คำรณ ณ ลำพูน
คำรณ ณ ลำพูน | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 6 มกราคม พ.ศ. 2544 (3 ปี 1 เดือน 23 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | สมชาย เบญจรงคกุล |
ถัดไป | สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2481 อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2519–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | เจ้าสุกัญญา ณ ลำพูน (สกุลเดิม ณ น่าน) |
บุพการี | เจ้าน้อยเพ็ชร ณ ลำพูน นางจันทร์ฟอง ณ ลำพูน |
คำรณ ณ ลำพูน (เกิด 30 ธันวาคม พ.ศ. 2481) อดีตกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน
ประวัติ
[แก้]คำรณ ณ ลำพูน เกิดเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ที่ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ เป็นบุตรของเจ้าน้อยเพ็ชร และนางจันทร์ฟอง ณ ลำพูน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนศรีเวียงสาวิทยาคาร จังหวัดน่าน ระดับเตรียมอุดมศึกษาจากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปาง และ นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ร่วมรุ่นกับ ชวน หลีกภัย) เมื่อ พ.ศ. 2506[2] สมรสกับเจ้าสุกัญญา ณ น่าน (ธิดาเจ้าอินทร ณ น่าน กับเจ้าจันทรา มหายศนันท์) สืบเชื้อสายมาจากอดีตเจ้าหลวงนครน่าน และเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2550 ในระหว่างเดินทางพบปะประชาชนในพื้นที่อำเภอปัว[3]
การทำงาน
[แก้]คำรณ ณ ลำพูน ประกอบอาชีพเป็นทนายความ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 และได้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 เป็นสมัยแรก ก่อนที่จะได้รับเลือกในครั้งถัดมา คือ พ.ศ. 2522
ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2538 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[4] และ พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2544 เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข รวมระยะเวลา 3 ปี 53 วัน
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดน่าน และเป็นหนึ่งในห้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้รับเลือกตั้งในเขตภาคเหนือตอนบน ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 77 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
คำรณ ณ ลำพูน เป็นคณะกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญสนองเสรีชน (ส.ส.ช.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ "ยางรถระเบิดตกเหว-เมีย"คำรณ ณ ลำพูน"ดับ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-19. สืบค้นเมื่อ 2012-08-26.
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๑๗/๒๕๓๕ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (๑ นายคำรณ ณ ลำพูน ๒ นายอภิชาติ ตรีสวัสดิชัย ๓ นายแก้ว บัวสุวรรณ ๔ นายพรเทพ วิริยพันธ์)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ↑ พรรคประชาธิปัตย์ คณะกรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2481
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองแพร่
- สกุล ณ ลำพูน
- ผู้มีเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ
- ทนายความชาวไทย
- นักกฎหมายชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดแพร่
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดน่าน
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.