พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 เมษายน พ.ศ. 2486 อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย |
คู่สมรส | พรรณประภา อินทรวิทยนันท์ |
พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ (เกิด 16 เมษายน พ.ศ. 2486) อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ประวัติ
[แก้]พิทักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2486 ที่ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรของนายนิกร กับนางเสมอ อินทรวิทยนันท์ มีพี่น้อง 8 คน ด้านครอบครัวสมรสกับนางพรรณประภา อินทรวิทยนันท์
สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน ระดับอนุปริญญา ด้านการบัญชี จากวิทยาลัยกรุงเทพ (รุ่น 1) [1] ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยอิสเทิร์น รัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงาน
[แก้]นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ เริ่มทำงานโดยเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดและฝ่ายขาย ของบริษัท Hayashi International, Inc. เมืองซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา กระทั่งปี พ.ศ. 2516 จึงกลับมาเป็นผู้จัดการฝ่ายนโยบายและวางแผน บริษัท โอสถสภา (เต็กเฮงหยู) จำกัด และก่อตั้งบริษัท อินเตอร์มาร์ท จำกัด ประกอบธุรกิจด้านการส่งออกหัตถกรรมไทยไปต่างประเทศ
ด้านการเมือง เคยเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ) และเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2532 ต่อมาได้เข้าร่วมงานกับพรรคชาติพัฒนา โดยได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2539[2] เป็นรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ในปี พ.ศ. 2540 และเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[3] ในปี พ.ศ. 2541 ต่อมาได้ถูกปรับออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี จึงย้ายออกจากพรรคชาติพัฒนา ไปเป็นที่ปรึกษากลุ่มวังน้ำเย็นของนายเสนาะ เทียนทอง และเป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2543
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ ได้ลงสมัคร ส.ส. ในแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 8 ของพรรคไทยรักไทย[4] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[5] และได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "คุณพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ บัญชีบัณฑิต รุ่นที่ 1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-12. สืบค้นเมื่อ 2010-08-03.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 100ง วันที่ 24 ตุลาคม 2540
- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2010-08-03.
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2486
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- พรรคชาติไทย
- พรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- บุคคลจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร
- บุคคลจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- บุคคลจากอำเภอธัญบุรี
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.