ราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1803 ปีก่อนคริสตกาล–1649 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||||||
รูปสลักหินแกรนิตของฟาโรห์อิมิเรเมชอาวในพิพิธภัณฑ์อียิปต์ในกรุงไคโร | |||||||||||||||
เมืองหลวง | อิทจ์-ทาวี (ราว 1803 ปีก่อนคริสตกาล – ราว 1677 ปีก่อนคริสตกาล) ธีบส์ (ราว 1677 ปีก่อนคริสตกาล – ราว 1648 ปีก่อนคริสตกาล) | ||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาอียิปต์ | ||||||||||||||
ศาสนา | ศาสนาอียิปต์โบราณ | ||||||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคสัมฤทธิ์ | ||||||||||||||
• ก่อตั้ง | 1803 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||||||
• สิ้นสุด | 1649 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||||||
|
สมัยและราชวงศ์ของอียิปต์โบราณ |
---|
ทั้งหมดก่อนคริสต์ศักราช |
ดูเพิ่ม: รายชื่อฟาโรห์ตามช่วงเวลาและราชวงศ์ |
ราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์โบราณ (อังกฤษ: Thirteenth Dynasty of Egypt ,Dynasty XIII) เป็นราชวงศ์ที่มักจะรวมกับราชวงศ์ที่สิบเอ็ด ,ราชวงศ์สิบสอง และราชวงศ์ที่สิบสี่ ภายใต้ใน สมัยราชอาณาจักรกลาง แต่นักเขียนบางคนมักแยกราชวงศ์ที่สิบสามออกจากราชวงศ์เหล่านี้ และเข้าร่วมกับราชวงศ์ที่สิบสี่จนถึงราชวงศ์ที่สิบเจ็ด และเป็นส่วนหนึ่งในสมัยช่วงต่อที่สองแห่งอียิปต์ ราชวงศ์ที่สิบสามได้ปกครองตั้งแต่ประมาณ 1802 ปีก่อนคริสตกาล จนถึงประมาณ 1649 ปีก่อนคริสตกาล รวมทั้งหมด 153 ปี [1]
ราชวงศ์ที่สิบสามเป็นราชวงศ์ที่ต่อเนื่องโดยตรงจากราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ โดยมีปฐมกษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบสาม เชื่อกันว่าเป็นพระราชโอรสในฟาโรห์อเมเนมฮัตที่ 4[1] คิม รีฮอล์ตได้เสนอว่าแบ่งช่วงเวลาระหว่างสองราชวงศ์ ทำให้ได้มีการเพิ่มราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์ที่เป็นอิสระในทางตะวันออกของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ เหตุการณ์ที่คิม รีฮอล์ตเสนอเกิดขึ้นในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์โซเบคเนเฟรู[1] ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ มีพระราชอำนาจตั้งแต่เมืองเมมฟิสทางเหนือ ตอนกลางจนถึงอียิปต์บน ตลอดจนถึงแก่งน้ำตกแห่งที่สองของแม่น้ำไนล์ พระราชอำนาจของกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่สิบสาม ค่อยๆเสื่อมลงในช่วงปีที่ 150 ของราชวงศ์ และในที่สุดก็สิ้นสุดลงด้วยการพิชิตเมืองเมมฟิสโดยกษัตริย์แห่งชาวฮิกซอสแห่งราชวงศ์ที่สิบห้าของอียิปต์ก่อน 1650 ปีก่อนคริสต์ศักราช [1]
พระมหากษัตริย์
[แก้]ในตำราสมัยนี้ ราชวงศ์ที่สิบสามมักจะถูกอธิบายว่าเป็นยุคแห่งความวุ่นวาย อย่างไรก็ตามราชวงศ์นี้อาจจะสงบสุข มากกว่าสมัยราชอาณาจักรกลางในเมืองหลวงเก่าอย่างเมืองอิทจ์-ทาวี ใกล้กับไฟยุม ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์ที่มีฟาโรห์จำนวนมากหลายพระองค์แต่มีช่วงเวลาแห่งการครองราชที่สั้น และมีเพียงไม่กี่พระองค์ที่ได้รับการรับรองว่ามีอยู่จริง
ตามรายพระนามฟาโรห์ในข้างต้น ผู้ปกครองที่เหลืออยู่ของราชวงศ์ที่สิบสาม ได้รับการยืนยันโดยการค้นพบในบริเวณอียิปต์บนเท่านั้น สิ่งนี้อาจบ่งชี้ถึงการละทิ้งเมืองหลวงเก่าที่อิทจ์-ทาวี ไปยังเมืองธีบส์[7] แดฟนา เบ็น ทอร์ได้เชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการรุกรานจากบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำตะวันออกและบริเวณเมมฟิสโดยผู้ปกครองชาวคานาอัน สำหรับนักวิชาการบางคนเชื่อว่าในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นจุดสิ้นสุดของสมัยราชอาณาจักรกลางและเป็ฯจุดเริ่มต้นของสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง[7] อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ดังกล่าวถูกปฏิเสธโดยรีฮอล์ตและเบเกอร์ ซึ่งทราบว่าจารึกแห่งเซเฮเกนเร สอังค์พทาห์อิ ซึ่งทรงครองราชย์ในช่วปลายราชวงศ์ ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพระองค์ทรงปกครองเหนือเมมฟิส และจารึกดังกล่าวนั้นไม่ทราบแหล่งที่มา[8][9]
ฟาโรห์ | คำอธิบาย |
---|---|
เมอร์โฮเทปเร อินิ | หรือที่เรียกว่า อินิที่ 1 |
สอังค์เอนเร เซวัดจ์ตู | |
เมอร์เซคเอมเร อิเนด | อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกับเนเฟอร์โฮเทปที่ 2 |
เซวัดจ์คาเร ฮอร์อิ | หรือที่เรียกว่า ฮอร์อิที่ 2 |
เมอร์คาวเร โซเบคโฮเทปที่ 7 | |
ฟาโรห์จำนวนแปดพระองค์, พระนามสูญหาย
|
|
เมอร์เคเปอร์เร | |
เมอร์คาเร | ทราบเฉพาะพระนามมาจากบันทึกพระนามแห่งตูริน |
พระนามสูญ
|
|
เซวัดจ์คาเร เมนทูโฮเทปที่ 5 | |
[...]มอสเร | |
อิบิ [...]มาอัตเร | |
ฮอร์ [...] [...]เวบเอนเร | |
เซ[...]คาเร | |
เซเฮเกนเร สอังค์พทาห์อิ | ปรากฏภาพสลักพระองค์กำลังถวายการบูชาแด่เทพพทาห์ |
[...]เร | |
เซ[...]เอนเร |
ตำแหน่งตามลำดับเวลาของผู้ปกครองที่ได้รับการยืนยันแล้วจำนวนหนึ่ง แต่ไม่สามารถสรุปได้เนื่องจากขาดหลักฐาน
ฟาโรห์ | คำอธิบาย |
---|---|
เมอร์เชปเซสเร อินิที่ 2 | ตามคำกล่าวของฟอน เบ็คเคอราธ พระองค์คือผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์เซวัดจ์คาเร เมนทูโฮเทปที่ 5 และทรงเป็ฯผู้ปกครองก่อนหน้าของฟาโรห์เมอร์เคเปอร์เร |
เมอร์เซคเอมเร เนเฟอร์โฮเทปที่ 2 | อาจจะเป็นฟาโรห์พระองค์เดียวกับเมอร์เซคเอมเร อิเนด |
เซวาห์เอนเร เซนเอบมิอู | ตามคำกล่าวของฟอน เบ็คเคอราธ พระองค์คือผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์เซ[...]คาเร |
เซคอันเอนเร ...เร |
ฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 1 และ 2
[แก้]รีฮอล์ตได้ให้ผู้ปกครองที่ทรงมีพระนามว่า "โซเบคโฮเทปที่ 1 เซคเอมเร คูทาวี" เป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบสาม ในขณะนี้เป็นสมมติฐานหลักในไอยคุปต์วิทยา[8] และฟาโรห์โซเบคโฮเทป เซคเอมเร คูทาวี ก็สื่อถึงฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 1 ในบทความนี้ ดังนั้น รีฮอล์ตจึงระบุว่าฟาโรห์เซคเอมเร คูทาวี โซเบคโฮเทปที่ 1 ทรงครองราชย์ได้เป็นระยะเวลา 3 ถึง 4 ปี ในราว 1800 ปีก่อนคริสตกาลและเสนอให้ฟาโรห์คาอังค์เร โซเบคโฮเทปที่ 2 นั้นทรงขึ้นครองราชย์ในราว 20 ปีต่อมาในช่วง 1780 ปีก่อนคริสตกาล[9] ด็อดสันและฮิลตันได้คิดเห็นในทำนองเดียวกันว่าฟาโรห์เซคเอมเร คูทาวี โซเบคโฮเทปทรงครองราชย์มาก่อนหน้าฟาโรห์คาอังค์เร โซเบคโฮเทป[10]
ฟาโรห์พระองค์อื่น ๆ
[แก้]หลังจากปล่อยให้ความเข้มงวดที่กลุ่มป้อมปราการทางตอนใต้ให้เสื่อมโทรมลง ในที่สุดอียิปต์ก็ถอนกองทหารรักษาการณ์ออกไป และหลังจากนั้นไม่นาน ป้อมปราการก็ถูกยึดครองโดยนิวเบียแห่งคุช ซึ่งได้ผงาดขึ้นมาอีกครั้ง ในทางตอนเหนือ อียิปต์ล่างก็ถูกชาวฮิกซอสซึ่งเป็นชาวเซมิติกจากอีกซีกหนึ่งของคาบสมุทรไซนายเข้ามายึดครอง กษัตริย์อิสระกลุ่มหนึ่งได้ก่อตั้งราชวงศ์ที่สิบสี่ ซึ่งสถาปนาขึ้นในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ฝั่งตะวันตกในช่วงราชวงศ์ที่สิบสาม และต่อมา ตามคำกล่าวของมาเนโธ ผู้รุกรานจากตะวันออกที่เรียกว่าชาวฮิกซอสได้เข้ายึดอียิปต์ "โดยไม่ได้เข้าโจมตีแต่อย่างใดเลย" และหลังจากเอาชนะผู้ปกครองของแผ่นดินได้ พวกเขาจึงเผาเมืองของเราอย่างไร้ความปรานี ทำลายเทวสถานของเทพเจ้าเป็นผุยผง .." การปกครองของพวกเขาที่เรียกว่าราชวงศ์ที่สิบห้าได้ถูกเข้ามาแทนที่ราชวงศ์ที่สิบสามและราชวงศ์ที่สี่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของอียิปต์
อย่างไรก็ตาม การค้นพบทางโบราณคดีล่าสุดที่เอ็ดฟู อาจจะบ่งชี้ได้ว่าราชวงศ์ที่สิบห้าของชาวฮิกซฮส อาจจะมีอยู่แล้วอย่างน้อยในช่วงกลางราชวงศ์ที่สิบสามในรัชสมัยของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 ในเอกสารที่ตีพิมพ์เมื่อเร็วๆ นี้ชื่อว่า อียิปต์และเลวานไทน์[11] นาดีน โมลเลอร์, เกรกอรี มาโรวาร์ดและ เอ็น. อาเยิร์ส ได้ถกเถียงเกี่ยวกับการค้นพบซากอาคารการปกครองที่สำคัญของสมัยราชอาณาจักรกลางในช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบสองในพื้นที่เทลล์ เอ็ดฟู ทางตะวันออกของอียิปต์บน ซึ่งมีสภาพที่ถูกใช้งานอย่างต่อเนื่อง เข้าสู่สมัยช่วงระหว่างกลางที่สองตอนต้นจนถึงช่วงราชวงศ์ที่สิบเจ็ด ซึ่งซากปรักหักพังนั้นได้ถูกรายล้อมล้อมโดยยุ้งฉางขนาดใหญ่ ในการทำงานภาคสนามโดยนักไอยคุปต์ในปี ค.ศ. 2010 และ ค.ศ. 2011 ซึ่งภายในซากอาคารจากช่วงราชวงศ์ที่สิบสอง และในอดีตก็ถูกใช้ในราชวงศ์ที่สิบสามเช่นกัน ได้นำไปสู่การค้นพบห้องโถงขนาดใหญ่ที่อยู่ติดกัน ซึ่งค้นพบแล้วว่ามีการตราประทับ 41 ชิ้นซึ่งแสดงภาพแกะสลักของผู้ปกครองชาวฮิกซอสพระนามว่า คยาน และอีก 9 ตราประทับพระนามฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบสามพระนามว่า โซเบคโฮเทปที่ 4[12] การหลงเหลือของตราประทับดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า รัชสมัยฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 และฟาโรห์คยานน่าจะอยู่คาบเกี่ยวช่วงเวลาเดียวกัน และอาจจะหมายความว่าราชวงศ์ที่สิบสามไม่ได้ควบคุมอียิปต์ทั้งหมดถึงรัชสมัยของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 ที่ทรงขึ้นครองอำนาจแล้ว และมีความทับซ้อนกันอย่างมากระหว่างราชวงศ์ที่สิบสามและสิบห้า เนื่องจากฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 ทรงเป็นเพียงผู้ปกครองในช่วงกลางราชวงศ์ที่สิบสาม ถึงแม้ว่าจะทรงเป็นฟาโรห์ที่ทรงมีพระราชอำนาจมากที่สุดพระองค์หนึ่งก็ตาม ดังนั้นคำกล่าวของมาเนโธที่ว่าราชวงศ์ที่สิบห้าของชาวฮิกซฮสได้แทนที่ราชวงศ์ที่สิบสามอย่างรุนแรงนั้นอาจจะเป็นเรื่องชวนเชื่อของชาวอียิปต์ในภายหลัง แต่อำนาจของราชวงศ์ที่สิบสามน่าจะล่มสลายลงทั่วอียิปต์ในช่วงทศวรรษสุดท้ายของราชวงศ์ และชาวฮิกซอสในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำก็ได้เข้ายึดครองเมืองเมมฟิสและสิ้นสุดราชอาณาจักรของราชวงศ์ที่สิบสาม อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ดังกล่าวและข้อสรุปที่ได้จากการวิเคราะห์ได้ถูกปฏิเสธโดยโรเบิร์ต พอร์ตเตอร์ นักไอยคุปต์วิทยา ผู้ซึ่งโต้แย้งว่า ฟาโรห์คยานทรงขึ้นมาปกครองช้ากว่ารัชสมัยของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 มาก (เกิดเป็นช่องว่างประมาณ 100 ปีระหว่างทั้งลำดับของฟาโรห์ทั้งสองพระองค์) และตราประทับของฟาโรห์ได้ถูกนำมาใช้อีกนานหลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคตเสียชีวิต ดังนั้น ตราประทับของฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 4 อาจจะไม่ได้ยืนยันว่า พระองค์เป็นทรงมีพระชนม์ชีพร่วมสมัยกับฟาโรห์คยาน[13]
ฟาโรห์เมอร์เนเฟอร์เร ไอย์ทรงเป็นผู้ปกครองอียิปต์พระองค์สุดท้ายจากราชวงศ์ที่สิบสาม ซึ่งได้รับการยืนยันจากวัตถุโบราณทั้งในอียิปต์ล่างและอียิปต์บน[14] และหลังจากรัชสมัยของพระองค์ มีผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์นามว่า ฟาโรห์เมอร์โฮเทปเร อินิ ที่จะปรากฏหลักยืนยันเพียงแค่ในเฉพาะบริเวณอียิปต์บนเท่านั้น[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Kim S. B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800-1550 B.C., Museum Tusculanum Press 1997, p.197
- ↑ 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อKR
- ↑ Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008
- ↑ K. S. B. Ryholt, Hotepibre, a Supposed Asiatic King in Egypt with Relations to Ebla, Bulletin of the American Schools of Oriental Research, No. 311 (Aug., 1998), pp. 1-6
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWG
- ↑ Labib Habachi: Khata'na-Qantir: Importance, ASAE 52 (1954) pp.471-479, pl.16-17
- ↑ 7.0 7.1 Daphna Ben Tor: Sequences and chronology of Second Intermediate Period royal-name scarabs, based on excavated series from Egypt and the Levant, in: The Second Intermediate Period (Thirteenth-Seventeenth Dynasties), Current Research, Future Prospects edited by Marcel Maree, Orientalia Lovaniensia Analecta, 192, 2010, p. 91
- ↑ 8.0 8.1 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008
- ↑ 9.0 9.1 K.S.B. Ryholt. The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period c. 1800–1550 B.C. Carsten Niebuhr Institute Publications 20. Copenhagen
- ↑ Dodson, Hilton, The Complete Royal Families of Ancient Egypt, 2004
- ↑ Nadine Moeller, Gregory Marouard & N. Ayers, Discussion of Late Middle Kingdom and Early Second Intermediate Period History and Chronology in Relation to the Khayan Sealings from Tell Edfu, in: Egypt and the Levant 21 (2011), pp. 87–121 online PDF
- ↑ Moeller, Marouard & Ayers, Egypt and the Levant 21, (2011), pp. 87–108
- ↑ Robert M. Porter: The Second Intermediate Period according to Edfu, Goettinger Mizsellen 239 (2013), p. 75–80
- ↑ Thomas Schneider, "The Chronology of the Middle Kingdom and the Hyksos Period", in: E. Hornung/R. Krauss/D. Warburton (eds.), Ancient Egyptian Chronology (Handbook of Oriental Studies 1, 83), Leiden/ Boston 2006, p.180
- ↑ Schneider, p.180
บรรณานุกรม
[แก้]- Clayton, Peter A. Chronicle of the Pharaohs: The Reign-by-Reign Record of the Rulers and Dynasties of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson Ltd., 2006. ISBN 0500286280.
ก่อนหน้า | ราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ | ราชวงศ์แห่งอียิปต์ (ประมาณ 1803–1649 ปีก่อนคริสตกาล) |
ราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์ |