ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์เซเคมเร คูทาวี โซเบคโฮเทป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 1)

เซเคมเร คูทาวี โซเบคโฮเทป (หรือปรากฏในแหล่งข้อมูลส่วนใหญ่เป็น อเมเนมเฮต โซเบคโฮเทป ในปัจจุบันนี้เชื่อว่าเป็น โซเบคโฮเทปที่ 1 หรือที่เรียกว่า โซเบคโฮเทปที่ 2 ในการศึกษาที่เก่ากว่า) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบสามในสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง ซึ่งพระองค์ทรงครองราชย์อย่างน้อย 3 ปีในราว 1800 ปีก่อนคริสตกาล ตำแหน่งตามลำดับเวลาของพระองค์เป็นที่ถกเถียงกันอย่างมาก โดยหากฟาโรห์เซเคมเร คูทาวี โซเบคโฮเทป ทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ขึ้น ซึ่งในกรณีนี้พระองค์ถูกเรียกว่า ฟาโรห์โซเบคที่ 1 หรือหากพระองค์เป็นผู้ปกครองพระองค์ที่ยี่สิบแห่งราชวงศ์ ซึ่งในกรณีนี้พระองค์ถูกเรียกว่า ฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 2 ในการศึกษาสมัยช่วงระหว่างกลางที่สองในปี ค.ศ. 1997 โดยนักอียิปต์วิทยา คิม รีฮอล์ต ได้กล่าวถึงประเด็นสำคัญของฟาโรห์เซเคมเร คูทาวี โซเบคโฮเทป ในฐานะผู้สถาปนาราชวงศ์ ซึ่งเป็นข้อสมมติฐานที่ขณะนี้มีความโดดเด่นในวิชาไอยคุปต์วิทยา[3]

หลักฐานรับรอง

[แก้]
พระนาม "เซเคมเรคูทาวี" ของฟาโรห์โซเบคโฮเทป บนจารึกจากวิหารฝังพระบรมศพของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 ในเดียร์ เอล-บาฮารี

ฟาโรห์เซเคมเร คูทาวี โซเบคโฮเทป มีหลักฐานสนับสนุนจากแหล่งหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัย โดยชิ้นแรก พระองค์ถูกกล่าวถึงในบันทึกปาปิรุสแห่งคาฮูนฉบับที่ 4 ซึ่งขณะนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์เพทรี (ยูซี 32166) (รีฮอล์ต, หน้าที่ 315)[4][5] บันทึกปาปิรุสแห่งคาฮูนนี้เป็น "การสำรวจสำมะโนครัวเรือนของนักบวชที่ทำหน้าที่สวดมนต์ โดยลงในปีที่ 1 แห่งการครองราชย์" ของพระองค์ และยังบันทึกการเกิดของบุตรชายของนักบวชที่ทำหน้าที่สวดมนต์ในช่วงปีที่ 40 แห่งการครองราชย์ "ซึ่งน่าจะหมายถึงเพียงรัชสมัยของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 เท่านั้น"[6] จากหลักฐานนี้จึงชี้ให้เห็นว่าฟาโรห์เซเคมเร คูทาวี โซเบคโฮเทปทรงขึ้นครองราชย์ไม่ระยะเวลาไม่นานหลังจากการสวรรคตของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3

หลักฐานชิ้นที่สองคือ พบชิ้นส่วนทางสถาปัตยกรรมจำนวนหนึ่งที่ปรากฏพระราชอิสริยยศของฟาโรห์โซเบคโฮเทป ได้แก่ ชิ้นส่วนของวิหารน้อยเทศกาลเซดจากเมดามุด ทับหลังสามหลังจากเดียร์ เอล-บาฮารี และเมดามุด ซุ้มประตูจากลักซอร์ และวงกบประตูจากเมดามุด ซึ่งขณะนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์

บันทึกระดับแม่น้ำไนล์

[แก้]

บันทึกระดับแม่น้ำไนล์จำนวน 3 บันทึกจากเซมนาและคุมนาในนิวเบียที่เกี่ยวเนื่องกับฟาโรห์เซเคมเร คูทาวี โซเบคโฮเทป ซึ่งบันทึกล่าสุดในรัชสมัยของพระองค์ก็มีอายุย้อนไปถึงปีที่ 4 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงครองราชย์อย่างน้อยสามปีเต็ม[7]

การค้นพบวัตถุขนาดเล็ก

[แก้]

วัตถุขนาดเล็กที่กล่าวถึงฟาโรห์เซเคมเร คูทาวี โซเบคโฮเทป ซึ่งประกอบด้วยตราประทับทรงกระบอกจากเมืองเกเบลิน ใบมีดขวานแซะไม้ รูปสลักขนาดเล็กจากเคอร์มา และลูกปัดเผา ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์เพทรี (ยูซี 13202)[6][8]

หลุมฝังพระบรมศพที่ถูกสันนิษฐาน

[แก้]

เชื่อกันว่า หลุมฝังพระบรมศพของพระองค์ถูกค้นพบในอไบดอสในปี ค.ศ. 2013 แต่ขณะนี้มีการตั้งคำถามถึงที่มาของหลุมฝังพระบรมศพ[9] ในระหว่างการขุดค้นในเมืองอไบดอสในปี ค.ศ. 2013 ทีมนักโบราณคดีนำโดยโยเซฟ ดับเบลยู. เวกเนอร์ แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้ค้นพบหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ที่มีพระนามว่า โซเบคโฮเทป ในขณะที่ฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 1 ได้รับการเสนอให้เป็นเจ้าของหลุมฝังพระบรมศพแห่งนี้ในรายงานข่าวหลายฉบับตั้งแต่เดือนมกราคม ปี ค.ศ. 2014[10][11][12][13][14][15] แต่หลังจากการตรวจสอบเพิ่มเติมทำให้มีความเป็นไปได้ว่าหลุมฝังพระบรมศพจะเป็นของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 แทน[9]

ตำแหน่งตามลำดับเวลา

[แก้]
ภาพวาดตราประทับอ่านว่า "พระโอรสแห้งเทพรา, โซเบคโฌทป อเมนเอมฮัต, ผู้ทรงเป็นที่รักแห่งโซเบค-รา, เจ้าแห่งไออู-มิตเทรู"[16]

มีข้อโต้แย้งในอียิปต์วิทยาเกี่ยวกับตำแหน่งของฟาโรห์พระองค์นี้ในราชวงศ์ที่สิบสามแห่งยียิปต์ โดยมีพระนามครองพระราชบัลลังก์ว่า เซเคมเร คูทาวีเร ซึ่งปรากฏในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินในลำดับฟาโรห์พระองค์ที่สิบเก้าแห่งราชวงศ์ที่สิบสาม อย่างไรก็ตาม บันทึกระดับแม่น้ำไนล์และหลักที่มีการกล่าวถึงพระองค์บนบันทึกปาปิรุสที่พบที่เอล-ลาฮูน ซึ่งแสดงในเห็นว่า พระองค์อาจจะอยู่ในช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบสาม มีเพียงการกล่าวถึงเฉพาะพระองค์ในอนุสาวรีย์ทั้งสองประเภทในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบสอง และช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบสามเท่านั้น

ในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน พระนาม คูทาวีเร ยังปรากฏเป็นพระนามฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบสาม คิม รีฮอล์ต นักไอยคุปต์วิทยาได้ยืนยันว่า เป็นไปได้ว่าที่ผู้บันทึกรายพระนามนี้อาจจะสับสนระหว่างพระนาม เซเคมเร คูทาวี กับ คูทาวีเร ซึ่งเป็นพระนามของฟาโรห์เวกาฟ นอกจากนี้ ยังมีฟาโรห์จำนวนอย่างน้อย 3 พระองค์ที่ใช้พระนามดังกล่าว จึงเป็นที่ยากที่จะชี้ว่าพระนามใดจะเป็นของพระองค์ ได้แก่ ฟาโรห์เซเคมเร คูทาวี โซเบคโฮเทป, ฟาโรห์เซเคมเร คูทาวี พันทเจนิ และฟาโรห์เซเคมเร คูทาวี คาบาว

ตามพระนามของพระองค์พระนามว่า อเมนเอมฮัต โซเบคโฮเทป จึงมีคนแสดงความเห็นว่า พระองค์น่าจะเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 ซึ่งเป็นพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ที่สิบสอง โดยพระนาม อเมนเอมฮัต โซเบคโฮเทป สามารถแปลได้ว่า โซเบคโฮเทป พระราชโอรสแห่งอเมนเอมฮัต ดังนั้น ฟาโรห์โซเบคโฮเทป อาจจะเป็นพระเชษฐาหรือพระอนุชาของฟาโรห์เซเคมคาเร โซนเบฟ ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์ที่สิบสาม[17] นักไอยคุปต์วิทยาคนอื่น ๆ มีความเห็นว่าพระนาม อเมนเอมฮัต โซเบคโฮเทป จะเป็นเพียงพระนามคู่ ซึ่งสามารถพบได้โดยทั่วไปในราชวงศ์ที่สิบสองและราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์[18]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 K. S. B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997.
  2. Thomas Schneider after Detlef Franke: Lexikon der Pharaonen, p. 255
  3. Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I – Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 443
  4. "Sekhemre Khutawy Sobekhotep, the Petrie Museum". Digitalegypt.ucl.ac.uk. สืบค้นเมื่อ 10 January 2014.
  5. Kahun papyrus IV เก็บถาวร 2021-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Petrie Museum
  6. 6.0 6.1 Ryholt, 1997 SIP, p.315
  7. Nicolás Grimal: A History of Ancient Egypt, Wiley-Blackwell, 1994, pp 183–184
  8. Faience bead of Sekhemre Khutawy[ลิงก์เสีย], Petrie Museum
  9. 9.0 9.1 Josef W. Wegner: A Royal Necropolis at Abydos, in: Near Eastern Archaeology, 78 (2), 2015, p. 70
  10. "Giant Sarcophagus Leads Penn Museum Team in Egypt To the Tomb of a Previously Unknown Pharaoh". Penn Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-24. สืบค้นเมื่อ 2014-01-17.
  11. "King Sobekhotep I Tomb discovered in Sohag". State Information Services. 7 January 2014. สืบค้นเมื่อ 8 January 2014.
  12. Stephen Adkins (7 January 2014). "Pennsylvania Researchers Discover Tomb of Egypt's First King of 13th Dynasty". University Herald. สืบค้นเมื่อ 8 January 2014.
  13. "US diggers identify tomb of Pharoah [sic] Sobekhotep I". Times Live. South Africa. 6 January 2014. สืบค้นเมื่อ 8 January 2014.
  14. "Archaeologists discover tomb of Pharoah Sobekhotep I in Egypt". Voice of Russia. 7 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-27. สืบค้นเมื่อ 8 January 2014.
  15. Stark, Florian (7 January 2014). "Pharaonengrab aus apokalyptischen Zeiten entdeckt". Die Welt (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 8 January 2014.
  16. Percy Newberry (1908): Scarabs an introduction to the study of Egyptian seals and signet rings, available online copyright free see plate XLIII num 3
  17. Dodson, Aidan and Hilton, Dyan. The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson, 2004. ISBN 0-500-05128-3
  18. Stephen Quirke: In the Name of the King: on Late Middle Kingdom Cylinders, in: Timelines, Studies in Honour of Manfred Bietak, Leuven, Paris, Dudley, MA. ISBN 90-429-1730-X, 263-64

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

[แก้]
  • K. S. B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, (Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997), 336, File 13/1.