กวิเอตุส
กวิเอตุส | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผู้แย่งชิงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน | |||||||||
กวิเอตุสบนเหรียญ เฉลิมฉลอง กรุงโรมชั่วนิรันดร์[1] | |||||||||
ครองราชย์ | ค.ศ. 260-1 (ร่วมกับมากริอานุส มินอร์) | ||||||||
ก่อนหน้า | กัลลิเอนุส | ||||||||
ถัดไป | กัลลิเอนุส | ||||||||
สวรรคต | ค.ศ. 261 เอเมซา, ซีเรีย | ||||||||
| |||||||||
พระราชบิดา | มากริอานุส มายอร์ | ||||||||
พระราชมารดา | ? (เชื้อสายวุฒิสมาชิกแห่งโรมัน) |
ติตุส ฟุลวิอุส ยูนิอุส กวิเอตุส (เสียชีวิตเมื่อ ค.ศ. 261) เป็นผู้แย่งชิงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งโรมันในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดิกัลลิเอนุส
ประวัติ
[แก้]กวิเอตุสเป็นบุตรชายของฟุลวิอุส มากริอานุส[2] กับสตรีชั้นสูงคนหนึ่ง ตามฮิสตอเรีย เอากุสตา กวิเอตุสได้มีตำแหน่งเป็นผู้ควบคุมทหารในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดิวาแลริอานุส[3] แต่ข้อมูลดังกล่าวถูกปัดตกโดยนักประวัติศาสตร์[ต้องการอ้างอิง]
กวิเอตุสได้รับตำแหน่งจักรพรรดิพร้อมกับพี่ชายนามว่า มากริอานุส มินอร์ หลังจากการจับตัวของจักรพรรดิวาแลริอานุสในสงครามกับจักรวรรดิซาเซเนียนในปี ค.ศ. 260[4] ด้วยทายาทที่ถูกต้องตามกฎหมายอย่างจักรพรรดืกัลลิเอนุส ซึ่งอยู่ไกลออกไปทางตะวันตก ทหารได้เลือกจักรพรรดิทั้งสอง การสนับสนุนจากบิดาของเขา ซึ่งเป็นผู้ควบคุมสมบัติของจักรวรรดิ และอิทธิพลของบาลิสตา ซึ่งเป็นขุนนางไปรตอเรียนของจักรพรรดิวาแลริอานุส ผู้สวรรคตไปแล้ว[5]
กวิเอตุสและมากิรอานุส ผู้เป็นกงสุลที่ได้รับเลือก[6] ในช่วงเวลาดังกล่าวต้องเผชิญกับจักรพรรดิกัลลิเอนุสในทางตะวันตก ส่วนกวิเอตุสและบาลิสตาอยู่ในมณฑลทางตะวันออก ขณะที่พี่ชายและบิดายกทัพไปยุโรปเพื่อยึดอำนาจการปกครองของจักรวรรดิโรมัน หลังจากความพ่ายแพ้และการเสียชีวิตของพี่ชายและพ่อของเขาในเทรซในปี ค.ศ. 261 กวิเอตุสก็ได้สูญเสียการควบคุมของมณฑลในการสนับสนุนโดยแซ็ปติมุส ออไดนาตัสแห่งพัลมีรา กษัตริย์ที่ภักดีของชาวโรมัน ผู้ซึ่งช่วยผลักดันชาวเปอร์เซียออกจากจังหวัดทางตะวันออกและฟื้นฟูมณฑลเมโสโปเตเมียแห่งโรมันใน ค.ศ. 260[ต้องการอ้างอิง] กวิเอตุสถูกบังคับให้หนีไปยังเมืองเอเมซา[7] ซึ่งกวิเอตุสถูกปิดล้อมที่นั่นโดยออไดนาตัส[ต้องการอ้างอิง] ในระหว่างที่กวิเอตุสถูกสังหารโดยชาวเมือง ซึ่งเป็นไปได้ว่าเป็นการที่บาลิสตายุยง[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รูปจำลองของกวิเอตุสและจักรพรรดิร่วมมากริอานุส มินอร์เฉลิมฉลองให้กับกองทัพ ความมั่นใจในชัยชนะ และการมาถึงของเวลาแห่งความสุขที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า หัวข้อทั้งหมดนี้มีความสำคัญมากในช่วงเวลาฉุกเฉิน เมื่อจักรวรรดิโรมันสูญเสียจักรพรรดิในการสู้รบกับจักรวรรดิซาเซเนียน และกองทัพอยู่ลึกเข้าไปในดินแดนของศัตรู
- ↑ Jones, pg. 757
- ↑ Historia Augusta, Tyranni Triginta, 12:10
- ↑ Jones, pg. 758
- ↑ Körner, www.roman-emperors.org/galusurp.htm#Note%202
- ↑ Körner, www.roman-emperors.org/galusurp.htm#Note%202
- ↑ Jones, pg. 757
- ↑ (Zonaras xii.24)
บรรณานุกรม
[แก้]- Körner, Christian, "Usurpers in the east: The Macriani and Ballista", s.v. "Usurpers under Gallienus", De Imperatoribus Romanis
- Jones, A.H.M., Martindale, J.R. The Prosopography of the Later Roman Empire, Vol. I: AD260-395, Cambridge University Press, 1971