ชาห์
หน้าตา
สมเด็จพระเจ้าชาห์แห่งอิหร่าน หรือที่มักเรียกว่าพระเจ้าชาห์ เป็นตำแหน่งที่ปกครองราชวงศ์ซาฟาวิดจนถึงราชวงศ์ปาห์ลาวี โดยระบอบจักรวรรดินับตั้งแต่ ค.ศ. 1501 – ค.ศ. 1979 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายคือ พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี โดยนับตั้งแต่การปฏิวัติอิหร่านมีพระจักรพรรดิเป็นเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์กอญัร และ ราชวงศ์ปาห์ลาวี ที่สืบราชสกุล และ อ้างสิทธิในราชบัลลังก์
ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์
[แก้]ราชวงศ์อาฟชาริยะห์
[แก้]ราชวงศ์แซนด์
[แก้]การปฏิวัติรัฐธรรมนูญอิหร่าน
[แก้]ราชวงศ์กอญัร
[แก้]พระปรมาภิไธย | พระบรมรูป | พระอิสริยยศ | ช่วงพระชนม์ชีพ | เริ่มการครองราชย์ | สิ้นสุดการครองราชย์ | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด ข่าน กอญัร | ชาฮันชาห์ | 1742–1797 | 1789 | 17 มิถุนายน 1797 | |
2 | พระเจ้าชาห์ ฟาตห์ แอลี ชาห์ กอญัร | ชาฮันชาห์ | 1772–1834 | 17 มิถุนายน 1797 | 23 ตุลาคม 1834 | |
3 | พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด ชาห์ กอญัร | ชาห์ | 1808–1848 | 23 ตุลาคม 1834 | 5 กันยายน 1848 | |
4 | พระเจ้าชาห์ นัสเซอร์ อัลดิน ชาห์ กอญัร | ชาฮันชาห์ | 1831–1896 | 5 กันยายน 1848 | 1 พฤษภาคม 1896 | |
5 | พระเจ้าชาห์ โมซัฟฟาร์ อัลดิน ชาห์ กอญัร | ชาฮันชาห์ และ สุลต่าน | 1853–1907 | 1 พฤษภาคม 1896 | 3 มกราคม 1907 | |
6 | พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด แอลี ชาห์ กอญัร | ชาฮันชาห์ | 1872–1925 | 3 มกราคม 1907 | 16 กรกฎาคม 1909 | |
7 | พระเจ้าชาห์ อะห์หมัด ชาห์ กอญัร | สุลต่าน | 1898–1930 | 16 กรกฎาคม 1909 | 15 ธันวาคม 1925 |
ราชวงศ์ปาห์ลาวี
[แก้]พระปรมาภิไธย | พระฉายาลักษณ์ | ความสัมพันธ์ | ดำรงพระชนม์ชีพ | เสด็จขึ้นครองราชย์ | สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระจักรพรรดิ | |||||||
1 | พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี | พระราชโอรสของอับบาส อาลี | ค.ศ. 1878–1944 | 15 ธันวาคม ค.ศ. 1925 | 16 กันยายน ค.ศ. 1941 | ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ปาห์ลาวี | |
2 | พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี | พระราชโอรสของพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี | ค.ศ. 1919–1980 | 16 กันยายน ค.ศ. 1941 | 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 | สิ้นสุดการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในประเทศอิหร่าน | |
สมัยเปลี่ยนผ่าน | |||||||
1 | พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี | พระราชโอรสของพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี | ค.ศ. 1919–1980 | 11 กุมภาพันธ์ 1979 | 27 กรกฎาคม ค.ศ.1980 | ||
2 | จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี | พระอัครมเหสี | ค.ศ. 1938– | 27 กรกฎาคม 1980 | 27 กรกฎาคม 1981 | ||
3 | เจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน | พระราชโอรสของพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี | 1960– | 27 กรกฎาคม 1981 | ปัจจุบัน |
พระบรมราชินี
[แก้]พระปรมาภิไธย | เสด็จขึ้นครองราชย์ | สิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง | พระราชสวามี | |
สมเด็จพระราชินีตาจ อัล-โมลูก |
ค.ศ. 1925 |
ค.ศ. 1941 พระราชสวามีสละราชสมบัติ |
พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี | |
เจ้าหญิงเฟาซียะห์ |
16 กันยายน ค.ศ. 1941 |
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1948 ทรงหย่า |
พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี | |
เจ้าหญิงโซรยา อัสฟานดิยารี-บักติยารี |
12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1951 |
6 เมษายน ค.ศ. 1956 ทรงหย่า |
พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี | |
จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี |
21 ธันวาคม ค.ศ. 1959 |
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 พระราชสวามีสละราชสมบัติ |
พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี |
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์
[แก้]ราชวงศ์กอญัร
[แก้]ราชวงศ์ปาห์ลาวี
[แก้]พระปรมาภิไธย | เริ่มการอ้างสิทธิ | สิ้นสุดการอ้างสิทธิ | หมายเหตุ | |
พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี |
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 |
27 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 |
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ชาห์แห่งอิหร่าน | |
จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี |
27 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 |
27 กรกฎาคม ค.ศ. 1982 |
ผู้อ้างสิทธิตำแหน่งจักรพรรดินีนาถผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ | |
มกุฎราชกุมารเรซา ปาห์ลาวี |
27 กรกฎาคม ค.ศ. 1982 |
ปัจจุบัน |
ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์อิหร่านองค์ปัจจุบัน |
ผู้อ้างสิทธิในตำแหน่งจักรพรรดินี
[แก้]พระปรมาภิไธย | เริ่มการอ้างสิทธิ | สิ้นสุดการอ้างสิทธิ์ | คู่สมรส | |
จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี |
11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 |
27 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 พระราชสวามีสวรรคต |
พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี | |
เจ้าหญิงยัสมิน ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมารี |
12 มิถุนายน ค.ศ. 1986 |
ปัจจุบัน | เจ้าชายเรซา ปาห์ลาวี มกุฎราชกุมาร |
ฐานันดรศักดิ์
[แก้]ฐานันดรศักดิ์หรือคำนำหน้าพระนามของพระราชวงศ์ปาห์ลาวี ได้แก่
- ชาห์ (شاه, Shah) เป็นฐานันดรที่ใช้เรียกพระเจ้าแผ่นดินของอิหร่าน โดยใช้นำหน้าพระนาม และตามด้วยคำว่า ชาฮันชาห์แห่งอิหร่าน (Shahanshah of Iran) โดยมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่าสมเด็จพระจักรพรรดิ (HIM) ได้แก่ พระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี และพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี
- ชาห์บานู (شاهبانو, Shabanou หรือ Shahbanou) เป็นฐานันดรที่ใช้เรียกพระจักรพรรดินีแห่งอิหร่าน โดยใช้นำหน้าพระนาม และลงท้ายพระนามด้วยคำว่าแห่งอิหร่าน มีความหมายเทียบเท่าสมเด็จพระจักรพรรดินี (HIM) มีผู้ใช้คำนำหน้าพระนามนี้เพียงพระองค์เดียวคือ จักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวี
- มาเลเก (ملکه, Maleke) เป็นฐานันดรที่ใช้เรียกสมเด็จพระราชินีแห่งอิหร่าน โดยมาจากรากศัพท์อาหรับคำว่า มาลิก (ملك) ที่มีความหมายว่ากษัตริย์ และเป็นพระนามหนึ่งของอัลลอหฺ ปัจจุบันตำแหน่งนี้ถูกยกเลิก และใช้คำนำหน้าเป็นจักรพรรดินีหรือชาห์บานูแทน มีผู้ใช้คำนำหน้าพระนามนี้ 3 พระองค์คือ สมเด็จพระราชินีทัดจ์ อัล-โมลุก, สมเด็จพระราชินีเฟาซียะห์ และสมเด็จพระราชินีโซรยา
- มกุฎราชกุมารแห่งอิหร่าน เป็นฐานันดรที่ใช้เรียกพระราชโอรสพระองค์แรกในพระเจ้าชาห์ โดยจะรับสืบทอดตำแหน่งพระเจ้าชาห์ต่อจากพระราชบิดา ผู้ดำรงตำแหน่งนี้มีเพียง 2 พระองค์ได้แก่ มกุฎราชกุมารโมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี และมกุฎราชกุมารเรซา ปาห์ลาวี
- ชาห์ปูร์ (شاهپور, Shahpur) เป็นฐานันดรที่ใช้เรียกพระราชโอรสองค์รองลงไป โดยใช้นำหน้าพระนาม และตามด้วยพระราชสกุล เช่น เจ้าชายอาลี เรซา ปาห์ลาวีที่ 1, เจ้าชายกอลัม เรซา ปาห์ลาวี เป็นต้น
- ชาห์ดอคต์ (شاهدخت, Shahdokht) เป็นฐานันดรที่ใช้เรียกพระราชธิดา ใช้นำหน้าพระนาม และตามด้วยพระราชสกุลเช่นเดียวกับชาห์ปูร์ เช่น เจ้าหญิงชามส์ ปาห์ลาวี และเจ้าหญิงอัชราฟ ปาห์ลาวี เป็นต้น
- วาลา กอฮัร และวาลา กอฮารี (Vala Gohar และ Vala Gohari) เป็นฐานันดรที่ใช้เรียกพระเจ้าหลานเธอในพระเจ้าชาห์ โดยหากพระราชโอรสได้เสกสมรสกับสตรีใดก็ตามบุตรที่เกิดมาจะต้องใช้คำนำหน้านี้และตามด้วยพระราชสกุล ส่วนพระราชธิดาของพระเจ้าชาห์ได้เสกสมรสกับชายใดก็ตาม บุตรหรือธิดาจะมีพระนามและตามด้วยสกุลของผู้เป็นบิดา เช่น เจ้าหญิงซาห์รา มาห์นาซ ซาเฮดี และเจ้าหญิงฟอเซห์ จาฮันบานีเป็นต้น
อย่างไรก็ตามหากเจ้าหญิงในพระราชวงศ์ได้เสกสมรสกับชาวต่างชาติ ในกรณีของเจ้าหญิงฟาติเมห์ ปาห์ลาวี พระขนิษฐาต่างพระมารดาในพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ได้เสกสมรสกับนักธุรกิจชาวอเมริกันเป็นสวามี พระโอรส-ธิดาที่ประสูติออกมา จะไม่มีคำนำหน้าพระนาม โดยใช้ราชสกุลปาห์ลาวีและตามด้วยนามสกุลของบิดา เป็น Pahlavi Hillyer