ฟาโรห์เมนทูโฮเตปที่ 1
ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 1[1] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มอนทูโฮเทปที่ 1, เมนทูโฮเทป-อาอา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปสลักในอิริยาบถนั่งของเมนทูโฮเทปที่ 1 จากเกาะแอลเลเฟนไทน์ ปัจจุบันอยู่ ณ กรุงไคโร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 2135 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | อินโยเตฟ ผู้อาวุโส | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | อินโยเตฟที่ 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คู่เสกสมรส | พระราชินี เนเฟรูที่ 1 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบุตร | อินโยเตฟที่ 1 ? อินโยเตฟที่ 2 ? | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบิดา | อาจจะ อินโยเตฟ ผู้อาวุโส | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ |
เมนทูโฮเทปที่ 1 (หรือ เมนทูโฮเทป-อาอา, แปลว่า "มหาราช"[3]) เขาอาจเป็นผู้ปกครองท้องถิ่นธีบส์ และเป็นผู้ปกครองอิสระบริเวณอียิปต์บนในสมัยช่วงระหว่างกลางที่ 1 หรืออาจเป็นบุคคลที่ไม่ตัวตนจริงที่สร้างขึ้นภายหลังในช่วงราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ ในรัชสมัยอันรุ่งเรืองอินเตฟที่ 2 และฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 โดยให้เป็นพระราชบิดาผู้สถาปนา
การระบุตัวตน
[แก้]เมนทูโฮเทปที่ 1 อาจจะเป็นผู้ปกครองถิ่นท้องของอียิปต์ในบริเวณเมืองธีบส์ในต้นสมัยช่วงระหว่างกลางที่ 1 ราว 2135 ปีก่อนคริสตกาล นามของเขาถูกบันทึกในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งคาร์นักที่พบในโถงเทศกาลแห่งทุตโมสที่ 3 ในตำแหน่งที่ 12 โดยปรากฎพระนามเพียงแค่บางส่วนว่า "เมน -" ในคาร์ทูธ ซึ่งแตกต่างจากของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 (ตำแหน่งที่ 29) หรือของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 3 (ตำแหน่งที่ 30) บางส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่ของบันทึกพระนามแห่งคาร์นักดูเหมือนจะไม่ได้สื่อถึงฟาโรห์ในอดีตในลำดับเหตุการณ์ใด ๆ ดังนั้นจึงไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่าฟาโรห์ "เมน-" นี้มีพระชนม์ชีพอยู่หรือเมื่อใด นักวิชาการหลายคนโต้เถียงกันจากบันทึกพระนามที่ว่า เมนทูโฮเทปที่ 1 ซึ่งอาจจะเป็นเพียงผู้ปกครองท้องถิ่นของธีบส์ ซึ่งได้รับได้รับนามหลังจากการมรณกรรมของเขา โดยผู้ปกครองที่ขึ้นมาต่อจากเขา ดังนั้น บุคคลที่สันนิษฐานมานี้จึงถูกเรียกว่า "เมนตูโฮเทปที่ 1"[4][5][6][7]
เป็นความจริงที่ว่า ไม่มีหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัยใดที่เกี่ยวข้องกับเมนทูโฮเทปที่ 1 เลย ซึ่งทำให้นักวิชาการบางคนได้เสนอว่า เขาเป็นบรรพบุรุษในตำนานและผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์นั้นในภายหลัง
บนฐานของรูปสลักจากวิหารแห่งเฮกาอิบบนเกาะแอลเลเฟนไทน์ เมนทูโฮเทปถูกเรียกว่า "บิดาแห่งเทพเจ้า"[8][9] ชื่อนี้อาจจะหมายถึงผู้ที่ขึ้นมาปกครองต่อจากของเขา นั้นก็คืออินเตฟที่ 1 และอินเตฟที่ 2 ซึ่งขึ้นมาเป็นผู้ปกครองเหนือบริเวณอียิปต์บน จากชื่อนี้นักไอยคุปต์วิทยาหลายคนแย้งว่า เมนทูโฮเทปนี้น่าจะเป็นบิดาของอินเตฟที่ 1 และ 2[4][8][10] และว่าเขาไม่เคยเป็นฟาโรห์เลย เนื่องจากชื่อนี้มักจะสงวนไว้สำหรับบรรพบุรุษที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ของฟาโรห์[5][6][7][8]
ไม่ทราบชื่อขณะครองราชย์ของเขา; เนื่องจากเขาอาจจะไม่ได้เป็นฟาโรห์ หรือไม่ก็ไม่มีฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบเอ็ดในต่อมาไม่มีพระนามขณะครองราชย์ใดๆ จนกระทั่งรัชสมัยฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 และเป็นไปได้ว่าพระองค์ก็ไม่เคยมีเช่นกัน ชื่อฮอรัสที่ถูกพระราชทานให้หลังจากมรณกรรมอย่างแน่นอนว่า เทปิ-อา (Tepi-a) แปลว่า "บรรพบุรุษ"[11]
ด้านครอบครัว
[แก้]ภรรยาของเมนทูโฮเทป อาจจะเป็นเนเฟรูที่ 1และรูปสลักจากวิหารแห่งเฮกาอิบ อาจจะถูกใช้สื่อความ เพื่อแสดงว่าเขาเป็นบิดาของอินเตฟที่ 1 และ 2 บันทึกพระนามแห่งคาร์นักมีบุคคลที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์หนึ่งคน (ไม่มีคาร์ทูธ) ชื่อว่า อินเตฟ ในตำแหน่งที่ 13 และนี่อาจหมายถึงอินเตฟ ผู้อาวุโส บุตรชายของไอคู ผู้ปกครองท้องถิ่นธีบส์ที่ภักดีต่อฟาโรห์แห่งเฮราคลีโอโพลิสในสมัยช่วงระหว่างกลางที่ 1 อย่างไรก็ตาม พระนามฟาโรห์ในชิ้นส่วนที่เหลืออยู่ของบันทึกดังกล่าวนั้นไม่ได้เรียงตามลำดับเวลา ดังนั้นจึงไม่แน่นอนเลย
ด้านการปกครอง
[แก้]ในฐานะผู้ปกครองท้องถิ่นธีบส์ เมนทูโฮเทปอาจแผ่ขยายอำนาจไปทางใต้จนถึงแก่งน้ำตกแรกในแม่น้ำไนล์ เขาอาจจะเจริญความสัมพันธ์อันดีกับผู้ปกครองท้องถิ่นแห่งคอปตอส ซึ่งส่งผลให้อินเตฟที่ 1 ทำสงครามกับฟาโรห์แห่งเฮราคลีโอโพลิสจากราชวงศ์ที่สิบที่ปกครองเหนือบริเวณอียิปต์ล่างและมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้ปกครองที่มีอำนาจในอียิปต์กลางโดยเฉพาะอังค์ติฟิ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Annales du Service des Antiquités de l´Egypt Le Caire. Nr. 55, 1900, p. 178.
- ↑ Clayton, Peter A. Chronicle of the Pharaohs: The Reign-by-Reign Record of the Rulers and Dynasties of Ancient Egypt. Thames & Hudson. p72. 2006. ISBN 0-500-28628-0
- ↑ Wolfram Grajetzki, The Middle Kingdom of Ancient Egypt: History, Archaeology and Society, Duckworth Egyptology, London 2006, ISBN 978-0715634356, pp. 10–11
- ↑ 4.0 4.1 William C. Hayes, The Middle Kingdom in Egypt. Internal History from the Rise of the Heracleopolitans to the Death of Ammenemes III., in The Cambridge Ancient History, vol. I, part 2, Cambridge University Press, 1971, ISBN 0 521 077915, p. 476
- ↑ 5.0 5.1 Nicolas Grimal, A History of Ancient Egypt (Oxford: Blackwell Books, 1992), p. 143.
- ↑ 6.0 6.1 Jürgen von Beckerath, Handbuch der ägyptischen Königsnamen (= Münchner ägyptologische Studien, vol 46), Mainz am Rhein: Verlag Philipp von Zabern, 1999. ISBN 3-8053-2310-7, pp. 76–77.
- ↑ 7.0 7.1 Kim Ryholt, The Royal Canon of Turin, in Erik Hornung, Rolf Krauss and David A. Warburton (eds.), Ancient Egyptian Chronology, Brill, Leiden/Boston, 2006, ISBN 978 90 04 11385 5, p. 30.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Labib Habachi: "God's fathers and the role they played in the history of the First Intermediate Period", ASAE 55, p. 167ff.
- ↑ Labib Habachi: The Sanctuary of Hequaib, Mainz 1985, photos of the statue: vol. II, pp. 187-89.
- ↑ Louise Gestermann: Kontinuität und Wandel in Politik und Verwaltung des frühen Mittleren Reiches in Ägypten, Wiesbaden 1987, p. 26.
- ↑ The name is preserved only on an old drawing of Émile Prisse d'Avennes, see Habachi, Figure 4.