เฮราคลีโอโพลิส
เฮราคลีโอโพลิส แมกนา (กรีก: Μεγάλη Ἡρακλέους πόλις, Megálē Herakléous pólis) หรือ เฮราคลีโอโพลิส (Ἡρακλεόπολις, Herakleópolis) เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอียิปต์โบราณ ซึ่งชื่อเมืองนั้นเป็นภาษาโรมัน ตั้งอยู่ประมาณ 15 กิโลเมตร (9.3 ไมล์) ทางตะวันตกของเมืองเบนิ ซูเอฟของอียิปต์ในปัจจุบัน[1]
ที่มาของชื่อ
[แก้]ในสมัยอียิปต์โบราณ เมืองเฮราคลีโอโพลิสเป็นที่รู้จักของชาวอียิปต์ว่าเป็น "บ้านของกษัตริย์" (ซึ่งแตกต่างจาก เฮเนน-เนซุต, เนน-เนซู หรือ เฮต-เนน-เนซู) และชื่อเมืองในภาษากรีกหมายถึง "เมืองแห่งเฮอร์คิวลีส" ตามด้วยด้วยคำว่า "ยิ่งใหญ่" ที่ถูกนำมาใช้เพื่อแยกความแตกต่างจากเมืองอื่นที่มีชื่อที่เหมือนกัน ซึ่งได้รับอารยธรรมกรีกที่ได้หลั่งไหลเข้ามาสู่อาณาจักรอียิปต์โบราณในช่วงราชวงศ์ปโตเลมี ที่เข้ามามีบทบาทอำนาจหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แต่ประชาชนในท้องถิ่นจะเรียกว่า เอนาสยา[2]
ภายหลังเมืองเฮราคลีโอโพลิสได้ถูกเรียกใหม่ว่า ฮนาส (คอปติก: Ϩⲛⲏⲥ) หรือ อานาส (อียิปต์อาหรับ: اهناس) สถานที่นี้เป็นที่รู้จักกันในภาษาอาหรับอียิปต์ว่า อิฮ์นาสสิยา อัมม์ อัล-กิมัม หรือ อิฮ์นาสสิยาฮ์ อัล-มาดินาฮ์[3]
ลำดับช่วงความสำคัญของเมืองเฮราคลีโอโพลิส
[แก้]ช่วงราชวงศ์ต้น
[แก้]ช่วงแรกของการตั้งถิ่นฐานที่บริเวณเมืองเฮราคลีโอโพลิสอย่างไม่เป็นที่รู้จัก แต่ในบันทึกหินปาแลร์โม บันทึกไว้ว่าฟาโรห์เดนเยี่ยมชมทะเลสาบอันศักดิ์สิทธิ์ของเทพเฮริเซฟ ที่ เนน-เนซุต ชื่อดั้งเดิมของเมืองนี้แสดงให้เห็นว่าเมืองมีอยู่จริง ซึ่งปรากฎอยู่ในช่วงเวลาตอนกลางราชวงศ์แรก ช่วง 2970 ปีก่อนคริสตกาล[4][5]
ช่วงต่อที่หนึ่ง (2181-2055 ปีก่อนคริสตกาล)
[แก้]ในช่วงนี้เมืองเฮราคลีโอโพลิส มีความเจริญทางอำนาจถึงขีดสุดในช่วงระยะเวลา 2181-2055 ปีก่อนคริสตกาล ในที่สุดหลังจากการล่มสลายของอาณาจักรเก่าอียิปต์ถูกแบ่งออกเป็นอียิปต์บนและอียิปต์ล่าง ทำให้เมืองเฮราคลีโอโพลิสกลายเป็นเมืองหลักทางด้านอำนาจของอียิปต์ล่างและสามารถควบคุมการปกครองของภูมิภาคนี้ได้ และยังเป็นเมืองหลวงของอียิปต์โบราณในช่วงราชวงศ์ที่เก้าและราชวงศ์ที่สิบ (2160-2025 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งในช่วงเวลานี้เมืองเฮราคลีโอโพลิสในความขัดแย้งกับเมืองธีบส์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอียิปต์บน[6]
ราชอาณาจักรกลาง (2055–1650 ปีก่อนคริสตกาล)
[แก้]ในระหว่างช่วงเวลาช่วงต่อที่หนึ่งและต้นราชอาณาจักรกลาง เมืองเฮราคลีโอโพลิสกลายเป็นศูนย์กลางทางศาสนาของเทพเฮริเซฟ และมีการสร้างวิหารของเทพเฮริเซฟ ต่อมาฟาโรห์เมริคาเร ซึ่งเป็นผู้ปกครองอียิปต์ล่างที่เมืองเฮราคลีโอโพลิสได้พ่ายแพ้สงครามกับฟาโรห์เมนทูโอเทปที่สอง และภายหลังได้ถูกผนวกทั้งอียิปต์บนและล่าง ซึ่งนำมาสู่ยุคของราชอาณาจักรกลาง
ช่วงต่อที่สาม (1069–747 ปีก่อนคริสตกาล)
[แก้]เมื่อช่วงเวลาที่สาม (1069-747 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เมืองเฮราคลีโอโพลิสมีการบูรณะและก่อสร้างใหม่ของวัดและสุสานฝังศพที่มีอยู่ในเมืองและก็กลายเป็นศูนย์กลางทางศาสนาและการเมืองที่สำคัญอีกครั้ง[7]
ยุคราชวงศ์ปโตเลมี (322–30 ปีก่อนคริสตกาล)
[แก้]ในยุคยุคราชวงศ์ปโตเลมี (332-30 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เมืองเฮราคลีโอโพลิสยังคงเป็นศูนย์กลางทางศาสนาและวัฒนธรรมที่สำคัญของอียิปต์โบราณ ผู้ปกครองชาวกรีกในยุคนี้ในความพยายามที่จะค้นหาการเชื่อมต่อและการเปรียบเทียบระหว่างเทพเจ้าของกรีกกับเทพเฮริเซฟ กับเปรียทเทียบกับเทพเฮอร์คิวลิส ซึ่งเป็นที่มาของชื่อของเมืองนี้
ยุคโรมัน (30 ปีก่อนคริสตกาล–ค.ศ. 390)
[แก้]พื้นที่บริเวณของเมืองเฮราคลีโอโพลิสถูกครอบครองแม้กระทั่งในสมัยโรมัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ An Introduction to the Archaeology of Ancient Egypt, 2008. Oxford: Blackwell Publishing. 2008.
- ↑ Ehnasya 1904. London: Gilbert and Rivington Limited. 1905.
- ↑ An Introduction to the Archaeology of Ancient Egypt, 2008. Oxford: Blackwell Publishing. 2008.
- ↑ Toby Wilkinson: Early Dynastic Egypt. Routledge, London/New York 1999, ISBN 0-415-18633-1 p. 325.
- ↑ Heinrich Schäfer: Ein Bruchstück altägyptischer Annalen, (= Abhandlungen der Königlich Preussischen Akademie der Wissenschaften. Anhang: Abhandlungen nicht zur Akademie gehöriger Gelehrter. Philosophische und historische Abhandlungen. 1902, 1. Quartal). Verlag der Königlichen Akademie der Wissenschaften, Berlin 1902, p. 18-21.
- ↑ The Princeton Dictionary of Ancient Egypt, 2008. Princeton: Princeton University Press. 2008.
- ↑ The Princeton Dictionary of Ancient Egypt, 2008. Princeton: Princeton University Press. 2008.