ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์เนเฟอร์คาเร เปปิเซเนบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เนเฟอร์คาเรที่ 6 เปปิเซเนบ เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่แปดในสมัยต้นช่วงระหว่างกลางที่ 1 (2181–2055 ปีก่อนคริสตกาล) ตามที่นักอียิปต์วิทยา คิม รีฮอล์ต, เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราท และดาร์เรล เบเกอร์ พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบสองแห่งราชวงศ์ที่แปด[2][3][4]

หลักฐานรับรอง

[แก้]

พระนามชองฟาโรห์เนเฟอร์คาเรที่ 6 เปปิเซเนบปรากฏเพียงแค่ในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอส (หมายเลข 51) อย่างไรก็ตามเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราทได้เสนอว่า พระองค์จะถูกบันทึกด้วยพระนาม "เนเฟอร์คาเร เคเรด เซเนบ" ที่ปรากฏในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน[5] ด้วยเหตุนี้ ฟาโรห์เนเฟอร์คาเรที่ 6 เปปิเซเนบจึงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่แปด ต่อจาก Ntyiqrt (ซึ่งอาจจะเป็นฟาโรห์นิทอิเกอร์ติ ซิพทาห์) ซึ่งมีพระนามปรากฏในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินเช่นกัน ซึ่งบันทึกพระนามฯ ดังกล่าวมีส่วนที่เสียหายขนาดใหญ่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการระบุตัวตนของฟาโรห์ในราชวงศ์[2][3] หลักฐานทั้งสองนี้มีอายุย้อนหลังไปถึงสมัยราชวงศ์ที่แปดจนถึงราชวงศ์ที่สิบเก้าและหลังจากนั้น และไม่มีหลักฐานยืนยันร่วมสมัยในช่วงเวลาดังกล่าว

พระราชสมัญญานาม

[แก้]

พระราชสมัญญานาม "เคเรด" ที่มอบให้กับฟาโรห์เนเฟอร์คาเรที่ 6 เปปิเซเนบในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินมีความหมายว่า "เด็ก" หรือ "ผู้เยาว์" ดังนั้น "เนเฟอร์คาเร เคเรด เซเนบ" จึงแปลว่า เนเฟอร์คาเร ผู้เยาว์ เป็นผู้แข็งแรง[3]

นักไอยคุปต์วิทยาได้เสนอข้อสมมติฐานหลายประการเกี่ยวกับคำกล่าวนี้ โดย ฮราต์ช ปาปาเซียนได้เสนอว่าการที่ฟาโรห์ถูกขานพระนามว่า เคเรด ตามบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน บ่งบอกถึงพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมพรรษายังน้อย[6]: 415   อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงแล้ว พระราชสมัญญานาม "เคเรด" มักจะบ่งบอกว่าพระองค์มีพระนามเดียวกับพระราชบิดา ซึ่งพระองค์เป็นองค์รัชทายาทเพียงพระองค์เดียวของฟาโรห์เนเฟอร์คาเรที่ 2 ผู้เป็นพระราชบิดา (ในฐานะองค์รัชทายาทเนเฟอร์คาเร (พระราชโอรสพระองค์โตของฟาโรห์เปปิที่ 2 เนเฟอร์คาเร), ฟาโรห์เนเฟอร์คาเรที่ 3 เนบิ, ฟาโรห์เนเฟอร์คาเรที่ 4 เคนดู และฟาโรห์เนเฟอร์คาเรที่ 5 เทเรรู ที่เสด็จสวรรคตโดยยังไม่ได้อภิเสกสมรสและฟาโรห์เปปิที่ 2 เนเฟอร์คาเร และองค์รัชทายาทเนเฟอร์คาเรเป็นสมาชิกราชวงศ์ของราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์)

รัฃสมัย

[แก้]

ตามการตีความบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินครั้งล่าสุดของรีฮอล์ตนั้น ฟาโรห์เนเฟอร์คาเรที่ 6 เปปิเซเนบครองราชย์อย่างน้อยหนึ่งปี[2][3] แต่เนื่องจากฟาโรห์ทั้งหมดตั้งแต่ฟาโรห์เมนคาเรจนถึงฟาโรห์เนเฟอร์คาฮอร์ล้วนมีรัชสมัยที่สั้นมาก (ทั้งหมดทุกรัชกาลภายใน 2181 ปีก่อนคริสตกาล) และ ฟาโรห์เนเฟอร์คาเรที่ 6 เปปิเซเนบเสด็จสวรรคตเมื่อ 2171 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ต้องครองราชย์เป็นเวลา 10 ปี (2181-2171 ปีก่อนคริสตกาล)[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

[แก้]
  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ryholt2000
  2. 2.0 2.1 2.2 Kim Ryholt: "The Late Old Kingdom in the Turin King-list and kingsIdentity of Nitocris", Zeitschrift für ägyptische, 127, 2000, p. 91
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 268-269
  4. Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen,Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : P. von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6, available online เก็บถาวร 2015-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. Jürgen von Beckerath: The Date of the End of the Old Kingdom of Egypt, JNES 21 (1962) pp. 144-145
  6. Hratch Papazian (2015). "The State of Egypt in the Eighth Dynasty". ใน Peter Der Manuelian; Thomas Schneider (บ.ก.). Towards a New History for the Egyptian Old Kingdom: Perspectives on the Pyramid Age. Harvard Egyptological Studies. BRILL.
  • Smith, W. Stevenson. ''The Old Kingdom in Egypt and the Beginning of the First Intermediate Period,'' in ''The Cambridge Ancient History,'' vol. I, part 2, ed. Edwards, I.E.S, ''et al.'' p. 197. Cambridge University Press, New York, 1971.