ฟาโรห์ไอบิอายู
วาอิบเร ไอบิอาอู | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
วาอิบเร ไอบิอาว | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
จารึกของข้าราชการนามว่า ซาฮาเธอร์ ปรากฎคาร์ทูธของพระองค์. พิพิธภัณฑ์บริติช (EA 1348) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 10 ปี, 8 เดือน กับ 29 วัน (รายพระนามกษัตริย์ตูริน) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | โซเบคโฮเทปที่ 6 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | อัยย์ที่ 1 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สิบสาม |
วาอิบเร ไอบิอาอู (อังกฤษ: Wahibre Ibiau; พระนามอย่างทางการ: วาอิบเร; พระนามประสูติ: ไอบิอาอู หรือ ไอบิอาว, ไออาอิบหรือ เอีย-อิบ) เป็นฟาโรห์อียิปต์โบราณแห่งราชวงศ์ที่สิบสาม พระองค์ขึ้นครองราชย์เมื่อ 1670 ปีก่อนคริสตกาลและครองราชย์เป็นเวลา 10 ปี 8 เดือน 29 วันตามบันทึกพระนามฟาโรห์แห่งตูริน
หลักฐานรับรอง
[แก้]แม้ว่าพระองค์จะครองราชย์เป็นระยะเวลาค่อนข้างยาวนานในช่วงนั้น แต่พระองค์เป็นที่ทราบกันจากหลักฐานเพียงไม่กี่ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตราประทับสคารับที่มีพระนามของพระองค์[1] พระองค์ถูกสลักอยู่บนจารึกของข้าราชการนามว่า ซาฮาเธอร์ ซึ่งน่าจะมาจากเมืองธีบส์[2] และพระองค์ยังถูกกล่าวถึงบนเศษเครื่องเคลือบดินเผาในเอล-ลาฮูน[3]
ข้าราชบริพารที่มีชื่อเสียงในราชสำนักของพระองค์คือ ราชมนตรีไอบิอาอู ซึ่งชื่อเหมือนกันกับพระองค์ มีผู้สันนิษฐานว่าราชมนตรีคนนี้อาจเป็นบุคคลเดียวกับฟาโรห์อิอาอูในช่วงต้นชีวิตของเขา[4] แต่ในช่วงหลังมานี้ มีการชี้ให้เห็นว่าการระบุตัวตนดังกล่าวนั้นเป็นเพียงการคาดเดาและยังไม่ได้รับการพิสูจน์[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Photos from the Petrie Museum of Egyptian Archaeology on Digital Egypt
- ↑ British Museum inventory number EA 1348.
- ↑ Petrie Museum of Egyptian Archaeology, inventory number UCL 16056.
- ↑ William C. Hayes, in The Cambridge Ancient History, 1973, vol. II, part I, p. 51ff.
- ↑ Wolfram Grajetzki, Court Officials of the Egyptian Middle Kingdom, London 2009, p. 40.
บรรณานุกรม
[แก้]- K. S. B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period (Carsten Niebuhr Institute Publications, c. 1800–1550 BC, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997), 353–54, File 13/32.