ราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1991 ปีก่อนคริสตกาล – 1802 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||
![]() รูปสลักพระสรีระส่วนบนของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 จากสมัยราชวงศ์ที่สิบสอง ราว 1800 ปีก่อนคริสตกาล ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะอียิปต์แห่งรัฐ เมืองมิวนิค | |||||||||
เมืองหลวง | ทีบส์, อิทจ์-ทาวี | ||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาอียิปต์ | ||||||||
ศาสนา | ศาสนาอียิปต์โบราณ | ||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคทองแดง | ||||||||
• ก่อตั้ง | 1991 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||
• สิ้นสุด | 1802 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||
|
สมัยและราชวงศ์ของอียิปต์โบราณ |
---|
ทั้งหมดก่อนคริสต์ศักราช |
ดูเพิ่ม: รายชื่อฟาโรห์ตามช่วงเวลาและราชวงศ์ |
ราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ ถือว่าเป็นราชวงศ์ที่อยู่ช่วงเวลาจุดรุ่งเรืองที่สุดของสมัยราชอาณาจักรกลางโดยเหล่านักไอยคุปต์วิทยา ซึ่งมักจะรวมเข้ากับราชวงศ์ที่สิบเอ็ด สิบสาม และสิบสี่ให้อยู่ในช่วงเวลาของสมัยราชอาณาจักรกลาง แต่นักวิชาการบางคนถือเพียงแค่ว่าราชวงศ์ที่สิบเอ็ดและราชวงศ์ที่สิบสองเป็นส่วนหนึ่งในสมัยราชอาณาจักรกลางเท่านั้น
ประวัติราชวงศ์
[แก้]ลำดับเหตุการณ์ภายในช่วงราชวงศ์ที่สิบสองนั้นคงที่ที่สุดในยุคใดๆ ก่อนหน้าสมัยราชอาณาจักรใหม่ บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินได้บันทึกระยะเวลาที่ราชวงศ์นี้ปกครองพระราชอาณาจักรอยู่ที่ 213 ปี (ระหว่าง 1991–1778 ปีก่อนคริสตกาล) นักบวชมาเนโทได้ระบุว่าราชวงศ์มีศูนย์กลางปกครองอยู่ที่เมืองธีบส์ แต่จากบันทึกชั้นต้นร่วมสมัยเป็นที่ชัดเจนว่าฟาโรห์พระองค์แรกจากราชวงศ์นี้พระนามว่า อเมนเอมฮัตที่ 1 ได้ทรงย้ายเมืองหลวงไปยังเมืองใหม่ที่มีนามว่า "อเมนเอมฮัต-อิทจ์-ทาวี" ("อเมนเอมฮัต ผู้ทรงยึดครองทั้งสองดินแดน") หรือเรียกอย่างง่ายว่า อิทจ์ทาวี[1] ซึ่งยังไม่ทราบที่ตั้งเมืองโบราณแห่งนี้ แต่สันนิษฐานว่าจะอยู่ใกล้เมืองฟัยยูม ซึ่งอาจจะตั้งใกล้สุสานหลวงที่อัลลิชต์[2]
ลำดับของผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบสองนั้นเป็นที่ทราบอย่างดีจากหลายแหล่งหลักฐานคือ บันทึกพระนามกษัตริย์จำนวนสองรายการที่บันทึกไว้ในวิหารในเมืองอไบดอส และอีกหนึ่งบันทึกที่เมืองซัคคารา รวมถึงบันทึกพระนามที่ได้จากงานเขียนของมาเนโท ซึ่งบันทึกไว้ในรัชสมัยของฟาโรห์เซนุสเรสที่ 3 สามารถสัมพันธ์กับวัฏจักรโซทิก[3] ดังนั้น เหตุการณ์มากมายภายในราชวงศ์นี้มักถูกกำหนดให้เป็นปีใดปีหนึ่ง
บันทึกทางประวัติศาสตร์จากช่วงเวลาดังกล่าวที่กล่าวถึงพระราชมารดาของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 ว่ามาจาก[4]บริเวณแอลเลเฟนไทน์ หรือ ตา-เซติ[5][6][7] โดยนักวิชาการหลายคนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาแย้งว่าพระราชมารดาของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 น่าจะมาจากดินแดนนิวเบีย[8][9][10][11][12][13][14]
รายพระนามฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์
[แก้]พระนาม | พระนามฮอรัส | รูปภาพ | รัชสมัย | พีระมิด | พระมเหสี |
---|---|---|---|---|---|
อเมนเอมฮัตที่ 1 | เซเฮเทปอิบเร | ![]() |
1991 – 1962 ปีก่อนคริสตกาล | พีระมิดแห่งอเมนเอมฮัตที่ 1 | เนเฟริทาทเจเนน |
เซนุสเรตที่ 1 (เซซอสทริสที่ 1) | เคเปอร์คาเร | ![]() |
1971 – 1926 ปีก่อนคริสตกาล | พีระมิดแห่งเซนุสเรตที่ 1 | เนเฟรูที่ 3 |
อเมนเอมฮัตที่ 2 | นุบเคาเร | ![]() |
1929 – 1895 ปีก่อนคริสตกาล | พีระมิดขาว | คาเนเฟรู
เคมินุบ? |
เซนุสเรตที่ 2 (เซซอสทริสที่ 2) | คาเคเปอร์เร | ![]() |
1897 – 1878 ปีก่อนคริสตกาล | พีระมิดที่อัลลาฮูน | เคเนเมตเนเฟอร์เฮดเจตที่ 1 |
เซนุสเรตที่ 3 (เซซอสทริสที่ 3) | คาเคาเร | ![]() |
1878 – 1839 ปีก่อนคริสตกาล | พีระมิดที่ดาห์ชูร์ | เมเรตเซเกอร์ |
อเมนเอมฮัตที่ 3 | นิมาอัตเร | ![]() |
1860 – 1814 ปีก่อนคริสตกาล | พีระมิดดำที่ฮาวารา | อาอัต |
อเมนเอมฮัตที่ 4 | มาอาเครูเร | ![]() |
1815 – 1806 ปีก่อนคริสตกาล | พีระมิดแห่งมาซกูนาใต้ (สันนิษฐาน) | |
โซเบคเนเฟรู | โซเบคคาเร | ![]() |
1806 – 1802 ปีก่อนคริสตกาล | พีระมิดแห่งมาซกูนาเหนือ (สันนิษฐาน) |
ผู้ปกครองที่เป็นที่ทราบของราชวงศ์ที่สิบสอง มีดังนี้[15]
ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1
[แก้]ราชวงศ์ที่สิบสองสถาปนาขึ้นโดยฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 ซึ่งอาจจะเป็นราชมนตรีของฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบเอ็ดพระนามว่า ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4 กองทัพของพระองค์เคลื่อนทัพไปทางใต้ไกลถึงแก่งน้ำตกที่สองของแม่น้ำไนล์และถึงทางตอนใต้คานาอัน นอกจากนี้พระองค์ยังทรงสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับดินแดนคานาอันแห่งไบบลอสและผู้ปกครองชาวกรีกในทะเลอีเจียน พระองค์เป็นพระราชบิดาของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1
ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1
[แก้]ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ทรงโปรดให้ส่งคณะสำรวจเดินทางลงใต้ไปยังแก่งน้ำตกที่สามของแม่น้ำไนล์ต่อจากพระราชบิดาของพระองค์
ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 2
[แก้]
ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 2 ทรงเป็นฟาโรห์ในช่วงเวลาที่สงบสุข
ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2
[แก้]


ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 2 ก็ทรงพอพระราชหฤทัยที่จะทรงอยู่อย่างสงบ
ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3
[แก้]เมื่อพบว่าดินแดนนิวเบียเกิดความมากขึ้นในรัชสมัยผู้ปกครองพระองค์ก่อน ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 จึงทรงส่งคณะสำรวจไปยังดินแดนแห่งนิวเบีย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงส่งคณะสำรวจไปยังเลวานไทน์ การดำเนินการทางทหารของพระองค์ทำให้เกิดตำนานของนักรบผู้ยิ่งใหญ่นาม เซโซสทริส ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เล่าขานโดยมาเนโธ, เฮโรโดตัส และดิโอโดรัส ซิคูลัส โดยที่มาเนโธกล่าวว่า เซโซสทริส ในตำนานนั้นไม่เพียงพิชิตดินแดนเช่นเดียวกับฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 เท่านั้น แต่ยังพิชิตบางส่วนของคานาอันและข้ามไปยังยุโรปเพื่อผนวกเธรซ อย่างไรก็ตาม ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งในอียิปต์หรืองานเขียนร่วมสมัยอื่นๆ ที่ยืนยันคำกล่าวอ้างเพิ่มเติมของมาเนโธ
ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3
[แก้]ฟาโรห์อเมนเอมเฮตที่ 3 ทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 และยังทรงดำเนินการทางนโยบายต่างประเทศของผู้ปกครองก่อนหน้าของพระองค์อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม หลังจากรัชสมัยของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 พระราชอำนาจของราชวงศ์ที่สิบสองก็ถูกใช้ไปอย่างมหาศาล และปัญหาที่เพิ่มขึ้นในการปกครองก็ตกเป็นของผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์พระนามว่า โซเบคเนเฟรู เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 ทรงเป็นที่จดจำสำหรับวิหารพระบรมศพที่ฮาวาราที่พระองค์ทรงโปรดให้สร้างขึ้น ซึ่งเฮโรโดตัส และดิโอโดรัส ซิคูลัส และสตราโบรู้จักในนาม "เขาวงกต" นอกจากนี้ ในรัชสมัยของพระองค์ มีการใช้ประโยชน์กับที่ลุ่มฟัยยูมเป็นครั้งแรก
ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4
[แก้]ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 ผู้เป็นพระราชบิดา และทรงปกครองอยู่ประมาณเก้าปี
ฟาโรห์โซเบคเนเฟรู
[แก้]ฟาโรห์โซเบคเนเฟรู เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 โดยที่พระองค์ทรงถูกทิ้งให้อยู่กับปัญหาทางราชการที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งถูกบันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระราชบิดาของพระองค์ เมื่อพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระเชษฐาของพระองค์หรือพระเชษฐาต่างพระราชมารดาหรือพระเชษฐาบุญธรรม[16] เมื่อฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 สวรรคต พระองค์ทรงกลายเป็นรัชทายาท เพราะพระภคินีของพระองค์พระนามว่า เนเฟรูพทาห์ ซึ่งทรงน่าจะเป็นรัชทายาทลำดับต่อไปในการปกครอง ซึ่งสิ้นพระชนม์ไปก่อนหน้าแล้วตั้งแต่พระชนมายุยังน้อย ฟาโรห์โซเบคเนเฟรูทรงเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบสอง ไม่มีบันทึกว่าพระองค์ทรงมีองค์รัชทายาท นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงมีรัชกาลที่ค่อนข้างสั้น และได้มีการเปลี่ยนแปลงในการสืบสันตติวงศ์ ซึ่งพระราชบัลลังก์อาจจะตกเป็นของรัชทายาทที่ไม่เกี่ยวข้องทางสายเลือดกับฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4[17]
วรรณกรรมอียิปต์โบราณ
[แก้]ในช่วงราชวงศ์ที่สิบสอง วรรณกรรมอียิปต์โบราณได้รับการพัฒนาอย่างมาก ผลงานบางชิ้นที่รู้จักกันดีในช่วงเวลาดังกล่าว คือ เรื่องราวแห่งซินูเฮ ซึ่งมีสำเนาของบันทึกปาปิรุสหลายร้อยเล่มยังคงหลงเหลืออยู่ นอกจากนี้ ในสมัยราชวงศ์ที่สิบสองยังมีตำราคำสอนอีกหลายเล่ม เช่น ตำราคำสอนแห่งอเมเนมเฮตและเรื่องเล่าของชาวนาฝีปากกล้า
นอกจากนี้ ฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสองถึงสิบแปดยังทรงการเก็บรักษาบันทึกปาปิรุสอียิปต์ที่โดดเด่นที่สุด และบางส่วนซึ่งหลงเหลือรอดมาจนถึงทุกปัจจุบัน ได้แก่
- 1900 ปีก่อนคริสตกาล – บันทึกปาปิรุสพริสส์
- 1800 ปีก่อนคริสตกาล – บันทึกปาปิรุสเบอร์ลิน
- 1800 ปีก่อนคริสตกาล – บันทึกปาปิรุสคณิตศาสตร์มอสโก
- 1650 ปีก่อนคริสตกาล – บันทึกปาปิรุสคณิตศาสตร์ไรนด์
- 1600 ปีก่อนคริสตกาล – บันทึกปาปิรุสเอ็ดวิน สมิธ
- 1550 ปีก่อนคริสตกาล – บันทึกปาปิรุสเอเบอร์ส
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Arnold, Dorothea (1991). "Amenemhat I and the Early Twelfth Dynasty at Thebes". Metropolitan Museum Journal. The Metropolitan Museum of Art. 26: 5–48. doi:10.2307/1512902. JSTOR 1512902.
- ↑ Shaw, Ian, บ.ก. (2000). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. p. 159.
- ↑ Parker, Richard A., "The Sothic Dating of the Twelfth and Eighteenth Dynasties," in Studies in Honor of George R. Hughes, 1977 [1]
- ↑ "Then a king will come from the South, Ameny, the justified, by name, son of a woman of Ta-seti, child of Upper Egypt""The Beginning of the Twelfth Dynasty". Kingship, Power, and Legitimacy in Ancient Egypt: From the Old Kingdom to the Middle Kingdom. Cambridge University Press: 138–160. 2020.
- ↑ "Ammenemes himself was not a Theban but the son of a woman from Elephantine called Nofret and a priest called Sesostris (‘The man of the Great Goddess’).",Grimal, Nicolas (1994). A History of Ancient Egypt. Wiley-Blackwell (July 19, 1994). p. 159.
- ↑ "Senusret, a commoner as the father of Amenemhet, his mother, Nefert, came from the area Elephantine."A. Clayton, Peter (2006). Chronicle of the Pharaohs: The Reign-by-Reign Record of the Rulers and Dynasties of Ancient Egypt. Thames & Hudson. pp. 78.
- ↑ "Amenemhet I was a commoner, the son of one Sen- wosret and a woman named NEFRET, listed as prominent members of a family from ELEPHANTINE Island."Bunson, Margaret (2002). Encyclopedia of Ancient Egypt (Facts on File Library of World History). Facts on File. pp. 25.
- ↑ General History of Africa Volume II - Ancient civilizations of Africa (ed. G Moktar). UNESCO. p. 152.
- ↑ Crawford, Keith W. (1 December 2021). "Critique of the "Black Pharaohs" Theme: Racist Perspectives of Egyptian and Kushite/Nubian Interactions in Popular Media". African Archaeological Review (ภาษาอังกฤษ). 38 (4): 695–712. doi:10.1007/s10437-021-09453-7. ISSN 1572-9842. S2CID 238718279.
- ↑ Jr, Richard A. Lobban (10 April 2021). Historical Dictionary of Ancient Nubia (ภาษาอังกฤษ). Rowman & Littlefield. ISBN 9781538133392.
- ↑ Morris, Ellen (6 August 2018). Ancient Egyptian Imperialism (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. p. 72. ISBN 978-1-4051-3677-8.
- ↑ Van de Mieroop, Marc (2021). A history of ancient Egypt (Second ed.). Chichester, West Sussex. p. 99. ISBN 1119620872.
- ↑ Fletcher, Joann (2017). The story of Egypt : the civilization that shaped the world (First Pegasus books paperback ed.). New York. pp. Chapter 12. ISBN 1681774569.
- ↑ Smith, Stuart Tyson (8 October 2018). "Ethnicity: Constructions of Self and Other in Ancient Egypt". Journal of Egyptian History. 11 (1–2): 113–146. doi:10.1163/18741665-12340045. ISSN 1874-1665.
- ↑ Aidan Dodson, Dyan Hilton: The Complete Royal Families of Ancient Egypt. The American University in Cairo Press, London 2004
- ↑ Dodson, Hilton, The Complete Royal Families of Egypt, 2004, p. 98.
- ↑ Ryholt, The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period (1997), p. 15.