กิฟฏ์
หน้าตา
กิฟฏ์ قفط | |
---|---|
เมืองในอียิปต์ | |
พิกัด: 25°59′44″N 32°48′57″E / 25.99556°N 32.81583°E | |
ประเทศ | อียิปต์ |
เขตผู้ว่าการ | เกนา |
เขตเวลา | UTC+2 (EET) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+3 |
| ||||||||||
gbtyw[1][2] ในไฮเออโรกลีฟอียิปต์ | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
กิฟฏ์ (อาหรับ: قفط; คอปติก: Ⲕⲉϥⲧ เคฟต์ หรือ เคบโต; อียิปต์โบราณ: Gebtu เกบตู; กรีกโบราณ: Κόπτος คอปโตส; โรมัน: Justinianopolis จัสติเนียโนโพลิส) เป็นเมืองขนาดเล็กในเขตผู้ว่าการเกนาของอียิปต์ ซึ่งห่างจากเมืองลักซอร์ไปทางทิศเหนือประมาณ 43 กิโลเมตร (27 ไมล์) และอยู่ใต้เส้นละติจูดที่ 26 องศาเหนือ บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไนล์ เนื่องจากเมืองกิฟฏ์มีระยะทางที่ใกล้กับชายฝั่งทะเลแดง จึงทำให้เมืองแห่งนี้เป็นจุดศูนย์ทางการค้าที่สำคัญในสมัยโบราณระหว่างอินเดีย พุนต์ อาระเบียเฟลิกซ์ และดินแดนทางเหนือ[3] โดยพื้นที่ใกล้เคียงในทะเลทรายตะวันออกมีเหมืองทองคำและแร่ควอร์ตไซต์ที่มีความสำคัญ รวมทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการเดินทางไปยังดินแดนพุนต์ (ประเทศโซมาเลีย ในปัจจุบัน)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Budge, Ernest Alfred Wallis (1920). An Egyptian hieroglyphic dictionary: with an index of English words, king list and geological list with indexes, list of hieroglyphic characters, coptic and semitic alphabets, etc. Vol. II. John Murray. p. 1044.
- ↑ Mark Vygus (2018). "Middle Egyptian dictionary" (PDF). Pyramid Texts Online. p. 2366.
- ↑ Martijn Theodoor Houtsma; และคณะ (1913). Encyclopedia of Islam, Dictionary of the Geography, Ethnography & Biography of the Muhammadan Peoples. Vol. 2 E–K. Leiden: E. J. Brill. p. 1004. OCLC 1008303874.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กิฟฏ์