ณรงค์ วงศ์วรรณ
ณรงค์ วงศ์วรรณ | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 7 เมษายน พ.ศ. 2535 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | สุจินดา คราประยูร |
ก่อนหน้า | เสนาะ อูนากูล เภา สารสิน มีชัย ฤชุพันธุ์ |
ถัดไป | เภา สารสิน เกษม สุวรรณกุล หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 5 สิงหาคม พ.ศ. 2529 | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
ก่อนหน้า | ชวน หลีกภัย |
ถัดไป | หาญ ลีลานนท์ |
ดำรงตำแหน่ง 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ก่อนหน้า | ชวน หลีกภัย |
ถัดไป | อาณัติ อาภาภิรม |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ เชาว์วัศ สุดลาภา | |
นายกรัฐมนตรี | เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ |
ก่อนหน้า | ดำริ น้อยมณี ประเทือง กีรติบุตร ชุมพล โลหะชาละ |
ถัดไป | เกษม ศิริสัมพันธ์ บัญญัติ บรรทัดฐาน |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 มีนาคม พ.ศ. 2524 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 | |
นายกรัฐมนตรี | เปรม ติณสูลานนท์ |
หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 3 มกราคม พ.ศ. 2535 – 3 กรกฏาคม พ.ศ. 2535 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตําแหน่ง |
ถัดไป | อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ (หัวหน้าพรรคเทิดไท) |
หัวหน้าพรรคเอกภาพ | |
ดำรงตำแหน่ง 5 มิถุนายน พ.ศ. 2529 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2534 | |
ก่อนหน้า | ทวี ไกรคุปต์(หัวหน้าพรรคประชาไทย) |
ถัดไป | บุญชู โรจนเสถียร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2468 อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 10 กันยายน พ.ศ. 2563 (94 ปี) อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ |
พรรคการเมือง | รวมไทย (2522–2526) เอกภาพ (2529–2534) สามัคคีธรรม (2534–2535) ชาติไทย (2526–2529, 2535–2538) |
คู่สมรส | นงลักษณ์ วงศ์วรรณ, อุไร วงศ์วรรณ |
ณรงค์ วงศ์วรรณ (25 ธันวาคม พ.ศ. 2468 – 10 กันยายน พ.ศ. 2563) เป็นนักการเมืองไทยและนักอุตสาหกรรมยาสูบ เขาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ มาอย่างยาวนาน หัวหน้า พรรคเอกภาพ และ พรรคสามัคคีธรรม เขาเป็นที่รู้จักในนาม "เจ้าพ่อ" เมืองแพร่[1][2] หรือแม้แต่ "เจ้าพ่อแห่งภาคเหนือ"[3][4]
ประวัติ
[แก้]ณรงค์ วงศ์วรรณ หรือที่นิยมเรียกว่า ''พ่อเลี้ยงณรงค์'' เป็นบุตรชายคนโตของนายแสน หรือพ่อเจ้าแสน วงศ์วรรณ (เปลี่ยนนามสกุลจาก:ผาทอง) (สืบเชื้อสายมาจากแสนเสมอใจ กับแม่เจ้าพิมพาพระญาติเจ้าหลวงเทพวงศ์เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์แสนซ้าย ) ผู้ก่อตั้งบริษัทเทพวงศ์ และนางอุ๊ วงศ์วรรณ มีน้องต่างมารดาอีก 2 คน ได้แก่นายสังวาลย์ หรือพ่อเลี้ยงสังวาลย์ วงศ์วรรณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน และนางถนอมศรี วงศ์วรรณ พ่อเลี้ยงณรงค์ สมรสครั้งแรกกับนางนงลักษณ์ วงศ์วรรณ มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ
- เนาวรัตน์ วงศ์วรรณ
- นิลุบล วงศ์วรรณ
- นริศ วงศ์วรรณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนจังหวัด อ.ปง จ.พะเยา หรือ พ่อเลี้ยงเบิ้ม
และสมรสครั้งที่ 2 กับนางอุไร หรือแม่เลี้ยงอุไร วงศ์วรรณ มีบุตร-ธิดา 5 คน คือ
- อนุสรณ์ วงศ์วรรณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำพูน อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง
- อนุวัธ วงศ์วรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่
- อัศวิน วงศ์วรรณ
- อัศนีพร ลิมตระการ (วงศ์วรรณ)
- ณัฐนันท์ วงศ์วรรณ
การศึกษา
[แก้]นายณรงค์ วงศ์วรรณ จบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์-เกษตร จากสหรัฐ และได้รับพระราชทานปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีการศึกษา 2522-2523[5]
ประสบการณ์การเมือง
[แก้]ณรงค์ วงศ์วรรณ เคยได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (รัฐบาลเกรียงศักดิ์)[6] เมื่อปี พ.ศ. 2523 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รัฐบาลเปรม)[7] ในปี พ.ศ. 2524
ณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 สมัย (รัฐบาลเปรม[8], รัฐบาลชาติชาย[9]) ในปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2533
การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
[แก้]การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ภายใต้รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2534 หลังการเลือกตั้ง ปรากฏว่าพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งมีนายณรงค์ วงศ์วรรณ เป็นหัวหน้าพรรค และนาวาอากาศตรีฐิติ นาครทรรพ เป็นเลขาธิการพรรค ได้ ส.ส.มากที่สุด คือ 79 ที่นั่ง ส่วนพรรคชาติไทยได้เป็นอันดับที่ 2 คือ 74 ที่นั่ง
พรรคการเมือง 5 พรรค คือ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทยและพรรคราษฎร จำนวน 195 เสียง ได้รวมตัวกันเสนอชื่อนายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี[10][11] แต่ปรากฏข่าวว่าสหรัฐอเมริกาเคยปฏิเสธที่จะออกวีซ่า ให้กับนายณรงค์ เนื่องจากสงสัยมีการพัวพันกับขบวนการค้ายาเสพติด[12] ซึ่งกรณีดังกล่าว นายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้ปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง และว่าข่าวนี้เป็นการจงใจสร้างเรื่องขึ้นเพื่อกีดกันไม่ให้ตนขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี[13] พรรคการเมืองทั้ง 5 พรรค จึงสนับสนุนให้พลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี จนเป็นสาเหตุทำให้ประชาชนเรียกร้องนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง และเป็นชนวนเหตุพฤษภาทมิฬ ในเวลาต่อมา
ณรงค์ วงศ์วรรณ ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร[14] และเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล บรรหาร ศิลปอาชา[15] ในปี พ.ศ. 2538
หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ไม่ปรากฏบทบาทในทางการเมืองอีกแต่อย่างใด จนกระทั่งเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2563
พรรคการเมือง
[แก้]ณรงค์ วงศ์วรรณ มีบทบาทในการเป็นผู้นำพรรคการเมืองของประเทศไทยที่สำคัญ คือ เป็นหัวหน้าพรรครวมไทย ในปี พ.ศ. 2529 นำทีมลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 ได้ 19 ที่นั่ง และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 ได้ 34 ที่นั่ง ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2532 พรรครวมไทย ได้ยุบรวมเข้ากับพรรคการเมือง 3 พรรค คือ พรรคกิจประชาคม พรรคก้าวหน้า และ พรรคประชาชน เปลี่ยนชื่อเป็นพรรคเอกภาพ โดยนายณรงค์ ทำหน้าที่หัวหน้าพรรค จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2534 เขาและสมาชิกจำนวนหนึ่งจึงได้ลาออกไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ขึ้น คือ พรรคสามัคคีธรรม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[16]
- พ.ศ. 2526 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[17]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของณรงค์ วงศ์วรรณ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Pasuk Phongpaichit; Sungsidh Piriyarangsan (1996), Corruption & Democracy in Thailand, Silkworm Books, pp. 80–81
- ↑ Ockey, James (2004), Making Democracy: Leadership, Class, Gender, and Political Participation in Thailand, University of Hawai'i Press, pp. 40, 203
- ↑ LoGerfo, James P. (2000), "Beyond Bangkok: The Provincial Middle Class in the 1992 Protests", Money & Power in Provincial Thailand, NIAS Publishing, p. 232
- ↑ Fabre, Guilhem (2003), Criminal Prosperity: Drug Trafficking, Money Laundering and Financial Crisis after the Cold War, Routledge, p. 122
- ↑ ด้านการศึกษา นายณรงค์ วงศ์วรรณ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย มีนาคม พ.ศ. 2535[ลิงก์เสีย]
- ↑ สถาบันพระปกเกล้า. นักการเมืองถิ่นจังหวัดแพร่ กรุงเทพ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
- ↑ ขบวนการค้ายาเสพติด จากหนังสือร่วมกันสู้ โดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง หน้าที่ 3 (ISBN 974-88799-9-2)
- ↑ ชนะคดีหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ขอปรึกษาฟ้องแพ่งค่ะ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล บรรหาร ศิลปอาชา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2468
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2563
- บุคคลจากอำเภอสูงเม่น
- ผู้มีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ
- วงศ์วรญาติ
- สกุลวงศ์วรรณ
- นักการเมืองจากจังหวัดแพร่
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่
- หัวหน้าพรรคการเมืองในประเทศไทย
- ผู้ก่อตั้งพรรคการเมืองในประเทศไทย
- นักการเมืองพรรคกิจสังคม
- นักการเมืองพรรคเอกภาพ
- นักการเมืองพรรคสามัคคีธรรม
- นักการเมืองพรรคชาติไทย
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2516–2544