ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์เอเปปิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

'อะเปปิ เป็นผู้ปกครองบางส่วนของอียิปต์ล่างในช่วงสมัยระหว่างกลางที่สองหรือราวประมาณ 1650 ปีก่อนคริสตกาล ตามคำกล่าวของนักไอยคุปต์วิทยา คิม ไรโฮลต์ และดาร์เรล เบเกอร์ พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่ห้าสิบเอ็ดแห่งราชวงศ์ที่สิบสี่[1][2] เช่นนี้พระองค์จะปกครองครอบคลุมดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันออก และอาจจะรวมถึงดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำฝั่งตะวันตกด้วยโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองอวาริส อีกด้านหนึ่ง เยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธมองว่า พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบหกและเป็นข้าราชบริพารของผู้ปกครองฮิกซอสจากราชวงศ์ที่สิบห้า[3]

หลักฐานยืนยัน

[แก้]

หลักฐานเพียงอย่างเดียวที่กล่าวถึงพระองค์ คือ บันทึกพระนามแห่งตูริน ซึ่งเป็นบันทึกพระนามของฟาโรห์ที่ได้รับการแก้ไขในสมัยรามเสส พระองค์อยู่ในรายการส่วนหนึ่งของบันทึกพระนามฯ ที่สอดคล้องกับคอลัมน์ที่ 10 แถวที่ 15 (คอลัมน์ที่ 9 แถวที่ 16 ตามที่การอ่านบันทึกพระนามแบบอลัน การ์ดิเนอร์)[2] ตำแหน่งตามลำดับเวลาของพระองค์นั้นไม่สามารถระบุได้โดยไม่มีข้อสงสัย เนื่องจากสภาพที่เปราะบางและเป็นชิ้นเป็นอันของบันทึกพระนามฯ[2] นอกจากนี้ ในบันทึกพระนาม หลงเหลือแค่เพียงส่วนหน้าของพระนามนำของพระองค์ที่เป็น "'อะป[...]" เท่านั้น ซึ่งไรโฮลท์เสนอว่าเดิมเป็นพระนาม "'อะเปปิ" ได้[1]

อะโพฟิส โอรสแห่งกษัตริย์

[แก้]

การสร้างพระนาม 'อะเปปิ ขึ้นมาใหม่โดยไรโฮลท์นั้นมีความสำคัญ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันว่ามีตราประทับสคารับจำนวน 5 ชิ้นที่จารึกไว้ว่า "อะโพฟิส โอรสแห่งกษัตริย์"[4][5] บนตราประทับอีกสองดวง มีข้อความจารึกอยู่ในคาร์ทูช ตามด้วยคำว่า di-ˁnḫ แปลว่า "ผู้ให้ชีวิต" โดยทั่วไปคุณลักษณะทั้งสองนี้สงวนไว้สำหรับผู้ปกครองหรือรัชทายาทเท่านั้น และ 'อะเปปิ อาจจะเป็นอะโฟฟิสที่อ้างถึงบนตราประทับ[2] เพื่อยืนยันการระบุแหล่งที่มานั้นอย่างไม่แน่ชัด ไรโฮลท์ได้ตั้งข้อสังเกตว่าตราประทับสคารับทั้งสองนสามารถย้อนเวลาไปได้ระหว่างรัชสมัยของฟาโรห์เชชิและฟาโรห์ยาคุบ-ฮาร์ โดยใช้พื้นฐานทางรูปแบบตราประทับของราชวงศ์ที่สิบสี่[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 K.S.B. Ryholt: The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 57
  3. Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : P. von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6
  4. Cecil Mallaby Firth: The archaeological survey of Nubia: report for 1908-1909, 27, 59, pl. 42 [44]
  5. Frederick George Hilton Price: A catalogue of the Egyptian antiquities in the possession of F.G. Hilton Price, London 1897, available online see No 171 p. 25