ชัชวาล แพทยาไทย
ชัชวาล แพทยาไทย | |
---|---|
เลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 20 เมษายน พ.ศ. 2567 (0 ปี 244 วัน) | |
หัวหน้า | สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ |
ก่อนหน้า | ฐากร ตัณฑสิทธิ์ |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 220 วัน) | |
ก่อนหน้า | ศักดา คงเพชร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 ธันวาคม พ.ศ. 2531 อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พลังประชารัฐ (2561–2564) ไทยสร้างไทย (2564–ปัจจุบัน) |
ชื่อเล่น | บิ๊ก |
ชัชวาล แพทยาไทย (เกิด 17 ธันวาคม พ.ศ. 2531) เป็นเลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด 1 สมัย
ประวัติ
[แก้]ชัชวาล แพทยาไทย เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2531 ที่อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การทำงาน
[แก้]ชัชวาล เคยลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสังกัดพรรคพลังประชารัฐ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมา ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 ได้ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขตเลือกตั้งที่ 7 สังกัดพรรคไทยสร้างไทย ในปี พ.ศ. 2566 และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด เขตเลือกตั้งที่ 7 พรรคไทยสร้างไทย [1] ชนะศักดา คงเพชร อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด หลายสมัย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ชัชวาลได้รับขนานนามจากสื่อมวลชนว่า “แจ็คผู้ฆ่ายักษ์”[2]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ชัชวาล แพทยาไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 1 สมัย ได้แก่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคไทยสร้างไทย
บทบาทเลขาธิการพรรค
[แก้]หลังจากที่ ฐากร ตัณฑสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยสร้างไทย ได้มีการยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรค จากกรณีการโหวตสวนมติวิปฝ่ายค้านของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคไทยสร้างไทย ต่อมาวันที่ 20 เมษายน 2567 การประชุมใหญ่ “ไทยสร้างไทย ก้าวต่อไปเพื่อคนตัวเล็ก” มีการเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ชัชวาล ได้รับความไว้วางใจจากคณะกรรมการบริหารพรรคและสมาชิกพรรคเลือกให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคไทยสร้างไทย[3][4]
ความสนใจ
[แก้]คณะกรรมาธิการ
[แก้]ชัชวาล ดำรงตำแหน่ง โฆษกคณะกรรมาธิการการเกษตร และสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร[5] ผลักดันการผันน้ำชีสู่ลำน้ำเสียว เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ และมีความสนใจเรื่องการเกษตรเป็นสำคัญ เนื่องจาก เขตเลือกตั้งที่ 7 จังหวัดร้อยเอ็ด ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำนาข้าว [6]นอกจากนี้ ในการพิจารณาร่าง พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ดำรงตำแหน่ง โฆษกอนุกรรมาธิการด้านมั่นคง[7]
กีฬา
[แก้]ชัชวาล มีความสนใจด้านกีฬา โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอล ในพื้นที่อำเภอเกษตรวิสัย มีการสนับสนุนทีมฟุตบอลเยาวชนเกษตรวิสัย มีสนามกีฬา เพื่อการฝึกซ้อมให้กับเยาวชนผู้ที่มีความสนใจได้ฝึกฝน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง,เล่ม ๑๔๐ ตอนที่ ๓๖ ก หน้า ๕๕ ,๒๐ มิ.ย. ๒๕๖๖
- ↑ narongs. "รู้จักแจ๊คผู้ฆ่ายักษ์ 'บิ๊ก-ชัชวาล แพทยาไทย' จากสถาปนิก สู่ ส.ส.ป้ายแดงร้อยเอ็ด". เดลินิวส์.
- ↑ ""ไทยสร้างไทย" ประชุมใหญ่เลือก 'สุดารัตน์' นั่งหัวหน้า เซอร์ไพรส์ ! "ชัชวาล แพทยาไทย" สส.รุ่นใหม่ ผงาดนั่งเลขาพรรค". mgronline.com. 2024-04-20.
- ↑ ไทยสร้างไทย ประชุมใหญ่ ‘ชัชวาล’ นั่งเลขาฯ พรรคคนใหม่ ประกาศเป็นพรรคทางรอดประเทศ
- ↑ "รายนามกรรมาธิการ". web.parliament.go.th (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ tpchannal. "สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา". www.tpchannel.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "รายนามอนุกรรมาธิการ". web.parliament.go.th (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๖, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗