ฟาโรห์ฮอร์
ฟาโรห์ฮอร์ อาวอิบเร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ฮอร์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปสลักไม้แทนจิตวิญญาณแห่งฟาโรห์ฮอร์ที่พิพิธภัณฑ์อียิปต์, ไคโร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 2 ปี ระหว่าง 1777-1775 ปีก่อนคริสตกาล, ไม่กี่เดือน, 7 เดือน ใน 1760 ปีก่อนคริสตกาล, 1732 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เรนเซเนบ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | คาบาว | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบุตร | นับเฮเทปติ-เคเรด, ฟาโรห์คาบาว, ฟาโรห์ดเจดเคเปอร์เร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุสาน | หลุมฝังพระบรมศพที่ดาห์ชูร์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สิบสาม |
ฮอร์ อาวอิบเร หรือ ฮอร์ที่ 1 (อังกฤษ: Hor) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในราชวงศ์ที่สิบสาม ซึ่งครองราชย์อยู่ระหว่าง 1777 ถึง 1775 ปีก่อนคริสต์ศักราชหรือเพียงไม่กี่เดือนในราว 1760 ปีก่อนคริสตกาล หรือ 1732 ปีก่อนคริสตกาล[1] ในสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง[2] พระนามของพระองค์ปรากฏอยู่ในบันทึกพระนามแห่งตูริน ว่า อาอู-อิบ-รา พระองค์เป็นที่รู้จักมาจากหลักฐานที่หลุมฝังพระศพของพระองค์ที่เกือบจะสมบูรณ์ซึ่งถูกค้นพบในปี ค.ศ.1894 และรูปสลักไม้ดวงพระวิญญาณขนาดเท่าตัวของพระองค์
หลักฐานรับรอง
[แก้]พระนามของฟาโรห์ฮอร์ อาวิบเร ปรากฏอยู่บนบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน ซึ่งเป็นบันทึกพระนามที่รวบรวมขึ้นในช่วงต้นสมัยรามเสส[3] พระนามของพระองค์ปรากฏอยู่ในคอลัมน์ที่ 7 บรรทัดที่ 17 (หรือ คอลัมน์ที่ 6 บรรทัดที่ 17 ตามการอ่านแบบการ์ดิเนอร์[4]) นอกเหนือจากบันทึกพระนามแห่งตูรินแล้ว พระองค์ก็ยังคงไม่ได้รับการยืนยันการมีตัวตนของพระองค์จนกระทั่งมีการค้นพบหลุมฝังพระบรมศพที่อยู่ในสภาพที่ดีในเดาะฮ์ชูรในราวปี ค.ศ. 1894 โดยฌาค เดอ มอร์แกน ดูด้านล่าง[3]
หลักฐานรับรองเพิ่มเติมของฟาโรห์ฮอร์ก็ปรากฏให้เห็นตั้งแต่นั้นมา ซึ่งประกอบด้วยฝาโถที่ไม่ทราบที่มาและแผ่นโลหะ ซึ่งขณะนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์เบอร์ลิน ซึ่งทั้งคู่ปรากฏพระนามของพระองค์จารึกไว้[3] พบแผ่นโลหะอีกแผ่นหนึ่งที่ปรากฏพระนามของพระองค์ที่พีระมิดแห่งอเมนเอมฮัตที่ 1 ที่อัลลิชต์ พบแผ่นดินเผาหลายแผ่นที่ปรากฏพระนามของฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบสามหลายพระองค์[5] และที่สำคัญกว่านั้น ซุ้มประตูหินแกรนิตที่ปรากฏคาร์ทูชของฟาโรห์ฮอร์และฟาโรห์เซเคมเรคูทาวี คาบาว ผู้ซึ่งขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ปรากฏในตำแหน่งที่ใกล้เคียงกัน โดยถูกค้นพบที่เมืองทานิสในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ซุ้มประตูดังกล่าวน่าจะมีต้นกำเนิดในเมืองเมมฟิสและมาถึงบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำในช่วงสมัยการปกครองของชาวฮิกซอส[3] จากหลักฐานนี้ นักไอยคุปต์วิทยา คิม รีฮอล์ตเสนอความเห็นว่า ฟาโรห์เซเคมเรคูทาวี คาวบาว เป็นพระราชโอรสและทรงเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมกับฟาโรห์ฮอร์ อาวอิบเร[1]
รัชสมัย
[แก้]ตามที่รีฮอล์ตและดาร์เรล เบเกอร์กล่าว ฟาโรห์ฮอร์ อาวอิบเร ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่สิบห้าของราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์[3][1] หรืออีกทางหนึ่ง เดตเลฟ ฟรานเคอ และเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราทได้มองว่า พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบสี่ของราชวงศ์[6][7][8][9] และไม่พบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกันระหว่างฟาโรห์ฮอร์และฟาโรห์เรนเซเนบ ผู้ซึ่งเป็นผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์ ส่งผลให้รีฮอล์ตและเบเกอร์เสนอความเห็นว่า พระองค์เป็นผู้แย่งชิงพระราชบัลลังก์มา
ระยะเวลาในรัชสมัยของฟาโรห์ฮอร์ อาวอิบเร ได้สูญหายไปบางส่วนในส่วนที่เสียหายของบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน และไม่ทราบแน่ชัด จากการอ่านบันทึกพระนามแห่งตูรินครั้งล่าสุดโดยรีฮอล์ต ร่องรอยที่หลงเหลืออยู่ได้ระบุจำนวนวันเป็น "[... และ] 7 วัน"[3] ขณะที่การอ่านบันทึกพระนามแห่งตูรินโดยอลัน การ์ดิเนอร์ในปี ค.ศ. 1950 ได้อ่านเป็น "[...] 7 เดือน"[10] สิ่งนี้ทำให้นักวิชาการ เช่น มิโรสลาฟ เวอร์เนอร์ และดาร์เรล เบเกอร์ เชื่อว่า ฟาโรห์ฮอร์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลาอันสั้น ในขณะที่การอ่านของรีฮอล์ตส่งผลให้ระยะเวลาการครองราชย์ของพระองค์นั้นยาวนานขึ้น และรีฮอล์ตได้ระบุรัชสมัยของฟาโรห์ฮอร์อยู่ที่จำนวน 2 ปี[1][3] ไม่ว่าในกรณีใด ฟาโรห์ฮอร์จะต้องครองราชย์เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่นานพอที่จะเตรียมการสร้างพีระมิด ซึ่งยังคงเป็นที่ฝังพระบรมศพทั่วไปสำหรับฟาโรห์ในช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบสาม โดยไม่ต้องคำนึงถึงระยะเวลาในรัชสมัยของพระองค์ และดูเหมือนว่าฟาโรห์เซเคมเรคูทาวี คาบาว และฟาโรห์ดเจดเคเปอร์รู ไดขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ ซึ่งทั้งสองพระองค์เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ฮอร์ อาวอิบเร
สถานที่ฝังพระบรมศพ
[แก้]ฟาโรห์ฮอร์เป็นที่ทราบอย่างมากมาจากหลุมฝังพระบรมศพที่อยู่ในสภาพที่ดีซึ่งค้นพบในปี ค.ศ. 1894 โดยฌาค เดอ มอร์แกน ซึ่งทำงานร่วมกับจอร์จส์ เลอเกรน และกุสตาฟ เฌอกีเออร์ที่เมืองเดาะฮ์ชูร[11] โดยภายในหลุมฝังพระบรมศพนั้นไม่มีอะไรมากไปกว่าปล่องที่สร้างขึ้นที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือของพีระมิดของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 จากราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์[12] เดิมทีหลุมฝังพระบรมศพถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสมาชิกของราชสำนักของฟาโรห์อเมนเอมฮัต และต่อมาได้ขยายให้ใหญ่ขึ้นสำหรับฟาโรห์ฮอร์ด้วยการเพิ่มห้องฝังพระบรมศพหินและห้องมุข[3]
ถึงแม้ว่าหลุมฝังพระบรมศพจะถูกปล้นไปในสมัยโบราณ แต่ก็ยังมีห้องที่มีรูปสลักไม้ดวงพระวิญญาณของฟาโรห์ขนาดเท่าของจริงที่หายาก โดยรูปสลักดังกล่าวเป็นหนึ่งในตัวอย่างศิลปะอียิปต์โบราณที่มีการทำซ้ำบ่อยที่สุด และขณะนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ภายใต้แคตตาล็อกหมายเลข CG259[11] และเป็นหนึ่งในรูปสลักไม้ที่ถูเก็บรักษาไว้สภาพอย่างดีและสามารถหลงเหลืออย่ได้จากสมัยโบราณ และแสดงให้เห็นประเภทศิลปะที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นศิลปะของอียิปต์มาก่อน แต่แทบจะไม่สามารถอยู่หลงเหลือได้ในสภาพที่ดีเช่นนี้
หลุมฝังพระบรมศพยังพบโลงไม้ผุปิดทองบางส่วนของฟาโรห์ ถึงแม้ว่าหน้ากากไม้พระบรมศพถูกได้ถูกแกะส่วนที่ฉาบทองคำออกไปแล้วแต่หน้ากากก็ยังติดอยู่กับพระสิรัฐิ (กะโหลกศีรษะ) ซึ่งบริเวณดวงตาของหน้ากากนั้นทำจากหินประดับด้วยทองสัมฤทธิ์[11] นอกจากนี้ ยังพบกล่องคาโนปิกของฟาโรห์ฮอร์พร้อมภาชนะคาโนปิกด้วย พระบรมศพของพระองค์ได้ถูกค้นพบก่อนหน้าและเครื่องประดับอัญมณีที่ตกแต่งพระบรมศพก็ได้ถูกปล้นไป โดยหลงเหลือเพียงพระอัฐิของฟาโรห์ฮอร์ที่เหลืออยู่ในโลงพระบรมศพของพระองค์ และสันนิษฐานว่าพระองค์น่าจะเสด็จสวรรคตเมื่อพระองค์มีพระชนมพรรษาสี่สิบพรรษา วัตถุโบราณอื่น ๆ จากหลุมฝังพระบรมศพ ได้แก่ รูปสลักขนาดเล็ก, แจกันไม้และแจกันหินอลาบาสเตอร์, เครื่องประดับบางส่วน, จารึกหินอลาบาสเตอร์จำนวนสองชิ้นที่จารึกด้วยอักษรอียิปต์โบราณที่ทาด้วยสีน้ำเงิน และไม้ฝัดข้าว คทา และไม้เท้าจำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดถูกพบในกล่องไม้ยาว สิ่งเหล่านี้ถูกหักเป็นชิ้น ๆ โดยเจตนา[11] และภายในหลุมฝังพระบรมศพยังเป็นที่เก็บของอาวุธต่างๆ เช่น กระบองหินแกรนิต[11] และกริชที่มีใบมีดเป็นทองคำ และเครื่องปั้นดินเผาจำนวนมาก
ถัดจากหลุมฝังพระบรมศพของฟาโรห์ฮอร์ ได้ค้นพบหลุมฝังพระศพของ 'พระราชธิดาแห่งกษัตริย์' พระนามว่านุบเฮเทปติ-เคเรด ซึ่งปราศจากการรบกวนจากโจรปล้นสุสาน ซึ่งพระองค์น่าจะเป็นพระราชธิดาของฟาโรห์ฮอร์[13] หรือเป็นพระราขธิดาของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3[12]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 K.S.B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online.
- ↑ Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 112-113-114
- ↑ Alan H. Gardiner: The Royal Canon of Turin, Oxford 1959, Vol. III, 6.14, Warminster 1987, ISBN 0-900416-48-3.
- ↑ Dieter Arnold: The Pyramid Complex of Amenemhat I at Lisht, The Metropolitan Museum of Art New York 2015, ISBN 9781588396044, p. 59, pl. 93
- ↑ Thomas Schneider: Ancient Egyptian Chronology - Edited by Erik Hornung, Rolf Krauss, And David a. Warburton, available online, see p. 176
- ↑ Detlef Franke: Zur Chronologie des Mittleren Reiches (12.-18. Dynastie) Teil 1 : Die 12. Dynastie, in Orientalia 57 (1988)
- ↑ Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der Zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, 1964
- ↑ Jürgen von Beckerath: Chronologie des pharaonischen Ägyptens, Münchner Ägyptologische Studien 46. Mainz am Rhein, 1997
- ↑ Alan Gardiner, editor. Royal Canon of Turin. Griffith Institute, 1959. (Reprint 1988. ISBN 0-900416-48-3)
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 Jacques de Morgan: Fouilles a Dahchour, mars-juin, 1894, Vienna, 1895. Available online.
- ↑ 12.0 12.1 Verner, Miroslav. The Pyramids: The Mystery, Culture, and Science of Egypt's Great Monuments. Grove Press. 2001 (1997). ISBN 0-8021-3935-3
- ↑ Dodson, Aidan and Hilton, Dyan. The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson. 2004. ISBN 0-500-05128-3
ก่อนหน้า | ฟาโรห์ฮอร์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ฟาโรห์เรนเซเนบ | ฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณ |
ฟาโรห์คาบาว |