ข้ามไปเนื้อหา

สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
สุดารัตน์ใน พ.ศ. 2563
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
(1 ปี 192 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าวันมูหะมัดนอร์ มะทา
ถัดไปธีระ สูตะบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
(4 ปี 23 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้ากร ทัพพะรังสี
ถัดไปสุชัย เจริญรัตนกุล
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2539
(1 ปี 27 วัน)
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
รัฐมนตรีว่าการบรรหาร ศิลปอาชา
ก่อนหน้าสุชาติ ตันเจริญ
ถัดไปอาษา เมฆสวรรค์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
(0 ปี 206 วัน)
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการวิชิต สุรพงษ์ชัย
ก่อนหน้าจรัส พั้วช่วย
ถัดไปสมบัติ อุทัยสาง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
(0 ปี 58 วัน)
หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
9 กันยายน พ.ศ. 2565
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
ก่อนหน้าสอิสร์ โบราณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (63 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพลังธรรม (2535–2541)
ไทยรักไทย (2541–2550)
เพื่อไทย (2555–2563)
ไทยสร้างไทย (2564–ปัจจุบัน)
คู่สมรสสมยศ ลีลาปัญญาเลิศ
บุตร

คุณหญิง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (เกิด 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2504) ชื่อเล่น หน่อย เป็นนักการเมืองชาวไทย ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย[1] และประธานมูลนิธิไทยพึ่งไทย[2] อดีตประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย[3] อดีตรัฐมนตรีเคยดำรงตำแหน่งสำคัญทั้งในรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร และ ชวน หลีกภัย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 และเคยร่วมประท้วงในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

ประวัติ

[แก้]

สุดารัตน์เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 เป็นบุตรของสมพล เกยุราพันธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา และเรณู เกยุราพันธ์ สุดารัตน์สมรสกับสมยศ ลีลาปัญญาเลิศ นักธุรกิจชาวไทย มีบุตรชาย 2 คน และบุตรหญิง 1 คน ดังนี้

  1. ภูมิภัทร ลีลาปัญญาเลิศ (บอส)
  2. พีรภัทร ลีลาปัญญาเลิศ (เบสท์)
  3. ยศสุดา ลีลาปัญญาเลิศ (จินนี่)

สุดารัตน์จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านการตลาด จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Shi 41) และระดับปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ (MBA จาก GIBA) สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา จากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย[4]

สุดารัตน์ ยังได้รับปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์เชิดชูเกียรติคุณ) สาขาวิชาพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม จากสภามหาวิทยาลัยนครพนม และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสาธารณสุขศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น[5]

การเมือง

[แก้]

สุดารัตน์เข้าสู่แวดวงการเมืองครั้งแรกในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 12 พรรคพลังธรรม (บางเขน, หลักสี่, ดอนเมือง, สายไหม, มีนบุรี, หนองจอก, คลองสามวา) ซึ่งเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งกรุงเทพมหานคร ต่อมาในปลายปีเดียวกันได้มีการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง สุดารัตน์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 7 พรรคพลังธรรม (ลาดพร้าว, วังทองหลาง, บางกะปิ, บึงกุ่ม, คันนายาว, สะพานสูง) และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[6] ในรัฐบาลของชวน หลีกภัย สมัยที่ 1 หรือ รัฐบาลชวน 1/1

ในปี พ.ศ. 2537 สุดารัตน์ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคพลังธรรม และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[7] ในรัฐบาลของชวน หลีกภัย หรือรัฐบาลชวน 1/2 ต่อมาได้จัดให้มีการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2538 สุดารัตน์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 7 พรรคพลังธรรม (บางกะปิ, บึงกุ่ม, วังทองหลาง, คันนายาว, สะพานสูง) และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา หรือรัฐบาลบรรหาร 1 จนกระทั่งมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรและมีการเลือกตั้งในปีถัดมา

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 สุดารัตน์ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 7 (บางกะปิ, บึงกุ่ม, วังทองหลาง, คันนายาว, สะพานสูง) โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัดพรรคพลังธรรม เพียงคนเดียวในสภาฯ ต่อมาเธอได้ลาออกจากพรรคพลังธรรม เพื่อไปจัดตั้ง กลุ่มพลังไทย ซึ่งเตรียมความพร้อมสำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขต พ.ศ. 2541[8] โดยมี สก. ของกลุ่มพลังไทยได้รับเลือกตั้งทั้งหมด 13 คน[9] หลังสิ้นสุดการเลือกตั้ง สุดารัตน์ก็ได้รับเชิญให้ไปสังกัดพรรคไทยรักไทย ของ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร รวมทั้งได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคในเวลาต่อมา

ใน การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 สุดารัตน์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในนามของพรรคไทยรักไทย นับเป็นครั้งแรกของพรรคที่ได้ลงสนามการเลือกตั้ง หากไม่นับการเลือกตั้งซ่อม สก. โดยสุดารัตน์ได้คะแนนรวมเป็นลำดับสอง พ่ายแพ้ให้กับ สมัคร สุนทรเวช ซึ่งมีคะแนนเสียงมากกว่าเกือบสองเท่า

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สุดารัตน์ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคไทยรักไทย และได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดูแลรับผิดชอบงานนโยบายสำคัญของรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร (ยศขณะนั้น) คือนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ต่อมาในปี พ.ศ. 2548 ได้รับเลือกตั้งอีกสมัย และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[10] จนกระทั่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี (30 พ.ค. 50 - 30 พ.ค. 55) เนื่องจากเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549

ภายหลังพ้นกำหนดถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง สุดารัตน์ได้เข้ารับตำแหน่งประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย[11] โดยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 สุดารัตน์เป็นบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีในบัญชีรายชื่อของพรรคเพื่อไทย พร้อมกับชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และชัยเกษม นิติสิริ[12] รวมทั้งได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 2[13] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ต่อมาเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 สุดารัตน์ลาออกจากพรรคเพื่อไทย โดยระบุเหตุผล 3 ประการ ได้แก่ 1. ความไม่ชัดเจนเรื่องการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร 2. มีการตั้งกรรมการและอนุกรรมการโดยกีดกันทีมของเธอ และ 3. การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ที่ไม่อนุญาตให้เธอลงพื้นที่ช่วยหาเสียง[14] จากนั้นในปี พ.ศ. 2564 ได้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยสร้างไทย และดำรงตำแหน่งประธานพรรค ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2565[15][16] โดยในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 สุดารัตน์เป็นบุคคลที่ได้รับเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่อยู่ในบัญชีรายชื่อของพรรคไทยสร้างไทย พร้อมกับสุพันธุ์ มงคลสุธี และศิธา ทิวารี[17] รวมทั้งได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 และได้รับเลือกตั้ง โดยเป็น สส. ระบบบัญชีรายชื่อคนเดียวของพรรคไทยสร้างไทยในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26[18] แต่สุดารัตน์ทำหน้าที่ สส. เพียงแค่ 1 ครั้ง คือในการประชุมครั้งแรกเพื่อเลือกประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร หลังจากนั้นก็ได้ประกาศลาออกจาก สส. เพื่อเปิดโอกาสให้คนอื่นในพรรคได้ขึ้นมาทำหน้าที่แทน[19]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]
  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดกรุงเทพมหานคร เขต 12 สังกัดพรรคพลังธรรม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดกรุงเทพมหานคร เขต 7 สังกัดพรรคพลังธรรม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดกรุงเทพมหานคร เขต 7 สังกัดพรรคพลังธรรม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดกรุงเทพมหานคร เขต 7 สังกัดพรรคพลังธรรม
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยสร้างไทย

บทบาททางสังคม

[แก้]

สุดารัตน์ ได้จัดตั้งมูลนิธิผู้หญิงเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มผู้หญิงกับการเมือง เมื่อปี พ.ศ. 2536 ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นสถาบันผู้หญิงกับการเมือง (เพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงได้มีความรู้ความเข้าใจในการเมือง ที่ถูกต้อง และสนใจเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองมากขึ้น) และในปี พ.ศ. 2541 ได้จัดตั้งโครงการ “ไทยพึ่งไทย” เพื่อช่วยเหลือผู้หญิงที่ตกงานให้สามารถสร้างงานสร้างอาชีพของตนเองได้ในยามที่ประเทศกำลังประสบกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ

ปี พ.ศ. 2554 สุดารัตน์ รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการโครงการ “หนึ่งใจ...ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และสู้ภัยพิบัติแห่งชาติ” ของมูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประธานกรรมการมูลนิธิไทยพึ่งไทย ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการสถาบันสร้างไทย

รางวัลเชิดชูเกียรติคุณ

[แก้]
  • สภามหาวิทยาลัยนครพนมได้อนุมัติปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์เชิดชูเกียรติคุณ) สาขาวิชาพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม มอบให้ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "'ไทยสร้างไทย'พร้อมลุยสนามเลือกตั้ง 350 เขต ตั้ง'เจ๊หน่อย'นั่งประธานพรรค". www.naewna.com. 2021-06-07.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. ประธานมูลนิธิไทยพึ่งไทย
  3. "เพื่อไทยระส่ำ 'สุดารัตน์' นำทีม 'โภคิน-วัฒนา-พงศกร' ลาออกสมาชิกพรรค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-01. สืบค้นเมื่อ 2020-12-01.
  4. "เผย'คุณหญิงสุดารัตน์'นั่งนายกนิสิต'มจร'". คมชัดลึกออนไลน์. 2013-08-25.
  5. “สุดารัตน์” รับมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก ม.เวสเทิร์น
  6. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 218/2535 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (1นายมนตรี ด่านไพบูลย์ 2 นางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ 3 นายธำรงค์ ไทยมงคล)
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี
  8. "หญิงหน่อย ย้อนรำลึก 25 ปีแห่งชัยชนะเลือกตั้งท้องถิ่น 'พลังไทย' ก่อนก้าวสู่ 'ไทยรักไทย'". matichon.co.th.
  9. "สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ชุดที่ ๘ (๒๖ เมษายน ๒๕๔๑ - ๒๕ เมษายน ๒๕๔๕)". BMC.
  10. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  11. "ด่วน! "สุดารัตน์"ลาออกทิ้งเก้าอี้ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย". www.posttoday.com. 2020-09-25.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "เพื่อไทยเคาะ สุดารัตน์-ชัชชาติ-ชัยเกษม นั่งแคนดิเดตนายกฯ". THE STANDARD. 2019-01-31. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-08. สืบค้นเมื่อ 2022-05-23.
  13. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  14. "คุณหญิงสุดารัตน์ เปิด 3 เหตุผล ลาออกจากพรรคเพื่อไทยทุกตำแหน่ง". ประชาชาติธุรกิจ. 30 November 2020. สืบค้นเมื่อ 27 May 2022.
  15. “สุดารัตน์” ผงาด นั่ง หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย “ศิธา” เป็นเลขาฯ
  16. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรคไทยสร้างไทย
  17. ""ไทยสร้างไทย" ปรับทัพส่ง "สุดารัตน์-สุพันธุ์-ศิธา" ลงแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี". ไทยพีบีเอส. 31 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (36 ก): 40. 20 มิถุนายน 2023. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2023.
  19. "หญิงหน่อย ลาออก ส.ส.บัญชีรายชื่อ ไทยสร้างไทย 'ฐากร' ขยับขึ้นมาแทน". มติชน. 11 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  22. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือผู้ประสบธรณีพิบัติภัย “สึนามิ” เก็บถาวร 2022-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  23. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-06-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๓, ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ถัดไป
วันมูหะมัดนอร์ มะทา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ครม.55)
(11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549)
ธีระ สูตะบุตร
กร ทัพพะรังสี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ครม.54)
(17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548)
สุชัย เจริญรัตนกุล
สอิสร์ โบราณ
หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย
(9 กันยายน พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน)
ยังดำรงตำแหน่ง