ฟาโรห์ดเจฮูติ
ฟาโรห์ดเจฮูติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ดูติ, ตาฮูติ, เตฮูติ, ตูติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระนามของฟาโรห์ดเจฮูติบนบล็อกศิลาจากเมืองเอ็ดฟู[1] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 3 ปี, 1650 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | ไม่แน่ชัด, พระนามสูญหายจากส่วนที่เสียหายของบันทึกพระนามแห่งตูริน (รีฮอล์ต), โซเบคเอมซาฟที่ 1 (ฟอน เบ็คเคอราธ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | เซเบคโฮเทปที่ 8 (รีฮอล์ต) หรือ เซอังค์เอนเร เมนทูโฮเทปิ (ฟอน เบ็คเคอราธ) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คู่เสกสมรส | เมนทูโฮเทป | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ไม่แน่ชัด อาจจะ ราชวงศ์ที่สิบหก,[2][3] หรือ ราชวงศ์ที่สิบเจ็ด |
เซคเอมเร เซเมนทาวี ดเจฮูติ (อังกฤษ: Djehuti) อาจจะเป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์ที่สอง[4][5]จากราชวงศ์ที่สิบหก โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองธีบส์ ซึ่งมีอำนาจครอบคลุมบางส่วนของอียิปต์บนในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่ 2 หรืออีกข้อสันนิษฐาน พระองค์อาจจะเป็นฟาโรห์จากช่วงปลายของราชวงศ์ที่สิบสาม[6] หรือเป็นฟาโรห์พระองค์ที่สี่แห่งราชวงศ์ที่สิบเจ็ด[7] ในบันทึกพระนามแห่งตูรินได้ระบุระยะเวลาของรัชสมัยของพระองค์เป็นระยะเวลา 3 ปี ตามที่ปรากฏในบรรทัดแรกของคอลัมน์ที่ 11 ตามที่นักไอยคุปต์วิทยา คิม รีฮอล์ต และดาร์เรล เบเกอร์ กล่าวว่า ฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 8 ทรงขึ้นครองราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์[4][5]
ตำแหน่งตามลำดับเวลา
[แก้]ยังคงถกเถียงกันอยู่เกี่ยวกับราชวงศ์ของฟาโรห์ดเจฮูติ ในประเด็นนี้บันทึกพระนามแห่งตูรินได้เปิดให้ตีความ ปรากฏว่ามีฟาโรห์หลายพระองค์ที่มีพระนามว่า "เซคเอมเร[...]" และเอกสารต้นฉบับที่เสียหายไม่สามารถหลงเหลือพระนามที่สมบูรณ์ได้ เป็นผลให้พระองค์มีพระนามว่า เซคเอมเร เซเมนทาวี โดยหลักการแล้วอาจสอดคล้องกับพระนาม "เซคเอมเร[...]" ใด ๆ ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในบันทึกพระนามดังกล่าว เช่น พระองค์อาจจะเป็นผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบสาม, สิบหก และแม้แต่ราชวงศ์ที่สิบเจ็ดแห่งอียิปต์
นักไอยคุปต์วิทยา คิม รีฮอล์ต และดาร์เรล เบเกอร์ ได้เชื่อว่าพระองค์เป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบหก ซึ่งมีอำนาจควบคุมบริเวณเมืองธีบส์หลังช่วง 1650 ปีก่อนคริสตกาล[5] หรืออีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง การศึกษาสองชิ้นโดยโคลด แวนเดอร์สลีเยน และคริสตินา ไกเซน ได้กล่าวถึงการครองราชย์ของฟาโรห์ดเจฮูติจนถึงจุดสิ้นสุดของราชวงศ์ที่สิบสาม ซึ่งมีอำนาจการปกครองอยู่ที่เมืองเมมฟิส[6][8] โดยข้อมูลของไกเซนมีพื้นฐานมาจากตีความด้านรูปแบบเกี่ยวกับโลงศพของพระมเหสีของพระองค์ ซึ่งสตีเฟน เควิร์กได้โต้แย้งว่าเป็นการใช้ข้อสมมติฐานที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์[9] ทฤษฎีเก่ากว่าของเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราธ ซึ่งฮานส์ สต็อค เป็นผู้สรุปร่วมกัน เชื่อว่า พระองค์เป็นผู้ปกครองในช่วงต้นราชวงศ์ที่สิบเจ็ด ซึ่งสถาปนาขึ้นในบริเวณอียิปต์บนหลังจากการล่มสลายของราชวงศ์ที่สิบหก หลังจากการพิชิตเมืองธีบส์ของชาวฮิกซอส ในช่วงสั้นๆ ทฤษฎีนี้ได้รับการสนับสนุนโดยการค้นพบหลุมฝังพระศพของพระนางเมนทูโฮเทป ซึ่งเป็นพระมเหสีของพระองค์ ซึ่งตั้งอยู่ใน ดรา 'อาบู เอล-นากา' ซึ่งเป็นหลุมฝังพระศพที่ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ที่สิบเจ็ด นักวิชาการ เช่น คริส เบ็นเน็ต ได้ชี้ให้เห็นว่านี่ไม่ได้หมายความว่าฟาโรห์ดเจฮูติจะทรงถูกฝังอยู่ในดรา 'อาบู เอล-นากา'เช่นกัน[6]
นักไอยคุปต์วิทยาบางคนเสนอว่า พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับหลานสาวของราชมนตรีนามว่า อิบิอาว ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์วาอิบเร อิบิอาอู แห่งราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ ซึ่งปกครองระหว่าง 1712–1701 ปีก่อนคริสตกาล และเป็นไปได้มากว่าสองชั่วอายุคนจะหายไปจากรัชสมัยของฟาโรห์พระองค์นี้[10][11] อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่นานมานี้ มีการชี้ให้เห็นว่าความเกี่ยวข้องระหว่าง อิบิอาว และพระนางเมนทูโฮเทป ซึ่งเป็นพระมเหสีของฟาโรห์ดเจฮูติแต่ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ และความสัมพันธ์ทางช่วงเวลาที่เสนอระหว่างฟาโรห์วาอิบเร อิบิอาอู และพระองค์นั้นยังคงเป็นการคาดเดา[12]
หลักฐานยืนยัน
[แก้]ปรากฏพระนามของฟาโรห์ดเจฮูติทั้งในบันทึกพระนามแห่งตูรินและบันทึกพระนามแห่งคาร์นัก และหลักฐานยืนยันร่วมสมัยของพระองค์ทั้งหมดมาจากจากหุบเขาแม่น้ำไนล์ที่ทอดยาวประมาณ 145 กิโลเมตร (90 ไมล์) จากเดียร์ เอล-บัลลาส ซึ่งอยู่ทางทางเหนือจนถึงเมืองเอ็ดฟู ซึ่งอยู่ทางทางใต้[4] สิ่งนี้สอดคล้องกับอาณาเขตในขอบเขตอิทธิพลของผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบหกอย่างคร่าว ๆ[4] พระนามครองพระราชบัลลังก์และพระนามส่วนพระองค์ของฟาโรห์ดเจฮูติปรากฏอยู่บล็อกศิลาชิ้นเดียวที่ค้นพบโดย ฟลินเดอรส์ เพตรี ในเดียร์ เอล-บัลลาส โดยเป็นบล็อกศิลาทาสีที่มีภาพวาดของฟาโรห์ดเจฮูติทรงสวมมงกุฎสีแดงแห่งอียิปต์ล่าง ซึ่งอยู่นอกขอบเขตอิทธิพลของพระองค์ ซึ่งค้นพบที่เมืองเอ็ดฟู[6] และนอกจากนี้ ปรากฏหลักฐานยืนยันเกี่ยวกับฟาโรห์ดเจฮูติที่มาจากหลุมฝังพระศพของพระมเหสีของพระองค์พระนามว่า เมนทูโฮเทป ซึ่งถูกค้นพบในสภาพสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1822 และโลงพระศพของพระองค์ (ปัจจุบันสูญหายไปแล้ว) โดยจารึกไว้ด้วยหนึ่งในส่วนแรกสุดของข้อความจากคัมภีร์มรณะ บนกล่องเครื่องสำอางของพระนางเมนทูโฮเทปปรากฏพระนามครองพระราชบัลลังก์และพระนามส่วนพระองค์และคาร์ทูธของฟาโรห์ดเจฮูติ พร้อมด้วยจารึกกัลปนางานพระศพและคำจารึกที่ระบุว่ากล่องเครื่องสำอางนี้เป็นของพระราชทานจากฟาโรห์[4]
มีการเสนอความเห็นที่ว่าอาจมีการสร้างพีระมิดทางใต้แห่งซักกอเราะห์ใต้เพื่อสำหรับฟาโรห์ดเจฮูติ ข้อสมมติฐานนี้มีพื้นฐานมาจากจารึกที่อยู่สภาพที่ไม่สมบูรณ์ในปิรามิดและอ่านว่า "เวเซอร์คา..." ซึ่งอาจเป็นพระนาม เวเซอร์คาอู ซึ่งเป็นพระนามฮอรัสทองคำของฟาโรห์ดเจฮูติ[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ M. von Falck, S. Klie, A. Schulz: Neufunde ergänzen Königsnamen eines Herrschers der 2. Zwischenzeit. In: Göttinger Miszellen 87, 1985, p. 15–23
- ↑ 2.0 2.1 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, pp. 90-91
- ↑ K.S.B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, pp. 90-91
- ↑ 5.0 5.1 5.2 K.S.B. Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c.1800–1550 BC, Carsten Niebuhr Institute Publications, vol. 20. Copenhagen: Museum Tusculanum Press, 1997, excerpts available online here.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 Christina Geisen, Zur zeitlichen Einordnung des Königs Djehuti an das Ende der 13. Dynastie, Studien zur Altägyptischen Kultur, Bd. 32, (2004), pp. 149-157
- ↑ Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen, Münchner ägyptologische Studien, Heft 49, Mainz : P. von Zabern, 1999, ISBN 3-8053-2591-6, see p. 126–127.
- ↑ Claude Vandersleyen: Rahotep, Sébekemsaf 1er et Djéhouty, Rois de la 13e Dynastie. In: Revue de l'égyptologie (RdE) 44, 1993, p. 189–191.
- ↑ S. Quirke, Review von Geisen: Die Totentexte…. In: Journal of Ancient Near Eastern Religions. Nr. 5, 2005, p. 228–238.
- ↑ Labib Habachi: "The Family of Vizier Ibiˁ and His Place Among the Viziers of the Thirteenth Dynasty", in Studien zur altägyptischen Kultur 11 (1984), pp. 113-126.
- ↑ Ryholt, Note 555 page 152
- ↑ W. Grajetzki, Court Officials of the Egyptian Middle Kingdom, London 2009, p. 40.
- ↑ Christoffer Theis, "Zum Eigentümer der Pyramide Lepsius XLVI / SAK S 6 im Süden von Sakkara", Göttinger Miszellen 218 (2008), pp. 101–105