ข้ามไปเนื้อหา

ราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์

ประมาณ 2160 ปีก่อนคริสตกาล–ประมาณ 2130 ปีก่อนคริสตกาล
ตุ้มน้ำหนักหินโมราสลักคาร์ทูธของฟาโรห์เนบคาอูเร เคติ
ตุ้มน้ำหนักหินโมราสลักคาร์ทูธของฟาโรห์เนบคาอูเร เคติ
เมืองหลวงเฮราคลีโอโพลิส
ภาษาทั่วไปภาษาอียิปต์
ศาสนา
ศาสนาอียิปต์โบราณ
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ยุคประวัติศาสตร์ยุคทองแดง
• ก่อตั้ง
ประมาณ 2160 ปีก่อนคริสตกาล
• สิ้นสุด
ประมาณ 2130 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ที่เจ็ดและแปดแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบแห่งอียิปต์

ราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์ มักจะอยู่รวมกับราชวงศ์ที่เจ็ด, แปด, สิบ และต้นราชวงศ์ที่สิบเอ็ด เป็นกลุ่มราชวงศ์ที่อยู่ในสมัยช่วงระหว่างกลางที่ 1[1]  และราชวงศ์ที่เก้าดูเหมือนว่าจะเข้ามาแทนที่ราชวงศ์ที่แปดนั้นคลุมเครืออย่างยิ่ง การก่อรัฐประหารโดยผู้ปกครองของเมืองเฮราคลีโอโพลิสเป็นไปยังรุนแรงและสะท้อนให้เห็นในคำอธิบายของบันทึกแห่งอัคธอส์ (Achthoes) ของมาเนโทเกี่ยวกับผู้ก่อตั้งราชวงศ์ว่า 'น่าสะพรึงกลัวยิ่งกว่าผู้ปกครองก่อนหน้าของเขา' ผู้ซึ่ง 'ก่อความชั่วแก่คนทั้งปวงในอียิปต์'

ผู้ปกครอง

[แก้]

ราชวงศ์ที่เก้าสถาปนาขึ้นที่เมืองเฮราคลีโอโพลิสและราชวงศ์ที่สิบก็ยังคงอยู่ที่นั่น  ในเวลานี้ อียิปต์ยังไม่รวมกันเป็นปึกแผ่น และมีการทับซ้อนกันระหว่างราชวงศ์เหล่านี้กับราชวงศ์ท้องถิ่นอื่นๆ บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินได้ระบุรายพระนามฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่เก้าจำนวนสิบแปดพระองค์ แต่พระนามของฟาโรห์เหล่านี้ได้รับความเสียหายจนไม่สามารถระบุตัวตนได้ หรือสูญหาย[2]

ต่อไปนี้คือรายพระนามผู้ปกครองที่เป็นไปได้ของราชวงศ์ที่เก้าโดยอิง บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน เนื่องจากนักไอยคุปต์วิทยามีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ภายในทั้งสองราชวงศ์  ในหมู่พวกเขามีเพียงฟาโรห์เมริอิบเร เคติ และฟาโรห์เนบคาอูเร เคติ เท่านั้นที่ได้รับการยืนยันจากการค้นพบทางโบราณคดี:

ราชวงศ์ที่เก้าแห่งอียิปต์ (แบบฮาเยส) (2160 ถึง 2130 ปีก่อนคริสตกาล)[3]
พระนาม รูปภาพ ข้อมูล
เมริอิบเร เคติที่ 1 อัคธอส์ (Achthoes) ของมาเนโท ผู้ปกครองท้องถิ่นที่อ้างตนเองว่าเป็นฟาโรห์
[พระนามสูญหาย] -
เนเฟอร์คาเรที่ 7 อาจเป็นฟาโรห์คาเนเฟอร์เรที่กล่าวถึงในหลุมฝังศพของผู้ปกครองท้องถิ่นนามว่า อังค์ติฟิ
เนบคาอูเร เคติที่ 2 ยังกล่าวถึงในเรื่อง The Eloquent Peasant (คำพูดของชาวนาอันไพเราะ)
เซทุต -
[พระนามสูญหาย] -
เมริ[...] -
เชด[...] -
ฮ[...] -
[สามพระนามสูญหาย] -
อูเซอร์(?)[...] -

อ้างอิง

[แก้]
  1. Shaw, Ian, บ.ก. (2000). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press. p. 480. ISBN 0-19-815034-2.
  2. Sir Alan Gardiner, Egypt of the Pharaohs, Oxford University Press, 1961, pp. 112-13.
  3. William C. Hayes, in The Cambridge Ancient History, vol 1, part 2, 1971 (2008), Cambridge University Press, ISBN 0-521-077915, p. 996.