อนุทิน ชาญวีรกูล
อนุทิน ชาญวีรกูล | |
---|---|
![]() อนุทิน ใน พ.ศ. 2566 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (5 ปี 9 เดือน 8 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ดูรายชื่อ
| |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ประวิตร วงษ์สุวรรณ วิษณุ เครืองาม ประจิน จั่นตอง สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ฉัตรชัย สาริกัลยะ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (1 ปี 7 เดือน 17 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | เศรษฐา ทวีสิน แพทองธาร ชินวัตร |
รัฐมนตรีช่วย | เกรียง กัลป์ตินันท์ (2566 – 2567) ชาดา ไทยเศรษฐ์ (2566 – 2567) ทรงศักดิ์ ทองศรี ซาบีดา ไทยเศรษฐ์ ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ |
ก่อนหน้า | อนุพงษ์ เผ่าจินดา |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (4 ปี 1 เดือน 22 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
รัฐมนตรีช่วย | สาธิต ปิตุเตชะ |
ก่อนหน้า | ปิยะสกล สกลสัตยาทร |
ถัดไป | ชลน่าน ศรีแก้ว |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 (3 เดือน 6 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการ | สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ |
ก่อนหน้า | สิริกร มณีรินทร์ |
ถัดไป | สุชัย เจริญรัตนกุล |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549 (1 ปี 6 เดือน 8 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการ | สุชัย เจริญรัตนกุล |
ก่อนหน้า | สุชัย เจริญรัตนกุล |
ถัดไป | มรกต กรเกษม วัลลภ ไทยเหนือ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 (5 เดือน 5 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
รัฐมนตรีว่าการ | อดิศัย โพธารามิก |
ก่อนหน้า | พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล |
ถัดไป | สุริยา ลาภวิสุทธิสิน |
หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555 (12 ปี 6 เดือน 4 วัน) | |
ก่อนหน้า | ชวรัตน์ ชาญวีรกูล |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 (6 ปี 25 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 กันยายน พ.ศ. 2509 อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย (2543–2550) ภูมิใจไทย (2555–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | สนองนุช วัฒนวรางกูร (หย่า) ศศิธร จันทรสมบูรณ์ (หย่า) วธนนนท์ นิรามิษ |
บุตร | 2 คน |
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยฮอฟสตรา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
ทรัพย์สินสุทธิ | 4,372 ล้านบาท (พ.ศ. 2566) |
ลายมือชื่อ | ![]() |
อนุทิน ชาญวีรกูล ท.จ. ม.ป.ช. ม.ว.ม. ร.ง.ภ. (เกิด 13 กันยายน พ.ศ. 2509) ชื่อเล่น หนู เป็นนักการเมืองชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย[1] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เคยถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารของพรรคไทยรักไทย
ประวัติ
อนุทินเกิดที่กรุงเทพมหานคร มีชื่อเล่นว่า "หนู" ที่สื่อมวลชนนิยมเรียกกันว่า "เสี่ยหนู" ต่อมาสื่อมวลชนได้เรียกเป็น“หมอหนู”[2] ในช่วงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเขาเป็นบุตรคนโตของนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และผู้ก่อตั้ง บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น อนุทินสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ และระดับอุดมศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮอฟสตรา (Hofstra University) รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2532 และจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Mini MBA) เมื่อปี พ.ศ. 2533[3]
ชีวิตส่วนตัว สมรสครั้งแรกกับสนองนุช (สกุลเดิม วัฒนวรางกูร) เมื่อปี พ.ศ. 2533 มีบุตร 2 คน คือ นัยน์ภัค และเศรณี ชาญวีรกูล[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2556 เขาได้หย่ากับสนองนุช และสมรสใหม่กับศศิธร (สกุลเดิม จันทรสมบูรณ์) รองกรรมการผู้จัดการ แรนโช ชาญวีร์ รีสอร์ท แอนด์ คันทรีคลับ ปากช่อง[5][6] ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 อนุทินได้หย่ากับศศิธร[7] อีกสามปีต่อมาเขาเปิดตัวสุภานัน นิรามิษ (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วธนนนท์"[8]) ซึ่งเป็นคู่รักคนปัจจุบัน[9] เขามีความชื่นชอบส่วนตัวคือ สะสมพระเครื่อง[10]
ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2567 เขาได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็นนายกองใหญ่ให้แก่อนุทิน ในฐานะเป็นผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดนจากการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[11] และเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 สถาบันพระบรมราชชนกได้มอบปริญญาสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้แก่อนุทิน
บทบาททางการเมือง
พ.ศ. 2539 เข้าสู่วงการการเมืองโดยการรับตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ประจวบ ไชยสาส์น) และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2548) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ. 2547) ต่อมาถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารของพรรคไทยรักไทย
หลังจากพ้นกำหนดการตัดสิทธิทางการเมืองในปี พ.ศ. 2555 เขาได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคภูมิใจไทย ที่ในขณะนั้นมีหัวหน้าพรรคคือชวรัตน์ ชาญวีรกูล ผู้เป็นบิดาที่ย้ายมาจากพรรคพลังประชาชนร่วมกับกลุ่มเพื่อนเนวิน และเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม อนุทินได้รับเลือกตั้งเป็นหัวหน้าพรรคต่อจากบิดา[12]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 1[13] แต่การเลือกตั้งเป็นโมฆะ
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[14] สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 1 และได้รับการเสนอชื่อให้เป็นบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอชื่อต่อรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งหลังการเลือกตั้ง อนุทินและพรรคภูมิใจไทยได้เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคพลังประชารัฐ และสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อเป็นสมัยที่ 2 โดยเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และดำรงตำแหน่งประธานสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขไปโดยปริยาย
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เขาได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ลำดับที่ 1 และได้รับการเสนอชื่อให้เป็นบุคคลที่พรรคการเมืองจะเสนอชื่อต่อรัฐสภาให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และหลังการเลือกตั้ง พรรคภูมิใจไทยประกาศไม่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคแกนนำหรือพรรคร่วมใด ๆ ที่มีนโยบายแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112[15][16] แต่ก็จะไม่จัดตั้งหรือสนับสนุนรัฐบาลเสียงข้างน้อยเช่นเดียวกัน[17] ต่อมาเมื่อพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล พรรคภูมิใจไทยจึงเข้าร่วมรัฐบาล จากนั้นเขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย[18] จนทำให้ปลายปีผู้สื่อข่าวสายทำเนียบตั้งฉายาให้ว่ารัฐบาล "แกงส้มผักรวม" สื่อความหมายถึง การฉีก บันทึกความเข้าใจ (MOU) ล้มพรรคส้ม (ก้าวไกล) ในการเป็นรัฐบาล แล้วมารวมกับภูมิใจไทยตั้งรัฐบาลแทน[19]
การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้สัมภาษณ์เชิงตำหนิบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อจากการปฏิบัติหน้าที่รักษาโควิด-19[20] ซึ่งต่อมาเจ้าตัวได้ออกมาชี้แจงในวันเดียวกัน[21] อีกทั้งยังเคยมีมุมมองส่วนตัวต่อโรคดังกล่าวว่าเป็นเหมือนโรคหวัด[22] ซึ่งต่อมาการระบาดของโควิด-19 กระจายไปอย่างรวดเร็วทั่วทั้งประเทศ เขาได้ร่วมแถลงข่าวกับคณะแพทย์จนปรากฏภาพการร้องไห้ออกมา และเผยต่อสื่อว่า ขอให้เชื่อมั่นจะไม่ทำให้ผิดหวัง[23]
ต่อมาในวาระเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เขาได้กล่าวว่า "ผมเป็นคนทำงานวันนี้ สั่งงานวันนี้ ต้องเสร็จเมื่อวาน เพราะงั้นก็ขอให้ทุกคนได้มีความมั่นใจ" [24] จึงทำให้วลีดังกล่าวเป็นกระแสในสื่อสังคมออนไลน์ วันต่อมาในการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล ลาดพร้าว เขามอบหมายให้ ชาดา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้คัดกรองบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งในส่วนท้องถิ่น[25] ทั้งนี้ ชาดาเคยถูกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จับตามองในฐานะผู้มีอิทธิพล[26] และเคยถูกเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจตามคำสั่ง คสช. ตรวจค้นบ้านของเขาในปี พ.ศ. 2560[27]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อนุทิน ชาญวีรกูล ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดตระกูลต่างๆ[28] ดังนี้
- พ.ศ. 2553 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[29]
- พ.ศ. 2551 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[30]
- พ.ศ. 2567 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[31]
- พ.ศ. 2568 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1 (ส.ช.)[32]
- พ.ศ. 2546 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[33]
- พ.ศ. 2567 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๓ (ว.ป.ร.๓)[34]
อ้างอิง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๒๖ ง หน้า ๑๒๓, ๑ เมษายน ๒๕๖๔
- ↑ “หมอหนู” อนุทิน ชาญวีรกูล ขุนศึกปราบไวรัสโคโรนา กลางสมรภูมิการเมืองและข่าวปลอม
- ↑ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Mini MBA)
- ↑ "ชีวิตที่ต้องพิสูจน์ตัวเอง 'เป๊ก เศรณี ชาญวีรกูล' หนุ่มหล่อทายาทนักการเมือง". มติชนออนไลน์. 2018-09-13.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "คู่รักคู่ร้าง ขาเตียงแยกแอบแซบเวอร์ ปิดฉากรักฉบับไฮโซ". mgronline.com. 2013-12-30.
- ↑ "อนุทินรักจริงแต่งใหม่". www.thairath.co.th. 2013-09-20.
- ↑ "ส่องทรัพย์สิน'เสี่ยหนู-อนุทิน'จ่ายค่าหย่า'ภรรยา'50 ล.-พอร์ตหุ้นซิโน-ไทยฯ 1.7 พันล". สำนักข่าวอิศรา. 2019-08-22.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ อนุทินอัพเดตทรัพย์สินภรรยาคนที่ 3 “วธนนนท์” ค้างค่าหย่าภรรยาคนที่ 2
- ↑ "เปิดวาร์ป 'จ๋า สุภานัน' รักครั้งใหม่ของ 'อนุทิน' หลังซุ่มปลูกต้นรักนาน2ปี". เดลินิวส์.
- ↑ อนุทินมีความชื่นชอบส่วนตัวคือ สะสมพระเครื่อง[ลิงก์เสีย]
- ↑ โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน เป็นกรณีพิเศษแก่ “อนุทิน-เกรียง-ชาดา”
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๑๔๘ ง หน้า ๖๔, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๐ ก หน้า ๓๑, ๑๗ มกราคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๖๒ ก หน้า ๑๓, ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒
- ↑ "ภูมิใจไทย แถลงไม่ยกมือให้พรรคแก้ ม.112 ลั่นไม่แคร์โซเชียลกดดัน". สนุก.คอม. 2023-05-17. สืบค้นเมื่อ 2023-07-21.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""อนุทิน" ประกาศชัดไม่ร่วมรัฐบาลที่มีก้าวไกล เหตุผลักดันแก้ 112 แบบแข็งกร้าว". ไทยรัฐ. 2023-07-21. สืบค้นเมื่อ 2023-07-21.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""อนุทิน"ยัน ภท.ไม่คิดตั้งรัฐบาลแข่ง ย้ำจุดยืนไม่หนุนรัฐบาลเสียงข้างน้อย-ไม่ร่วมวงพรรคแตะ ม.112". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-07-20. สืบค้นเมื่อ 2023-07-21.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 140 (พิเศษ 214 ง): 1–3. 2023-09-02. สืบค้นเมื่อ 2023-09-02.
- ↑ S, Nateetorn (2023-12-26). "'อนุทิน' ร้องอุ๊ยดีใจ ปีนี้นักข่าวไม่ได้ตั้งฉายาให้ ยอมรับแปลกใจ". Thaiger ข่าวไทย.
- ↑ "ด่วน!ชัดเจน "อนุทิน" พูดถึงบุคลากรการแพทย์ ป่วยโควิด-19". คมชัดลึกออนไลน์. 2020-03-26.
- ↑ ""อนุทิน"อัดคลิปขอโทษ "หมอ-พยาบาล" ยันไม่มีเจตนาตำหนิ". posttoday.com. 2020-03-26.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""อนุทิน" เผยส่วนตัวมองไวรัสโคโรนา เป็นโรคหวัดโรคนึง มั่นใจไทยคุมอยู่ ขอปชช.ฟังข้อมูลรัฐ". workpointTODAY. 26 Jan 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""อนุทิน" หลั่งน้ำตา ขอคนเชื่อมั่น-จะไม่ทำให้ผิดหวัง". Thai PBS. 2020-03-21.
- ↑ ""สั่งงานวันนี้ เอาเมื่อวาน" วลีกระแทกใจวัยทำงาน มีที่มาจากไหน ทำไมจึงเป็นไวรัล". www.thairath.co.th. 2023-09-07.
- ↑ "เกลือจิ้มเกลือ 'อนุทิน' ยื่นดาบให้ 'ชาดา ไทยเศรษฐ์' ลุยปราบมาเฟีย". คมชัดลึกออนไลน์. 2023-09-08.
- ↑ Ltd.Thailand, VOICE TV (2023-03-11). "Voice Politics : "ผมคือผู้มีอิทธิพล" - 'ชาดา ไทยเศรษฐ์' หมดสมัยปลายกระบอกปืน". VoiceTV.
- ↑ https://www.pptvhd36.com (2017-03-24). "ค้นบ้าน "ชาดา ไทยเศรษฐ์ - ส.จ.เปี๊ยก" ทลายคลังอาวุธ จ.อุทัยธานี". pptvhd36.com.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|last=
- ↑ "นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข". รัฐบาลไทย. สืบค้นเมื่อ 21 Mar 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๘, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๓, ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๔๒ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒, ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๕, ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๗
ก่อนหน้า | อนุทิน ชาญวีรกูล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ประวิตร วงษ์สุวรรณ วิษณุ เครืองาม (ครม. 61 และ 62) สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (ครม. 61) จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ดอน ปรมัตถ์วินัย สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ (ครม. 62) |
![]() |
![]() รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 62 และ 63) (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (ครม. 62) และ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (ครม. 63) – ปัจจุบัน) |
![]() |
อยู่ในวาระ |
อนุพงษ์ เผ่าจินดา | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (ครม. 63) (1 กันยายน พ.ศ. 2566 – ปัจจุบัน) |
![]() |
อยู่ในวาระ |
ปิยะสกล สกลสัตยาทร | ![]() |
![]() รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ครม. 62) (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 - 1 กันยายน พ.ศ. 2566) |
![]() |
ชลน่าน ศรีแก้ว |
สุชัย เจริญรัตนกุล | ![]() |
![]() รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ครม. 55) (11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549) |
![]() |
มรกต กรเกษม วัลลภ ไทยเหนือ |
พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล | ![]() |
![]() รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ครม. 54) (6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548) |
![]() |
สุริยา ลาภวิสุทธิสิน |
สิริกร มณีรินทร์ | ![]() |
![]() รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ครม. 54) (30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547) |
![]() |
สุชัย เจริญรัตนกุล |
ชวรัตน์ ชาญวีรกูล | ![]() |
![]() หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (14 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – ปัจจุบัน) |
![]() |
อยู่ในตำแหน่ง |
- สมาชิกเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2509
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- วิศวกรชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลจากสถาบันพระบรมราชชนก
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.3 (ร.10)
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์