ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์คามูเร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คามูเร เป็นผู้ปกครองในพื้นที่บางส่วนของอียิปต์โบราณในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 17 ก่อนคริสตกาล และน่าจะอยู่ในช่วงราชวงศ์ที่สิบสี่[3][4] เช่นนี้พระองค์จะทรงปกครองจากที่เมืองอวาริส โดยครอบคลุมดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออก และอาจจะไปถึงดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำตะวันฝั่งตกด้วย ตำแหน่งและตัวตนตามลำดับเวลาของพระองค์ยังไม่ชัดเจน

หลักฐานยืนยัน

[แก้]

พระองค์เป็นหนึ่งในฟาโรห์เพียงไม่กี่พระองค์ในราชวงศ์ที่สิบสี่ที่ปรากฏตราประทับสคารับจำนวนสองชิ้นที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ ซึ่งไม่ทราบที่มาตราประทับทั้งสองชิ้น[3][4] ปัจจุบันตราประทับชิ้นหนึ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์เพตรี แค็ตตาล็อกหมายเลข 11819[5][6] ในขณะที่อีกชิ้นถูกขายทอดตลาดที่โรงแรมลอตเต้นิวยอร์กพาเลซในเดือนธันวาคม ค.ศ.1991[7]

ตราประทับสคารับที่พิพิธภัณฑ์เพตรีมีลักษณะพิเศษตรงที่ด้านหลังมีการตกแต่งอย่างประณีตและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งบ่งชี้ว่ามันถูกมอบให้กับบุคคลระดับสูง[3] ตราประทับสคารับชิ้นนี้สลักตัวอักษรว่า คามูเร ซึ่งนำหน้าด้วยฉายาว่า เนทเจอร์ เนเฟอร์ ซึ่งแปลว่า "เทพเจ้าอันดีงาม" ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คามูเร เป็นพระนามนำหน้าของฟาโรห์พระองค์นี้[3] ซึ่งหมายความว่า ไม่ปรากฏพระนามของพระองค์ส่วนที่หลงเหลืออยู่ของบันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งเป็นบันทึกพระนามของฟาโรห์ที่มีอายุตั้งแต่สมัยรามเสสและจะบันทึกเพียงเฉพาะพระนามนำหน้าของฟาโรห์เท่านั้น

การพิสูจน์ตัวตน

[แก้]

นักโบราณคดี โอลกา ทัฟเนลล์ และวิลเลียม อาเทอร์ วอร์ด ให้เหตุผลว่าพระนามที่เขียนบนตราประทับสคารับที่พิพิธภัณฑ์เพตรี จริงๆ แล้วคือ "อัมมู" ซึ่งอาจระบุว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับ 'อัมมู อาโฮเทปเร ซึ่งเป็นฟาโรห์ที่ค่อยทราบข้อมูลพระองค์ในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง[5][8][9] นักไอยคุปต์วิทยา คิม ไรโฮลท์ และดาร์เรล เบเกอร์ปฏิเสธการอ่านพระนามดังกล่าว เนื่องจากมีสัญลักษณ์ N5 ของการ์ดิเนอร์ (รูปสัญลักษณ์รัศมีดวงอาทิตย์) ปรากฏบนตราประทับ[3][4] ส่วนเพอร์ซี นิวเบอร์รีก็ยอมรับว่า คามูเร เป็นการอ่านพระนามบนตราประทับที่ถูกต้อง[1][2]

ถึงแม้ว่าตำแหน่งตามลำดับเวลาของพระองค์ยังคงไม่แน่นอน แต่ไรโฮลท์ได้เสนอว่า พระองค์ทรงปกครองในช่วงราชวงศ์ที่สิบสี่ในช่วงเวลาหนึ่งก่อนหน้ารัชสมัยของฟาโรห์ยาคุบ-ฮาร์และฟาโรห์ยาคาเรบ ข้อสันนิษฐานดังกล่าวอ้างอิงตามการเรียงลำดับตราประทับที่มีอายุย้อนไแตั้งแต่ช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Flinders Petrie: Scarabs and cylinders with names, illustrated by the Egyptian collection in University College, London by W. M. Flinders Petrie, British school of archaeology in Egypt and Egyptian research account, London 1917, available online copyright-free see pl. xxii, num 16.k.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "petrie" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  2. 2.0 2.1 Percy E. Newberry: Scarabs an introduction to the study of Egyptian seals and signet rings, with forty-four plates and one hundred and sixteen illustrations in the text, 1906, see plate XXI, num 30, p. 150.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
  4. 4.0 4.1 4.2 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 175–176
  5. 5.0 5.1 The scarab on Digital Egypt, Petrie Museum.
  6. The scarab on the catalog of the Petrie Museum[ลิงก์เสีย]
  7. Joyce Haynes, Yvonne Markowitz, Sue d'Auria (editor): Scarabs and Design Amulets : A Glimpse of Ancient Egypt in Miniature [Auction Catalog], NFA Classical Auctions, New York 1991, num 30, online reference.
  8. Olga Tufnell: Studies on Scarab Seals Vol. 2, Aris & Phillips 1984, ISBN 978-0856681301, see seal num. 3361
  9. William A. Ward: Some Personal Names of the Hyksos Period Rulers and Notes on the Epigraphy of Their Scarabs, Ugarit- Forschungen 8 (1976), p.353–369, see p. 368, num 42.