ฟาโรห์เนริคาเร
ฟาโรห์เนริคาเร | |||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เนอร์คาเร, [เคเปอร์?]คาเร, ดเจฟาคาเร | |||||||||||||||||||||||
ข้อความบนศิลาจารึกของฟาโรห์เนริคาเร ค้นพบใน เมืองธีบส์โดย คาร์ล ริชาร์ด เลบซิอุส(Karl Richard Lepsius) ปันจุบันจารึกนี้สูญหายไปแล้ว[1] | |||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 1796 ปีก่อนคริสตกาล [2] | ||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | ฟาโรห์โซนเบฟ (ตามฉบับของ ไรโฮลท์), ฟาโรห์อินโยเทฟที่ 4 (ตามฉบับของ วอน เบ็คเกอร์) | ||||||||||||||||||||||
ถัดไป | ฟาโรห์อเมเนมฮัตที่ 5 (ตามฉบับของ ไรโฮลท์), ฟาโรห์โฮเทปคาเร (ตามฉบับของ วอน เบ็คเกอร์) | ||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่ 13 |
ฟาโรห์เนริคาเร เป็นฟาโรห์ในราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ สมัยช่วงต่อที่สองแห่งอียิปต์ อ้างอิงจากนักไอยคุปต์วิทยานามว่า คิม ไรโฮลท์ (Kim Ryholt) และดาร์เรล เบเกอร์ (Darrell Baker) กล่าวว่าพระองค์เป็นฟาโรห์ในราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ ครองราชย์ในช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ 1796 ปีก่อนคริสตกาล[2] แต่แนวคิดที่แตกต่างออกไปอย่าง จูวเกน วอน เบ็คเกอร์อาท (Jürgen von Beckerath) กล่าวว่าฟาโรห์เนริคาเร เป็นพระกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ ซึ่งครองราชหลังต่อจากฟาโรห์อินโยเทฟที่ 4[5][6]
หลักฐานยืนยัน
[แก้]ฟาโรห์เนริคาเรเป็นที่ทราบในเบื้องต้นจากจารึกหินเพียงชิ้นเดียวที่มีอายุย้อนไปจนถึงปีที่ 1 แห่งรัชสมัยของพระองค์[2] โดยจารึกดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในปี ค.ศ. 1897 แต่ปัจจุบันสูญหายไปแล้ว[1][7]
นอกจากนี้ ยังพบพระนามของฟาโรห์ซึ่งเป็นไปได้ว่น่าจะเป็นของฟาโรห์เนริคาเรได้ปรากฏบันทึกในบันทึกระดับแม่น้ำไนล์จากเซมนา ซึ่งอยู่ใกล้กับแก่งน้ำตกที่สองของแม่น้ำไนล์ในนิวเบีย บันทึกดังกล่าวได้ลงช่วงเวลาในปีที่หนึ่งแห่งการครองราชย์ของพระองค์ ซึ่งปรากฏพระนามว่า "ดเจฟาคาเร" โดยนักอียิปต์วิทยา เอฟ. ฮินต์เซอ และดับเบิลยู. เอฟ. ไรน์เคอ[8] อย่างไรก็ตาม คิม รีฮอล์ตได้ตั้งข้อสงสัยว่า ผู้ที่ค้นพบบันทึกดังกล่าวได้อ่านพระนามผิดโดยมีสัญลักษณ์ G14 อ่านว่า nry ของการ์ดิเนอร์ ซึ่งเป็นภาพของนกแร้ง ซึ่งเข้าใจผิดว่าเป็นสัญลักษณ์ G42 ที่เป็นภาพของเป็ดและอ่านว่า ḏf3[2][7] ดังนั้น คิม รีฮอล์ต และคนอื่นๆ เช่น ดาร์เรล เบเกอร์ จึงอ่านพระนามเป็น "เนริคาเร"[2][7]
ตำแหน่งตามลำดับเวลาอ้างอิง
[แก้]รีฮอล์ตได้ชี้ให้เห็นถึงบันทึกระดับแม่น้ำไนล์ที่เป็นทราบ ซึ่งคล้ายกับบันทึกอีกชิ้นที่เขาอ้างว่าเป็นของฟาโรห์เนริคาเรเช่นกัน ทั้งหมดปรากฏขึ้นจนถึงช่วงเวลาตั้งแต่ปลายช่วงราชวงศ์ที่สิบสองจนถึงต้นช่วงราชวงศ์ที่สิบสาม เขาจึงสรุปว่าฟาโรห์เนริคาเรก็ต้องเป็นฟาโรห์จากช่วงเวลานี้เหมือนกัน และเนื่องจากพระนาม "เนริคาเร" ไม่ได้ปรากฏอยู่บนบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน รีฮอล์ตจึงเสนอความเห็นว่า พระนามของพระองค์ได้ถูกกล่าวถึงในส่วนที่เสียหายที่หายไป (swf lacuna) ซึ่งส่งผลกระทบต่อลำดับของฟาโรห์พระองค์ที่สามของราชวงศ์ในบันทึกพระนามดังกล่าว (ในคอลัมน์ 7 บรรทัด 6) โดยส่วนที่หายไปนั้นส่งผลถึงช่องว่างในเอกสารที่คัดลอกบันทึกพระนามแห่งตูรินในสมัยรามเสส สิ่งนี้จะทำให้ฟาโรห์เนริคาเรเป็นฟาโรห์พระองค์ที่สามของราชวงศ์ แม้ว่าส่วที่สูญหายไปนั้นอาจประกอบด้วยฟาโรห์จำนวนสองพระองค์ และฟาโรห์เนริคาเรอาจเป็นผู้ปกครองลำดับที่สี่ โดยขึ้นปกครองหลังฟาโรห์ที่ไม่ทราบพระนาม[2] ระยะเวลาในรัชสมัยของพระองค์ได้ระบุไว้ในบันทึกพระนามแห่งตูรินอยู่ที่ 6 ปี อย่างไรก็ตาม รีฮอล์ตได้แสดงความเห็นที่สิ่งนี้เป็นความจริงสำหรับกษัตริย์ทุกพระองค์ที่ทำเครื่องหมายเป็น wsf และตัวเลขนี้น่าจะถูกบันทึกแทรกโดยผู้เขียนรายพระนามฟาโรห์เพื่อหลีกเลี่ยงช่องว่างตามลำดับเวลา[2] และรีฮอล์ตได้เสนอว่าฟาโรห์เนริคาเรทรงครองราชย์เป็นระยะเสลาเพียง 1 ปี นอกจากนี้ การมีอยู่ของบันทึกระดับแม่น้ำไนล์ ซึ่งระบุถึงปีแรกแห่งรัชสมัยของพระองค์ได้บ่งชี้ว่า พระองค์ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์เมื่อต้นปีปฏิทินอียิปต์ ก่อนช่วงฤดูน้ำท่วมในระหว่างที่มีการบันทึกบันทึกดังกล่าว[9]
พระนามประสูติ
[แก้]ในการศึกษาช่วงกลางปี ค.ศ. 1997 ของเขา คิม รีฮอล์ตได้เสนอว่าพระนามประสูติของฟาโรห์เนริคาเร อาจจะเป็น "โซเบค" โดยพระนามนี้ปรากฏอยู่บนตราประทับจำนวนสามดวง ซึ่งสามารถมีอายุย้อนไปถึงในช่วงราชวงศ์ที่สิบสามก่อนหน้ารัชสมัยของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 3 เนื่องจากการเสนอพระนามของฟาโรห์ที่เป็นที่ทราบทั้งสองพระองค์ในช่วงเวลาดังกล่าว เขาให้เหตุผลว่าพระนามประสูติดังกล่าวอาจจะมีเพียงฟาโรห์เนริคาเร หรือฟาโรห์เซเคมเรคูทาวี คาบาว เท่านั้นที่ทรงใช้พระนามนี้[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Karl Richard Lepsius: Denkmaler Abtheilung II Band IV Available online see p. 152; Lepsius: Denkmaler, Text, I (1897) 15
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800 – 1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997
- ↑ Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 278
- ↑ 4.0 4.1 See Ryholt, note 89 p.34
- ↑ Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der Zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, 1964
- ↑ Jürgen von Beckerath: Chronologie des pharaonischen Ägyptens, Münchner Ägyptologische Studien 46. Mainz am Rhein, 1997
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 278
- ↑ F. Hintze and W. F. Reineke: Felsinschriften aus dem sudanesischen Nubien, Publikation der Nubien-Expedition, 1961–1963 I; Berlin 1989
- ↑ See Ryholt, p. 321