ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์เคเปอร์เคเปอร์รูเร ไอย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟาโรห์ไอย์ ปกครองอียิปต์อยู่เพียง 4 ปี แต่อำนาจที่แท้จริงกลับตกอยู่ในมือขุนนางฝ่ายทหารอีกคนคือ โฮเรมเฮบ ที่มีอำนาจชี้ขาดอยู่เบื้องหลังราชบัลลังก์ โฮเรมเฮบได้รับใช้ฟาโรห์ตั้งแต่ฟาโรห์อเมนโฮเตปที่สาม ฟาโรห์แอเคนาเทน และ ตุตันคามุนเมื่อไอย์สวรรคต โฮเรมเฮบจึงขึ้นครองราชย์และลบพระนามของไอย์ทั้งหมดทั่วราชอาณาจักร

เมื่อฟาโรห์ตุตันคามุนสวรรคตโดยไม่มีผู้สืบสกุล จะมีเพียงราชินี "อังเซนามุน" ซึ่งปราศจากอำนาจ เราทราบจากบันทึกโบราณว่านางผู้สิ้นหวังตัดสินใจเขียนจดหมายไปถึงกษัตริย์ฮิตไทต์ซึ่งเป็น มหาอำนาจในตุรกีและซีเรีย เพื่อให้ส่งพระโอรสมาเป็นคู่ครองของนาง ในตอนแรกกษัตริย์ ฮิตไทต์แปลกใจกับคำขอนี้มากและมองเห็นโอกาสทางลัดที่จะได้อาณาจักรอียิปต์มาอยู่ใต้อำนาจ จึงจัดการส่งเจ้าชายชื่อซานนันซาไปตาคำขอ แต่โชคร้ายเจ้าชายผู้นี้ถูกสังหารโดยฝ่ายอียิปต์แถบชายแดน อังเซนามุนที่ปราศจากทางเลือกจึงจำต้องอภิเษกกับไอย์ ข้าราชสำนักผู้ชรา อาจมีศักดิ์เป็นปู่ของนาง และกลายเป็นราชินีของไอย์ซึ่งขึ้นครองบัลลังก์เป็นฟาโรห์องค์ใหม่

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย ฟาโรห์ไอย์ และฟาโรห์ตุตันคาเมน ได้ถูกอ้างอิงถึงในนวนิยายเรื่อง กฤตยา โดย ทมยันตี ซึ่งบทประพันธ์เรื่องดังกล่าวได้ถูกดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ออกอากาศทางช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2532 นำแสดงโดย ฉัตรชัย เปล่งพานิช, ชุดาภา จันทเขตต์[1][2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ""กฤตยา" ~ เรื่องราวแห่งดินแดนไอยคุปต์ โดย "ทมยันตี"". Bloggang.com. 29 August 2008. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014.
  2. "กฤตยา (2532)". ยูทิวบ์. 29 August 2010. สืบค้นเมื่อ 31 March 2014.