ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยยันต์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์
(พุ่ม ศรีไชยยันต์)
สมุหพระกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2431 – พ.ศ. 2437
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
ถัดไปสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ
ดำรงตำแหน่ง
? – ? ​
ก่อนหน้าเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร)
ถัดไปพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดพ.ศ. 2363
เสียชีวิต9 กันยายน พ.ศ. 2444 (81 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสท่านผู้หญิงสุ่น รัตนาธิเบศร์ (เสียชีวิต)[1]
บุพการี
  • หลวงจีนประชา (ทองอยู่ ศรีไชยยันต์) ​ (บิดา)

เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ นามเดิม พุ่ม เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงตำแหน่งสูงสุดของขุนนาง (ข้าราชการ) ไทยในสมัยนั้น คือตำแหน่งสมุหพระกลาโหม เมื่อ พ.ศ. 2438 นอกจากจะเป็นข้าราชการที่กล้าหาญ ซื่อตรงจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมืองและพระมหากษัตริย์แล้ว ท่านยังเป็นบุคคลที่ใจบุญใฝ่ในธรรมะ มีเมตตากรุณา เมื่อครั้งที่ท่านมาทอดกฐินวัดบางขวาง อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ท่านทราบว่าพระครูศีลาภิรมต้องการเงินสร้างโรงเรียน ท่านจึงบริจาคเงินจำนวน 100 ชั่งสร้างอาคารหลังแรกขึ้นได้รับการขนานนามว่า โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ เป็นโรงเรียนแห่งแรกของจังหวัดนนทบุรี จึงถือได้ว่าท่านเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์นอกจากจะเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ของประเทศแล้วท่านยังเป็นผู้ให้กำเนิดสถาบันการศึกษาแห่งแรก ของจังหวัดนนทบุรีด้วย

เป็นบุตรคนที่ 4 ของหลวงจีนประชา (ทองอยู่) ยกบัตรเมืองนครไชยศรี เกิดเมื่อ พ.ศ. 2363 ปีมะโรง บิดามารดามีบ้านเป็นแพลอยอยู่หน้าวัดทองธรรมชาติ-ฝั่งธนบุรี เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน

ตำแหน่ง

[แก้]

ตำแหน่งทางราชการของเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยยันต์)

สมัยรัชกาลที่ ๔

[แก้]
  • ขุนสมุทรโคจร กรมมหาดเล็ก

สมัยรัชกาลที่ ๕

[แก้]
  • พระนรินทรราชเสนี ปลัดบัญชี กรมพระกลาโหม
  • พระยาเทพประชุน ปลัดทูลฉลอง กรมพระกลาโหม
  • พ.ศ. 2429 เจ้าพระยาพลเทพ ตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงเกษตราธิการ[2]
  • เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ ตำแหน่งสมุหพระกลาโหม (พ.ศ. 2438)

เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์เป็นข้าราชการตัวอย่างที่มีความดีพร้อม เป็นผู้ที่เสียสละเห็นแก่ความสงบความเจริญของบ้านเมือง จึงเป็นที่รักใคร่โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เห็นได้จากการดำรงตำแหน่งสูงสุดทางราชการได้ยาวนานตลอดจนสิ้นอายุขัย

ท่านถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชราเมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2444 รวมอายุได้ 81 ปี ต่อมาเวลา 21.00 น. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินจาก พระราชวังดุสิต ไปยังบ้านของเจ้าพระยารัตนาธิเบศร์เพื่อพระราชทานน้ำอาบศพ[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. "สาส์นสมเด็จ (2 มิถุนายน พ.ศ. 2478 ดร)". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ข่าวราชการ (หน้า ๒๓๕)
  3. ข่าวอสัญกรรม
  4. เจ้าพระยาพลเทพกราบถวายบังคมลาและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  5. เครื่องยศและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทาน