นายกรัฐมนตรีไทย
นายกรัฐมนตรี แห่งราชอาณาจักรไทย | |
---|---|
ตราประจำตำแหน่ง | |
ธงประจำตำแหน่ง | |
รัฐบาลไทย สำนักนายกรัฐมนตรี | |
การเรียกขาน | ท่านนายกรัฐมนตรี (ไม่เป็นทางการ) ฯพณฯ (ทางการ) ท่านผู้นำ (การทูตระหว่างประเทศ) |
สมาชิกของ | คณะรัฐมนตรีไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร |
จวน | บ้านพิษณุโลก |
ที่ว่าการ | ทำเนียบรัฐบาล |
ผู้เสนอชื่อ | สภาผู้แทนราษฎร |
ผู้แต่งตั้ง | พระมหากษัตริย์ไทย |
วาระ | 4 ปี (รวมกันไม่เกิน 8 ปี) |
ตราสารจัดตั้ง | พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 |
ตำแหน่งก่อนหน้า | ประธานคณะกรรมการราษฎร |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | พระยามโนปกรณ์นิติธาดา |
สถาปนา | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 |
รอง | รองนายกรัฐมนตรีไทย |
เงินตอบแทน | 125,590 บาท[1][2] |
เว็บไซต์ | thaigov.go.th |
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดบทความว่าด้วย |
การเมืองไทย |
---|
สถานีย่อยประเทศไทย |
นายกรัฐมนตรีไทย เป็นประธานคณะรัฐมนตรี และทำหน้าที่หัวหน้ารัฐบาล[3] โดยมีจุดกำเนิดมาจากการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภา นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนปัจจุบันคือ แพทองธาร ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย ได้รับการลงมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2567
โดยปกติแล้วนายกรัฐมนตรีในระบอบประชาธิปไตยจะมีที่มาจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งโดยหลักแล้วถือว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากการแต่งตั้งทางอ้อมโดยประชาชน แต่บทเฉพาะกาลมาตรา 272 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมติของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาในช่วงปี พ.ศ. 2562 – 2567
ประวัติ
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมีขึ้นภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เรียกว่า "ประธานคณะกรรมการราษฎร" ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475[4] อย่างไรก็ตาม มีการวิจารณ์อย่างหนักว่าชื่อตำแหน่งดังกล่าวเหมือนกับตำแหน่งประธานคณะกรรมการราษฎรแห่งสหภาพโซเวียต[5] ส่งผลให้ในเวลาต่อมา ก็เปลี่ยนมาเรียกว่า "นายกรัฐมนตรี" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 [6] โดยมีตราประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นตราราชสีห์คชสีห์รักษารัฐธรรมนูญ และเป็นตราประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติที่มาของนายกรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันระบุว่านายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกของสภาผู้แทนราษฎร และมีบทเฉพาะกาลให้วุฒิสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (วาระปี 2562–67) มีส่วนเลือกนายกรัฐมนตรีด้วย
การปฏิบัติหน้าที่
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ได้กำหนดวาระของนายกรัฐมนตรีว่า นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง"[7]
นายกรัฐมนตรีอาจพ้นจากตำแหน่งเพราะถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดมีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ญัตตินี้ต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปไว้ด้วย เมื่อเสนอญัตติแล้วจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้นายกรัฐมนตรีหลีกหนีการอภิปราย เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้เสียงครบ หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง และมีผลให้คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงทั้งคณะด้วย
การรักษาราชการแทน
ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 41 กำหนดให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการ ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคนให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน[8] และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 168 ได้กำหนดเพิ่มเติมว่า หากคณะรัฐมนตรีไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือลาออกทั้งคณะ ให้ปลัดกระทรวงปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐมนตรีว่าการและให้ปลัดกระทรวงคัดเลือกกันเองให้คนหนึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี
สถานที่ปฏิบัติงานและบ้านพัก
นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยปฏิบัติหน้าที่ ณ ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นสถานที่ราชการสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 27 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา
สำหรับบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย คือ บ้านพิษณุโลก ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ออกแบบและสร้างโดย มาริโอ ตามานโญ สถาปนิกประจำราชสำนักสยามชาวอิตาลี มีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน
รองนายกรัฐมนตรี
รองนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ในการกำกับการบริหารราชการของกระทรวง หรือทบวงหนึ่งหรือหลายกระทรวงหรือทบวง ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย รวมทั้งเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (เรียงตามลำดับรองนายกรัฐมนตรีดังนี้)
รายชื่อนายกรัฐมนตรีไทย
อดีตนายกรัฐมนตรีไทยที่ยังมีชีวิตอยู่
ปัจจุบันมีอดีตนายกรัฐมนตรีที่ยังมีชีวิตอยู่ทั้งสิ้น 12 คน มีรายชื่อดังต่อไปนี้
-
ธานินทร์ กรัยวิเชียร
(วาระ: 2519–2520)
5 เมษายน พ.ศ. 2470 -
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
(วาระ: 2539–2540)
15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 -
อานันท์ ปันยารชุน
(วาระ: 2534–2535, มิถุนายน–กันยายน 2535)
9 สิงหาคม พ.ศ. 2475 -
พลเอก สุจินดา คราประยูร
(วาระ: เมษายน–พฤษภาคม 2535)
6 สิงหาคม พ.ศ. 2476 -
ชวน หลีกภัย
(วาระ: 2535–2538, 2540–2544)
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 -
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
(วาระ: 2549–2551)
28 สิงหาคม พ.ศ. 2486 -
สมชาย วงศ์สวัสดิ์
(วาระ: กันยายน–ธันวาคม 2551)
31 สิงหาคม พ.ศ. 2490 -
ทักษิณ ชินวัตร
(วาระ: 2544–2549)
26 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 -
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
(วาระ: 2557–2566)
21 มีนาคม พ.ศ. 2497 -
เศรษฐา ทวีสิน
(วาระ: 2566–2567)
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 -
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
(วาระ: 2551–2554)
3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 -
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
(วาระ: 2554–2557)
21 มิถุนายน พ.ศ. 2510
ส่วนราชการในบังคับบัญชา
ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
- สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
- สำนักงบประมาณ
- สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
- สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (เดิมชื่อ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ[9]
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน[10] [11]
- สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ[12]
- สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง[13]
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ[14]
เชิงอรรถ
อ้างอิง
- ↑ พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538/บัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการการเมือง, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558
- ↑ พระราชกฤษฎีกาการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2554/บัญชีอัตราตำแหน่งและเงินเดือนข้าราชการการเมือง, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558
- ↑ อภิชาติ คุณวัฒน์บัณฑิต,ประวัติสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, เอกสารวิชาการส่วนบุคคล:สถาบันพระปกเกล้า
- ↑ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558
- ↑ ไทยรัฐ. ก่อนจะได้เรียก รัฐมนตรี 23 เมษายน 2562
- ↑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558
- ↑ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เก็บถาวร 2017-04-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 18 พฤษภาคม 2562
- ↑ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534, ราชกิจจานุเบกษา, สืบค้นวันที่ 15 เมษายน 2558
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๐
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๐๐/๒๕๕๗ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมและกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
- ↑ ประกาศ คสช. ดึง 'บีโอไอ' ขึ้นตรงนายกรัฐมนตรี
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๔๖/๒๕๖๐ เรื่อง การจัดตั้งสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๒๖๑ ง พิเศษ หน้า ๑๖ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๐
- ↑ คำสั่งหัวหน้ำคณะรักษำควำมสงบแห่งชาติ ที่ ๑๙/๒๕๖๑ เรื่อง กลไกในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสำมัคคีปรองดอง
- ↑ พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๒๐) พ.ศ. ๒๕๖๔ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๘ ตอน ๑๑ ก พิเศษ หน้า ๖ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- รายนามนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย เก็บถาวร 1999-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประวัตินายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย เก็บถาวร 2009-07-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน