ฟาโรห์เวกาฟ
ฟาโรห์เวกาฟ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ยูกาฟ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาพวาดแผ่นโลหะของรูเบนโซห์นจากเกาะแอลเลเฟนไทน์ในปี ค.ศ. 1907 โดยจอร์จ เลเกรน ซึ่งแผ่นจารึกดังกล่าวกล่าวถึงฟาโรห์คูทาวีเร เวกาฟ และฟาโรห์เซนวอสเรต[1] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 1794–1757 ปีก่อนคริสตกาล[2] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | เซดเจฟาคาเร (รีฮอล์ต) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | เคนดเจอร์ (รีฮอล์ต) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ |
คูทาวีเร เวกาฟ (หรือ ยูกาฟ) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ ซึ่งเป็นที่ทราบจากหลักฐานหลายแหล่ง รวมถึงจารึกและรูปสลัก มีการพบตราประทับสคารับที่ปรากฏพระนามเดียวกัน ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องฟาโรห์พระองค์นี้
หลักฐานรับรอง
[แก้]ฟาโรห์ที่มีพระนามว่า คูทาวีเร ปรากฏในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินในฐานะผู้ปกครองพระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางคนโดยเฉพาะ คิม รีฮอล์ตได้โต้แย้งว่า ผู้ที่บันทึกพระนามกษัตริย์นี้อาจจะสับสนระหว่างพระนาม คูทาวีเร กับพระนาม เซเคมเร คูทาวี โซเบคโฮเทป และส่งผลให้ ฟาโรห์เวกาฟกลายเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบสาม แทนที่พระองค์จะอยู่ในช่วงกลางของราชวงศ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟาโรห์เซเคมเร คูทาวี โซเบคโฮเทป ซึ่งได้รับการยืนยันจากรีฮอล์ตและนักไอยคุปต์วิทยาอื่น ๆ รวมถึงดาร์เรล เบเกอร์ ให้พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบสามและเป็นพระราชโอรสของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4[3]
จารึกจากอไบดอส ซึ่งมีอายุย้อนไปถึงปีที่ 4 แห่งการครองราชย์ของพระองค์ ได้บันทึกเกี่ยวกับการอุทิศพระองค์เพื่อรักษาถนนขบวนในเขตเวปวาเวต (พิพิธภัณฑ์อียิปต์ เจอี 35256) ซึ่งถูกฟาโรห์เนเฟอร์โฮเทปที่ 1 แย่งชิงไป แต่แอนโธนี ลีฮาย เสนอความเห็นว่า เดิมแล้วจารึกนี้มาจากรัชสมัยของฟาโรห์เวกาฟ[4] ซึ่งดาร์เรล เบเกอร์คิดเห็นเช่นเดียวกัน[5] แต่ไม่ใช่กับรีฮอล์ต ซึ่งเสนอความเห็นว่า ผู้มี่โปรดให้สร้างจารึกนี้ขึ้น เดิมน่าจะเป็นฟาโรห์พระองค์อื่นในราชวงศ์ที่สิบสามพระนามว่า เซต เมอร์อิบเร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Georges Legrain: Notes d’inspection. XLIX-LVI, ASAE 8, 1907, p. 248-275
- ↑ Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen
- ↑ Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008
- ↑ Leahy, Anthony (1989). "A Protective Measure at Abydos in the Thirteenth Dynasty". Journal of Egyptian Archaeology. 75: 41–60. doi:10.1177/030751338907500105. S2CID 192286085.
- ↑ Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 406
บรรณานุกรม
[แก้]- K.S.B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800-1550 BC (Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997).