ฟาโรห์โจเซอร์
ฟาโรห์ดโจเซอร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เนทเจริเคต, โทโซทรอส, เซโซทรอส | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระบรมรูปสลักของฟาโรห์โจเซอร์ในเซอร์เดบ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | ประมาณ 19 หรือ 28 ปี ประมาณ 2686–2648 ปีก่อนคริสต์ศักราช,[1] 2687–2668 ปีก่อนคริสต์ศักราช,[2] 2668–2649 ปีก่อนคริสต์ศักราช,[3] 2667–2648 ปีก่อนคริสต์ศักราช,[4][5] หรือ 2630–2611 ปีก่อนคริสต์ศักราช[6] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | ฟาโรห์คาเซเคมวี (เป็นไปได้มาก) หรือ ฟาโรห์เนบคา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | ฟาโรห์เซเคมเค็ต (เป็นไปได้มาก) หรือฟาโรห์ซานาคท์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คู่เสกสมรส | สมเด็จพระราชินีเฮเทปเฮอร์เนบติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบุตร | ไอเนตคาเวส, อาจจะ ฟาโรห์เซเคมเค็ต ? | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบิดา | ฟาโรห์คาเซคเคมวี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชมารดา | สมเด็จพระราชินีนิมาอัตเทป | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สวรรคต | ประมาณ 2649 หรือประมาณ 2611 BC | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุสาน | พีระมิดขั้นบันได ที่ซัคคารา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่ 3 |
ฟาโรห์โจเซอร์ (บางครั้งอ่านเป็น เจเซอร์ และ โซเซอร์) เป็นฟาโรห์ราชวงศ์ที่ 3 แห่งอียิปต์โบราณสมัยราชอาณาจักรเก่า พระนามของพระองค์เป็นที่รู้จักในพระนามที่แผลงเป็นกรีกว่า โทโซทรอส (จากแมนิโธ) และ เซโซทรอส (จากยูซิเบียส) พระองค์เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์คาเซคเคมวีกับสมเด็จพระราชินีนิมาอัตเทป โจเซอร์เป็นที่รู้จักจากพีระมิดขั้นบันไดของพระองค์ ซึ่งเป็นอาคารหินขนาดมหึมาที่เก่าแก่ที่สุดในอียิปต์โบราณ[7]
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
[แก้]การสร้างพีระมิดขั้นบันได
[แก้]ฟาโรห์โจเซอร์เป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่มีดำริให้สร้างพีระมิดขั้นบันไดของพระองค์เองเป็นต้นแบบของพีระมิดทรงสามเหลี่ยม โดยมีอัครเสนาบดีและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างคืออิมโฮเทป อิมโฮเทปนับว่าเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นเลิศ จึงกล้าคิดออกแบบพีระมิดขนาดใหญ่อย่างที่ไม่มีใครเคยสร้างมาก่อน โดยพีระมิดแห่งแรกนี้มีขนาดกว้างประมาณ 115 เมตร ยาวเกือบ 140 เมตร สูง 60 เมตร เป็นพีระมิดลักษณะขั้นบันได 6 ขั้น ถูกสร้างขึ้นที่เมืองซัคคารา ถือเป็นอนุสรณ์สถานที่ใหญ่ที่สุดแห่งแรกด้วยและยังคงสภาพสมบูรณ์มาจนถึงปัจจุบัน พีระมิดที่เป็นขั้นบันไดนั้นเป็นสัญลักษณ์ว่า เป็นบันไดสำหรับย่างพระบาทสู่สวรรค์ของฟาโรห์ ภายในพีระมิดแห่งแรกนี้ มีรูปสลักหินของฟาโรห์โจเซอร์ในท่าประทับนั่งบนบัลลังก์ ถือเป็นประติมากรรมชิ้นที่เก่าแก่ที่สุด บริเวณข้างพีระมิดเป็นลานกว้าง ซึ่งอดีตนั้นใช้ประกอบพระราชพิธีของฟาโรห์ (หนึ่งในนั้นคือพิธีศพ)
การแก้ไขปัญหาแม่น้ำไนล์
[แก้]ในสมัยของฟาโรห์โจเซอร์ แม่น้ำไนล์ที่เคยอุดมสมบูรณ์ไหลบ่าท่วมสองฟากฝั่ง นำความสมบูรณ์มาให้ชาวไอยคุปต์ เกิดลดแห้งขึ้นมาในปีที่ 10 แห่งการครองราชย์ ความเดือดร้อนนั้นยาวนานถึง 7 ปี ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินได้ขอร้องให้พระองค์ช่วยเหลือ โดยขอให้พระองค์บันดาลให้แม่น้ำไนล์ไหลท่วมสองฝั่งอย่างที่เคยเป็น เพราะประชาชนคิดว่าพระองค์เป็นโอรสของเทพเจ้าที่บันดาลสิ่งสรรพได้ ฟาโรห์โจเซอร์ตระหนักดีว่าเกินความสามารถของพระองค์ เพราะทรงเป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่ง อิมโฮเทปจึงได้ถวายคำแนะนำว่า ควรจะขอคำแนะนำจากเทพเจ้าธอธ เทพแห่งสติปัญญาผู้ชาญฉลาด ด้วยความช่วยเหลือของเทพเจ้าธอธที่ทรงแจ้งถึงภูมิปัญญาอันเร้นลับของบรรพชนแก่อิมโฮเทป เกี่ยวกับบันทึกโบราณที่บอกเล่าถึงการไหลหลากแห่งไนล์ว่า ในยุคที่เทพเจ้าราสร้างโลก ผืนดินแห่งแรกที่ผุดขึ้นมาจากผืนน้ำเรียกว่า เกาะเอเลเฟนติเน ใต้เกาะแห่งนี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำไนล์ เทพคเนมู สถิตอยู่ที่นั่นและบันดาลความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ไนล์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ชาวไอยคุปต์ก็หลงลืมเทพคเนมู เมื่อฟาโรห์โจเซอร์ทราบเรื่องนี้ ก็ทรงบวงสรวงขอพรจากเทพเจ้าคเนมูทันที เทพคเนมูตอบรับคำร้องของของฟาโรห์ โดยบันดาลให้แม่น้ำไนล์กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ฟาโรห์โจเซอร์ทรงสร้างมหาวิหารที่ใหญ่ที่สุดถวายแด่เทพเจ้าคเนมู หลังจากนั้นไอยคุปต์ก็กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ในที่สุด
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ สัญลักษณ์แรกถูกจงใจลบออกโดยไม่ทราบสาเหตุ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Mieroop 2010, p. 55.
- ↑ El-Shahawy & Al-Masri 2005, p. 39.
- ↑ Atiya 2006, pp. 30 & 103.
- ↑ Fletcher 2015, p. 7.
- ↑ Rice 1999, p. 50.
- ↑ Bunson 2014, p. 103.
- ↑ Hawkes, Jacquetta (1974). Atlas of Ancient Archaeology. McGraw-Hill Book Company. p. 149. ISBN 0-07-027293-X.
- ↑ http://board.postjung.com/653741.html
บรรณานุกรม
[แก้]- Adès, Harry (2007). A Traveller's History of Egypt. Interlink Books. ISBN 978-1-566-56654-4.
- Atiya, Farid (2006). Ancient Egypt. American University in Cairo Press. pp. 104–11. ISBN 977-17-3634-5.
- Baker, Rosalie; Baker, Charles (2001). Ancient Egyptians: People of the Pyramids. USA: Oxford University Press. pp. 15–19. ISBN 0-195-12221-6.
- Bard, Kathryn (2015). An Introduction to the Archaeology of Ancient Egypt (2 ed.). John Wiley & Sons. pp. 140–145. ISBN 978-1-118-89611-2.
- Berrett, LaMar C. (1 April 1996). Discovering the World of the Bible. Cedar Fort. ISBN 978-0-910523-52-3.
- Bestock, Laurel (2017). Violence and power in ancient Egypt : Image and Ideology Before the New Kingdom. Abingdon, United Kingdom: Routledge. ISBN 9780367878542.
- Brock, Lyla Pinch (2003). Egyptology at the Dawn of the Twenty-first Century: Proceedings of the Eight International Congress of Egyptologists, Volume 2. American University in Cairo Press. pp. 215–220. ISBN 9-774-24714-0.
- Bunson, Margaret (2014). Encyclopaedia of Ancient Egypt. Infobase Publishing. p. 103. ISBN 978-1-438-10997-8.
- Dieter, Arnold (2005). Temples of Ancient Egypt. I.B.Tauris. pp. 40–47. ISBN 1-850-43945-1.
- Dodson, Aiden; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3.
- Edwards, Iorwerth Eiddon Stephen; Gadd, Cyril John; Hammond, Nicholas Geoffrey Lampiere (1971). The Cambridge Ancient History (Third ed.). Cambridge University Press. pp. 145–169. ISBN 0-521-07791-5.
- El-Shahawy, Abeer; Al-Masri, Mathaf (2005). The Egyptian Museum in Cairo. American University in Cairo Press. p. 39. ISBN 9-771-72183-6.
- Fletcher, Joann (2015). The Story of Egypt. Hachette UK. ISBN 978-1-444-78515-9.
- Kleiner, Fred; Mamiya, Christin (2009). Gardner's Art Through The Ages: A Global History. Cengage Learning. pp. 57–59. ISBN 978-0-495-41058-4.
- Kleiner, Fred (2015). Gardner's Art Through The Ages: A Global History. Cengage Learning. pp. 59–61. ISBN 978-1-305-54484-0.
- Mieroop, Marc van der (2010). A History of Ancient Egypt. John Wiley & Sons. pp. 56–57. ISBN 978-1-405-16070-4.
- Poo, Mu-chou (1 February 2012). Enemies of Civilization: Attitudes toward Foreigners in Ancient Mesopotamia, Egypt, and China (ภาษาอังกฤษ). SUNY Press. ISBN 978-0-7914-8370-1.
- Rice, Michael (1999). Who's who in Ancient Egypt. Psychology Press. pp. 50–51. ISBN 0-415-15448-0.
- Robins, Gay (2014). The Art of Ancient Egypt. British Museum Press. p. 44.
- Romer, John (2007). The Great Pyramid: Ancient Egypt Revisited. Cambridge University Press. p. 251. ISBN 978-0-521-87166-2.
- Wilkinson, Toby (2001). Early Dynastic Egypt. London: Routledge. ISBN 0415260116.
- Wilkinson, Toby (2000). Royal Annals of Ancient Egypt: the Palermo Stone and Its Associated Fragments. London: Kegan Paul International. ISBN 0710306679.
- ชลิตดา. ตำนานอียิปต์โบราณ(ฉบับสมบูรณ์)[ลิงก์เสีย].--กรุงเทพฯ : พิมพ์คำ, 2548. หน้า 159–162. ISBN 974-93360-9-7
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Rosanna Pirelli, "Statue of Djoser" in Francesco Tiradritti (editor): The Treasures of the Egyptian Museum. American University in Cairo Press, Cairo 1999, p. 47.
- Iorwerth Eiddon Stephen Edwards: The Pyramids of Egypt. West Drayton 1947; Rev. ed. Harmondsworth 1961; Rev. ed. Harmondsworth 1985 (deutsche Ausgabe: Die ägyptischen Pyramiden, 1967)