แก่งน้ำตกแห่งแม่น้ำไนล์
แก่งน้ำตกแห่งแม่น้ำไนล์ (ภาษาอังกฤษ : Cataracts of the Nile) เป็นส่วนบริเวณตื้นหรือแก่งน้ำเชี่ยวของแม่น้ำไนล์ที่อยู่ระหว่างเมืองคาร์ทูมและเมืองอัสวาน ซึ่งบริเวณแห่งนั้นด้วยหินก้อนเล็กๆ จำนวนมากที่โผล่ขึ้นมาจากก้นแม่น้ำ ตลอดจนมีเกาะแก่งหินจำนวนมาก ในบางแห่งก็มีกระแสน้ำเชี่ยว และในขณะที่บางแห่งกระแสน้ำไหลปกติแต่ไหลผ่านบริเวณที่ตื้นเขิน
แก่งน้ำตกทั้งหกแห่ง
[แก้]โดยเริ่มนับจากด้านปลายแม่น้ำไปยังต้นแม่น้ำไนล์ (จากเหนือลงใต้):
ใน อียิปต์:
- แก่งน้ำตกแห่งที่หนึ่ง ตัดผ่านที่เมืองอัสวาน (24°05′N 32°53′E / 24.08°N 32.88°E) และเดิมเคยถูกเลือกให้เป็นบริเวณที่ตั้งของเขื่อนอัสวานล่าง ซึ่งเป็นเขื่อนแห่งแรกที่สร้างข้ามแม่น้ำไนล์
ใน ซูดาน:
- แก่งน้ำตกแห่งที่สอง (หรือแก่งน้ำตกใหญ่) ซึ่งอยู่ในเขตดินแดนนิวเบียและในปัจจุบันแก่งน้ำตกแห่งนี้จมอยู่ใต้ทะเลสาบนัสเซอร์ (21°29′N 30°58′E / 21.48°N 30.97°E)
- แก่งน้ำตกแห่งที่สาม อยู่ที่ทอมโบส/ฮันเนก (19°46′N 30°22′E / 19.76°N 30.37°E)
- แก่งน้ำตกแห่งที่สี่ อยู่ในบริเวณทะเลทรายมานาซิร์ และในปัจจุบันแก่งน้ำตกแห่งนี้ก็ได้จมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำของเขื่อนเมโรเว เมื่อตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 (18°55′N 32°22′E / 18.91°N 32.36°E)
- แก่งน้ำตกแห่งที่ห้า อยู่ใกล้กับจุดบรรจบกันของแม่น้ำไนล์และแม่น้ำแอตบาราห์ (17°41′N 33°58′E / 17.68°N 33.97°E)
- แก่งน้ำตกที่หก อยู่ที่บริเวณแม่น้ำไนล์ตัดผ่านพลูตอนแห่งซาบาลูกา ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับบากราวิยาห์ (16°17′N 32°40′E / 16.29°N 32.67°E)
ภูมิศาสตร์
[แก้]นักธรณีวิทยาได้ระบุว่า พื้นที่ทางตอนเหนือของซูดานมีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกและการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกในบริเวณนี้ส่งผลให้แม่น้ำมีลักษณะ "อ่อนเยาว์"[1] ซึ่งส่วนตวัดโค้งของแม่น้ำไนล์ในนิวเบียได้เปลี่ยนเส้นทางของแม่น้ำไนล์ไปทางทิศตะวันตก ในขณะเดียวกันก็ทำให้ระดับความลึกในแม่น้ำตื้นขึ้นและก่อให้เกิดแก่งน้ำตก ถึงแม้ว่าพื้นแม่น้ำจะสึกกร่อนจากการกัดเซาะ แต่ผืนดินก็กลับถูกยกตัวขึ้น ทำให้ส่วนต่างๆ ของพื้นแม่น้ำเป็นพิ้นที่โล่ง ภูมิลักษณ์ที่โดดเด่นเหล่านี้ของแม่น้ำไนล์ระหว่างเมืองอัสวานและเมืองคาร์ทูม ซึ่งเกิดและพบได้ในหลายจุด จึงเรียกกันว่าแก่งน้ำตกแห่งแม่น้ำไนล์ ในขณะที่ส่วนปลายแม่น้ำบางครั้งจะเรียกว่า "แม่น้ำไนล์อียิปต์" ความแตกต่างทางธรณีวิทยาระหว่างสองส่วนของแม่น้ำนี้มีความสำคัญมาก ทางเหนือของเมืองอัสวาน ซึ่งมีท้องแม่น้ำที่ไม่เป็นหิน แต่กลับเต็มด้วยตะกอน และอยู่ห่างไกลจากส่วนที่แม่น้ำตื้นเขิน จึงเชื่อกันว่า[2] ในอดีตหินบริเวณดังกล่าวถูกกัดเซาะให้มีความลึกหลายพันฟุต ซึ่งส่งผลให้เกิดหุบเขากว้างใหญ่ และในปัจจุบันจึงเต็มไปด้วยตะกอน
ประวัติศาสตร์
[แก้]คำว่า แก่งน้ำตก หรือ " cataract " มีรากคำมาจากภาษากรีก καταρρέω (แปลว่า "ไหลลง") ถึงแม้ว่าคำภาษากรีกดั้งเดิมจะอยู่ในรูปของพหูพจน์เท่านั้น (Κατάδουποι) อย่างไรก็ตาม ในทางตรงกันข้าม แก่งน้ำตกหลักทั้งหกแห่งของแม่น้ำไนล์ก็ไม่สามารถอธิบายได้อย่างถูกต้องว่าเป็นแก่งน้ำตก และให้คำจำกัดความที่กว้างขึ้น แก่งน้ำตกเหล่านี้ก็เช่นเดียวกันกับแก่งน้ำตกขนาดเล็ก ๆ อีกหลายแห่ง
ในสมัยโบราณ อาณาจักรอียิปต์บนได้แผ่ขยายอาณาเขตจากทางใต้ของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ไปยังแก่งน้ำตกแห่งที่หนึ่ง ในขณะที่อยู่ดินแดนบริเวณต้นแม่น้ำที่อยู่ภายใต้การปกครองโดยอาณาจักรคุชโบราณ ซึ่งต่อมาจะเข้ายึดครองดินแดนอียิปต์ในช่วงตั้งแต่ 760 ถึง 656 ปีก่อนคริสตกาล[3] นอกจากการรุกรานชาวคุชแล้ว สำหรับประวัติศาสตร์อียิปต์ส่วนใหญ่ ในแก่งน้ำตกแห่งแม่น้ำไนล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่แก่งน้ำตกแห่งที่หนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นพรมแดนตามธรรมชาติ เพื่อป้องกันการข้ามเข้ามาจากทางใต้ เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวจะต้องอาศัยการเดินทางของแม่น้ำเพื่อเดินทางไปทางเหนือและใต้ ซึ่งส่งผลให้ชายแดนทางใต้ของอียิปต์ได้รับการปกป้องจากการรุกราน และนอกเหนือจากการปกครองในอียิปต์ของชนชาติคุชในระยะเวลาสั้น ๆ แล้ว มันยังคงเป็นพรมแดนตามธรรมชาติสำหรับประวัติศาสตร์อียิปต์ส่วนใหญ่[4]
เอราทอสเทนีสแห่งไซรีเน ได้ให้คำอธิบายที่แม่นยำของแก่งน้ำตกแห่งแม่น้ำไนล์ไว้ว่า[5]
มันมีรูปร่างคล้ายกับตัวอักษร N กลับหลัง โดยแม่น้ำไหลไปทางเหนือจากเมโรวีประมาณ 2,700 สตาเดีย แล้ววกกลับมาทางทิศใต้และพระอาทิตย์ตกในฤดูหนาวประมาณ 3,700 สตาเดีย และเกือบจะถึงแนวขนานเดียวกันกับภูมิภาคเมโรวีและเดินทางไปไกลถึงลิเบีย จากนั้นแม่น้ำจะวกเลี้ยวอีกครั้งและไหลไปทางเหนือ 5,300 สตาเดีย ไปยังที่แก่งน้ำตกใหญ่โค้งไปทางทิศตะวันออกเล็กน้อย จากนั้นอีก 1,200 สตาเดียแม่น้ำไหลไปยังแก่งน้ำตกขนาดเล็กที่ไซยีน (หรือ เมืองอัสวานในปัจจุบัน) และอีก 5,300 สตาเดีย แม่น้ำจะไหลออกสู่ทะเล
แก่งน้ำตกทั้งหกแห่งของแม่น้ำไนล์ได้ถูกบรรยายโดยนักท่องเที่ยวชาวยุโรปจำนวนมาก โดยเฉพาะวินสตัน เชอร์ชิลล์ในหนังสือ The River War (1899) ซึ่งเขาเล่าถึงความพยายามของชาวอังกฤษที่พยายามจะกลับไปยังซูดานระหว่างปี ค.ศ. 1896 ถึง ค.ศ. 1898 หลังจากที่พวกเขาถูกบังคับให้ออกจากซูดานไปในปี ค.ศ. 1885
ระเบียงภาพ
[แก้]-
แก่งน้ำตกแห่งที่หนึ่ง
-
แก่งน้ำตกแห่งที่สองในปี ค.ศ.1854 โดยจอห์น บีสเลย์ กรีน
-
แก่งน้ำตกแห่งที่สาม
-
แก่งน้ำตกแห่งที่สี่
-
แก่งน้ำตกแห่งที่ห้า
-
แก่งน้ำตกแห่งที่หกในปี ค.ศ.1908 โดยเซอร์เฮนรี ไรเดอร์ แฮกการ์ด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Thurmond, Allison K.; Stern, Robert J.; Abdelsalam, Mohamed G.; Nielsen, Kent C.; Abdeen, Mamdouh M.; Hinz, Emily (2004). "The Nubian Swell" (PDF). Journal of African Earth Sciences. 39 (3–5): 401–407. Bibcode:2004JAfES..39..401T. doi:10.1016/j.jafrearsci.2004.07.027. ISSN 1464-343X. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 May 2011. สืบค้นเมื่อ 21 October 2006.
- ↑ Warren, John (2006). Evaporites:Sediments, Resources and Hydrocarbons. Berlin: Springer. p. 352. ISBN 3-540-26011-0.
- ↑ "Cataracts of the Nile". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 February 2010. สืบค้นเมื่อ 17 February 2014.
- ↑ "Geography". Ancient Egypt 101.
- ↑ Strabo (1932). The Geography. Vol. VIII. แปลโดย Jones, H. L. Harvard University Press – โดยทาง Bill Thayer.