ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์เซเคนเอนเร ทาโอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฟาโรห์เซเคนเอนเร ทาโอ (อังกฤษ: Seqenenre Tao, มีอีกพระนามว่า เซเคเอนรา ดเจฮูติ-อา หรือ เซเคนเอนรา ทาอา, เรียกว่า The Brave) ทรงปกครองเหนืออาณาจักรท้องถิ่นสุดท้ายของภูมิภาคทีบส์ในอียิปต์ช่วงราชวงศ์ที่ 17 สมัยระหว่างกลางที่สองแห่งอียิปต์ พระองค์น่าจะเป็นพระราชโอรสและผู้สืบทอดต่อจากฟาโรห์เซนัคท์เอนเร อาโมสกับพระราชินีเตติเชริ ช่วงปีที่ครองราชย์ยังไม่ชัดเจน แต่พระองค์อาจขึ้นครองราชย์ในช่วงปลายทศวรรษ 1560 ปีก่อน ค.ศ. หรือใน 1558 ปีก่อน ค.ศ. (อิงจากการขึ้นครองราชย์ที่เป็นไปได้ของฟาโรห์อาโมสที่หนึ่ง พระราชโอรสผู้เป็นผู้ปกครององค์แรกในราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์)

การก่อสร้างอนุสรณ์

[แก้]

เนื่องด้วยรัชสมัยที่สั้นของเซเคนเอนเร ทาโอ ทำให้ไม่ได้มีการสร้างอนุสรณ์สถานหลายแห่ง แต่เป็นที่รู้กันว่าพระองค์สร้างพระราชวังใหม่ที่ทำมาจากอิฐโคลนที่ Deir el-Ballas ตรงช้างบนเนินเขาติดกันที่มองเห็นแม่น้ำ พบว่าฐานรากของอาคารแห่งหนึ่งเกือบมั่นใจได้ว่าเป็นหอสังเกตการณ์ทางทหารอย่างแน่นอน[2]

มีการพบเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า Kerma-ware จำนวนมากในบริเวณดังกล่าว ซึ่งบ่งชี้ว่ามีชาวนูเบีย Kerma จำนวนมากอาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว โดยเชื่อกันว่าพวกเขาอยู่ที่นั่นในฐานะพันธมิตรของฟาโรห์ในการทำสงครามกับพวกฮิกซอส[3]

มัมมี

[แก้]
พระเศียรมัมมีของเซเคนเอนเร ทาโอที่แสดงรอยแผล รอยตัดเหนือพระเนตรเกิดจากอาวุธที่มีความเป็นไปได้มากว่าน่าจะเป็นกริชชนิดหนึ่ง ทฤษฎีทั่วไประบุว่าพระองค์สวรรคตในการต่อสู้กับพวกฮิกซอส[4]

สิ่งสืบทอดในวรรณกรรมสมัยใหม่

[แก้]

ฟาโรห์เซเคนเอนเร ทาโอปรากฏตัวในวรรณกรรมประวัติศาสตร์ Shadow Hawk เขียนโดย Andre Norton ซึ่งพระองค์ถูกปลงพระชนม์โดยบรรดานักบวชที่เป็นพันธมิตรกับพวกฮิกซอส หนังสือนี้เน้นไปที่นายทหารชาวอียิปต์ที่นำกองทหารนูเบียเข้ารับราชการในอาณาจักรธีบส์[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Clayton, Peter. Chronicle of the Pharaohs, Thames and Hudson Ltd, paperback 2006. p.94
  2. Shaw, Ian. The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press, 2000. p.198.
  3. Shaw, Ian. The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford University Press, 2000. p199.
  4. Van de Mieroop 2011, p. 160.
  5. Norton, Andre (2001). Shadow hawk. Bathgate, N.D., San Francisco: Bethlehem Books: Ignatius Press. OCLC 1285744618.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Gardiner, Sir Alan. Egypt of the Pharaohs. (Oxford, 1964).
  • Hayes, William C. Egypt: From the Death of Ammenemes III to Sequenenre II," in Volume 2, Chapter 2 of the "Cambridge Ancient History", Revised Edition (Cambridge, 1965).
  • Pritchard, James B. (Editor). Ancient Near Eastern Texts Relating to the Old Testament. Third Edition, with Supplement. (Princeton, 1969).

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]