ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์ดเจอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดเจอร์ (อักษรโรมัน: Djer) (หรือ เซอร์ หรือ เซคตี)[1] ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ฟาโรห์รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์ ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่เมื่อราวประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช[2] และทรงเสวยราชสมบัติเป็นเวลาประมาณ 40 ปี

พระกร (แขน) ของพระองค์หรือพระกรของพระมเหสีของพระองศ์ ถูกค้นพบโดย ฟลินเดอรส์ เพตรี[3] แต่น่าเสียดายที่พระกรของพระองค์ถูกโยนทิ้งโดย Emile Brugsch[4]

พระนาม

[แก้]
อีติ หรือ ไอติ เป็นพระนามของฟาโรห์ดเจอร์ในรายพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอส

ตามบันทึกรายพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอส กล่าวถึงพระนามฟาโรห์ลำดับที่สามพระนามว่า อีติ และบันทึกรายพระนามกษัตริย์แห่งตูริน ได้ปรากฏพระนามของพระองค์ที่เสียหายเริ่มต้นด้วย อิ'ต..... และตามบันทึกอียิปต์โบราณของมาเนโธ ปรากฏพระนามของพระองค์ว่า ยูเอเนเพส

ระยะเวลาการครองราชย์

[แก้]

ในขณะที่นักบวชชาวอียิปต์ มาเนโท เขียนใน 300 ปีก่อนคริสต์ศักราชระบุว่า ฟาโรห์ดเจอร์ ครองราชย์เป็นเวลา 57 ปี การวิจัยสมัยใหม่โดย โทบี้ วิลกินสัน ใน Royal Annals ของอียิปต์โบราณได้กล่าวพระองค์ครองราชย์เป็นเวลาประมาณ 41 ปี โดยมีหลักฐานจากหินปาแลร์โมสโตน วิลกินสันบันทึกว่าปีที่ 1-10 ของรัชกาลของฟาโรห์ดเจอร์ จะถูกบันทึกครั้งที่สองของปาแลร์โมสโตน ขณะที่กลางของรัชกาลของฟาโรห์นี้จะถูกบันทึกลงในทะเบียนของไคโรเฟลกเมนต์

สุสาน

[แก้]

สุสานของพระองค์จะคล้ายกับบิดาของพระองค์ ฟาโรห์ฮอร์ อฮา, ดเจอร์ถูกฝังอยู่ใน Umm El-Qa'ab ที่ อบีดอส หลุมฝังศพของดเจอร์เป็นสุสาน O หลุมฝังศพของเขามีซากศพที่ถูกฝังอยู่กับเขาด้วย 318 คน ในช่วงเวลาต่อมาหลุมฝังศพของดเจอร์ที่ถูกเคารพนับถือว่าเป็นหลุมฝังศพของโอซิริสและทั้งราชวงศ์แรกที่ฝังศพที่ซับซ้อนซึ่งรวมถึงหลุมฝังศพของดเจอร์ที่เป็นเรื่องสำคัญมากในประเพณีทางศาสนาอียิปต์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Trigger, Bruce (1983). Ancient Egypt: A Social History. Cambridge University Press. p. 70. ISBN 978-0521284271.
  2. Grimal, Nicolas (1994). A History of Ancient Egypt. Wiley-Blackwell. p. 528. ISBN 0-631-19396-0.
  3. W. M. Flinders Petrie: The Royal Tombs of the Earliest Dynasties, 1901, Part II, London 1901, p.16-17
  4. Salima Ikram and Aidan Dodson, The Mummy in Ancient Egypt: Equipping the Dead for Eternity, Thames & Hudson, 1998, p. 109