ฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 2
ฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 2 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
เนฟอาอารุดที่ 2 | ||||||
ฟาโรห์ | ||||||
รัชกาล | ช่วงฤดูร้อนใน 380 ปีก่อนคริสตกาล | |||||
ก่อนหน้า | ฮาคอร์ | |||||
ถัดไป | เนคทาเนโบที่ 1 | |||||
| ||||||
พระราชบิดา | ฮาคอร์ | |||||
สวรรคต | 380 ปีก่อนคริสตกาล | |||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่ยี่สิบเก้า |
เนเฟริเตสที่ 2 หรือ เนฟอาอารุดที่ 2 เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์สุดท้ายจากราชวงศ์ที่ยี่สิบเก้าที่อ่อนแอและปกครองในระยะเวลาอันสั้น (ราว 399/8 – 380 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งเป็นราชวงศ์ชนพื้นเมืองสุดท้ายของอียิปต์[1]
รัชสมัยอันสั้น
[แก้]ฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 2 ผู้ที่ได้รับคำกล่าวว่า ผู้ปกครองที่ "ไร้ประสิทธิภาพ"[2] พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์เมื่อ 380 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากการเสด็จสวรรคตของฟาโรห์ฮาคอร์ ผู้เป็นพระราชบิดา (ระหว่าง 393–380 ปีก่อนคริสตกาล) และพระองค์ทรงถูกปลดออกพระราชบัลลังก์และน่าจะถูกสำเร็จโทษโดยการก่อกบฏของเจ้าชายนัคต์เนเบฟแห่งเมืองเซเบนนิโทส หรือฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 ในเวลาต่อมา ผู้ที่เป็นนายทหารชาวอียิปต์ หลังจากปกครองพระราชอาณาจักรอียิปต์เพียงแค่ระยะเวลา 4 เดือน นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนในช่วง 380 ปีก่อนคริสตกาล[3]
ฟาโรห์ฮาคอร์ทรงต้องเผชิญกับการก่อจลาจลบ่อยครั้งในช่วงปลายรัชสมัยของพระองค์ ซึ่งน่าจะเป็นการก่อกบฏโดยฟาโรห์เนคทาเนโบ[4] ฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่สามสิบแห่งอียิปต์ภายหลังโค่นล้มพระราชบัลลังก์ฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 2 จนพระองค์เสด็จสวรรคตในช่วง 360 ปีก่อนคริสตกาล และเป็นตัวแทนของราชวงศ์ที่สามจากบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ที่จะเข้ายึดครองพระราชวงศ์ในเวลาเพียงสองทศวรรษ ซึ่งเป็นสัญญาณว่าเป็นระยะสุดท้ายของพระราชอาณาจักรอียิปต์ ความเป็นเอกราชภายใต้ผู้ปกครองพื้นเมือง เริ่มต้นด้วยการต่อต้านการปกครองชาวเปอร์เซียของฟาโรห์อมิร์เตอุสในช่วง 404 ปีก่อนคริสตกาล ข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับการสิ้นสุดของรัชสมัยฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 2 พบจากแผ่นจารึกหินปูนขนาดใหญ่[5] โดยฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1 โปรดให้สร้างขึ้นที่เมืองเฮอร์โมโพลิส:
[... ] ภัยพิบัติของกษัตริย์ที่มาก่อนหน้า [... ]
— ฟาโรห์เนคทาเนโบที่ 1, แผ่นจารึกแห่งเฮอร์โมโพลิส
ธีโอปอมปุส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก (ราว 380–315 ปีก่อนคริสตกาล) ได้เชื่อมโยงจุดจบของรัชสมัยฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 2 กับสงครามที่นำโดยกษัตริย์เอวากอรัสที่ 1 แห่งซาลามิสในไซปรัสต่อต้านเปอร์เซีย[3] ในความพยายามอย่างยิ่งยวดในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับตำแหน่งของพระองค์เอง ฟาโรห์เนเฟริเตสที่ 2 ทรงได้ประกาศพระองค์เองว่าพระองค์เป็น เวเฮม เมซุต (Wehem Mesut) แปลว่า "Repetitor Of Births" (หรือ ผู้สถาปนายุคสมัยใหม่) "เช่นเดียวกับฟาโรห์พระองค์อื่นๆ เพียงไม่กี่พระองค์ในอดีตที่มีอำนาจต่างกันมาก" เช่น ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 และฟาโรห์เซติที่ 1
พระนามประสูติของพระองค์ หมายถึง "มหาเศรษฐีผู้มั่งคั่ง" ซึ่งไม่ปรากฏบนอนุสาวรีย์ใด ๆ เลย แต่ปรากฏเพียงในงานเขียนแอจิปเทียกาของมาเนโนที่เขียนขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลในตอนประชุมพงศาวดารเดมอติก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Ancient Egypt - Egypt from 1075 bce to the Macedonian invasion". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-05-06.
- ↑ Wilkinson 2011, p. 456.
- ↑ Nepherites II
- ↑ Cimmino 2003, p. 390.
- ↑ Myśliwiec, Karol (2000). The Twilight of Ancient Egypt: First Millennium B.C.E. (ภาษาอังกฤษ). Cornell University Press. ISBN 0801486300.
บรรณานุกรม
[แก้]- Cimmino, Franco (2003). Dizionario delle Dinastie Faraoniche. Milan: Bompiani. ISBN 978-8845255311.
- Clayton, Peter A. (1999). Chronicles of the Pharaohs. London: Thames and Hudson. ISBN 978-0500050743.
- Wilkinson, Toby (2011). The Rise and Fall of Ancient Egypt. London: Bloomsbury. ISBN 978-1408810026.