ข้ามไปเนื้อหา

สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชในยุทธการที่อิสซัส
ภาพจากงานโมเสกอเล็กซานเดอร์
พิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาติ เนเปิลส์
วันที่336–323 ปีก่อนคริสตกาล (13 ปี)
สถานที่
ผล
คู่สงคราม
ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา
สันนิบาตโครินธ์
จักรวรรดิอะคีเมนิด
เปารพ
ชาวเธรซ
ชาวอิลลีเรีย
นครรัฐกรีก
ซอกเดีย
ชาวยูซี
อาณาจักรในอินเดีย
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อเล็กซานเดอร์มหาราช
พาร์มีเนียน
แอนติพาเตอร์
ทอเลมี
เฮฟีสเทียน
พระเจ้าดาไรอัสที่ 3
เบสซัส
สปิทามีนีส
เมเดตีส
พระเจ้าโปรส
จักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์ ช่วง 334-323 ปีก่อนคริสตกาล

สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช เป็นสงครามระหว่างพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งราชอาณาจักรมาเกโดนีอากับผู้ปกครองหลายคนในภูมิภาคกรีซจนถึงอินเดีย สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากอเล็กซานเดอร์ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าพีลิปโปสที่ 2 พระราชบิดา พระองค์เริ่มทำสงครามกับชาวเธรซและอิลลีเรียทางตอนเหนือ ก่อนจะข้ามช่องแคบเฮลเลสปอนต์เพื่อโจมตีจักรวรรดิอะคีเมนิด โดยพิชิตอานาโตเลีย, ซีเรีย, ฟินิเชีย, ยูเดียและอียิปต์ ในปี 331 ก่อนคริสตกาล อเล็กซานเดอร์ตีทัพพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 จนแตกพ่ายในยุทธการที่กอกามีลา เป็นการเปิดทางสู่เมืองหลวงแพร์ซโพลิสซึ่งถูกปล้นและเผา[1]

อเล็กซานเดอร์เดินทัพต่อไปยังแบคเตรีย ยึดซอกเดียนร็อก ก่อนจะข้ามเทือกเขาฮินดูกูชและแม่น้ำสินธุเพื่อเข้าสู่อินเดีย พระองค์เอาชนะทัพพระเจ้าโปรสในยุทธการที่ไฮดาสเปสในปี 326 ก่อนคริสตกาล แต่ทหารที่อ่อนล้าและหวาดกลัวต่อทัพมหึมาของจักรวรรดินันทะที่อยู่ใกล้เคียงปฏิเสธที่จะรุกต่อ[2] อเล็กซานเดอร์จึงสร้างแท่นบูชา 12 แห่งที่ริมฝั่งแม่น้ำฮิฟาซิสเพื่อระลึกถึงการขยายพระราชอำนาจของพระองค์[3] ก่อนจะยกทัพกลับโดยแต่งตั้งเซแทร็ปไว้ปกครอง เมื่ออเล็กซานเดอร์กลับมาถึงบาบิโลน พระองค์มีแผนจะบุกคาบสมุทรอาหรับ แต่สวรรคตเสียก่อนในปี 323 ก่อนคริสตกาล[4]

ปีต่อมาหลังอเล็กซานเดอร์สวรรคต เกิดสงครามไดแอโดไคซึ่งเป็นการแย่งชิงอำนาจระหว่างนายพลของพระองค์ หลังยุทธการที่อิปซัสในปี 301 ก่อนคริสตกาล อาณาจักรของอเล็กซานเดอร์ก็ถูกแบ่งแยก โดยทอเลมีครองอียิปต์ เซลิวคัสครองดินแดนฝั่งเอเชียจนถึงตะวันออกของอานาโตเลีย ไลซีมาคัสครองเธรซและตะวันตกของอานาโตเลีย ส่วนคาสแซนเดอร์ครองกรีซและมาซิดอน[5] สงครามดังกล่าวยังเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยเฮลเลนิสต์ ซึ่งวัฒนธรรมกรีกเจริญและเผยแพร่ไปไกลถึงขีดสุด[6]

อาณาจักรของไดแอโดไค หลังยุทธการที่อิปซัส (301 ปีก่อนคริสตกาล)
  อาณาจักรของเซลิวคัส
  อาณาจักรของคาสแซนเดอร์
  อาณาจักรของไลซีมาคัส
  อาณาจักรของทอเลมี

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Alexander the Great & the Burning of Persepolis". Ancient History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ October 4, 2018.
  2. ย้อนรอยจักรวรรดิมหาอำนาจ, แอนดรูว์ เทย์เลอร์, หน้า 46, พ.ศ. 2553, เนชั่นแนล จีโอกราฟิก กรุงเทพฯ
  3. "The Empire and Expeditions of Alexander the Great". World Digital Library. 1833. สืบค้นเมื่อ 2013-07-26.
  4. "Alexander The Great". Encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ October 4, 2018.
  5. "The Battle of Ipsus". Livius.org. สืบค้นเมื่อ October 4, 2018.
  6. "Wars of the Diadochi". Ancient History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ October 4, 2018.