ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์เนโชที่ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เมนเคเปอร์เร เนโคที่ 1 (อียิปต์โบราณ: เนคาอู,[6] กรีก: Νεχώς Α' หรือ Νεχώ Α', อัคคาเดียน: Nikuu[7] หรือ Nikû[8]) (ครองราชย์ระหว่าง ? – 664 ปีก่อนคริสตกาล ใกล้เมืองเมมฟิส) เป็นผู้ปกครองเมืองอียิปต์โบราณ โดยปกครองอยู่ที่เมืองซาอิส พระองค์เป็นฟาโรห์ท้องถิ่นพระองค์แรกจากราชวงศ์ที่ยี่สิบหกแห่งอียิปต์ที่ได้รับการยืนยันการมีตัวตน ซึ่งพระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 8 ปี (ระหว่าง 672–664 ปีก่อนคริสตกาล) ตามที่บันทึกไว้ในงานเขียนแอจิปเทียกาของมาเนโธ และฟาโรห์ซามาเจิกที่ 1 ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์ ทรงได้รวบรวมพระราชอาณาจักรอียิปต์ได้อีกครั้ง

พระราชประวัติ

[แก้]

ในช่วง 672 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์เนโคได้ทรงเป็นผู้ปกครองเมืองซาอิส โดยสันนิษฐานจากพระนามของพระองค์และอีกหนึ่งปีต่อมาชาวอัสซีเรียที่นำโดยกษัตริย์เอซาร์ฮัดดอนได้เข้ามาบุกรุกอียิปต์ ทำให้ฟาโรห์เนโคได้ทรงกลายเป็นหนึ่งในข้าราชบริพารของของกษัตริย์เอซาร์ฮัดดอน ซึ่งในภายหลัก็ได้รับการยืนยันจากตำแหน่งและทรัพย์สินของพระองค์ เช่นเดียวกับการพระราชทานดินแดนใหม่แก่พระองค์ ซึ่งอาจรวมถึงเมืองเมมฟิสด้วย[9]

ในช่วง 669 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์ทาฮาร์กาแห่งราชวงศ์ที่ยี่สิบห้าแห่งอียิปต์ทรงกำลังเคลื่อนตัวจากทางใต้ไปยังบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่อย่างเป็นทางการ โดยกษัตริย์เอซาร์ฮัดดอนทรงเตรียมกลับไปยังอียิปต์เพื่อขับไล่ผู้บุกรุก แต่ทรงเสด็จสวรรคตยังกะทันหัน การสวรรคตของกษัตริย์เอซาร์ฮัดดอนทำให้เกิดวิกฤตทางการเมืองในจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ แต่ท้ายที่สุด กษัตริย์อัชเชอร์บานิปาล ผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์ก็ทรงมากลายเป็นกษัตริย์พระองค์ใหม่อย่างสมบูรณ์ การโต้กลับที่วางแผนไว้โดยพระราชบิดาของพระองค์เกิดขึ้นในช่วง 667–666 ก่อนคริสตกาล[10][11]

ฟาโรห์ทาร์ฮากาทรงพ่ายแพ้และทรงถูกขับไล่กลับไปที่ไปยังเมืองทีบส์ แต่กษัตริย์อัชเชอร์บานิปาลทรงทราบว่าฟาโรห์ที่หลบหนีไปและผู้ปกครองบางส่วนของอียิปต์ล่างนามว่า เปกรูร์แห่งพิชาปตู (เพร-ซอปดู), ชาร์รูลูดาริแห่งซินู (อาจเป็นเมืองเปลูเซียม) และนิคูอู (เนโคที่ 1) กำลังวางแผนต่อต้านพระองค์ กษัตริย์อัสซีเรียจึงทรงโปรดให้จับกุมผู้สมรู้ร่วมคิด สังหารประชากรส่วนหนึ่งในเมืองที่พวกเขาปกครอง และเนรเทศนักโทษไปยังเมืองนีนะเวห์[12]

แต่ไม่คาดคิด ในภายหลังฟาโรห์เนโคทรงได้รับการพระราชทานอภัยโทษจากกษัตริย์อัสซีเรีย และทรงถูกส่งตัวพระองค์กลับคืนมาที่เมืองซาอิส พร้อมด้วยทรัพย์สินเดิมของพระองค์และดินแดนใหม่มากมายเป็นของพระราชทาน ในขณะที่พระราชโอรสของพระองค์นามว่า ซามาเจิก (หรือเรียกว่า นาบูเซซิบันนิ ในภาษาอัคคาเดียน) ทรงได้รับแต่งตั้งให้ขึ้นเป็นผู้ปกครองเมืองอะธริบิส[13][7] มีคนแสดงความเห็นว่าด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของพระองค์ ทำให้กษัตริย์อัชเชอร์บานิปาลทรงหวังที่จะพึ่งพาความภักดีของพันธมิตรในดินแดนอียิปต์ กรณีที่มีการรุกรานอีกครั้งนำโดยฟาโรห์จากราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า และบางทีอาจเป็นการกระตุ้นและสร้างการแข่งขันทางอำนาจระหว่างราชวงศ์ของชาวคุช (ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า) กับราชวงศ์ที่ปกครองเมืองซาอิส (ราชวงศ์ที่ยี่สิบหก)[13] ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ ฟาโรห์เนโคที่ 1 ทรงถูกสังหารในช่วง 664 ปีก่อนคริสตกาลในบริเวณใกล้กับเมืองเมมฟิส ในขณะที่ปกป้องพระราชอาณาจักรของพระองค์จากการรุกรานใหม่ของชาวคุชที่นำโดยกษัตริย์ทันต์อมานิ ซึ่งทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์ทาร์ฮากา[13][7][14] ในขณะที่เจ้าชายซามาเจิกทรงหนีไปยังเมืองนีนะเวห์ภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์อัชเชอร์บานิปาล โดยการบุกรุกของชาวนิวเบียในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอียิปต์ในเวลาต่อมา (ระหว่าง 664 – 663 ปีก่อนคริสตกาล) ถูกขับไล่โดยชาวอัสซีเรียที่มุ่งหน้าไปทางใต้สู่อียิปต์บนและทำการปล้นเมืองทีบส์อย่างน่าอดสู[15]

เมื่อดินแดนบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์กลับมาสู่ความสงบอีกครั้ง ฟาโรห์ซามาเจิกที่ 1 ทรงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่อและดินแดนจากพระราชบิดาผู้เสด็จสวรรคตไปแล้ว ต่อมาในที่สุดพระองค์ก็ทรงประสบความสำเร็จในการรวมพระราชอาณาจักรอียิปต์อีกครั้งภายใต้การปกครองของพระองค์[16]

พระราชวงศ์

[แก้]

นักอียิปต์วิทยาชาวเดนมาร์ก คิม รีฮอล์ตได้อ้างอิงถึงเกี่ยวกับฟาโรห์นาโคที่ 1 จากการศึกษาบันทึกปาปิรุสจากเมืองเทบตูนิส โดยเขากล่าวว่า ฟาโรห์เนโคที่ 1 เป็นพระราชโอรสของผู้ปกครงนามว่า เทฟนัคต์ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็น ฟาโรห์เทฟนัคต์ที่ 2[5] และรีฮอล์ตยังกล่าวถึงการมีอยู่ของฟาโรห์เนคาอูบา ซึ่งเป็นผู้ปกครองก่อนของพระองค์ และอาจจะเป็นพระเชษฐาของพระองค์ ซึ่งรีฮอล์ตได้แสดงความเห็นว่าเอกสารที่น่าสงสัยไม่กี่ฉบับเกี่ยวกับฟาโรห์เนคาอูบา ควรจะนำมาประกอบกับฟาโรห์เนโคที่ 2 ซึ่งขึ้นมาปกครองภายหลังแทน และฟาโรห์เนโคที่ 1 ทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์โดยตรงของฟาโรห์เทฟนัคต์ที่ 2[2]

นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส คริสตียง เซต์ติปานี เชื่อว่า ฟาโรห์เนโคทรงอภิเษกสมรสกับพระนางอิสเตมาเบต และเป็นพระราชบิดาและพระราชมารดาของฟาโรห์ซามาเจิกที่ 1[4]

ตามคำกล่าวของนักอียิปต์วิทยาชาวอังกฤษ เคนเนธ คิทเชน เป็นไปได้ว่าเจ้าหญิงตา-เคเรด-เอน-ตา-อิเฮต-[เวเรต] เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์เนโค ซึ่งได้อภิเษกสมรสเพื่อการเมืองกับผู้ปกครองท้องถิ่นของเฮราคลีโอโพลิสนามว่า เปดิเอซิ[17]

ทับหลังหินปูนที่หายไปในขณะนี้จากเมืองลักซอร์แสดงภาพของนักสวดสตรีแห่งเทพอามุน นามว่า เมอร์เอสอามุน พร้อมกับเทพโอซิริสศิลปะแบบซาอิสและเชเปนูเปตที่ 2 ซึ่งรั้งตำแหน่งผู้บูชาแห่งเทพอามุนอันศักดิ์สิทธิ์ โดยเมอร์เอสอามุนได้ถูกเรียกว่า "พระราชธิดาของกษัตริย์แห่งสองดินแดน เน[...]ค" ซึ่งส่วนหลังจะเป็นพระนามที่เขียนอยู่ในคาร์ทูช และดูเหมือนว่าพระราชบิดาของเมอร์เอสอามุนจะไม่ใช่ใครอื่นนอกจาก ฟาโรห์เนโคที่ 1 ที่ทรงส่งพระราชธิดาของพระองค์ไปที่ขัณฑสีมาแห่งอามุน-เร ในหมู่วิหารคาร์นัก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของอิทธิพลของราชวงศ์แห่งซาอิสในเมืองทีบส์[18]

หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

[แก้]
รูปหล่อท่าคุกเข่าของฟาโรห์เนโค ซึ่งอาจจะหมายถึงฟาโรห์นาโคที่ 1 หรือ 2 จากพิพิธภัณฑ์บรูคลิน (acc.no. 71.11)[19]

ฟาโรห์เนโคที่ 1 เป็นที่ทราบมาจากเอกสารของอัสซีเรียเป็นหลัก แต่ก็ยังทราบจากวัตถุในอียิปต์จำนวนสองสามชิ้นด้วยกันคือ รูปปั้นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบของเทพฮอรัส ซึ่งประกอบด้วยคารทูชของพระองค์ และมีการกัลปนาวัตถุโบราณให้กับเทพีนิธแห่งซาอิส[9][20] โดยจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เพทรี (UC 14869)[6], ทับหลังของเมอร์เอสอามุนที่หายไปนานดังกล่าวนี้เคยถูกถ่ายภาพในตลาดโบราณวัตถุที่เมืองลักซอร์[18] รูปหล่อทองสัมฤทธิ์นั่งคุกเข่าของฟาโรห์เนโค ซึ่งตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บรูคลิน (หมายเลข 71.11) แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นรูปหล่อของฟาโรห์เนโคที่ 1 หรือฟาโรห์เนโคที่ 2[21] และพระองค์ยังถูกกล่าวถึงในบันทึกเดโมติกหลายเรื่อง[8]

ปีที่ 2 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เนโคที่ 1 ได้รับการยืนยันจากจารึกที่ได้รับบริจาคอย่างลับ ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกโดยโอลิวิเยร์ เปร์ดู โดยในจารึกได้บันทึกการกัลปนาที่ดินจำนวนมากให้แต่พระตรีเทพโอซิริส (ประกอบด้วยเทพโอซิริส, เทพีไอซิส และเทพฮอรัส) แห่งเพอร์-เฮบายัต (หรือเบฮ์เบอิต อัล-ฮาการ์ ในปัจจุบันใกล้กับเมืองเซเบนนิโตส) โดย "นักบวชแห่งเทพีไอซิส, เทพีแห่งเฮบายัต, ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ ... บุตรชายแห่งไออูพุด, อากาโนช"[22]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Nekau I". Digital Egypt for Universities. University College London. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
  2. 2.0 2.1 Ryholt (2011a)
  3. 3.0 3.1 von Beckerath (1999), pp. 212–213
  4. 4.0 4.1 Settipani (1991), pp. 153, 160, 161–162
  5. 5.0 5.1 Ryholt (2011b), pp. 123–127
  6. 6.0 6.1 "Nekau I". Digital Egypt for Universities. University College London. Retrieved 8 July 2018.
  7. 7.0 7.1 7.2 Lloyd (2001), pp. 504–505
  8. 8.0 8.1 Ryholt (2004), p. 486
  9. 9.0 9.1 Kitchen (1996), § 117
  10. Kitchen (1996), § 353
  11. Picchi (1997), p. 49
  12. Picchi (1997), pp. 48–52
  13. 13.0 13.1 13.2 Picchi (1997), p. 52
  14. Kitchen (1996), §§ 117, 354
  15. Kitchen (1996), § 354
  16. Spalinger (2001), p. 74
  17. Kitchen (1996), §§ 201, 363
  18. 18.0 18.1 Coulon & Payraudeau (2015), pp. 21–31
  19. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Brooklyn2
  20. Petrie (1917), pl. LIV, 25.5
  21. "Kneeling Statuette of King Necho". Brooklyn Museum. สืบค้นเมื่อ 8 July 2018.
  22. Perdu (2002), pp. 1215–1244

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Coulon, Laurent; Payraudeau, Frédéric (2015). "Une princesse saïte à Thèbes sous la XXVe dynastie ?". Revue d'Égyptologie. 66: 21–31.
  • Kitchen, Kenneth (1996). The Third Intermediate Period in Egypt (1100–650 BC) (3rd ed.). Warminster: Aris & Phillips Limited. ISBN 0-85668-298-5.
  • Lloyd, Alan B. (2001). "Necho I". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, vol. II. Oxford: University Press.
  • Perdu, Olivier (2002). "De Stéphinatès à Néchao ou les débuts de la XXVIe dynastie". CRAIBL. 146 (4): 1215–1244. doi:10.3406/crai.2002.22514.
  • Petrie, Flinders (1917). Scarabs and cylinders with names. London: University College Press.
  • Picchi, Daniela (1997). Il conflitto tra Etiopi ed Assiri nell'Egitto della XXV dinastia [The war between Kushites and Assyrians in Egypt during the 25th Dynasty] (ภาษาอิตาลี). Imola: La Mandragora. ISBN 88-86123-34-5.
  • Ryholt, Kim (2004). "The Assyrian Invasion of Egypt in Egyptian Literary Tradition". ใน Dercksen, J.G. (บ.ก.). Assyria and Beyond: Studies Presented to Mogens Trolle Larsen. Leiden: Nederlands Instituut voor het Nabije Oosten. pp. 483–510.
  • Ryholt, Kim (2011a). "New light on the legendary King Nechepsos of Egypt". Journal of Egyptian Archaeology. 97: 61–72. doi:10.1177/030751331109700104. S2CID 190499542.
  • Ryholt, Kim (2011b). "King Necho I son of king Tefnakhte II". ใน F. Feder; L. Morenz; G. Vittmann (บ.ก.). Von Theben nach Giza. Festmiszellen für Stefan Grunert zum 65. Geburtstag. Göttinger Miszellen Beihefte. Vol. 10. Göttingen.
  • Settipani, Christian (1991). Nos ancêtres de l'Antiquité, Étude des possibilités de liens généalogiques entre les familles de l'Antiquité et celles du haut Moyen Âge européen [Our ancient ancestors: study into possible genealogical links between families in Antiquity and those in the Middle Ages of Europe] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris. ISBN 2864960508.
  • Spalinger, Anthony J. (2001). "Psamtik I". ใน Redford, Donald B. (บ.ก.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, vol. III. Oxford: University Press.
  • von Beckerath, Jürgen (1999). Handbuch der Ägyptischen Königsnamen. Münchner Ägyptologische Studien 49. Mainz: Philip von Zabern. ISBN 3-8053-2591-6.