รายพระนามแห่งมะดีนะตุลฮาบู
อนุสรณ์วิหารแห่งราเมสเซสที่ 3 ที่มะดีนะตุลฮาบู ซึ่งปรากฏพระนามของฟาโรห์แห่งสมัยราชอาณาจักรใหม่ของอียิปต์เพียงไม่กี่พระองค์ คำจารึกดังกล่าวมีลักษณะใกล้เคียงกับบันทึกรายพระนามแห่งราเมสเซียม ซึ่งได้ใช้ฉากภาพสลักของฟาโรห์ราเมสเซสที่ 2 มาเป็นแม่แบบการสร้างภาพสลักภาพดังกล่าว
ภาพสลักดังกล่าวเป็นฉากที่ฟาโรห์ราเมสเซสที่ 3 ทรงเข้าร่วมในพิธีเทศกาลแห่งเทพมิน ซึ่งมีการอัญเชิญรูปสลักของบรรพกษัตริย์ในขบวนแห่อันงดงามเพื่อถวายแด่เทพมิน ประกอบด้วยภาพสลักจำนวน 16 ภาพที่ปรากฏพระนามของฟาโรห์จำนวนเก้าพระองค์ซึ่งแบ่งออกเป็นสองส่วน
โครงร่างคร่าวๆ ของฉากภาพสลักดังกล่าวจัดตีพิมพ์เผยแพร่โดยวีว็อง เดอนง ในปี ค.ศ. 1802[1] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางของนโปเลียนไปยังอียิปต์ในปี ค.ศ. 1798 ถึง 1801 ซึ่งมีการตีพิมพ์ฉากภาพสลักที่มีรายละเอียดมากขึ้นเล็กน้อยในปี ค.ศ. 1809[2] ในอีกสามสิบปีต่อมา ฉากภาพสลักทั้งหมดรวมทั้งภาพแกะสลักของฟาโรห์ได้รับการตีพิมพ์ตีพิมพ์โดยจอห์น การ์ดเนอร์ วิลกินสันในปี ค.ศ. 1837[3] ตามมาด้วยฌ็อง-ฟร็องซัว ช็องปอลียง[4] และเล็พซิอุส[5] ภาพฉบับในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทั้งหมดมีการละเว้นและมีข้อผิดพลาด แต่ในปี ค.ศ. 1940 การสำรวจเอพิกราฟิกได้เผยแพร่การแสดงฉากภาพสลักที่ชัดเจน (และสมบูรณ์)[6]
ฟาโรห์ที่ถูกกล่าวถึงในบันทึกพระนาม
[แก้]ภาพสลักได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือฉากภาพด้านซ้ายปรากฏขบวนแห่รูปสลักบรรพกษัตริย์จำนวน 7 พระองค์ ส่วนฉากด้านขวาปรากฏขบวนแห่รูปสลักบรรพกษัตริย์จำนวน 9 พระองค์
ฉากภาพสลักด้านซ้าย | ฉากภาพสลักด้านขวา | ||||
---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | ฟาโรห์ | คำจารึก (พระนามครองราชย์) | ลำดับ | ฟาโรห์ | คำจารึก (พระนามครองราชย์) |
1 | ราเมสเซสที่ 3 | อูเซอร์มาอัตเร-เมริอามุน | 8 | ราเมสเซสที่ 3 | อูเซอร์มาอัตเร-เมริอามุน |
2 | เซตนัคต์เอ | อูเซอร์คาอูเร-เมริอามุน | 9 | เซตนัคต์เอ | อูเซอร์คาอูเร-เมริอามุน |
3 | ราเมสเซสที่ 2 | อูเซอร์มาอัตเร-เซเทปเอนเร | 10 | เซติที่ 2 | อูเซอร์เคเปอร์อูเร-เซเทปเอนเร |
4 | เมอร์เอนพทาห์ | บาเอนเร-เมริอามุน | 11 | เมอร์เอนพทาห์ | บาเอนเร-เมริอามุน |
5 | ราเมสเซสที่ 3 | อูเซอร์มาอัตเร-เมริอามุน | 12 | ราเมสเซสที่ 2 | อูเซอร์มาอัตเร-เซเทปเอนเร |
6 | เซตนัคต์เอ | อูเซอร์คาอูเร-เมริอามุน | 13 | เซติที่ 1 | เมนมาอัตเร |
7 | เซติที่ 2 | อูเซอร์เคเปอร์อูเร-เซเทปเอนเร | 14 | ราเมสเซสที่ 1 | เมนเพติเร |
15 | ฮอร์เอมเฮบ | ดเจเซอร์เคเปอร์อูเร-เซเทปเอนเร | |||
16 | อเมนโฮเทปที่ 3 | เนบมาอัตเร |
ปัจจุบันฉากภาพสลักดังกล่าวยังคงอยู่ในพื้นที่เดิมบนเสาต้นที่สองทางทิศตะวันออกในลานที่สอง ซึ่งภาพสลักแนวนอนอยู่บนกำแพงด้านตะวันออก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dominique Vivant Denon (1802). Voyage dans la Basse et la Haute Égypte, plate 134, Paris
- ↑ Description de l'Égypte, Vol. II, Antiquités, Plate 11, Paris
- ↑ John Gardner Wilkinson (1837). Manners and customs of the ancient Egyptians, plate 76, London
- ↑ Jean-François Champollion (1845). Monuments de l'Égypte et de la Nubie, Vol II, plates 213-214, Paris
- ↑ Carl Richard Lepsius (1849). Denkmaeler aus Aegypten und Aethiopien, III, plates 212-213, Leipzig
- ↑ The Epigraphic Survey (1940). Medinet Habu IV, plates 203-207, OIP 51, Chicago
บรรณานุกรม
[แก้]* Dominique Vivant Denon: ''Voyage dans la Basse et la Haute Égypte, pendant les campagnes du général Bonaparte'', plate 134 (Paris: 1802)
* ''Description de l'Égypte, ou, Recueil des observations et des recherches qui ont été faites en Égypte pendant l'expédition de l'armée française'', Vol. II, Planches: Antiquités. Plate 11. (Paris: Imprimerie impériale, 1809)
* John Gardner Wilkinson: ''Manners and customs of the ancient Egyptians, including their private life, government, laws, art, manufactures, religions, and early history'', plate 76, (London: 1837)
* Jean François Champollion: ''Monuments de l'Égypte et de la Nubie'', Vol. III, plates 213-214 (Paris: 1845)
* Carl Richard Lepsius: ''Denkmaeler aus Aegypten und Aethiopien'', III, plates 212-213, (Berlin: 1849)
* The Epigraphic Survey: ''Medinet Habu: Volume IV, Festival Scenes of Ramses III'', Oriental Institute Press 51, Plates 203-207 (Chicago: 1940)
* Kenneth A. Kitchen: ''Ramesside Inscriptions'', Vol V, pp. 205:12-13; 209:11-12 (Oxford: 1983)