ฟาโรห์เมเนส
ฟาโรห์เมเนส | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Africanus: Mênês Eusebius: Mênês | |||||||||||||||
คาร์ทูธของฟาโรห์เมเนสในบันทึกพระนามแห่งอไบดอส | |||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||
รัชกาล | ป. 3200–3000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[1] | ||||||||||||||
ถัดไป | ฟาโรห์ฮอร์-อฮา (อาจจะ) | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่ 1 |
เมเนส (รุ่งเรือง ประมาณ 3200–3000 ปีก่อนคริสต์ศํกราช;[1] อียิปต์โบราณ: mnj, อาจออกเสียงเป็น */maˈnij/;[6] กรีกโบราณ: Μήνης[5]) เป็นฟาโรห์ในสมัยราชวงศ์ตอนต้นของอียิปต์โบราณ ในบันทึกคลาสสิกระบุว่าพระองค์รวมอียิปต์บนและล่างและเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์แรก[7]
ตัวตนของเมเนสยังคงเป็นที่โต้แย้ง ถึงแม้ว่าฉันทามติกระแสหลักระบุเมเนสเข้ากับฟาโรห์นาร์เมอร์ ผู้ปกครองสมัยนะกอดะฮ์ที่ 3[2][3][4][8] หรือฟาโรห์ฮอร์-อฮา ฟาโรห์ราชวงศ์ที่ 1[9] ทั้งสองฟาโรห์มีชื่อเสียงจากการรวมอียิปต์
พระนามและตัวตน
[แก้]Menes เป็นพระนามทั่วไปที่มาจากแมนิโธ นักประวัติศาสตร์และนักบวชชาวอียิปต์ที่มีชีวิตในราชอาณาจักรทอเลมีก่อนยุคคอปติก แมนิโธจกชื่อในภาษากรีกว่า Μήνης (ทับศัพท์: Mênês)[5][10] ส่วน Μιν (ทับศัพท์: Min) ที่เป็นพระนามกรีกอีกแบบ ได้รับการอ้างอิงจากเฮอรอโดทัส นักประวัติศาสตร์ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช[11] แต่ปัจจุบันไม่เป็นที่ยอมรัย เนื่องจากพระนามหลังเป็นผลจากการแผลงพระนามเทพมิน[12] พระนามในรูปแบบอียิปต์ mnj ปรากฏในบันทึกพระนามแห่งตูรินและอไบดอส ซึ่งมีอายุในราชวงศ์ที่ 19 โดยสร้างรูปสะกดใหม่เป็น */maˈnij/ การเปลี่ยนแปลงในสมัยราชอาณาจักรใหม่ตอนต้น ทำให้พระนามเดิมออกเสียงในภาษาอียิปต์เป็น */maˈneʔ/[13] คำว่า mnj หมายถึง "พระองค์เป็นผู้ที่ยั่งยืน" ซึ่งไอ.อี.เอส. เอ็ดเวิร์ดส์ (1971) กล่าวแนะว่า คำนี้อาจหมายถึง "ฉายาเชิงบรรยายของวีรบุรุษกึ่งตำนาน [...] ที่ชื่อจริงนั้นสูญหาย"[5] มากกว่าชื่อเฉพาะ ชื่อนี้อาจรวมถึงผู้ปกครองสมัยนะกอดะฮ์ที่ 3: ฟาโรห์กา, ฟาโรห์สกอร์เปียนที่ 2 และฟาโรห์นาร์เมอร์[5]
วันที่
[แก้]นักอียิปต์วิทยา นักโบราณคดี และนักวิชาการตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้เสนอวันที่ในรัชสมัยของเมเนสหรือวันเริ่มต้นราชวงศ์ที่ 1 แตกต่างกัน:[14][a]
- จอห์น การ์ดเนอร์ วิลกินสัน (1835) – 2320 ปีก่อนคริสต์ศักราช
- ฌ็อง-ฟร็องซัว ช็องปอลียง (ตีพิมพ์หลังเสียชีวิตใน ค.ศ. 1840) – 5867 ปีก่อนคริสต์ศักราช
- เอากุสท์ เบิค (1845) – 5702 ปีก่อนคริสต์ศักราช
- Christian Charles Josias Bunsen (1848) – 3623 ปีก่อนคริสต์ศักราช
- เรจินัลด์ สจวต พูล (1851) – 2717 ปีก่อนคริสต์ศักราช
- Karl Richard Lepsius (1856) – 3892 ปีก่อนคริสต์ศักราช
- Heinrich Karl Brugsch (1859) – 4455 ปีก่อนคริสต์ศักราช
- Franz Joseph Lauth (1869) – 4157 ปีก่อนคริสต์ศักราช
- Auguste Mariette (1871) – 5004 ปีก่อนคริสต์ศักราช
- เจมส์ สตรอง (1878) – 2515 ปีก่อนคริสต์ศักราช
- ฟลินเดอส์ เพทรี (1887) – 4777 ปีก่อนคริสต์ศักราช
ฉันทามติสมัยใหม่จัดรัชสมัยเมเนสหรือจุดเริ่มต้นราชวงศ์ที่ 1 ในระหว่าง ประมาณ 3200–3030 ปีก่อนคริสต์ศักราช วรรณกรรมวิชาการบางส่วนใช้ ประมาณ 3000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[1]
ดูเพิ่ม
[แก้]- พระราชพงศาวลีราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์
- ไมนอส กษัตริย์แห่งครีต โอรสในซุสกับยูโรปา
- พระมนูไววัสวัต บรรพบุรุษมนุษยชาติ
- นฺหวี่วา เทพีในเทพปกรณัมจีนที่รู้จักจากการสร้างมวลมนุษย์
- ฟาโรห์ฮอร์-อฮา
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ วันที่ในรัชสมัยอีกแบบปรากฏใน Capart, Jean, Primitive Art in Egypt, pp. 17–18.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Kitchen, KA (1991). "The Chronology of Ancient Egypt". World Archaeology. 23 (2): 201–8. doi:10.1080/00438243.1991.9980172.
- ↑ 2.0 2.1 Edwards 1971, p. 13.
- ↑ 3.0 3.1 Lloyd 1994, p. 7.
- ↑ 4.0 4.1 Cervelló-Autuori 2003, p. 174.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Edwards 1971, p. 11.
- ↑ Loprieno, Antonio (1995). Ancient Egyptian: A linguistic introduction. Cambridge University press. ISBN 0-521-44384-9.
- ↑ Beck et al. 1999.
- ↑ Heagy 2014.
- ↑ Seidlmayer 2010.
- ↑ Manetho, Fr. 6, 7a, 7b. Text and translation in Manetho, translated by W.G. Waddell (Cambridge: Harvard University, 1940), pp.26–35
- ↑ Herodotus: 2.4.1, 2.99.1ff.
- ↑ Lloyd 1994, p. 6.
- ↑ Loprieno 1995, p. 38.
- ↑ Budge, EA Wallis (1885), The Dwellers on the Nile: Chapters on the Life, Literature, History and Customs of the Ancient Egyptians, p. 54,
Many dates have been fixed by scholars for the reign of this king: Champollion-Figeac thought about BC 5867, Bunsen 3623, Lepsius 3892, Brugsch 4455, and Wilkinson 2320.
บรรณานุกรม
[แก้]- Beck, Roger B; Black, Linda; Krieger, Larry S; Naylor, Phillip C; Shabaka, Dahia Ibo (1999), World history: Patterns of interaction, Evanston, IL: McDougal Littell, ISBN 0-395-87274-X
- Cervelló-Autuori, Josep (2003), "Narmer, Menes and the seals from Abydos", Egyptology at the dawn of the twenty-first century: proceedings of the Eighth International Congress of Egyptologists, vol. 2, Cairo: The American University in Cairo Press, ISBN 978-977-424-714-9.
- Diodorus Siculus, Bibliotheca historica, vol. 1
- Dow, Alexander (1774), Sethona: a tragedy, as it is performed at the Theatre Royal in Drury Lane, Collection of plays. [1767-1802] ;v. 1, no. 5, London: T. Becket, hdl:2027/uc2.ark:/13960/t2z31pr8f
- Edwards, IES (1971), "The early dynastic period in Egypt", The Cambridge Ancient History, vol. 1, Cambridge: Cambridge University Press.
- Elder, Edward (1849), "Menes", ใน Smith, William (บ.ก.), Dictionary of Greek and Roman biography and mythology, vol. 2, Boston: Charles C. Little & James Brown.
- Faber, George Stanley (1816), "The origin of pagan idolatry: ascertained from historical testimony and circumstantial evidence", 3, London: F&C Rivingtons, vol. 2.
- Gardiner, Alan (1961), Egypt of the Pharaohs, Oxford: Oxford University Press.
- of Halicarnassus, Herodotus, The Histories.
- Heagy, Thomas C. (2014), "Who was Menes?", Archeo-Nil, 24: 59–92. Available online "[1]". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-01. สืบค้นเมื่อ 2022-09-03..
- Lloyd, Alan B. (1994) [1975], Herodotus: Book II, Leiden: EJ Brill, ISBN 90-04-04179-6.
- Maspero, Gaston (1903), Sayce, Archibald Henry (บ.ก.), History of Egypt, Chaldea, Syria, Babylonia, and Assyria, vol. 9, Kessinger Publishing, ISBN 9780766135017.
- ——— (1910) [1894], Sayce, Archibald Henry (บ.ก.), The dawn of civilization: Egypt and Chaldæa, แปลโดย McClure, M L, London: Society for Promoting Christian Knowledge, ISBN 978-0-7661-7774-1.
- Manley, Bill (1997), The Penguin Historical Atlas of Ancient Egypt, London: Penguin, ISBN 0-14-051331-0.
- Rachewiltz, Boris de (1969), "Pagan and magic elements in Ezra Pound's works", ใน Hesse, Eva (บ.ก.), New approaches to Ezra Pound, Berkeley, CA: University of California Press.
- Ryholt, Kim (2009), "Egyptian historical literature from the Greco-Roman period", ใน Fitzenreiter, Martin (บ.ก.), Das Ereignis, Geschichtsschreibung zwischen Vorfall und Befund, London: Golden House.
- Schulz, Regine; Seidel, Matthias (2004), Egypt: The World of the Pharaohs, HF Ullmann, ISBN 978-3-8331-6000-4.
- Shaw, Ian; Nicholson, Paul (1995), The Dictionary of Ancient Egypt, Harry N Abrams, ISBN 0-8109-9096-2.
- Seidlmayer, Stephan (2010) [2004], "The Rise of the State to the Second Dynasty", Egypt: The World of the Pharaohs, ISBN 978-3-8331-6000-4.
- Verbrugghe, Gerald Paul; Wickersham, John Moore (2001) [1996], Berossos and Manetho, introduced and translated: Native Traditions in Ancient Mesopotamia and Egypt, Ann Arbor: The University of Michigan Press, ISBN 978-0-472-08687-0.
- Waddell, Laurence A (1930), Egyptian civilization: Its Sumerian origin, London, ISBN 978-0-7661-4273-2.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Menes, Ancient Egypt.
- "The Contendings of Horus and Seth", Egypt, IL: Reshafim, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-09-24, สืบค้นเมื่อ 2007-07-22.
- "Menes", Ancient Egyptian Civilization (image), Aldokkan.
- New International Encyclopedia. 1905. .