ข้ามไปเนื้อหา

โยสิยาห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โยสิยาห์
โยสิยาห์บนภาพจิตรกรรมโดยศิลปินนิรนามบนภาพวาดของศิลปินนิรนามในคายกคณะของโบสถ์ St. Mary's Church, Åhus [sv] (ศตวรรษที่ 17)
กษัตริย์แห่งยูดาห์
ครองราชย์640–609 ปีก่อนคริสตกาล
ก่อนหน้าอาโมน
ถัดไปเยโฮอาหาส
ประสูติป. 648 ปีก่อนคริสตกาล
อาจเป็นที่เยรูซาเล็ม
สวรรคตเดือนทัมมุส (กรกฎาคม/สิงหาคม) 609 ปีก่อนคริสตกาล (38–39 พรรษา)
เยรูซาเล็ม
คู่อภิเษกเศบิดาห์
ฮามุทาล
พระราชบุตรโยฮานัน
เยโฮยาคิม
เศเดคียาห์
เยโฮอาหาส
ราชสกุลราชวงศ์ดาวิด
พระราชบิดาอาโมน
พระราชมารดาเยดีดาห์

โยสิยาห์ (อังกฤษ: Josiah; /ˈs.ə/)[1][2] หรือ Yoshiyahu[a] เป็นเป็นกษัตริย์ลำดับที่ 16 ของราชอาณาจักรยูดาห์ (ป. 640–609 ก่อนคริสตกาล) คัมภีร์ฮีบรูระบุว่าพระองค์ริเริ่มการปฏิรูปศาสนาครั้งใหญ่โดยทรงยกเลิกการบูชาเทพองค์อื่นนอกเหนือจากพระยาห์เวห์ คำบรรยายในคัมภีร์ฮีบรูเกี่ยวกับการปฏิรูปของโยสิยาห์มักถือว่ามีความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ไม่มากก็น้อยจนถึงช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 แต่ปัจจุบันมีการถกเถียงอย่างมาก[3] คัมภีร์ฮีบรูระบุว่าโยสิยาห์ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตรีิย์แห่งราชอาณาจักรยูดาห์ขณะพระชนมายุ 8 พรรษาหลังกษัตริย์อาโมนพระบิดาของพระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ และโยสิยาห์ครองราชย์เป็นเวลา 31 ปีตั้งแต่ 641/640 ถึง 610/609 ปีก่อนคริสตกาล[4]

โยสิยาห์เป็นที่รู้จักเฉพาะจากข้อความในคัมภีร์ฮีบรู ไม่พบการอ้างอิงถึงพระองค์ในเอกสารที่หลงเหลืออื่น ๆ ในยุคนั้นจากอียิปต์หรือบาบิโลน และไม่เคยพบหลักฐานทางโบราณคดีที่บ่งชี้ชัดเจนอย่างจารึกที่ปรากฏพระนามของพระองค์ [5] อย่างไรก็ตาม มีการค้นพบตราประทับที่ปรากฏชื่อว่า "นาธันเมเลค" ชื่อของข้าราชสำนักฝ่ายปกครองของกษัตริย์โยสิยาห์ที่ระบุใน 2 พงศ์กษัตริย์ 23:11 ตราประทับมีอายุถึงศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาลและค้นพบในแหล่งโบราณคดีแห่งหนึ่งในเยรูซาเล็ม ผู้ค้นพบเชื่อว่าตราประทับนี้เป็นสิ่งแทนถึงบุคคลที่ถูกกล่าวถึงใน 2 พงศ์กษัตริย์ 23:11[6] นอกจากนี้ นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าโยสิยาห์มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ และการสูญหายของเอกสารนั้นมาจากมีเอกสารเพียงเล็กน้อยที่หลงเหลือมาจากยุคดังกล่าว และเยรูซาเล็มเคยถูกยึดครอง พิชิต และสร้างใหม่เมื่อหลายพันปีก่อน[7]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ฮีบรู: יֹאשִׁיָּהוּ, ใหม่: Yōʾšīyahū, ไทบีเรียน: Yōʾšīyyāhū มีความหมายว่า "ได้รับการทรงเยียวยาโดยยาห์" หรือ "ได้รับการสนับสนุนโดยยาห์"; กรีก: Ἰωσίας; ละติน: Iosias

อ้างอิง

[แก้]
  1. Wells, John C. (1990). Longman Pronunciation Dictionary. Harlow, England: Longman. p. 386. ISBN 0-582-05383-8. entry "Josiah"
  2. "Josiah" Dictionary.com. Retrieved 25 July 2011
  3. Grabbe, Lester L. (2017). Ancient Israel: What Do We Know and How Do We Know It?. Bloomsbury Publishing. p. 249. ISBN 978-0-567-67044-1. It was once conventional to accept Josiah’s reform at face value, but the question is currently much debated (Albertz 1994: 198–201; 2005; Lohfink 1995; P. R. Davies 2005; Knauf 2005a).
  4. Edwin Thiele, The Mysterious Numbers of the Hebrew Kings, (1st ed.; New York: Macmillan, 1951; 2d ed.; Grand Rapids: Eerdmans, 1965; 3rd ed.; Grand Rapids: Zondervan/Kregel, 1983). ISBN 0-8254-3825-X, 9780825438257, 217.
  5. Alpert, Bernard; Alpert, Fran (2012). Archaeology and the Biblical Record. Hamilton Books. p. 74. ISBN 978-0-7618-5835-5.
  6. Mendel-Geberovich, Anat; Shalev, Yiftah; Bocher, Efrat; Shalom, Nitsan; Gadot, Yuval (2019). "A Newly Discovered Personal Seal and Bulla from the Excavations of the GivꜤati Parking Lot, Jerusalem". Israel Exploration Journal. 69 (2): 154–174. ISSN 0021-2059. JSTOR 27098633.
  7. Evans, Paul S. (2020). "The Later Monarchy in History and Biblical Historiography". ใน Kelle, Brad E.; Strawn, Brent A. (บ.ก.). The Oxford Handbook of the Historical Books of the Hebrew Bible. Oxford University Press. p. 121. ISBN 978-0-19-007411-1.

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]
  • The Bible Unearthed: Archaeology's New Vision of Ancient Israel and the Origin of Its Sacred Texts for the possible role of Josiah in creation of the Bible.
  • Hertz, J. H. (1936). The Pentateuch and Haftoras. Deuteronomy. Oxford University Press, London.
  • Friedman, R. (1987). Who Wrote the Bible? New York: Summit Books.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า โยสิยาห์ ถัดไป
อาโมน กษัตริย์แห่งยูดาห์
(ราชวงศ์ดาวิด)

(641-610 ปีก่อนคริสตกาล
สวรรคตในเดือนทัมมุส (กรกฎาคม/สิงหาคม) 609 ปีก่อนคริสตกาล)
เยโฮอาหาส