ข้ามไปเนื้อหา

สฟิงซ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สฟิงซ์
กลุ่มสัตว์ในตำนาน
สัตว์คล้ายคลึงกริฟฟอน, มันติคอร์, เครูบ, ลามัสซู, นรสิงห์
ภูมิภาคเปอร์เซีย, อียิปต์ และกรีก

สฟิงซ์ (อังกฤษ: Sphinx; กรีกโบราณ: σφίγξ [spʰíŋks], Boeotian: φίξ [pʰíːks]) เป็นสัตว์ในตำนานที่มีหัวเป็นมนุษย์และร่างกายเป็นสิงโตกับปีกเป็นเหยี่ยว

ในธรรมเนียมกรีก สฟิงซ์มีหัวเป็นผู้หญิง สะโพกของสิงโต และปีกของนก เธอมีนิสัยทรยศและไร้ความปราณี และจะฆ่าใครก็ตามที่ตอบปริศนาคำทายของเธอไม่ได้[1] สฟิงซ์แบบนี้ปรากฏในปรัมปราและละครอีดิปัส[2]

สฟิงซ์อียิปต์มักเป็นผู้ชาย (แอนโดรสฟิงซ์ (กรีกโบราณ: ανδρόσφιγξ)) ซึ่งต่างจากธรรมเนียมกรีก นอกจากนี้ สฟิงซ์อียิปต์มีนิสัยใจดีแต่มีพลังดุร้ายคล้ายกับแบบกรีก สฟิงซ์ทั้งสองแบบทำหน้าเป็นผู้พิทักษ์และมักอยู่ข้างทางเข้าวิหาร[3]

ทั้งนี้ สฟิงซ์เป็นความเชื่อที่มีอยู่ในหลายวัฒนธรรม

สฟิงซ์ของกรีก

[แก้]
สฟิงซ์ของกรีก

สฟิงซ์ของกรีกเป็นหนึ่งในลูก ๆ ของอีคิดนาและไทฟอน สฟิงซ์มีใบหน้าและทรวงอกของหญิงสาว ท่อนล่างเป็นสิงโตและมีปีกแบบนกอินทรี มีลักษณะนิสัยชอบทรยศหักหลัง ก้าวร้าวรุนแรง และกระหายเลือด และพวกนี้ยังชอบกินคนเป็นอาหารด้วย

ลักษณะที่เด่นชัดของสฟิงซ์ กรีกอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความคล้ายแมว หรือจะว่าอีกทีก็คล้ายผู้หญิงด้วย นั่นคือ มันจะพูด คุยหยอกเหยื่อของมันก่อนที่จะกินเข้าไป แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเกิดเหยื่อหนีรอดไปได้ สฟิงซ์จะบินดิ่งทิ้งตัวกระแทกพื้นหรืออะไรสักอย่าง ด้วยความโกรธเกรี้ยวจนตายไปเอง

เรื่องราวเกี่ยวกับสฟิงซ์ของกรีก ที่โด่งดังเรื่องหนึ่งคือ เรื่องของ เจ้าแม่เฮรา (Hera) ซึ่งมอบหมายหน้าที่ลงโทษชาวเมืองธีบีส (Thebes) เพราะความเมามายไร้สติของพวกเขา หลังจากที่ ไดโอนิซุส เทพแห่งเมรัยได้มาสอนการทำไวน์ ให้แก่ชาวเมืองนี้ ตามปกติสฟิงซ์จะไม่เข้าขย้ำเหยื่อ ที่ผ่านมาในทันทีทันใด แต่จะให้โอกาสเหยื่อด้วยการถามปัญหา ที่เรียกกันว่าปัญหาของตัวสฟิงซ์ (The Riddle of the Sphinx) ซึ่งสัญญาจะปล่อยเหยื่อเป็นอิสระ หากตอบปัญหาของนางได้ ตามท้องเรื่องที่จะกล่าวถึง เอดิปุส (Oedipus) แห่งโครินท์ผ่านมาในเมืองธีบีสพอดิบพอดี สฟิงซ์กระโดดออกมา จากหลังพุ่มไม้ แลบลิ้นเลียปากด้วยความอยากกินเนื้อ ก่อนจะส่งเสียงคำรามให้ขวัญหาย เข้าใส่เอดิปุสและถามปัญหา "อะไรเอ่ยเดินสี่ตีนในยามเช้า เดินสอง ตีน ในยามสาย และเดินสามตีนในยามเย็น….? "อ๋อ มันก็คือมนุษย์นั่นแล ย่อมเดินด้วยการคลานทั้งมือและเข่า เมื่อยังเป็นเด็ก ยืนด้วยขาสอง ข้าง เมื่อโตเต็มที่ และต้องใช้ไม้เท้าพยุงตัวเอง เป็นขาที่สามในยามสายัณห์ของชีวิต" เอดิปุสตอบอย่างไม่ลังเล สฟิงซ์เมื่อได้ฟังคำตอบ ที่ไม่คิดว่าจะได้ยินจากมนุษย์หน้าไหนเลย ถึงกับกรีดร้องด้วยความเจ็บใจ นางโผบินขึ้น บนฟ้า แล้วทิ้งตัวดิ่งลงฆ่าตัวตายในทะเล

สฟิงซ์ของอียิปต์

[แก้]
มหาสฟิงซ์ และ พีระมิดคาเฟร ในหมู่พีระมิดแห่งกิซ่า

เป็นพันธุ์ที่เราเรียกว่า แอนโดรสฟิงซ์ (Andro-Sphinx) เป็นการผสมกันระหว่างมนุษย์กับสิงโต ส่วนหัวที่เหมือนมนุษย์นั้น มีสัญลักษณ์ ของฟาโรห์อียิปต์แสดงไว้ชัดเจน คือมีเคราที่คาง ตรงหน้าผากมีงูจงอางแผ่แม่เบี้ย และมีเครื่องประดับ รัดเกล้าแบบกษัตริย์โดยรอบ ว่ากันว่า สฟิงซ์ คือ รูปเหมือนขนาดใหญ่กว่าร่างจริงสองเท่าของฮาร์มาชิส เทพแห่งรุ่งอรุณ เมื่อตอนที่แปลงร่าง เป็นสิงโต มีเศียร เป็นฟาโรห์อียิปต์หรือ "sphingein" แปลว่า "การบีบรัด"

รูปสลักสฟิงซ์ของอียิปต์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ มหาสฟิงซ์ (The Great Sphinx of Giza) บริเวณใกล้กับพีระมิดคาเฟร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ หมู่เกาะพีระมิดแห่งกิซ่า (Giza Pyramid Complex) S

สฟิงซ์ของตะวันออกกลาง

[แก้]

เป็นสัตว์ที่ได้ชื่อว่าฉลาด ซึ่งนั่นอาจเป็นเพราะมันจะเปิดเผยสิ่งที่มันรู้ยากมาก มันพอใจที่จะนอนผึ่งแดด อย่างเป็นสุข ท่ามกลางการเคารพบูชาของผู้ที่เทิดทูนมัน

นอกจากนี้ยังมีสฟิงซ์แบบอื่น ๆ ซึ่งแตกมาจากพวกอียิปต์อีกเช่นกัน เช่น ครีโอสฟิงซ์ (Crio-Spninx) ที่มีหัวเป็นแกะบ้าง หรือเป็นนกเหยี่ยวบ้าง ในเปอร์เซีย (Persia), แอสซีเรีย (Assyria), และฟีเนียเซีย (Phoenicia) มีสฟิงซ์ทั้งสองเพศ ตัวผู้จะมีหนวด และผมหยักศก ส่วนของโรมโบราณเป็นผู้หญิง และอาจจะเป็นแบบ ที่ส่งผ่านมาให้ กับอียิปต์ก็ได้ เพราะว่าตัวนี้สวมงูแอสพ์ (Asp) คาดอยู่ที่หน้าผากด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Dr. J's Lecture on Oedipus and the Sphinx". People.hsc.edu. สืบค้นเมื่อ 15 May 2014.
  2. Kallich, Martin. "Oedipus and the Sphinx." Oedipus: Myth and Drama. N.p.: Western, 1968. N. pag. Print.
  3. Stewart, Desmond. Pyramids and the Sphinx. [S.l.]: Newsweek, U.S., 72. Print.