกครองยังคงคลุมเครืออยู่ ซึ่งอ้างอิงมาจากไรฮอล์ท[114] หรืออีกช้อสันนิษฐานหนึ่งคือ พระองค์อาจจะทรงเป็นฟาโรห์ฮิกซอสในช่วงแรก, ฟาโรห์ฮิกซอสในช่วงที่สองของราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์ หรือเป็นข้าหลวงของฟาโรห์ฮิกซอส 1745 – 1705 ปีก่อนคริสตกาล
อาอาเซเร เนเฮซิ รัชสมัยอันสั้น, อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เชชิ[114] ประมาณ 1705 ปีก่อนคริสตกาล
คาเคเรวเร ไม่ทราบ
เนบเอฟอาวเร ประมาณ 1704 ปีก่อนคริสตกาล
เซเอบเร อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์วาซาดหรือฟาโรห์เซเนฮ์[113] ประมาณ 1704 ถึง 1699 ปีก่อนคริสตกาล
เมอร์ดเจฟาเร อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์วาซาดหรือฟาโรห์เซเนฮ์[113] ประมาณ 1699 ปีก่อนคริสตกาล
เซวัดจ์คาเรที่ 3 ไม่ทราบ
เนบดเจฟาเร 1694 ปีก่อนคริสตกาล
เวบเอนเร ไม่ทราบ
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
[...]ดเจฟาเร ไม่ทราบ
[...]เวบเอนเร ประมาณ 1690 ปีก่อนคริสตกาล
อาวอิบเรที่ 2 ไม่ทราบ
เฮอร์อิบเร ไม่ทราบ
เนบเซนเร[114] ทรงได้รับการยืนยันจากโถที่ปรากฏพระนามของพระองค์ ทรงครองราชย์อย่างน้อย 5 เดือน, ในช่วงเวลาระหว่าง 1690 ถึง 1649 ปีก่อนคริสตกาล
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
[...]เร ไม่ทราบ
เซเคเปอร์เอนเร[114] ทรงได้รับการยืนยันจากตราประทับสคารับเพียงชิ้นเดียว 2 เดือน, ในช่วงเวลาระหว่าง 1690 ถึง 1649 ปีก่อนคริสตกาล
ดเจดเคเรวเร ไม่ทราบ
สอังค์อิบเรที่ 2 ไม่ทราบ
เนเฟอร์ตุม[...]เร ไม่ทราบ
เซเคม[...]เร ไม่ทราบ
คาเคมูเร ไม่ทราบ
เนเฟอร์อิบเร ไม่ทราบ
อิ[...]เร ไม่ทราบ
คาคาเร ไม่ทราบ
อาคาเร[116] ไม่ทราบ
เซเมนเอนเร ฮาปุ ไม่ทราบ
ดเจดคาเร[114] อนาติ ทรงเป็นที่ทราบแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น ไม่ทราบ
เบบนุม[114] ทรงเป็นที่ทราบแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น ในช่วงเวลาระหว่าง 1690 ถึง 1649 ปีก่อนคริสตกาล
พระนามสูญหาย พระนามจำนวนแปดพระนามสูญหายในบันทึกพระนามแห่งตูริน ไม่ทราบ
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
เซเนเฟอร์[...]เร ไม่ทราบ
เมน[...]เร ไม่ทราบ
ดเจด[...]เร ไม่ทราบ
พระนามสูญหาย พระนามจำนวนสามพระนามสูญหายในบันทึกพระนามแห่งตูริน ไม่ทราบ
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
อินค[...] ไม่ทราบ
'อา[...][117] ทรงเป็นที่ทราบแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น พระนามของพระองค์อาจจะอ่านได้ว่า "อิเนบ" ตามที่อลัน การ์ดิเนอร์เสนอความเห็น[117] ไม่ทราบ
'อเปปิ[114] อาจจะทรงได้รับการยืนยันจากตราประทับสคารับองพระราชโอรสแห่งกษัตริย์จำนวน 5 ชิ้น ประมาณ 1650 ปีก่อนคริสตกาล
พระนามสูญหาย พระนามจำนวนห้าพระนามสูญหายในบันทึกพระนามแห่งตูริน ไม่ทราบ
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ
พระนามสูญหาย ไม่ทราบ

ตำแหน่งและตัวตนของฟาโรห์ดังต่อไปนี้ยังคงคลุมเครืออยู่

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
คามูเร[113] ไม่ทราบ
นูยา[113] ทรงได้รับการยืนยันจากตราประทับสคารับ ไม่ทราบ
เชเนฮ์[113] อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เซเอบเรหรือฟาโรห์เมอร์ดเจฟาเร ไม่ทราบ
เชนเชค[113] ทรงได้รับการยืนยันจากตราประทับสคารับ ไม่ทราบ
วาซาด[113] อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เซเอบเรหรือฟาโรห์เมอร์ดเจฟาเร ประมาณ 1700 ปีก่อนคริสตกาล ?
ยาคาเรบ[113] ไม่ทราบ
เมอร์อูเซอร์เร ยาคุบ-ฮาร์[115] อาจจะทรงอยู่ในราชวงศ์ที่สิบสี่, ราชวงศ์ที่สิบห้า หรือเป็นข้าหลวงของฟาโรห์ฮิกซอส ศตวรรษที่ 17 - 16 ก่อนคริสตกาล

ทั้งนี้ บันทึกพระนามแห่งตูรินได้ระบุพระนามของฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบสี่เพิ่มเติม แต่รายพระนามดังกล่าวไม่ปรากฏในหลักฐานใดอื่นอีกนอกจากบันทึกพระนามดังกล่าว


ราชวงศ์ที่สิบห้า

[แก้]

ราชวงศ์ที่สิบห้าถูกสถาปนาขึ้นโดยชาวฮิกซอสที่ซึ่งมีถิ่นกำเนิดมาจากดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ โดยที่ได้ปกครองบริเวณในพื้นที่ส่วนใหญ่ของแม่น้ำไนล์เป็นระยะเวลาสั้น ๆ และปกครองตั้งแต่ 1674 ถึง 1535 ปีก่อนคริสตกาล

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
(ซาลิทิส) ทรงปกครองพื้นที่บริเวณอียิปต์ล่าง และทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งอียิปต์ ประมาณ 1650 ปีก่อนคริสตกาล
เซมเกน ตำแหน่งตามลำดับเวลายังคลุมเครือ 1649 ปีก่อนคริสตกาล – ไม่ทราบ
'อะเปอร์-'อะนัต ตำแหน่งตามลำดับเวลายังคลุมเครือ ไม่ทราบ
ซาคิร์-ฮาร์ ไม่ทราบ
เซอูเซอร์เอนเร คยาน เป็นจุดรุ่งโรจน์ในอำนาจของชาวฮิกซอส ซึ่งได้พิชิตเมืองธีบส์ในช่วงปลายรัชสมัยของพระองค์ ประมาณ 30 – 35 ปี
เนบเคเปชเร / อะเกนเอนเร / อาอูเซฮร์เร อะเปปิ 1590 ปีก่อนคริสตกาล?
นัคต์อิเร / โฮเทปอิบเร คามูดิ 1555 – 1544 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์อไบดอส

[แก้]

ช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง อาจจะรวมถึงราชวงศ์อิสระที่ปกครองอไบดอสตั้งแต่ประมาณ 1650 จนถึง 1600 ปีก่อนคริสตกาลเข้าไปด้วย[118][119][120]

ฟาโรห์ที่ได้รับการรับรองแล้วจำนวน 4 พระองค์ อาจจะเกี่ยวข้องกับราชวงศ์อไบดอสอย่างไม่เป็นทางการ และรายพระนามด้านหลังไม่ได้จัดตามลำดับรัชสมัยที่ถูกต้อง (ไม่ทราบ) ของพระองค์

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
วอเซอร์อิบเร เซเนบคาย ค้นพบสุสานของพระองค์เมื่อ ค.ศ. 2014 อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ วอเซอร์[...]เร ในบันทึกพระนามแห่งตูริน ประมาณ 1650 ปีก่อนคริสตกาล
เมนคาอูเร สนาอาอิบ อาจจะทรงอยู่ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์[121][122][123] ไม่แน่ชัด
เซเคมเรคูทาวี พันทเจนิ อาจจะทรงอยู่ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์[124] ไม่แน่ชัด
เซเคมราเนเฟอร์คาอู เวปวาเวตเอมซาฟ อาจจะทรงอยู่ในช่วงปลายสมัยราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์[124] ไม่แน่ชัด
[...]ฮเอบเร ทรงเป็นที่ทราบแค่ในบันทึกพระนามแห่งตูรินเท่านั้น คิม ไรฮอล์ทเชื่อว่าทรงมีส่วนเกี่ยวข้องกับราชวงศ์อไบดอส[125] ไม่แน่ชัด


ราชวงศ์ที่สิบหก

[แก้]

ราชวงศ์ที่สิบหกเป็นราชวงศ์ท้องถิ่นธีบส์ที่สถาปนาขึ้นจากการล่มสลายของราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ที่มีฐานอำนาจอยู่ที่เมืองเมมฟิสราวประมาณ 1650 ปีก่อนคริสตกาล ในที่สุดราชวงศ์ที่สิบหกก็ถูกพิชิตโดยราชวงศ์ที่สิบห้าแห่งฮิกซอสเมื่อประมาณ 1580 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์ที่สิบหกมีอิทธิพลเหนืออียิปต์บนเท่านั้น

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
พระนามฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์สูญหายไปจากบันทึกพระนามแห่งตูริน และไม่สามารถกู้คืนพระนามได้ ไม่ทราบ
เซเคมเรเซเมนทาวี ดเจฮูติ 3 ปี
เซเคมเรเซอูเซอร์ทาวี โซเบคโฮเทปที่ 8 16 ปี
เซเคมเรสอังค์ทาวี เนเฟอร์โฮเทปที่ 3 1 ปี
เซอังค์เอนเร เมนทูโฮเทปอิ อาจจะทรงเป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์[126] น้อยกว่า 1 ปี
เซวัดจ์เอนเร เนบิริราวที่ 1 26 ปี
เนเฟอร์คาเร (?) เนบิริราวที่ 2 ประมาณ 1600 ปีก่อนคริสตกาล
เซเมนเร ประมาณ 1600 ปีก่อนคริสตกาล
เซอูเซอร์เอนเร เบบิอังค์ 12 ปี
ดเจดโฮเทปเร เดดูโมสที่ 1 อาจจะทรงเป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์[126] ประมาณ 1588 – 1582 ปีก่อนคริสตกาล
ดเจดเนเฟอร์เร เดดูโมสที่ 2 ประมาณ 1588 – 1582 ปีก่อนคริสตกาล
ดเจดอังค์เร มอนต์เอมซาฟ ประมาณ 1590 ปีก่อนคริสตกาล
เมอร์อังค์เร เมนทูโฮเทปที่ 6 รัชสมัยอันสั้น, ประมาณ 1585 ปีก่อนคริสตกาล
เซเนเฟอร์อิบเร เซนุสเรตที่ 4 ไม่ทราบ
เซเคมเร เชดวาสต์ อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกันกับฟาโรห์เซเคมเร เชดทาวี โซเบคเอมซาฟที่ 2 ไม่ทราบ


ราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์ อาจประกอบด้วยรัชกาลของฟาโรห์เซเนเฟอร์อังค์เร เปปิที่ 3[127] และฟาโรห์เนบมาอัตเร[128][126] ซึ่งไม่ทราบอย่างแน่ชัดถึงลำดับตำแหน่งตามเวลาแห่งการครองราชย์

ราชวงศ์ที่สิบเจ็ด

[แก้]

ราชวงศ์ที่สิบเจ็ดปกครองอยู่ในอียิปต์บนและปกครองตั้งแต่ 1650 ถึง 1550 ปีก่อนคริสตกาล |-

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เซเคมเรวาคาว ราโฮเทป ประมาณ 1620 ปีก่อนคริสตกาล
เซเคมเรวัดจ์คาว โซเบคเอมซาฟที่ 1 อย่างน้อย 7 ปี
เซเคมเร เชดทาวี โซเบคเอมซาฟที่ 2 สุสานของพระองค์ถูกปล้นและโดนเผาในรัชสมัยของฟาโรห์รามเสสที่ 9 ไม่ทราบ - ประมาณ 1573 ปีก่อนคริสตกาล
เซเคมเร-เวปมาอัต อินเตฟที่ 5 อาจจะประมาณ 1573 - 1571 ปีก่อนคริสตกาล
นุบเคเปอร์เร อินเตฟที่ 6 ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลามากกว่า 3 ปี ประมาณ 1571 - ทศวรรษที่ 1560 ก่อนคริสตกาล
เซเคมเร-เฮรูอิร์มาอัต อินเตฟที่ 7 ปลายทศวรรษที่ 1560 ก่อนคริสตกาล
เซนัคต์เอนเร อาโมส ประมาณ 1558 ปีก่อนคริสตกาล
เซเกนเอนเร ทาโอ ทรงเสด็จสวรรคตในสงครามต่อต้านชาวฮิกซอส 1558 – 1554 ปีก่อนคริสตกาล
วัดจ์เคเปอร์เร คาโมส 1554 – 1549 ปีก่อนคริสตกาล

ในช่วงต้นของสมัยราชวงศ์ที่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์อาจจะเพิ่มรัชสมัยของฟาโรห์เนบมาอัตเร ซึ่งยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดเกี่ยวกับตำแหน่งตามลำดับเวลา[129]

ช่วงสมัยราชอาณาจักรใหม่แห่งอียิปต์ (จักรวรรดิอียิปต์)

[แก้]

สมัยราชอาณาจักรใหม่ (ระหว่าง 1550–1077 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นช่วงเวลาที่ครอบคลุมราชวงศ์ที่สิบแปด สิบเก้า และยี่สิบแห่งอียิปต์ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึง 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งอยู่ระหว่างช่วงสมัยระหว่างกลางที่สองและช่วงสมัยระหว่างกลางที่สาม

ด้วยอำนาจทางทหารในต่างแดน ราชอาณาจักรใหม่จึงมีอาณาเขตที่กว้างใหญ่ที่สุดของอียิปต์ ซึ่งขยายไปไกลถึงนิวเบียในทางตอนใต้ และยึดครองดินแดนอันกว้างขวางในตะวันออกใกล้ กองทัพอียิปต์ได้ต่อสู้กับกองทัพฮิตไทต์เพื่อควบคุมบริเวณซีเรียในปัจจุบัน

ฟาโรห์จำนวนสามพระองค์ที่รู้จักกันดีที่สุดของสมัยราชอาณาจักรใหม่คือ ฟาโรห์อาเคนอาเตน หรือเรียกอีกพระนามว่า อเมนโฮเทปที่ 4 ซึ่งทรงนิยมการบูชาเทพอาเตนเป็นพิเศษ ซึ่งถูกชี้ว่าเป็นตัวอย่างแรกของลัทธิเอกเทวนิยม ต่อมาคือ ฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ซึ่งเป็นที่รู้จักจากการค้นพบสุสานที่เกือบเสร็จสมบูรณ์ของพระองค์ และฟาโรห์ราเมสเซสที่ 2 ผู้ซึ่งทรงพยายามที่จะกอบกู้ดินแดนในอิสราเอลในปัจจุบัน/ปาเลสไตน์ เลบานอน และซีเรียที่เคยถูกยึดครองในสมัยราชวงศ์ที่สิบแปด และการพิชิตครั้งใหม่ของพระองค์ได้นำไปสู่สมรภูมิคาเดช ซึ่งพระองค์ทรงนำกองทัพอียิปต์เข้าต่อสู้กับกองทัพของกษัตริย์มูวาทัลลิที่ 2 แห่งฮิตไทต์

ราชวงศ์ที่สิบแปด

[แก้]

ราชวงศ์ที่สิบแปดปกครองระหว่างประมาณ 1550 ถึง 1292 ปีก่อนคริสตกาล

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เนบเพติเร อาโมสที่ 1 (อาโมซิสที่ 1) เป็นพระอนุชาและทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์คาโมส พระองค์ทรงพิชิตดินแดนทางเหนือของอียิปต์จากชาวฮิกซอส
ประมาณระหว่าง 1550–1525 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนช่วงเวลาตามเรดิโอคาร์บอนในช่วงเวลาการเริ่มต้นการครองราชย์ของพระองค์ คือ ระหว่าง 1570–1544 ปีก่อนคริสตกาล ค่าเฉลี่ยคือ 1557 ปีก่อนคริสตกาล[130]
ดเจเซอร์คาเร อเมนโฮเทปที่ 1 เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อาโมสที่ 1 ฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 1 ทรงเป็นผู้นำการดำเนินการทางทหารในนิวเบียจนถึงแก่งน้ำตกแม่น้ำไนล์ที่ 3[131] นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเริ่มในการสร้างวิหารบูชาพระบรมศพและสุสานแยกจากกันแทนที่จะอยู่ในสถานที่เดียวกัน[132] เป็นไปได้ว่าฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 1 และพระนางอาโมส-เนเฟอร์ทาริ ซึ่งเป็นพระราชมารดาของพระองค์ ทรงได้ก่อตั้งหมู่บ้านคนงานสุสานในเดียร์ อัล-เมดินา ทั้งสองพระองค์ทรงได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าโดยผู้อยู่อาศัยในภายหลัง[133]
1541–1520 ปีก่อนคริสตกาล
อาอาเคเปอร์คาเร ทุตโมสที่ 1 ไม่ทราบถึงพระราชบิดาของพระองค์ แต่อาจจะเป็นฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 1 ส่วนพระราชมารดาของพระองค์คือพระนางเซนเซเนบ ฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 ทรงได้สถาปนาพระราชวงศ์ขึ้นควบคุมพระราชบัลลังก์อียิปต์ต่อไปอีก 175 ปีข้างหน้า[131] ฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 ทรงเอาชนะราชอาณาจักรคูชและทรงทำลายเมืองเคอร์มาในนิวเบียได้ พระองค์ทรงดำเนินการทางทหารในบริเวณซีเรียจนถึงแม่น้ำยูเฟรติส[131] พระองค์ยังเป็นพระราชบิดาของฟาโรห์ทุตโมสที่ 2 และพระนางฮัตเชปซุตอีกด้วย[131]
1520–1492 ปีก่อนคริสตกาล
อาอาเคเปอร์เอนเร ทุตโมสที่ 2 เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 และเป็นพระราชนัดดาของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 1 ผ่านพระนางมุตโนเฟรต ซึ่งเป็นพระราชมารดาของพระองค์
1492–1479 ปีก่อนคริสตกาล
มาอัตคาเร ฮัตเชปซุต ทรงเป็นผู้ปกครองสตรีพระองค์ที่สองของอียิปต์ อาจจะทรงได้ปกครองร่วมกับพระภาติยะของพระองค์พระนามว่า ทุตโมสที่ 3 ในช่วงต้นแห่งการครองราชย์ ทรงมีชื่อเสียงจากการเดินทางไปยังดินแดนแห่งพุนต์ที่บันทึกไว้ในวิหารบูชาพระบรมศพที่มีชื่อเสียงของพระองค์ที่เดียร์ อัล-บาฮะริ ทรงสร้างวิหารและอนุสรณ์สถานจำนวนมาก ทรงปกครองในช่วงที่อียิปต์มีอำนาจสูงสุด พระองค์เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์ทุตโมสที่ 1 กับพระอัครมเหสีของฟาโรห์ทุตโมสที่ 2 ซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์
1479–1458 ปีก่อนคริสตกาล
เมนเคเปอร์เร ทุตโมสที่ 3 เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ทุตโมสที่ 2 อาจจะทรงได้ปกครองร่วมกับพระนางฮัตเชปซุต ซึ่งเป็นพระปิตุจฉาและพระราชมารดาบุญธรรมของพระองค์ในช่วงต้นแห่งการครองราชย์ ทรงมีชื่อเสียงในด้านการขยายดินแดนไปยังเลวานไทน์และนิวเบีย ในรัชสมัยของพระองค์ ราชอาณาจักรอียิปต์โบราณมีขอบเขตที่กว้างใหญ่ที่สุด ทรงปกครองในช่วงที่อียิปต์มีอำนาจสูงสุด ก่อนสิ้นรัชสมัย พระองค์ทรงลบพระนามและรูปของพระนางฮัตเชปซุตออกจากวิหารและอนุสาวรีย์
1458–1425 ปีก่อนคริสตกาล
อาอาเคเปอร์อูเร อเมนโฮเทปที่ 2 เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ทุตโมสที่ 3 ทรงปกครองในช่วงที่อียิปต์มีอำนาจสูงสุด
1425–1400 ปีก่อนคริสตกาล
เมนเคเปอร์อูเร ทุตโมสที่ 4 ทรงมีชื่อเสียงจากศิลาแห่งพระสุบิน เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 2 ทรงปกครองในช่วงที่อียิปต์มีอำนาจสูงสุด
1400–1390 ปีก่อนคริสตกาล
เนบมาอัตเร อเมนโฮเทปที่ 3 ผู้ยิ่งใหญ่ เป็นพระราชบิดาของฟาโรห์อาเคนอาเตน และพระอัยกาของฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ทรงปกครองอียิปต์ด้วยอำนาจสูงสุด ทรงโปรดให้สร้างวิหารและอนุสรณ์สถานจำนวนมาก รวมทั้งวิหารบูชาพระบรมศพขนาดมหึมาของพระองค์ด้วย พระองค์เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ทุตโมสที่ 4
1390–1352 ปีก่อนคริสตกาล
เนเฟอร์เคเปอร์อูเร วาเอนเร อเมนโฮเทปที่ 4 / อาเคนอาเตน (อาเคนเคเรส) ทรงเป็นผู้สถาปนาสมัยอามาร์นา ซึ่งพระองค์ทรงได้เปลี่ยนศาสนาประจำพระราชอาณาจักรจากศาสนาอียิปต์โบราณที่นับถือพระเจ้าหลายพระองค์เป็นลัทธิอาเตนนิยม ซึ่งเป็นศาสนาแบบเอกเทวนิยม โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่การบูชาเทพอาเตน ซึ่งทรงเป็นภาพของสุริยจักร พระองค์ทรงย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองอาเคตอาเตน พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 พระองค์ทรงเปลี่ยนพระนามจาก อเมนโฮเทป (เทพอามุนทรงพึงพอพระทัย) มาเป็น อาเคนอาเตน (ทรงมีผลกับเทพอาเตน) เพื่อสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงศาสนาของพระองค์
1352–1336 ปีก่อนคริสตกาล
อังค์เคเปอร์อูเร สเมนค์คาเร ทรงปกครองร่วมกับฟาโรห์อาเคนอาเตน ในช่วงหลายปีต่อมาในการครองราชย์ของพระองค์ ไม่ทราบว่าฟาโรห์สเมนค์คาเรทรงเคยปกครองเพียงพระองค์เดียวหรือไม่

ยังคงมีความคลุมเครือเกี่ยวกับตัวตนและแม้แต่เพศของพระองค์ บางคนสันนิษฐานว่าพระองค์อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อาเคนอาเตน ซึ่งอาจจะเป็นพระองค์เดียวกับกับฟาโรห์ทุตอังค์อามุน ส่วนคนอื่นสันนิษฐานว่าฟาโรห์สเมนค์คาเรอาจะทรงเป็นพระนางเนเฟอร์ติติหรือพระนางเมริตอาเตน อาจจะทรงสืบราชสันตติวงศ์หรืออาจจะเป็นพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์สตรีพระนามว่า เนเฟอร์เนเฟอร์อูอาเตน

1335–1334 ปีก่อนคริสตกาล
อังค์เคเปอร์อูเร เมริ เนเฟอร์เคเปอร์อูเร เนเฟอร์เนเฟอร์อูอาเตน ทรงเป็นฟาโรห์สตรี ซึ่งอาจจะเป็นผู้ปกครองพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์สเมนค์คาเร ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวข้องกับสตรีผู้ซึ่งทรงขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์ในช่วงปลายสมัยอามาร์นา และเป็นไปได้ว่าพระองค์คือพระนางเนเฟอร์ติติ
1334-1332 ปีก่อนคริสตกาล
เนบเคเปอร์อูเร ทุตอังค์อาเตน / ทุตอังค์อามุน โดยทั่วไปเชื่อกันว่าเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อาเคนอาเตน ซึ่งมีแนวโน้มมากที่สุดที่จะทรงคืนสถานะศศาสนาอียิปต์โบราณที่นับถือพระเจ้าหลายพระองค์ การเปลี่ยนพระนามจาก ทุตอังค์อาเตน มาเป็น ทุตอังค์อามุน สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในศาสนาจากลัทธิอาเตนนิยม ซึ่งเป็นศาสนาแบบเอกเทวนิยมไปสู่ศาสนาดั้งเดิม ซึ่งเทพอามุนเป็นเทพเจ้าพระองค์สำคัญ เชื่อกันว่าพระองค์ทรงขึ้นครองบัลลังก์เมื่อพระชนมพรรษาประมาณแปดหรือเก้าพรรษา และเสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมพรรษาประมาณสิบแปดหรือสิบเก้าพรรษา ทำให้พระองค์ได้รับสมญานามว่า "ยุวกษัตริย์" ฟาโรห์ทุตอังค์อามุนทรงเป็นผู้ปกครองที่อ่อนแอและมีปัญหาพระพลานามัยหลายอย่าง อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงมีชื่อเสียงจากการถูกฝังในสุสานที่มีไว้ฝังพระศพเชื้อพระวงศ์พระองค์อื่นที่เรียกว่า เควี 62
1332–1324 ปีก่อนคริสตกาล
เคเปอร์เคเปอร์อูเร ไอย์ที่ 2 ทรงเคยเป็นมหาราชมนตรีของฟาโรห์ทุตอังค์อามุนและทรงเป็นขุนนางคนสำคัญในรัชสมัยของฟาโรห์อาเคนอาเตนและฟาโรห์สเมนค์คาเร อาจจะเป็นพระอนุชาของพระนางติเย ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีของฟาโรห์อเมนโฮเทปที่ 3 และอาจจะเป็นพระบิดาของพระนางเนเฟอร์ติติ ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีของฟาโรห์อาเคนอาเตน เชื่อว่าทรงมีพระชาติกำเนิดมาในตระกูลสูงศักดิ์แต่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ ทรงสืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์ทุตอังค์อามุน เนื่องจากทรงไม่มีรัชทายาท
1324–1320 ปีก่อนคริสตกาล
ดเจเซอร์เคเปอร์อูเร เซเทปเอนเร ฮอร์เอมเฮบ ทรงมีพระชาติกำเนิดเป็นสามัญชน ทรงเคยเป็นนายพลในสมัยอามาร์นา ทรงลบภาพของฟาโรห์แห่งอามาร์นา และทรงโปรดให้ทำลายและล้างผลาญโครงสร้างอาคารและอนุสาวรีย์ ทรงสืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์ไอย์ ถึงแม้ว่าเจ้าชายนัคต์มินทรงจะเป็นรัชทายาทที่ตั้งใจไว้ แต่ทรงสิ้นพระชนม์ไปเสียก่อน
1320–1292 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์ที่สิบเก้า

[แก้]

ราชวงศ์ที่สิบเก้าปกครองมาตั้งแต่ 1292 ถึง 1186 ปีก่อนคริสตกาล รวมถึงมีฟาโรห์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ แรเมซีสที่ 2 มหาราช

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เมนเพติเร ราเมสเซสที่ 1[134] ทรงมิได้เป็นเชื้อพระวงศ์ แต่พระองค์ทรงสืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์ฮอร์เอมเฮบเนื่องจากพระองค์ทรงไม่มีรัชทายาท
1292–1290 ปีก่อนคริสตกาล
เมนมาอัตเร เซติที่ 1 ทรงรวบรวมดินแดนที่สูญเสียในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์อาเคนอาเทน
1290–1279 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์มาอัตเร เซเทปเอนเร (โอไซมันดิอัส) ราเมสเซสที่ 2 มหาราช ทรงขยายอาณาเขตของอียิปต์ต่อไปจนกระทั่งจนยุติที่บริเวณจักรวรรดิฮิตไทต์ในสมรภูมิคาเดชเมื่อ 1275 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากนั้นสนธิสัญญาสันติภาพอียิปต์-ฮิตไทต์อันโด่งดังได้รับการลงนามเมื่อ 1258 ปีก่อนคริสตกาล ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดของอียิปต์ ทรงเป็นที่รู้จักจากแผนการก่อสร้างขนาดใหญ่ รวมถึงอนุสรณ์สถานที่มีชื่อเสียงมากมายในปัจจุบัน
1279–1213 ปีก่อนคริสตกาล
บาเอนเร เมอร์เนพทาห์[135] เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 13 ของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 2
1213–1203 ปีก่อนคริสตกาล
เมนมิเร เซเทปเอนเร อเมนเมสเซ น่าจะทรงเป็นผู้อ้างสิทธิ์ในพระราชบัลลังก์ อาจจะทรงปกครองฝ่ายตรงข้ามกับฟาโรห์เซติที่ 2 สันนิษฐานว่าเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เมอร์เนพทาห์
1203–1200 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์เคเปอร์อูเร เซติที่ 2[136] เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เมอร์เนพทาห์ พระองค์อาจจะทรงต้องเอาชนะฟาโรห์อเมนเมสเซก่อนที่พระองค์จะสามารถทรงอ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ได้
1203–1197 ปีก่อนคริสตกาล
เซคาเอนเร / อาเคนเร (เมอร์เอนพทาห์) ซิพทาห์[137] อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เซติที่ 2 หรือฟาโรห์อเมนเมสเซ ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์ตั้งแต่เยาว์วัย
1197–1191 ปีก่อนคริสตกาล
ซัตเร เมอร์เอนอามุน ทาอุสเรต น่าจะเป็นพระมเหสีของฟาโรห์เซติที่ 2 สามารถเรียกพระนามของพระองค์ได้อีกว่า ทวอสเรต หรือ ทาวอสเรต
1191–1190 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์ที่ยี่สิบ

[แก้]

ราชวงศ์ที่ยี่สิบปกครองระหว่าง 1190 ถึง 1077 ปีก่อนคริสตกาล

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
อูเซอร์คาอูเร เซตนัคต์เอ ทรงไม่มีเกี่ยวข้องกับฟาโรห์เซติที่ 2, ฟาโรห์ซิพทาห์ หรือพระนางทาอุสเรตเลย พระองค์อาจจะทรงแย่งชิงพระราชบัลลังก์จากพระนางทาอุสเรต ละทรงไม่ยอมรับว่าฟาโรห์ซิพทาห์หรือพระนางทาอุสเรตทรงเป็นผู้ปกครองที่ถูกต้องชอบด้วยกฎมณเฑียรบาล พระองค์อาจจะทรงเป็นเชื้อพระวงศ์สายรองของราชวงศ์รามเสส สามารถเรียกพระนามได้อีกว่า เซตนัคต์
1190–1186 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์มาอัตเร เมริอามุน ราเมสเซสที่ 3 เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เซตนัคต์เอ พระองค์ทรงต่อสู้กับชาวทะเลเมื่อ 1175 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์อาจจะทรงถูกลอบสังหาร (แผนการณ์ฝ่ายใน)
1186–1155 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์มาอัตเร / เฮกามาอัตเร เซเทปเอนอามุน ราเมสเซสที่ 4 เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 3 ในรัชสมัยของพระองค์ อำนาจของราชอาณาจักรอียิปต์เริ่มเสื่อมลง
1155–1149 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์มาอัตเร เซเคเปอร์เอนเร ราเมสเซสที่ 5 เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 4
1149–1145 ปีก่อนคริสตกาล
เนบมาอัตเร เมริอามุน ราเมสเซสที่ 6 เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 3, เป็นพระอนุชาของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 4 และเป็นพระปิตุลาของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 5
1145–1137 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์มาอัตเร เซเทปเอนเร เมริอามุน ราเมสเซสที่ 7 เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 6
1137–1130 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์มาอัตเร อาเคนอามุน
ราเมสเซสที่ 8 ทรงเป็นฟาโรห์ที่คลุมเครือผู้ทรงครองราชย์เพียงปีเดียว สามารถระบุตัวตนเป็นพระองค์เดียวกับเจ้าชายเซธอิเฮอร์เคเปชเอฟที่ 2 ซึ่งเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 3, เป็นพระอนุชาของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 4 และฟาโรห์ราเมสเซสที่ 6 และเป็นพระปิตุลาของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 5 และฟาโรห์ราเมสเซสที่ 7 พระองค์ทรงเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวแห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบ ซึ่งยังไม่มีการค้นพบสุสานของพระองค์
1130–1129 ปีก่อนคริสตกาล
เนเฟอร์คาเร เซเทปเอนเร ราเมสเซสที่ 9 อาจจะเป็นพระราชนัดดาของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 3 ผ่านทางพระบิดาของพระองค์พระนามว่า มอนตูเฮอร์โคเปชเอฟ ซึ่งเป็นพระญาติของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 5 และฟาโรห์ราเมสเซสที่ 7
1129–1111 ปีก่อนคริสตกาล
เคเปอร์มาอัตเร เซเทปเอนพทาห์ ราเมสเซสที่ 10[138] ปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพระองค์เล็กน้อย ช่วงรัชสมัยของพระองค์อยู่ระหว่าง 3 ถึง 10 ปี พระชาติกำเนิดของพระองค์ยังคลุมเครือ
1111–1107 ปีก่อนคริสตกาล
เมนมาอัตเร เซเทปเอนพทาห์ ราเมสเซสที่ 11[139] อาจจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 10 ในช่วงครึ่งหลังแห่งการครองราชย์ของพระองค์ มหาปุโรหิตแห่งอามุนนามว่า เฮอร์อิฮอร์ ซึ่งปกครองอยู่ทางใต้ในเมืองธีบส์ และจำกัดพระราชอำนาจของพระองค์ไว้เพียงบริเวณอียิปต์ล่าง (ทางเหนือ) ฟาโรห์สเมนเดสทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์แห่งอียิปต์ล่างของพระองค์
1107–1077 ปีก่อนคริสตกาล

ช่วงสมัยระหว่างกลางที่สามแห่งอียิปต์

[แก้]

สมัยระหว่างกลางที่สาม (ระหว่าง 1077 – 664 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นจุดสิ้นสุดของสมัยราชอาณาจักรใหม่หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิอียิปต์เมื่อสิ้นสุดสมัยสัมฤทธิ์ ราชวงศ์ที่มาจากลิเบียหลายราชวงศ์ได้เข้ามาปกครองอียิปต์ ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวเรียกได้อีกอย่างว่าสมัยลิเบีย

ราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ด

[แก้]

ราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่เมืองทานิสและเป็นราชวงศ์ที่ค่อนข้างอ่อนแอ ตามทฤษฎีแล้ว ฟาโรห์จากราชวงศ์ดังกล่าวทรงเป็นผู้ปกครองราชอาณาจักรอียิปต์ทั้งหมด แต่ในทางปฏิบัติแล้วอิทธิพลของพระองค์ได้จำกัดอยู่เพียงแค่อียิปต์ล่างเท่านั้น ซึ่งทรงปกครองตั้งแต่ 1077 ถึง 943 ปีก่อนคริสตกาล

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เฮดจ์เคเปอร์เร-เซตป์เอนเร เนสบาเนบดเจดที่ 1[140] (สเมนเดสที่ 1) ทรงอภิเษกสมรสกับเทนต์อามุน ซึ่งเป็นพระราชธิดาของฟาโรห์รามเสสที่ 11 1077–1051 ปีก่อนคริสตกาล
เนเฟอร์คาเร อเมนเอมนิซู การครองราชย์จำนวนสี่ปีที่คลุมเครือ 1051–1047 ปีก่อนคริสตกาล
อาอาเคเปอร์เร พาเซบาคาเอนนูอิตที่ 1 (ซูเซนเนสที่ 1) เป็นพระโอรสของพิเนดจ์เอมที่ 1 ซึ่งทรงเป็นมหาปุโรหิตแห่งอามุน ทรงปกครองเป็นระยะเวลา 40 ถึง 51 ปี ทรงมีชื่อเสียงจากสุสานของพระองค์ที่ทานิส รู้จักกันในนาม "ฟาโรห์เงิน" เนื่องจากโลงพระบรมศพเงินอันงดงามที่พระองค์ทรงถูกฝังไว้ ทรงเป็นหนึ่งในผู้ปกครองที่มีอำนาจมากที่สุดของราชวงศ์ 1047–1001 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์มาอัตเร อเมนเอมโอเพ เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ซูเซนเนสที่ 1 1001–992 ปีก่อนคริสตกาล
อาอาเคเปอร์เร เซเทปเอนเร โอซอร์คอน ผู้อาวุโส ทรงเป็นบุตรชายของโชเชงค์ เอ ซึ่งเป็นประมุขผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมชเวส (ลิเบีย) หรือเรียกพระองค์ว่า โอซอร์คอร์ 992–986 ปีก่อนคริสตกาล
เนทเจอร์อิเคเปอร์เร-เซปต์เอนอามุน ซิอามุน ไม่ทราบพระชาติกำเนิดของพระองค์ ทรงเป็นฟาโรห์ที่มรงโปรดให้สร้างสิ่งปลูกสร้างขึ้นอย่างกว้างขวางในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สาม พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองที่มีอำนาจมากที่สุดคนหนึ่งของราชวงศ์ 986–967 ปีก่อนคริสตกาล
มิตเคเปอร์อูเร พาเซบาคาเอนนูอิตที่ 2 (ซูเซนเนสที่ 2) เป็นพระโอรสของพิเนดจ์เอมที่ 2 ซึ่งทรงเป็นมหาปุโรหิตแห่งอามุน 967–943 ปีก่อนคริสตกาล

มหาปุโรหิตแห่งอามุนที่ธีบส์

[แก้]

ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ฟาโรห์อย่างเป็นทางการ แต่มหาปุโรหิตแห่งอามุนที่ธีบส์ก็ทรงเป็นผู้ปกครองอียิปต์บนโดยพฤตินัยในช่วงสมัยราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ ซึ่งปรากฏการบันทึกพระนามลงในคาร์ทูชและฝังพระบรมศพไว้ในสุสานหลวง

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เฮมเนทเจอร์เทปเอนอามุน เฮอร์อิฮอร์ ซิอามุน ทรงปกครองทางใต้ในเมืองธีบส์ ส่วนฟาโรห์รามเสสที่ 11 ทรงปกครองจากทางเหนือในเมืองไพ-รามเสส ข้อมูลบางแหล่งได้ระบุว่าพระองค์อาจจะทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพิอังค์ 1080–1074 ปีก่อนคริสตกาล
พิอังค์ ข้อมูลบางแหล่งได้ระบุว่าพระองค์อาจจะทรงขึ้นครองราชย์ก่อนหน้าจากเฮอร์อิฮอร์ 1074–1070 ปีก่อนคริสตกาล
เคเปอร์คาวรา เซเทปเอนอามุน พิเนดจ์เอมที่ 1 เมริอามุน เป็นพระราชโอรสของพิอังค์ และเป็นพระราชบิดาของฟาโรห์ซูเซนเนสที่ 1 1070–1032 ปีก่อนคริสตกาล
มาซาฮาร์ตา เป็นพระราชโอรสของพิเนดจ์เอมที่ 1 1054–1045 ปีก่อนคริสตกาล
ดเจดคอนซูเอฟอังค์ เป็นพระราชโอรสของพิเนดจ์เอมที่ 1 1046–1045 ปีก่อนคริสตกาล
เฮมเนทเจอร์เทปอิเอนอามุน เมนเคเปอร์เร เป็นพระราชโอรสของพิเนดจ์เอมที่ 1 1045–992 ปีก่อนคริสตกาล
เนสบาเนบดเจดที่ 2 (สเมนเดสที่ 2) เป็นพระราชโอรสของเมนเคเปอร์เร 992–990 ปีก่อนคริสตกาล
พิเนดจ์เอมที่ 2 เป็นพระราชโอรสของเมนเคเปอร์เร และเป็นพระราชบิดาของฟาโรห์ซูเซนเนสที่ 2 990–976 ปีก่อนคริสตกาล
ทิตเคเปอร์อูเร เฮมเนทเจอร์เทปอิเอนอามุน พาเซบาคาเอนนูอิต (ซูเซนเนสที่ 3) อาจจะทรงเป็นพระองค์เดียวกันกับฟาโรห์ซูเซนเนสที่ 2 โดยทั่วไปแล้วพระองค์หรือพิเนดจ์เอมที่ 2 ถือว่าทรงเป็นมหาปุโรหิตแห่งอามุนพระองค์สุดท้ายที่เชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นเหมือนฟาโรห์ 976–943 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์ที่ยี่สิบสอง

[แก้]

ฟาโรห์ของราชวงศ์ที่ยี่สิบสองเป็นชาวลิเบีย ปกครองระหว่าง 943 ถึง 728 ปีก่อนคริสตกาล

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เฮดจ์เคเปอร์เร เซตป์เอนเร โชเชงค์ที่ 1 เมริอามุน ทรงเป็นบุตรชายของนิมลอต เอ เป็นพระภราดรของโอซอร์คอน ผู้อาวุโส และทรงเป็นประมุขผู้ยิ่งใหญ่แห่งเมชเวส (ชาวลิเบีย) อาจจะทรงเป็นชิแชกตามที่ปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิล 943–922 ปีก่อนคริสตกาล
เซเคมเคเปอร์เร เซเทปเอนเร โอซอร์คอนที่ 1 เมริอามุน เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์โชเชงค์ที่ 1 922–887 ปีก่อนคริสตกาล
เฮกาเคเปอร์เร เซเทปเอนเร โชเชงค์ที่ 2 เมริอามุน ทรงเป็นฟาโรห์ผู้คลุมเครือ อาจจะทรงเป็นผู้แย่งชิงพระราชบัลลังก์ 887–885 ปีก่อนคริสตกาล
ทุตเคเปอร์เร โชเชงค์ที่ 2 บี ทรงเป็นฟาโรห์ผู้คลุมเครือ ตำแหน่งจามลำดับเวลายังไม่แน่ชัด ทศวรรษที่ 880 ก่อนคริสตกาล
เฮดจ์เคเปอร์เร เซเทปเอนอามุน ฮาร์ซิเอเซ เมริอามุน เอ ทรงเป็นกบฏผู้คลุมเครือที่ธีบส์ 880–860 ปีก่อนคริสตกาล
เฮดจ์เคเปอร์เร เซเทปเอนเร ทาเคลอตที่ 1 เมริอามุน เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 1 885–872 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์มาอัตเร เซเทปเอนอามุน โอซอร์คอนที่ 2 เมริอามุน เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ทาเคลอตที่ 1 872–837 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์มาอัตเร เซตป์เอนเร โชเชงค์ที่ 3 เมริอามุน 837–798 ปีก่อนคริสตกาล
เฮดจ์เคเปอร์เร เซเทปเอนเร โชเชงค์ที่ 4 เมริอามุน ซาบาสต์ เนทเจอร์เฮกาอิอูนู 798–785 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์มาอัตเร เซตป์เอนเร ปามิ เมริอามุน 785–778 ปีก่อนคริสตกาล
อาอาเคเปอร์เร โชเชงค์ที่ 5 778–740 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์มาอัตเร โอซอร์คอนที่ 4 740–720 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์ที่ยี่สิบสาม

[แก้]

ราชวงศ์ที่ยี่สิบสามมีผู้ปกครองเป็นชาวลิเบีย ซึ่งศูนย์กลางอำนาจตั้งอยู่ที่เมืองเฮราคลีโอโพลิส และเมืองธีบส์ ซึ่งปกครองตั้งแต่ 837 ถึง 735 ปีก่อนคริสตกาล

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รสมัย
เฮดจ์เคเปอร์เร เซตป์เอนเร ทาเคลอตที่ 2 ซิเอเซเมริอามุน ก่อนหน้านี้คิดว่าทรงเป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่ยี่สิบสอง ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ทราบในฐานะผู้ทรงสถาปนาราชวงศ์ที่ยี่สิบสามแห่งอียิปต์ 837–813 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์มาอัตเร เซตป์เอนอามุน เมริอามุน เปดูบาสต์ที่ 1 ทรงก่อกบฏโดยที่ยึดเมืองธีบส์จากฟาโรห์ทาเคลอตที่ 2 826–801 ปีก่อนคริสตกาล
ยูพุดที่ 1 เมริอามุน ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับฟาโรห์เปดูบาสต์ 812–811 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์มาอัตเร เมริอามุน โชเชงค์ที่ 6 เมริอามุน ทรงเป็นผู้สืบพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์เปดูบาสต์ 801–795 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์มาอัตเร เซตป์เอนอามุน โอซอร์คอนที่ 3 ซาอิเซตเมริอามุน เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ทาเคลอตที่ 2 ทรงได้ยึดเมืองธีบส์คืนแล้วทรงประกาศพระองค์ขึ้นเป็นฟาโรห์ 795–767 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์มาอัตเร-เซตป์เอนอามุน ทาเคลอตที่ 3 เมริอามุน ซาอิเซตเมริอามุน ทรงขึ้นครองราชย์ร่วมกับฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 3 ผู้เป็นพระราชบิดาในช่วง 5 ปีแรกแห่งการครองราชย์ 773–765 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์มาอัตเร-เซตป์เอนอามุน เมริอามุน รุดอามุน เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กของฟาโรห์โอซอร์คอนที่ 3 และเป็นพระภราดรของฟาโรห์ทาเคลอตที่ 3 765–762 ปีก่อนคริสตกาล
อูอัสเนทเจอร์เร/เฮดจ์เคเปอร์เร เซเทปเอนเร โชเชงค์ที่ 7 ซาอิเซตเมริอามุน ปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับพระองค์น้อยมาก

ฟาโรห์รุดอามุนทรงถูกสืบทอดพระราชอำนาจต่อที่เมืองธีบส์ โดยผู้ปกครองท้องถิ่น

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เมนเคเปอร์เร อินิ ทรงครองราชย์เฉพาะบริเวณเมืองธีบส์เท่านั้น 762 ปีก่อนคริสตกาล – ไม่ทราบ

ราชวงศ์ที่ยี่สิบสี่

[แก้]

ราชวงศ์ที่ยี่สิบสี่เป็นราชวงศ์ที่ปกครองเป็นระยะเวลาสั้นๆ เมืองหลวงของราชวงศ์ตั้งอยู่ในเขตตะวันตกของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ (เมืองซาอิส) มีเพียงฟาโรห์จำนวนสองพระองค์ ซึ่งปกครองตั้งแต่ 732 ถึง 720 ปีก่อนคริสตกาล

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เชปเซสเร เทฟนัคต์ 732–725 ปีก่อนคริสตกาล
วาคาเร บาเคนเรเนฟ (บ็อกคอริส) 725–720 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า

[แก้]

ชาวนิวเบียได้บุกรุกอียิปต์ล่างและได้ครองพระราชบัลลังก์แห่งอียิปต์ในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์ปิเย ถึงแม้ว่าพระองค์จะควบคุมเมืองธีบส์และอียิปต์บนในช่วงปีแรก ๆ แห่งการครองราชสมบัติของพระองค์ แต่การพิชิตอียิปต์ของฟาโรห์ปิเยในบริเวณอียิปต์ล่างนั้นได้ทำให้เกิดการสถาปยนาราชวงศ์ยี่สิบห้าขึ้น ซึ่งปกครองจนถึง 656 ปีก่อนคริสตกาล

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
อูเซอร์มาอัตเร ปิเย ทรงเป็นกษัตริย์แห่งนิวเบีย ซึ่งทรงพิชิตอียิปต์ในปีที่ 20 แห่งการครองราชย์ พระองค์ทรงครองราชย์อย่างน้อย 24 ปี หรืออาจจะมากกว่า 30 ปี 744–714 ปีก่อนคริสตกาล ตามเฟรเดริก ปายโรโด[141]
ดเจดคาอูเร เชบิตคู เชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์ชาบากาจนถึงคริสต์ทศวรรษที่ 2010 714–705 ปีก่อนคริสตกาล ตามเฟรเดริก ปายโรโด[141]
เนเฟอร์คาเร ชาบาคา เชื่อว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าของฟาโรห์เชบิตคูจนถึงคริสต์ทศวรรษที่ 2010 705–690 ปีก่อนคริสตกาล ตามเฟรเดริก ปายโรโด[141]
คูอิเนเฟอร์เทมเร ทาฮาร์กา เสด็จสวรรตเมื่อ 664 ปีก่อนคริสตกาล 690–664 ปีก่อนคริสตกาล[142]
บาคาเร ทันต์อมานิ ทรงสูญเสียการควบคุมในอียิปต์บนเมื่อ 656 ปัก่อนคริสตกาล เมื่อฟาโรห์พซัมติกที่ 1 ได้ทรงขยายพระราชอำนาจไปยังธีบส์ในปีเดียวกันนั้น 664–653 ปีก่อนคริสตกาล

ในที่สุดผู้ปกครองก็ถูกขับไล่กลับไปยังนิวเบีย ซึ่งทรงได้สถาปนาพระราชอาณาจักรที่นาปาตา (656–590 ปีก่อนคริสตกาล) และต่อมาที่เมโรวี (590 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 500)

สมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณ

[แก้]

สมัยปลายแห่งอียิปต์โบราณเริ่มตั้งแต่ประมาณ 664 ถึง 332 ปีก่อนคริสตกาล และรวมถึงเป็นระยะเวลาแห่งการปกครองโดยชาวอียิปต์พื้นเมืองและชาวเปอร์เซีย

ราชวงศ์ที่ยี่สิบหก

[แก้]

ราชวงศ์ที่ยี่สิบหกปกครองระหว่าง 664 ถึง 525 ปีก่อนคริสตกาล[143]

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เมนอิบเร? อิร์อิบเร? เทฟนัคต์ที่ 2 (สเตฟินาเตส) ทรงพระนาม สเตฟินาเตส ตามบันทึกของแมนิโธ พระองค์อาจจะเป็นเชื้อพระวงศ์จากราชวงศ์ที่ยี่สิบสี่แห่งอียิปต์ และเป็พระราชบิดาของฟาโรห์เนโคที่ 1 685–678 ปีก่อนคริสตกาล
เนคาอูบา (เนเคปซอส) ทรงพระนาม เนเคปซอส ตามบันทึกของแมนิโธ มีการสงสัยเกี่ยวกับการมีอยู่ของพระองค์ 678–672 ปีก่อนคริสตกาล
เมนเคเปอร์เร เนคาอูที่ 1 (เนโคที่ 1) ทรงถูกสังหารโดยกองกำลังชาวคูชที่รุกรานเมื่อ 664 ปีก่อนคริสตกาลในรัชสมัยของฟาโรห์ทันต์อมานิ และพระองค์เป็นพระราชบิดาของฟาโรห์พซัมติกที่ 1 672–664 ปีก่อนคริสตกาล

ฟาโรห์พซัมติกที่ 1 ซึ่งเป็นพระราชโอรสและทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์เนคาอูที่ 1 ทรงสามารถรวมราชอาณาจักรอียิปต์ได้อีกครั้งและได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
วาอิบเร พซัมติกที่ 1 (ซัมเมติคัสที่ 1) ทรงรวมราชอาณาจักรอียิปต์อีกครั้ง พระองค์เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เนโคที่ 1 และเป็นพระราชบิดาของฟาโรห์เนโคที่ 2 664–610 ปีก่อนคริสตกาล[144]
เวเฮมอิบเร เนคาอูที่ 2 (เนโคที่ 2) เป็นไปได้มากว่าจะทรงเป็นฟาโรห์ที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือหลายเล่มของพระคัมภีร์และมรณกรรมของโยสิยาห์ พระองค์เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์พซัมติกที่ 1 และเป็นพระราชบิดาของฟาโรห์พซัมติกที่ 2 610–595 ปีก่อนคริสตกาล[144]
เนเฟอร์อิบเร พซัมติกที่ 2 (ซัมเมติคัสที่ 2) เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เนโคที่ 2 และเป็นพระราชบิดาของฟาโรห์อพริส 595–589 ปีก่อนคริสตกาล[144]
ฮาอาอิบเร วาอิบเร (อพริส) ทรงหนีออกจากอียิปต์หลังจากที่ฟาโรห์อามาซิสที่ 2 (ซึ่งเป็นนายพลในขณะนั้น) ทรงประกาศพระองค์เป็นฟาโรห์หลังจากสงครามกลางเมือง พระองค์เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์พซัมติกที่ 2 589–570 ปีก่อนคริสตกาล[144]
คเนมอิบเร อาโมสที่ 2 (อามาซิสที่ 2) พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองที่ยิ่งใหญ่พระองค์สุดท้ายของอียิปต์ก่อนการพิชิตของเปอร์เซีย ตามที่นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก เฮโรโดตัส ได้บันทึกไว้ว่า พระองค์ทรงมีพระชาติกำเนิดเป็นสามัญชน พระองค์เป็นพระราชบิดาของฟาโรห์พซัมติกที่ 3 570–526 ปีก่อนคริสตกาล[144]
อังค์คาเอนเร พซัมติกที่ 3 (ซัมเมติคัสที่ 3) เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อามาซิสที่ 2 ทรงปกครองประมาณหกเดือนก่อนที่จะทรงพ่ายแพ้ต่อเปอร์เซียในยุทธการที่เปลูเซียม และทรงต่อมาถูกสำเร็จในข้อหาพยายามก่อการกบฏ 526–525 ปีก่อนคริสตกาล[144]

ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ด

[แก้]

อียิปต์ถูกยึดครองโดยจักรวรรดิเปอร์เซียเมื่อ 525 ปีก่อนคริสตกาล และสถาปนาตั้งขึ้นเป็นมณฑลให้เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิจนถึงเมื่อ 404 ปีก่อนคริสตกาล จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิดทรงได้รับการยอมรับว่าทรงเป็นฟาโรห์ในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งได้สถาปนาเป็นราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนาม คำอธิบาย รัชสมัย
เมซุตเร แคมไบดเจต (แคมไบซีสที่ 2) หลังจากการพ่ายแพ้ของฟาโรห์พซัมติกที่ 3 ในยุทธการที่เปลูเซียม ทำให้จักรวรรดิเปอร์เซียเข้ามายึดครองอียิปต์เมื่อ 525 ปีก่อนคริสตกาล 525 – 1 กรกฎาคม 522 ปีก่อนคริสตกาล[145]
บาร์ดิยา (สเมอร์ดิส) / เกามาตา เป็นพระราชโอรสของจักรพรรดิไซรัสมหาราช 522 ปีก่อนคริสตกาล[145]
เซเทตอูเร เดริอุช (ดาริอุสที่ 1) ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์โดยทรงโค่นพระราชบัลลังก์ของเกามาตา 522 – พฤศจิกายน 486 ปีก่อนคริสตกาล[145]
เคชายารุชา (เซิร์กซีสที่ 1) ทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยอาร์ตาบาร์นุสแห่งเปอร์เซีย พฤศจิกายน 486 – ธันวาคม 465 ปีก่อนคริสตกาล[145]
อาร์ตาบาร์นุสแห่งเฮอร์เคเนีย 465-464 ปีก่อนคริสตกาล
อารุตาคชาชาส (อาร์ตาเซิร์กซีสที่ 1) เสด็จสวรรคตเมื่อ 424 ปีก่อนคริสตกาล 464–424 ปีก่อนคริสตกาล
เซิร์กซีสที่ 2 ผู้อ้างสิทธิ์ครองพระราชบัลลังก์ 424–423 ปีก่อนคริสตกาล[145]
ซ็อกเดียนุส ผู้อ้างสิทธิ์ครองพระราชบัลลังก์ 423 – กรกฎาคม 423 ปีก่อนคริสตกาล[145]
ดาริอุสที่ 2 เสด็จสวรรคตเมื่อ 404 ปีก่อนคริสตกาล กรกฎาคม 423 – มีนาคม 404 ปีก่อนคริสตกาล[145]

การก่อกบฏโดยชาวพื้นเมืองหลายครั้งที่เกิดขึ้นในช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เซเฮอร์อูอิบเร เปทูบาสทิสที่ 3[146] กบฏชาวอียิปต์พื้นเมืองในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ 522/21–520 ปีก่อนคริสตกาล
อาโมส? เนบคาเอนเร? ซัมเมติคัสที่ 4[146] สันนิษฐานว่าเป็นผู้นำการก่อกบฏชาวอียิปต์พื้นเมือง ซึ่งช่วงเวลากบฏยังคงคลุมเครืออยู่ อาจจะคริสต์ทศวรรษที่ 480 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปด

[แก้]

ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปดปกครองเพียง 6 ปี ตั้งแต่ 404 ถึง 398 ปีก่อนคริสตกาล โดยมีเพียงฟาโรห์พระองค์เดียว

รูปภาพ พระนาม คำอธิบาย รัชสมัย
อามุนดิอิร์ซู (อไมร์เตอุส) ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ของฟาโรห์จากราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งซาอิส ทรงได้ขับไล่ชาวเปอร์เชียออกไปจากอียิปต์ 404–398 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์ที่ยี่สิบเก้า

[แก้]

ราชวงศ์ยี่สิบเก้าปกครองระหว่าง 398 ถึง 380 ปีก่อนคริสตกาล

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
บาเอนเร เมริเนทเจอร์อู เนฟาอารุดที่ 1 (เนเฟริเตสที่ 1) หรือที่เรียกพระนามได้อีกว่า เนเฟริเตส พระองค์ทรงเอาชนะฟาโรห์อไมร์เตอุสในการสู้รบและทรงสำเร็จโทษพระองค์ 398–393 ปีก่อนคริสตกาล
คเนมมาอัตเร เซเทปเอนคเนมู ฮาคอร์ (อะคอริส) เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์เนฟาอารุดที่ 1 ประมาณ 392 – ประมาณ 391 ปีก่อนคริสตกาล
อูเซอร์เร เซเทปเอนพทาห์ พาเชอร์อิเอนมุต (พซัมมูธิส) อาจจะทรงปลดฟาโรห์ฮาคอร์ลงจากพระราชบัลลังก์เป็นระยะเวลาหนึ่งปี ประมาณ 391 ปีก่อนคริสตกาล
คเนมมาอัตเร เซเทปเอนคเนมู ฮาคอร์ (อะคอริส) ทรงยึดพระราชบัลลังก์จากฟาโรห์พซัมมูธิส ประมาณ 390 – ประมาณ 379 ปีก่อนคริสตกาล
เนฟาอารุดที่ 2 (เนเฟริเตสที่ 2) ทรงถูกปลดออกจากพระราชบัลลังก์และน่าจะทรงถูกสังหารโดยฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 หลังจากทรงปกครองได้เพียง 4 เดือน พระองค์เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ฮาคอร์ ประมาณ 379 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์ที่สามสิบ

[แก้]

ราชวงศ์ที่สามสิบปกครองตั้งแต่ 380 ปีก่อนคริสตกาล จนกระทั่งอียิปต์กลับเข้าอยู่มาภายใต้การปกครองของเปอร์เซียอีกครั้งเมื่อประมาณ 343 ปีก่อนคริสตกาล

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เคเปอร์คาเร เนคต์เนเบฟ (เนคทาเนโบที่ 1) ยังทราบในอีกพระนามว่า เนคต์เนเบฟ พระองค์เป็นผู้เนรเทศและน่าจะปลงพระชนม์ฟาโรห์เนเฟอริเตสที่สอง และเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์อียิปต์ที่ปกครองโดยชาวอียิปต์เป็นราชวงศ์สุดท้าย พระองค์เป็นพระราชบิดาของฟาโรห์เจดฮอร์ 379/8–361/0 ปีก่อนคริสตกาล
อิริมาอัตเอนเร ดเจดเฮอร์ (ทีออส) ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับฟาโรห์เนคทาโบที่ 1 ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์ ตั้งแต่ประมาณ 365 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ถูกโค่นพระราชบัลลังก์โดยฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 2 ด้วยความช่วยเหลือของอาเกซิลาอุสที่ 2แห่งสปาร์ตา 361/0–359/8 ปีก่อนคริสตกาล
สเนดจ์เอมอิบเร เซเทปเอนอันฮูร์ นัคต์ฮอร์เฮบิต เมริฮัตฮอร์ (เนคทาเนโบที่ 2) ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของอียิปต์โบราณ[147]ตามที่แมนิโธบันทึกไว้ 359/8–341/0 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด

[แก้]

อียิปต์ได้ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเปอร์เซียอีกครั้ง ผู้ปกครองชาวเปอร์เซียปกครองระหว่าง 343 ถึง 332 ปีก่อนคริสตกาล ได้รับการแต่งตั้งเป็นครั้งคราวเป็นราชวงศ์สามสิบเอ็ด

รูปภาพ พระนาม คำอธิบาย รัชสมัย
อาตาเซอร์ซีสที่สาม อียิปต์ตกอยู่ในการปกครองของชาวเปอร์เซียอีกครั้ง 343-338 ปีก่อนคริสตกาล
อาตาเซอร์ซีสที่สี่ ปกครองเฉพาะในอียิปต์ล่าง 338-336 ปีก่อนคริสตกาล
ดาริอุสที่สาม อียิปต์บนกลับสู่การควบคุมของเปอร์เซียเมื่อ 335 ปีก่อนคริสตกาล จักรวรรดิเปอร์เซียถูกพิชิตโดยอเล็กซานเดอร์มหาราชในเมื่อ 332 ปีก่อนคริสตกาล 336-332 ปีก่อนคริสตกาล

การก่อกบฏโดยชาวพื้นเมืองเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงราชวงศ์ที่สิบเอ็ด

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เซเนนเซเทปอูนิพทาห์ คาบาบาช ฟาโรห์กบฏที่ทรงนำการรุกรานในนิวเบีย 338–335 ปีก่อนคริสตกาล[148]

ช่วงสมัยเฮลเลนิสติก

[แก้]

ราชวงศ์อาร์กีด

[แก้]

ชาวกรีกมาซิโดเนียภายใต้การนำของอเล็กซานเดอร์มหาราชเข้าสู่ยุคแห่งเฮลเลนิสติกด้วยการพิชิตเปอร์เซียและอียิปต์ ราชวงศ์อาร์กีดปกครองตั้งแต่ 332 ถึง 309 ปีก่อนคริสตกาล

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เซปต์เอนเร เมริอามุน อะลุกซิเดรส (อเล็กซานเดอร์มหาราช) พระนามทางการ คือ อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาซิโดเนีย ทรงพิชิตเปอร์เซียและอียิปต์ 332–13 มิถุนายน 323 ปีก่อนคริสตกาล[149]
เซปต์เอนเร เมริอามุน เพลูพูอิซา (ฟิลิป อาร์ริดีอุส) พระนามทางการ คือ ฟิลิปที่ 3 แห่งมาซิโดเนีย พระองค์เป็นพระอนุชาต่างพระราชมารดาของอเล็กซานเดอร์มหาราชที่ทรงพิการทางสมอง 323–317 ปีก่อนคริสตกาล
คาอิบเร เซเทปเอนอามุน อะลุกซินเดรส (อเล็กซานเดอร์ที่ 4) พระนามทางการ คือ อเล็กซานเดอร์ที่ 4 แห่งมาซิโดเนีย พระองค์เป็นพระราชโอรสของอเล็กซานเดอร์มหาราชและพระนางร็อกซานา 317–309 ปีก่อนคริสตกาล

ราชวงศ์ทอเลมี

[แก้]

ราชวงศ์ทอเลมีเป็นราชวงศ์เฮลเลนิสติกลำดับที่สอง ซึ่งปกครองอียิปต์ตั้งแต่ 305 ปีก่อนคริสตกาล จนกระทั่งอียิปต์กลายเป็นมณฑลหนึ่งของกรุงโรมเมื่อ 30 ปีก่อนคริสตกาล (เมื่อใดก็ตามที่เวลาสองช่วงเวลาทับซ้อนกัน นั่นหมายถึงมีการปกครองร่วมกัน) สมาชิกราชวงศ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของราชวงศ์นี้คือพระนางคลีโอพัตราที่ 7 ซึ่งในยุคปัจจุบันรู้จักกันโดยทั่วกันในพระนาม คลีโอพัตรา ซึ่งเป็นมเหสีของจูเลียส ซีซาร์ และหลังจากการตายของซีซาร์ พระองค์ทรงความสัมพันธ์กับมาร์ค แอนโทนี ซึ่งทั้งสองพระองค์ก็ทรงมีพระราชโอรส-ธิดาด้วยกัน

พระนางคลีโอพัตราทรงพยายามสร้างความปรองดองทั้งทางด้านราชวงศ์และทางด้านการเมืองระหว่างอียิปต์และโรม แต่การลอบสังหารซีซาร์และความพ่ายแพ้ของมาร์ค แอนโทนี ทำให้แผนการของพระองค์ต้องล้มเหลว[ต้องการอ้างอิง]

ซีซาเรียน (ทอเลมีที่ 15 ฟิโลปาตอร์ ฟิโลมาตอร์ ซีซาร์) ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมีแห่งอียิปต์ และพระองค์ทรงครองราชย์ร่วมกับพระมารดาคือพระนางคลีโอพัตราที่ 7 แห่งอียิปต์ ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 47 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์โตของพระนางคลีโอพัตราที่ 7 และอาจจะเป็นโอรสพระเดียวของจูเลียส ซีซาร์ ซึ่งตั้งพระนามตามซีซาร์ ระหว่างช่วงเวลาการเสด็จสวรรคตของพระนางคลีโอพัตราในวันที่ 12 สิงหาคม 30 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงการเสด็จสวรรคตของพระองค์เองในวันที่ 23 สิงหาคม 30 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ทรงกลายว่าเป็นฟาโรห์ที่ครองราชย์แต่เพียงพระองค์เดียว ตามประวัติศาสตร์แล้วพระองค์ทรงถูกตามล่าและถูกสำเร็จโทษตามคำสั่งของออคตาเวียน ผู้ซึ่งจะกลายเป็นจักรพรรดิออกุสตุสของโรมัน แต่กลับไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์[ต้องการอ้างอิง]

รูปภาพ พระนามครองราชย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
เซตป์เอนเร เมริอามุน ทอเลมีที่ 1 โซเตอร์ ทรงสละราชสมบัติเมื่อ 285 ปีก่อนคริสตกาล[ต้องการอ้างอิง] 7 พฤศจิกายน 305 – มกราคม 282 ปีก่อนคริสตกาล[148]
เวเซอร์คาเร เมริอามุน ทอเลมีที่ 2 ฟิลาเดลฟอส 28 มีนาคม 284 – 28 มกราคม 246 ปีก่อนคริสตกาล
เคนเอม(เอต)อิเบนมาอัต เมอร์(เอต)เนทเจอร์อู อาร์ซิโนเอที่ 2 เป็นพระมเหสีของทอเลมีที่ 2 ประมาาณ 277 – กรกฎาคม 270 ปีก่อนคริสตกาล[148]
อิวาเอนเซนวิเนทเจอร์วี เซตป์เอนเร เซเคมอังค์เอนอามุน ทอเลมีที่ 3 ยูเออร์เกเทส 28 มกราคม 246 – พฤศจิกายน/ธันวาคม 222 ปีก่อนคริสตกาล
เบเรนิเคต เมริตเนทเจอร์อู เบเรนิซที่ 2 เป็นพระมเหสีของทอเลมีที่ 3 และทรงถูกปลงพระชนม์ 244/243 – 222 ปีก่อนคริสตกาล
อิวาเอนเนทเจอร์วีเมเนควี เซเทปเอนพทาห์ อูเซอร์คาเร เซเคมอังค์อามุน ทอเลมีที่ 4 ฟิโลพาตอร์ เสด็จสวรรคตโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจจะเป็นเพราะเหตุเพลิงไหม้ในพระราชบรมวังหรือทรงถูกฆาตกรรม พฤศจิกายน/ธันวาคม 222 – กรกฎาคม/สิงหาคม 204 ปีก่อนคริสตกาล
อาร์ซิโนเอที่ 3 เป็นพระมเหสีของทอเลมีที่ 4 และทรงถูกปลงพระชนม์ 220–204 ปีก่อนคริสตกาล
อิวาเอนเนทเจอร์วีเมอร์(วี)อิต เซเทปเอนพทาห์ อูเซอร์คาเร เซเคมอังค์อามุน ทอเลมีที่ 5 เอพิฟาเนส อียิปต์บนก่อการกบฏระหว่าง 207–186 ปีก่อนคริสตกาล กรกฎาคม/สิงหาคม 204 – กันยายน 180 ปีก่อนคริสตกาล
ฮูนู ซัตเฮกา อิเรตเอนเฮกา เมอร์เอนเนทเจอร์อูบาเกต เคเกอร์เอนเชเนมู ทาเทตซัต ฮูติ เวอร์เพติ เซเออร์ทาวิ เรดิเนสเนเบตอิเรคิตเอนเนเฟอร์อู เกนิซิเนตเนบซาอู เทนิซิอาฮอร์เอมเมรุตส์ คลีโอพัตราที่ 1 ไซรา เป็นพระมเหสีของทอเลมีที่ 5 ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับทอเลมีที่ 6 ในช่วงที่ยังทรงเยาว์วัย ประมาณ กุมภาพันธ์ 193 – 176 ปีก่อนคริสตกาล[148]
อิวาเอนเนทเจอร์วีเพอร์อู เซเทปเอนพทาห์เคเปอร์อิ อิริมาอัตอามุนเร ทอเลมีที่ 6 ฟิโลเมตอร์ ทรงอยู่ภายใต้การปกครองของทอเลมีที่ 8 164 ปีก่อนคริสตกาล–163 ปีก่อนคริสตกาล และทรงขึ้นครองราชย์อีกครั้งเมื่อ 163 ปีก่อนคริสตกาล เสด็จสวรรคตเมื่อ 145 ปีก่อนคริสตกาล ประมาณ พฤษภาคม 180 – ตุลาคม 164 ปีก่อนนคริสตกาล[148] และ

163 – ประมาณ กรกฎาคม 145 ปีก่อนคริสตกาล[148]

คลีโอพัตราที่ 2 เป็นพระมเหสีของทอเลมีที่ 6 ทรงอภิเษกสมรสกับทอเลมีที่ 8 เมื่อประมาณ 145 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งนำไปสู่การปฏิวัติต่อต้านพระองค์เมื่อ 131 ปีก่อนคริสตกาลและทรงกลายเป็นผู้ปกครองอียิปต์แต่เพียงพระองค์เดียว ต่อมาทรงคืนดีกับทอเลมีที่ 8 ซึ่งทรงปกครองร่วมกับคลีโอพัตราที่ 3 และทอเลมีที่ 8 จนถึง 116 ปีก่อนคริสตกาล 175 – ตุลาคม 164 ปีก่อนคริสตกาล

และ

163–127 ปีก่อนคริสตกาล

และ

124–116 ปีก่อนคริสตกาล

อิวาเอนเนทเจอร์วีเพอร์วี เซเทปเอนพทาห์ อิริมาอัตเร เซเคมอังค์เอนอามุน ทอเลมีที่ 8 ฟิสคอน ทรงประกาศพระองค์เป็นกษัตริย์โดยชาวอเล็กซานเดรียเมื่อ 170 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งทรงปกครองร่วมกับทอเลมีที่ 6 ฟิโลเมตอร์ และคลีโอพัตราที่ 2 ตั้งแต่ 169 ถึง 164 ปีก่อนคริสตกาล และทรงครองราชย์อีกครั้งเมื่อ 145–131 ปีก่อนคริสตกาล และอีกครั้งใน 127 ปีก่อนคริสตกาล เสด็จสวรรคตเมื่อ 116 ปีก่อนคริสตกาล 171–163 ปีก่อนคริสตกาล

และ

144–131 ปีก่อนคริสตกาล

และ

127–116 ปีก่อนคริสตกาล

ทอเลมีที่ 7 นีออส ฟิโลพาตอร์ ทรงประกาศพระองค์เป็นผู้ปกครองร่วมกับพระราชบิดาของพระองค์ ซึ่งต่อมาทรงได้ปกครองภายใต้ผู้สำเร็จราชการของพระนางคลีโอพัตราที่ 2 145–144 ปีก่อนคริสตกาล
เนบทาวี คาเนเคต คลีโอพัตราที่ 3 เป็นพระมเหสีพระองค์ที่สองของทอเลมีที่ 8 ทรงปกครองอีกครั้งร่วมกับทอเลมีที่ 8 เมื่อ 127 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งต่อมาทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ร่วมกับทอเลมีที่ 9 และ 10 ทรงถูกสังหารโดยทอเลมีที่ 10 ซึ่งเป็นพระราชโอรสลของพระองค์เอง 142–131 ปีก่อนคริสตกาล

และ

127–107 ปีก่อนคริสตกาล

ทอเลมี เมมฟิเตส ทรงประกาศพระองค์เป็นกษัตริย์โดยโดยคลีโอพัตราที่ 2 ซึ่งไม่นานก็ทรงถูกทอเลมีที่ 8 สังหาร 131 ปีก่อนคริสตกาล
อิวา(เอน)เนทเจอร์เมเนคเนทเจอร์เอตมุตเอสเนดเจต(เอต) เซเทปเอนทพาห์ อิริมาอัตเร เซเคมอังค์อามุน ทอเลมีที่ 9 โซเตอร์ เสด็จสวรรคตเมื่อ 80 ปีก่อนคริสตกาล 28 มิถุนายน 116 – ตุลาคม 110 ปีก่อนคริสตกาล[148]
คลีโอพัตราที่ 4 ทรงอภิเษกสมรสกับทอเลมีที่ 9 เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ทรงถูกขับออกจากตำแหน่งโดยคลีโอพัตราที่ 3 ซึ่งทรงถูกฆาตกรรมในเวลาต่อมา 28 มิถุนายน 116–115 ปีก่อนคริสตกาล[148]
อิวา(เอน)เนทเจอร์เมเนคเอนเนทเจอร์เอตเมนเคตเร เซเทปเอนพทาห์ อิริมาอัตเร เซเนนอังค์เอนอามุน ทอเลมีที่ 10 อเล็กซานเดอร์ เสด็จสวรรคตเมื่อ 88 ปีก่อนคริสตกาล ตุลาคม 110 – กุมภาพันธ์ 109 ปีก่อนคริสตกาล[148]
คลิอาพัดรัต เบเรนิเคต เบเรนิซที่ 3 ทรงถูกบังคับให้อภิเษกสมรสกับทอเลมีที่ 11 ซึ่งพระองค์ทรงถูกสังหารตามคำสั่งของพระองค์ในอีก 19 วันต่อมา 81–80 ปีก่อนคริสตกาล
ทอเลมีที่ 11 อเล็กซานเดอร์ เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กของทอเลมีที่ 10 อเล็กซานเดอร์ ซึ่งได้รับรองกับแต่งตั้งเป็นกษัตริย์โดยซูลลา พระองค์ทรงปกครองเป็นระยะเวลา 80 วันก่อนที่จะทรงถูกประชาทัณฑ์จากการทรงสังหารพระนางเบเรนิซที่ 3 80 ปีก่อนคริสตกาล[148]
อิวาเอนพาเนทเจอร์เนเฮม เซเทปเอนพทาห์ อิริมาอัตเอนเร เซเคมอังค์อามุน ทอเลมีที่ 12 อูเลเทส เป็นพระราชโอรสของทอเลมีที่ 9 ทรงถูกปลดจากพระราชบัลลังก์เมื่อ 58 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งทรงครองราชย์เป็นระยะเวลาสั้น ๆ กับพระราชธิดา คือ พระนางคลีโอพัตราที่ 7 ก่อนที่จะเสด็จสวรรคตเมื่อ 51 ปีก่อนคริสตกาล 80–58 ปีก่อนคริสตกาล[148]

และ

55–51 ปีก่อนคริสตกาล[148]

คลีโอพัตราที่ 5 ไทรฟีนา เป็นพระมเหสีของทอเลมีที่ 12 และทรงเป็นพระราชมารดาของพระนางเบเรนิซที่ 4 79–68 ปีก่อนคริสตกาล
คลีโอพัตราที่ 6 เป็นพระราชธิดาของทอเลมีที่ 12 แต่นักไอยคุปต์บางคนตั้งข้อสันนิษฐานว่าทรงเป็นบุคคลพระองค์เดียวกับพระนางคลีโอพัตราที่ 5[150] 58–57 ปีก่อนคริสตกาล
เบเรนิซที่ 4 เป็นพระราชธิดาของทอเลมีที่ 12 ทรงถูกบังคับให้อภิเษกสมรสกับกษัตริย์เซลิวคัส ไคบิโอซัคเตส แต่ทรงถูกพระองค์บีบพระศอจนสวรรคต ทรงปกครองร่วมกับพระนางคลีโอพัตราที่ 6 จนถึง 57 ปีก่อนคริสตกาล 58–55 ปีก่อนคริสตกาล[148]
เวเรตเนเบตเนเฟอร์อู อาเคตเซ คลีโอพัตราที่ 7 ทรงปกครองร่วมกับทอเลมีที่ 12 ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระองค์, ทอเลมีที่ 13 ซึ่งพระภารดรของพระองค์, ทอเลมีที่ 14 ซึ่งพระภารดรและพระสวามีของพระองค์ และทอเลมีที่ 15 ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์ ในการเรียพระนามของพระองค์ในปัจจุบัน ได้เรียกพระนามว่า "คลีโอพัตรา" โดยไม่มีเลขลำดับ ซึ่งมักจะหมายถึงพระนางคลีโอพัตราที่ 7 และพระองค์ทรงทำอัตวินิบาตกรรม 31 พฤษภาคม 52[151] – 12 สิงหาคม 30 ปีก่อนคริสตกาล[148]
ทอเลมีที่ 13 ธีออส ฟิโลพาตอร์ เป็นพระภารดรของพระนางคลีโอพัตราที่ 7 51–13 มกราคม 47 ปีก่อนคริสตกาล
อาร์ซิโนเอที่ 4 ทรงต่อต้านพระนางคลีโอพัตราที่ 7 ธันวาคม 48 – มกราคม 47 ปีก่อนคริสตกาล
ทอเลมีที่ 14 ฟิโลพาตอร์ เป็นพระอนุชาของพระนางคลีโอพัตราที่ 7 และทอเลมีที่ 13 13 มกราคม 47–26 กรกฎาคม 44 ปีก่อนคริสตกาล
อิวาพาเนทเจอร์เนตินเนเฮม เซเทปเอนพทาห์ อิริมาอัตเร เซเคม(อังค์)เอนอามุน ทอเลมีที่ 15 ซีซาร์ เป็นพระราชโอรสในพระนางคลีโอพัตราที่ 7 เมื่อทรงมีพระชนมพรรษา 3 พรรษา ทรงประกาศให้เป็นผู้ปกครองร่วมกับพระนางคลีโอพัตรา และผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของอียิปต์โบราณ เมื่อโรมเข้ายึดครอง 2 กันยายน 44 – สิงหาคม 30 ปีก่อนคริสตกาล

การก่อกบฏโดยชาวพื้นเมืองก็ยังคงเกิดขึ้นภายใต้การปกครองของกรีก ดังนี้

รูปภาพ พระนามครงราขย์ พระนามประสูติ คำอธิบาย รัชสมัย
ฮูโกรนาฟอร์ ทรงเป็นฟาโรห์กบฏในทางใต้ 205–199 ปีก่อนคริสตกาล
อังค์มาคิส ทรงเป็นฟาโรห์กบฏในทางใต้ 199–185 ปีก่อนคริสตกาล
ฮาร์ซิเอซิ ทรงเป็นฟาโรห์กบฏในทางใต้ 131–130 ปีก่อนคริสตกาล

ช่วงสมัยโรมัน

[แก้]
ภาพสลักอียิปต์ที่แสดงภาพของจักรพรรดิทราจันแห่งโรมัน (ด้านขวา ซึ่งครองราชย์ ค.ศ. 98 – 117) ในรูปแบบของฟาโรห์เต็มรูปแบบ

คลีโอพัตราที่ 7 ทรงมีความสัมพันธ์กับจอมเผด็จการโรมันนามว่า จูเลียส ซีซาร์ และแม่ทัพโรมันนามว่า มาร์ค แอนโทนี แต่หลังจากนั้นไม่นานหลังจากที่พระองค์ทรงทำอัตวินิบาตกรรม (หลังจากมาร์ค แอนโทนีได้พ่ายแพ้ต่ออ็อคตาเวียน ซึ่งต่อมาคือจักรพรรดิออกุสตุส ซีซาร์) อียิปต์จึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของสาธารณรัฐโรมันเมื่อ 30 ปีก่อนคริสตกาล จักรพรรดิโรมันพระองค์ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นฟาโรห์ แม้ว่าจะอยู่ในอียิปต์เท่านั้น

จักรพรรดิโรมันองค์สุดท้ายที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นฟาโรห์คือจักรพรรดิมักซีมินัส ดาซา (ทรงครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 311–313)[2][152]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Clayton 1995, p. 217. "Although paying lip-service to the old ideas and religion, in varying degrees, pharaonic Egypt had in effect died with the last native pharaoh, Nectanebo II in 343 BC"
  2. 2.0 2.1 2.2 von Beckerath, Jürgen (1999). Handbuch der ägyptischen Königsnamen. Verlag Philipp von Zabern. pp. 266–267. ISBN 978-3422008328.
  3. "Digital Egypt for Universities". www.ucl.ac.uk. สืบค้นเมื่อ 2019-02-12.
  4. Toby A. H. Wilkinson: Royal Annals Of Ancient Egypt. Routledge, London 2012, ISBN 1-136-60247-X, p. 50.
  5. Toby A. H. Wilkinson: Royal Annals Of Ancient Egypt. Routledge, London 2012, ISBN 1-136-60247-X, p. 61.
  6. Cervello-Autuori, Josep (2003). "Narmer, Menes and the Seals from Abydos". ใน Hawass, Zahi (บ.ก.). Egyptology at the Dawn of the Twenty-first Century: Proceedings of the Eighth International Congress of Egyptologists, 2000. Vol. 2. Cairo: American University in Cairo Press. pp. 168–75. ISBN 9789774247149.
  7. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 5. ISBN 978-977-416-221-3.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Barry Kemp (a1), Andrew Boyce and James Harrell, The Colossi from the Early Shrine at Coptos in Egypt, in: Cambridge Archaeological Journal Volume 10, Issue 2April 2000, 233
  9. zur Altägyptischen Kultur, Band 37
  10. Ludwig David Morenz: Bild-Buchstaben und symbolische Zeichen. Die Herausbildung der Schrift der hohen Kultur Altägyptens (= Orbis Biblicus et Orientalis 205). Fribourg 2004, ISBN 3-7278-1486-1, p. 91.
  11. "Aufstand gegen den Tod". Der Spiegel. 24 December 1995.
  12. http://www.nefershapiland.de/pharaonenliste%201.htm [URL เปล่า]
  13. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 3. ISBN 978-977-416-221-3.
  14. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 288. ISBN 978-977-416-221-3.
  15. Wilke, Matthias (2015-04-22), "Emanuel Hirsch (1888 –1972) – "Jene zwei Göttinger Stiftsinspektorenjahre haben die Liebe zu Göttingen für immer in mir erweckt […] Aber […]", Stiftsgeschichte(n), Göttingen: Vandenhoeck & Ruprecht, pp. 187–196, doi:10.13109/9783666570377.187, ISBN 978-3-525-57037-1, สืบค้นเมื่อ 2022-10-26
  16. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 104. ISBN 978-977-416-221-3.
  17. Felde, Rolf: Gottheiten, Pharaonen und Beamte im alten Ägypten, Norderstedt 2017, S. 125.
  18. Günter Dreyer: Horus Krokodil, ein Gegenkönig der Dynastie 0. In: Renee Friedman and Barbara Adams (Hrsg.): The Followers of Horus, Studies dedicated to Michael Allen Hoffman, 1949–1990 (= Egyptian Studies Association Publication, vol. 2). Oxbow Publications, Bloomington (IN) 1992, ISBN 0-946897-44-1, p. 259–263.
  19. P. Tallet, D. Laisnay: Iry-Hor et Narmer au Sud-Sinaï (Ouadi 'Ameyra), un complément à la chronologie des expéditios minière égyptiene. In: Bulletin de L'Institute Français D'Archéologie Orientale (BIFAO) 112. Ausgabe 2012, S. 381–395.
  20. Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen (= Münchner ägyptologische Studien, vol. 49. von Zabern, Mainz 1999, ISBN 3-8053-2591-6, p. 36–37.
  21. Toby Wilkinson: Early Dynastic Egypt: Strategy, Society and Security. Routeledge, London 1999, ISBN 0-415-18633-1, p. 38, 56 & 57.
  22. Stewart, John (2006). African States and Rulers (Third ed.). London: McFarland. p. 77. ISBN 0-7864-2562-8.
  23. 23.00 23.01 23.02 23.03 23.04 23.05 23.06 23.07 23.08 23.09 23.10 23.11 23.12 23.13 Stewart, John (2006). African States and Rulers (Third ed.). London: McFarland. p. 81. ISBN 0-7864-2562-8.
  24. 24.0 24.1 Elizabeth BLOXAM, Wouter CLAES, Tiphaine DACHY, Maude EHRENFELD, Ashraf EL-SENUSSI, Chloé GIRARDI, James HARRELL, Thomas C. HEAGY, Stan HENDRICKX, Christiane HOCHSTRASSER-PETIT, Dirk HUYGE, Clara JEUTHE, Adel KELANY, Christian KNOBLAUCH, Béatrix MIDANT-REYNES, Norah MOLONEY, Aurélie ROCHE and Adel TOHAMEY (January 2014). "Who Was Menes?" (PDF). Archéo nil. 24: 59–92. doi:10.3406/arnil.2014.1071. S2CID 248280047. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  25. Toby A.H. Wilkinson (1999). Early Dynastic Egypt. Routledge. p. 67. ISBN 0-415-26011-6.
  26. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 7. ISBN 978-977-416-221-3.
  27. 27.0 27.1 Toby A.H. Wilkinson (1999). Early Dynastic Egypt. Routledge. p. 71. ISBN 0-415-26011-6.
  28. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 92. ISBN 978-977-416-221-3.
  29. Wolfgang Helck: Untersuchungen zur Thinitenzeit (= Ägyptologische Abhandlungen (ÄA), Vol. 45). Harrassowitz, Wiesbaden 1987, ISBN 3-447-02677-4, p. 124.
  30. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 95. ISBN 978-977-416-221-3.
  31. 31.0 31.1 31.2 Wolfgang Helck: Untersuchungen zur Thinitenzeit (Agyptologische Abhandlungen), ISBN 3-447-02677-4, O. Harrassowitz (1987), p. 124
  32. Toby A.H. Wilkinson (1999). Early Dynastic Egypt. Routledge. p. 73. ISBN 0-415-26011-6.
  33. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 78. ISBN 978-977-416-221-3.
  34. 34.0 34.1 Toby A.H. Wilkinson (1999). Early Dynastic Egypt. Routledge. p. 75. ISBN 0-415-26011-6.
  35. Toby A.H. Wilkinson (1999). Early Dynastic Egypt. Routledge. p. 77. ISBN 0-415-26011-6.
  36. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 55. ISBN 978-977-416-221-3.
  37. Nicolas-Christophe Grimal: A History of Ancient Egypt. Blackwell, Oxford UK / Cambridge USA 1992, ISBN 978-0-631-19396-8, p. 53.
  38. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 376. ISBN 978-977-416-221-3.
  39. Toby A.H. Wilkinson (1999). Early Dynastic Egypt. Routledge. p. 79. ISBN 0-415-26011-6.
  40. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 299. ISBN 978-977-416-221-3.
  41. Wilkinson (1999) pp. 83–84
  42. Toby A.H. Wilkinson (1999). Early Dynastic Egypt. Routledge. p. 83. ISBN 0-415-26011-6.
  43. Dietrich Wildung: Die Rolle ägyptischer Könige im Bewußtsein ihrer Nachwelt. Teil I. Posthume Quellen über die Könige der ersten vier Dynastien. In: Münchener Ägyptologische Studien, vol. 17. Deutscher Kunstverlag, Munich/Berlin 1969, p. 31–33.
  44. Wilkinson (1999) p. 79
  45. Wilkinson (1999) pp. 87–88
  46. Pascal Vernus, Jean Yoyotte, The Book of the Pharaohs, Cornell University Press 2003, p. 27
  47. Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen. Deutscher Kunstverlag, Munich/Berlin 1984, ISBN 3-422-00832-2, p. 171.
  48. Toby A. H. Wilkinson: Early Dynastic Egypt. Routledge, London/New York 2002, ISBN 1-134-66420-6, p. 75–76.
  49. Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen. 2. verbesserte und erweiterte Auflage. von Zabern, Mainz 1999, S. 44–45.
  50. Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen. Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3, page 175.
  51. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Toby A.H. Wilkinson 1999 833
  52. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Toby A.H. Wilkinson 1999 832
  53. Toby A.H. Wilkinson (1999). Early Dynastic Egypt. Routledge. p. 93. ISBN 0-415-26011-6.
  54. Wilkinson, Toby (1999). Early Dynastic Egypt. Routledge. pp. 83& 95. ISBN 0-415-18633-1.
  55. Wilkinson, Toby. Royal Annals of Ancient Egypt. pp. 79 & 258.
  56. "Pharaohs - Timeline Index". www.timelineindex.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-20. สืบค้นเมื่อ 2020-03-23.
  57. Clayton (1994) p.32
  58. Lehner, Mark (1997). Geheimnis der Pyramiden (ภาษาเยอรมัน). Düsseldorf: Econ. pp. 94–96. ISBN 3-572-01039-X.
  59. Clayton (1994) p.42
  60. Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen. Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3, pp. 278–279.
  61. Miroslav Verner (2000): "Who was Shepseskara, and when did he reign?", in: Miroslav Bárta, Jaromír Krejčí (editors): Abusir and Saqqara in the Year 2000, Academy of Sciences of the Czech Republic, Oriental Institute, Prague, ISBN 80-85425-39-4, p. 581–602, available online เก็บถาวร 2011-02-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  62. Dodson & Hilton (2004) p.73
  63. Ryholt & Bardrum (2000) pp.87–100.
  64. Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : P. von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6, available online เก็บถาวร 2015-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  65. Kim Ryholt: "The Late Old Kingdom in the Turin King-list and the Identity of Nitocris", Zeitschrift für Ägyptische Sprache und Altertumskunde, 127, 2000, p. 99
  66. Gustave Jéquier, Maṣlaḥat al-Āthār (1993) : Les pyramides des reines Neit et Apouit (in French), Cairo: Institut français d'archéologie orientale, OCLC 195690029, see plate 5.
  67. Percy Newberry (1943) : Queen Nitocris of the Sixth Dynasty, in: The Journal of Egyptian Archeology, vol. 29, pp=51-54
  68. Gae Callender: Queen Neit-ikrety/Nitokris, in: Miroslav Barta, Filip Coppens, Jaromic Krecji (editors) : Abusir and Saqqara in the year 2010/1, Prague: Czech Institute of Egyptology, Faculty of Arts, Charles University, 2011, ISBN 978-80-7308-384-7, see pp. 249-250
  69. Turin Kinglist, Columns IV,18 to V,10, Ancient Egypt dot org. Accessed 10 February 2010.
  70. Turin Kinglist, Columns IV,18 to V,10, Ancient Egypt dot org. Accessed 10 February 2010.
  71. Lepsius, Karl (1859). Denkmaler aus Aegypten und Aethiopien. pp. 115h.
  72. Breasted, James (1906). Ancient Records of Egypt (PDF). Vol. 1. The University of Chicago Press. p. 175.
  73. Gauthier, Henri (1907). MIFAO 17 Le livre des rois d'Egypte Des origines à la fin de la XIIe dynastie. The French Institute of Oriental Archeology. pp. 143–144.
  74. Couyat, Jean; Montet, Pierre (1912). MIFAO 34 Les inscriptions hieroglyphiques et hieratiques du Ouâdi Hammâmât. The French Institute of Oriental Archeology. pp. 103-104 Plate=XXXIX.
  75. Baker, Darrell (2008). The Encyclopedia of the Pharaohs. Predynastic to the Twentieth Century: 3300-1069 BC. Vol. 1. Stacey International. p. 133. ISBN 978-1905299379.
  76. Margaret Bunson: Encyclopedia of Ancient Egypt, Infobase Publishing, 2009, ISBN 978-1-4381-0997-8, available online, see p. 181
  77. Labib Habachi: King Nebhepetre Menthuhotep: his monuments, place in history, deification and unusual representations in form of gods, in: Annales du Service des Antiquités de l'Égypte 19 (1963), pp. 16–52
  78. Wolfram Grajetzki (2006) pp. 23–25
  79. Wolfram Grajetzki (2006) pp. 25–26
  80. 80.0 80.1 80.2 Wolfram Grajetzki (2006) pp. 27–28
  81. http://www.digitalegypt.ucl.ac.uk//chronology/amenemhatI.html Amenemhat I
  82. Wolfram Grajetzki (2006) pp. 28–35
  83. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 20. ISBN 978-977-416-221-3.
  84. 84.0 84.1 84.2 84.3 Marc Van De Mieroop (2021). A History of Ancient Egypt. Wiley Blackwell. p. 98. ISBN 978-1-119-62087-7.
  85. Marc Van De Mieroop (2021). A History of Ancient Egypt. Wiley Blackwell. p. 99. ISBN 978- 1-119-62087-7.
  86. Murnane (1977) p.2
  87. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 391. ISBN 978-977-416-221-3.
  88. Marc Van De Mieroop (2021). A History of Ancient Egypt. Wiley Blackwell. pp. 112–113. ISBN 978-1-119-62087-7.
  89. Murnane (1977) p.7
  90. Murnane (1977) p.7
  91. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 24. ISBN 978-977-416-221-3.
  92. 92.0 92.1 Marc Van De Mieroop (2021). A History of Ancient Egypt. Wiley Blackwell. p. 109. ISBN 978-1-119-62087-7.
  93. Murnane (1977) p.9
  94. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 395. ISBN 978-977-416-221-3.
  95. Marc Van De Mieroop (2021). A History of Ancient Egypt. Wiley Blackwell. p. 100. ISBN 978-1-119-62087-7.
  96. Josef Wegner, The Nature and Chronology of the Senwosret III–Amenemhat III Regnal Succession: Some Considerations based on new evidence from the Mortuary Temple of Senwosret III at Abydos, JNES 55, Vol.4, (1996), pp.251
  97. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 398. ISBN 978-977-416-221-3.
  98. Marc Van De Mieroop (2021). A History of Ancient Egypt. Wiley Blackwell. p. 104. ISBN 978-1-119-62087-7.
  99. Wolfram Grajetzki (2006) pp. 56–61
  100. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 26. ISBN 978-977-416-221-3.
  101. "Amenemhat III". University College London.
  102. "Amenemhat IV Maakherure (1807/06-1798/97 BC)". Digital Egypt for Universities.
  103. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 30. ISBN 978-977-416-221-3.
  104. Grajetzki (2006) pp. 61–63
  105. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 456. ISBN 978-977-416-221-3.
  106. 106.00 106.01 106.02 106.03 106.04 106.05 106.06 106.07 106.08 106.09 106.10 106.11 106.12 106.13 106.14 106.15 106.16 106.17 106.18 106.19 106.20 106.21 106.22 106.23 106.24 106.25 106.26 106.27 106.28 106.29 106.30 K. S. B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997
  107. en:Nerikare, oldid 866899332[การอ้างอิงวกเวียน]
  108. en:Amenemhet_VI, oldid 916924832[การอ้างอิงวกเวียน]
  109. en:Semenkare_Nebnuni, oldid 910764002[การอ้างอิงวกเวียน]
  110. 110.0 110.1 Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen, Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3
  111. en:Sehetepibre, oldid 866897575[การอ้างอิงวกเวียน]
  112. Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen, Albatros, 2002
  113. 113.0 113.1 113.2 113.3 113.4 113.5 113.6 113.7 113.8 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ryholt1997
  114. 114.00 114.01 114.02 114.03 114.04 114.05 114.06 114.07 114.08 114.09 114.10 114.11 114.12 114.13 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997
  115. 115.0 115.1 "Kings of the 2nd Intermediate Period". www.ucl.ac.uk.
  116. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 12. ISBN 978-977-416-221-3.
  117. 117.0 117.1 Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 4. ISBN 978-977-416-221-3.
  118. Detlef Franke: "Zur Chronologie des Mittleren Reiches. Teil II: Die sogenannte Zweite Zwischenzeit Altägyptens", In Orientalia 57 (1988), p. 259
  119. Ryholt, K. S. B. (1997). The Political Situation in Egypt During the Second Intermediate Period, C. 1800–1550 B.C. Museum Tusculanum Press. p. 164. ISBN 978-87-7289-421-8.
  120. "Giant Sarcophagus Leads Penn Museum Team in Egypt To the Tomb of a Previously Unknown Pharaoh". Penn Museum. January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-24. สืบค้นเมื่อ 16 January 2014.
  121. Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der Zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, 1964
  122. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ beckerath1997
  123. Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien 49, Mainz 1999.
  124. 124.0 124.1 Marcel Marée: A sculpture workshop at Abydos from the late Sixteenth or early Seventeenth Dynasty, in: Marcel Marée (editor): The Second Intermediate period (Thirteenth-Seventeenth Dynasties), Current Research, Future Prospects, Leuven, Paris, Walpole, Massachusetts. 2010 ISBN 978-90-429-2228-0. p. 247, 268
  125. Baker, Darrell D. (2008). Encyclopedia of the Pharaohs Volume 1: Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300-1069 BC. Egypt: The American University in Cairo Press. p. 111. ISBN 978-977-416-221-3.
  126. 126.0 126.1 126.2 Jürgen von Beckerath: Chronologie des pharaonischen Ägyptens, Münchner Ägyptologische Studien 46. Mainz am Rhein, 1997
  127. Wolfgang Helck, Eberhard Otto, Wolfhart Westendorf, Stele – Zypresse: Volume 6 of Lexikon der Ägyptologie, Otto Harrassowitz Verlag, 1986, Page 1383
  128. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ReferenceA2
  129. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ryholt19973
  130. Christopher Bronk Ramsey et al., Radiocarbon-Based Chronology for Dynastic Egypt, Science 18 June 2010: Vol. 328. no. 5985, pp. 1554–1557.
  131. 131.0 131.1 131.2 131.3 Marc Van De Mieroop (2021). A History of Ancient Egypt. Wiley Blackwell. p. 146. ISBN 978-1-119-62087-7.
  132. Marc Van De Mieroop (2021). A History of Ancient Egypt. Wiley Blackwell. p. 168. ISBN 978-1-119-62087-7.
  133. Marc Van De Mieroop (2021). A History of Ancient Egypt. Wiley Blackwell. p. 169. ISBN 978-1-119-62087-7.
  134. "Ramesses I Menpehtire". Digital Egypt. University College London. 2001. สืบค้นเมื่อ 2007-09-29.
  135. "King Merenptah". Digital Egypt. University College London. 2001. สืบค้นเมื่อ 2007-09-29.
  136. "Sety II". Digital Egypt. University College London. 2001. สืบค้นเมื่อ 2007-10-27.
  137. "Siptah Sekhaenre/Akhenre". Digital Egypt. University College London. 2001. สืบค้นเมื่อ 2007-10-27.
  138. Grimal (1992) p.291
  139. "Ramesses XI Menmaatre-setpenptah". สืบค้นเมื่อ 2007-10-28.
  140. Cerny p.645
  141. 141.0 141.1 141.2 F. Payraudeau, Retour sur la succession Shabaqo-Shabataqo, Nehet 1, 2014, p. 115–127
  142. Stewart, John (1989). African States and Rulers. London: McFarland. p. 88. ISBN 0-89950-390-X.
  143. "Late Period Kings". สืบค้นเมื่อ 2007-10-27.
  144. 144.0 144.1 144.2 144.3 144.4 144.5 Stewart, John (2006). African States and Rulers (Third ed.). London: McFarland. p. 83. ISBN 0-7864-2562-8.
  145. 145.0 145.1 145.2 145.3 145.4 145.5 145.6 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Stewart834
  146. 146.0 146.1 Placed in this dynasty only for chronological reasons, as he was not related to the Achaemenids.
  147. "Nakhthorhebyt". Digital Egypt for Universities. สืบค้นเมื่อ March 1, 2011.
  148. 148.00 148.01 148.02 148.03 148.04 148.05 148.06 148.07 148.08 148.09 148.10 148.11 148.12 148.13 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Stewart83
  149. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Stewart832
  150. Tyldesley, Joyce (2006), Chronicle of the Queens of Egypt, p. 200, ISBN 0-500-05145-3.
  151. Roller, Duane W. (2010). Cleopatra: a Biography. Oxford University Press. p. 27. ISBN 978-0-195-36553-5.
  152. Vernus, Pascal; Yoyotte, Jean (2003). The Book of the Pharaohs (ภาษาอังกฤษ). Cornell University Press. pp. 238–256. ISBN 9780801440502. maximinus pharaoh.