จักรพรรดิอาร์ตาเซิร์กซีสที่ 1
อาร์ตาเซิร์กซีสที่ 1 𐎠𐎼𐎫𐎧𐏁𐏂 | |
---|---|
จารึกของกษัตริย์อาร์ตาเซิร์กซีสที่ 1 จากหลุมฝังพระบรมศพของพระองค์ในนักช์-อี รุสตัม | |
พระราชาธิราชแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด | |
ครองราชย์ | 465–424 ปีก่อนคริสตกาล |
ก่อนหน้า | เซิร์กซีสที่ 1 |
ถัดไป | เซิร์กซีสที่ 2 |
ประสูติ | ไม่ทราบ |
สวรรคต | 424 ปีก่อนคริสตกาล, นครซูซา |
ฝังพระศพ | นักช์-อี รุสตัม, เพอร์เซโพลิส |
คู่อภิเษก | ดามัสเปีย อาโลจีนีแห่งบาบิโลน คอสมาร์ติดีนีแห่งบาบิโลน อันเดียแห่งบาบิโลน |
พระราชบุตร | |
ราชวงศ์ | อะคีเมนิด |
พระราชบิดา | เซิร์กซีสที่ 1 |
พระราชมารดา | อะเมสทริส |
ศาสนา | โซโรอัสเตอร์ |
| |||||||||||||||
อาร์ตาเซิร์กซีส[1] ในไฮเออโรกลีฟอียิปต์ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
สมัย: สมัยปลาย (664–332 BC) | |||||||||||||||
อาร์ตาเซิร์กซีสที่ 1 (/ˌɑːrtəˈzɜːrksiːz/, เปอร์เซียโบราณ: 𐎠𐎼𐎫𐎧𐏁𐏂𐎠 Artaxšaçāʰ;[2][3] กรีก: Ἀρταξέρξης)[4] เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ห้าแห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด ตั้งแต่ราว 465 ถึงเดือนธันวาคม 424 ปีก่อนคริสตกาล[5][6] พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สามของกษัตริย์เซิร์กซิสที่ 1
พระองค์อาจจะทรงเป็นบุคคลเดียวกันกับ "อาร์ตาไซรัส" ตามที่เฮโรโดตุสกล่าวถึงว่าเป็นผู้ว่าการมณฑลแห่งราชสำนักบัคเตรีย
ในแหล่งข้อมูลของกรีกยังมีพระนามฉายาของพระองค์ว่า "พระหัตถ์ยาว" (กรีกโบราณ: μακρόχειρ Makrókheir; ละติน: Longimanus) โดยมีความหมายโดยนัยว่าเป็นเพราะพระหัตถ์ขวาของพระองค์ยาวกว่าพระหัตถ์ซ้าย
การสืบทอดพระราชบัลลังก์
[แก้]กษัตริย์อาร์ตาเซิร์กซีสที่ 1 อาจจะประสูติในช่วงรัชสมัยของพระอัยกาของพระองค์พระนามว่า ดาริอุสที่ 1 ซึ่งเป็นพระราชโอรสของจักรพรรดิและทายาทของกษัตริย์เซิร์กซีสที่ 1 ในปีช่วง 465 ปีก่อนคริสตกาล กษัตริย์เซิร์กซีสที่ 1 ทรงถูกสังหารโดยฮาซาราพัต ("ผู้บัญชาการแห่งจำนวนหนึ่งพัน") นามว่า อาร์ตาบาร์นุส ซึ่งเป็รผู้บัญชาการราชองครักษ์และผู้มีอำนาจสูงสุดในราชสำนักเปอร์เซีย ด้วยความช่วยเหลือจากขันทีอัซปามิเทรส[7] แต่นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกได้บันทึกเรื่องราวที่ขัดแย้งกัน ตามคำกล่าวของเซซิอัส (ใน Persica 20) ที่ว่า หลังจากลอบปลงพระชนม์กษัตริย์เซิร์กซีสไปแล้ว จากนั้นอาร์ตาบาร์นุสได้กล่าวหามกุฎราชกุมารดาริอุส ซึ่งเป็นพระราชโอรสพระองค์โตในข้อหาปลงพระชนม์พระราชบิดา และเกลี้ยกล่อมให้อาร์ตาเซิร์กล้างแค้นผู้ที่สังหารพระราชบิดาด้วยการสังหารดาริอุส แต่ตามความเห็นของอริสโตเติล (ใน Politics 5.1311b) อาร์ตาบาร์นุสได้ปลงพระชนม์มกุฎราชกุมารดาเรียสก่อนแล้วจึงปลงพระชนม์กษัตริย์เซิร์กซีสตาม และหลังจากที่กษัตริย์อาร์ตาเซิร์กซีสที่ 1 ทรงทราบเบื้องหลังจากปลงพระชนม์ พระองค์ก็ทรงสังหารอาร์ตาบาร์นุส พร้อมกับบุตรชาย[8][9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Henri Gauthier, Le Livre des rois d'Égypte, IV, Cairo 1916 (=MIFAO 20), p. 152.
- ↑ Ghias Abadi, R. M. (2004). Achaemenid Inscriptions (کتیبههای هخامنشی) (ภาษาเปอร์เซีย) (2nd ed.). Tehran: Shiraz Navid Publications. p. 129. ISBN 964-358-015-6.
- ↑ Artaxerxes ที่ Encyclopædia Iranica
- ↑ The Greek form of the name is influenced by Xerxes, Artaxerxes ที่ Encyclopædia Iranica
- ↑ James D. G. Dunn; John William Rogerson (19 November 2003). Eerdmans Commentary on the Bible. Wm. B. Eerdmans Publishing. p. 321. ISBN 978-0-8028-3711-0.
- ↑ Matthew W. Stolper. The Death of Artaxerxes I in Archaeologische Mitteilungen aus Iran N.F. 16 (1983). Dietrich Reimer Verlag Berlin. p. 231.
- ↑ Pirnia, Iran-e-Bastan book 1, p 873
- ↑ Dandamayev
- ↑ Olmstead, History of the Persian Empire, pp 289–290