คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 13 กันยายน พ.ศ. 2566 |
หน่วยงานสืบทอด | |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นจากการสั่งการของเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในการประชุมคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 63 นัดแรก เพื่อขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ภายในประเทศ ตามนโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ ของพรรคเพื่อไทย โดยมีเศรษฐาในฐานะนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ, แพทองธาร ชินวัตร เป็นรองประธานกรรมการ และสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยเศรษฐาได้ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 230/2566 แต่งตั้งคณะกรรมการชุดนี้เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2566[1] และมีการประชุมนัดแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม[2] นอกจากนี้ยังมีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ในด้านต่าง ๆ นำเสนอต่อคณะกรรมการชุดใหญ่อีกด้วย โดยมีแพทองธารเป็นประธานกรรมการ
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติชุดเดิมสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เนื่องจากเศรษฐาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[3] ต่อมาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนถัดมา ได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 367/2567 แต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติชุดที่ 2 โดยแพทองธารในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้ขยับขึ้นเป็นประธานกรรมการแทน[4]
ทั้งนี้ หลังจากพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ พ.ศ. ... มีผลบังคับใช้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติจะแปรสภาพเป็น คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งชาติ และกำกับดูแลสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติจะรักษาการคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งชาติต่อไป จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งชาติแล้วเสร็จ จึงจะถือว่าคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติถูกยุบโดยสมบูรณ์[5]
วัตถุประสงค์
[แก้]คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ จัดตั้งขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดเป้าหมายการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล (1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์) บูรณาการการดำเนินงานของส่วนราชการและภาคเอกชนให้มีประสิทธิภาพและมีความสอดคล้องกับการพัฒนาศักยภาพของประเทศไทยไปสู่นานาประเทศ
อำนาจหน้าที่
[แก้]คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติมีอำนาจหน้าที่คือ
- กำหนดยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ จัดทำนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ เพื่อเสนอขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
- เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางทางด้านการเงิน การคลัง การลงทุน รวมทั้งมาตรการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับหรือเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ
- เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการจัดให้มี ปรับปรุง หรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ
- เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการดำเนินงานตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ รวมทั้งมาตรการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและประสานงานระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศในการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ทั้งในและต่างประเทศ
- รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและพิจารณามีมติเกี่ยวกับการดำเนินการของหน่วยงานเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ
รายชื่อคณะกรรมการ
[แก้]ชุดที่ 1
[แก้]คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติในชุดแรก มีกรรมการทั้งสิ้น 33 คน ได้แก่
ลำดับ | ชื่อ | ตำแหน่งสำคัญ | ตำแหน่งในคณะกรรมการ | แต่งตั้ง | พ้นจากตำแหน่ง | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เศรษฐา ทวีสิน | นายกรัฐมนตรี | ประธานกรรมการ | 13 กันยายน พ.ศ. 2566 | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | พ้นจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี | |
2 | แพทองธาร ชินวัตร | หัวหน้าพรรคเพื่อไทย | รองประธานกรรมการ | ||||
3 | พันศักดิ์ วิญญรัตน์ | อดีตประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี | ที่ปรึกษาและกรรมการ | ||||
4 | ปานปรีย์ พหิทธานุกร | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | กรรมการโดยตำแหน่ง | 28 เมษายน พ.ศ. 2567 | ลาออก | ||
มาริษ เสงี่ยมพงษ์ | 30 เมษายน พ.ศ. 2567 | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | |||||
5 | สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | 13 กันยายน พ.ศ. 2566 | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | โดยตำแหน่ง | ||
เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | |||||
6 | ศุภมาส อิศรภักดี | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | 13 กันยายน พ.ศ. 2566 | ||||
7 | ประเสริฐ จันทรรวงทอง | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | |||||
8 | ภูมิธรรม เวชยชัย | รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |||||
9 | อนุทิน ชาญวีรกูล | รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |||||
10 | พิพัฒน์ รัชกิจประการ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน | |||||
11 | เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | โดยตำแหน่ง | |||
สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | |||||
12 | พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | 13 กันยายน พ.ศ. 2566 | ||||
13 | กมลนาถ องค์วรรณดี | ผู้ประสานงานเครือข่าย Fashion Revolution ประเทศไทย | กรรมการตามสาขา | แฟชั่น | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 | ลาออก | |
อัจฉรา อัมพุช | รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | แต่งตั้งแทน | |||
14 | จรัญ หอมเทียนทอง | อดีตนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย | หนังสือ | 13 กันยายน พ.ศ. 2566 | |||
15 | หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล | ผู้อำนวยการฝ่ายคอนเทนต์ Viu บจก. พีซีซีดับเบิลยู โอทีที (ประเทศไทย) | ภาพยนตร์ ละครและซีรีส์ |
||||
16 | ชฎาทิพ จูตระกูล | ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บจก. สยามพิวรรธน์ | เทศกาล | ||||
17 | ชุมพล แจ้งไพร | ทูตอาหารเพื่อความยั่งยืน สหประชาชาติ | อาหาร | ||||
18 | ดวงฤทธิ์ บุนนาค | อดีตกรรมการสภาสถาปนิก | การออกแบบ | ||||
19 | ปรีชา สนั่นวัฒนานนท์ | อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท รี้ดเทรดเด็กซ์ จำกัด | เทศกาล | ||||
20 | ผศ. พิมล ศรีวิกรม์ | นายกสมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย | กีฬา | ||||
21 | มาริสา สุโกศล หนุนภักดี | อดีตนายกสมาคมโรงแรมไทย | การท่องเที่ยว | ||||
22 | วิเชียร ฤกษ์ไพศาล | อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการ บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ | ดนตรี | ||||
23 | สิทธิชัย เทพไพฑูรย์ | กรรมการสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย | เกม | ||||
24 | เสริมคุณ คุณาวงศ์ | อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) | ศิลปะ | ||||
25 | ศุภวุฒิ สายเชื้อ | ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ | กรรมการโดยตำแหน่ง | ||||
สมศักดิ์ เทพสุทิน | รองนายกรัฐมนตรี | 3 ตุลาคม พ.ศ. 2566 | 27 เมษายน พ.ศ. 2567 | แต่งตั้งเพิ่ม/ โดยตำแหน่ง | |||
พวงเพ็ชร ชุนละเอียด | รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | ||||||
26 | พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | แต่งตั้งเพิ่ม | |||
27 | ปกรณ์ นิลประพันธ์ | เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา | 9 มกราคม พ.ศ. 2567 | ||||
28 | เฉลิมพล เพ็ญสูตร | ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ | |||||
29 | สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี | อดีตรองนายกรัฐมนตรี | กรรมการและเลขานุการ | 13 กันยายน พ.ศ. 2566 | |||
30 | ดนุชา พิชยนันท์ | เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ | กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ | ||||
31 | ภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ | อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ | |||||
32 | ชาคริต พิชญางกูร | ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ | |||||
33 | ชุติมา หาญเผชิญ | ผู้อำนวยการสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง | 9 มกราคม พ.ศ. 2567 | แต่งตั้งเพิ่ม |
ชุดที่ 2
[แก้]คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติในชุดที่ 2 มีกรรมการทั้งสิ้น 40 คนดังนี้
การดำเนินงาน
[แก้]คณะกรรมการชุดที่ 1
[แก้]เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2567 มีการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2567 ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบเรื่องสำคัญทั้งหมด 5 เรื่องได้แก่
- เห็นชอบข้อเสนอของอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์เป้าหมายทั้ง 11 สาขา ได้แก่ สาขาเฟสติวัล, สาขาท่องเที่ยว, สาขาอาหาร, สาขาศิลปะ, สาขาออกแบบ, สาขากีฬา, สาขาดนตรี, สาขาหนังสือ, สาขาภาพยนตร์ ละครและซีรีส์, สาขาแฟชั่น และสาขาเกม
- เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณในการสนับสนุนผู้ประกอบการเข้าร่วมเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศ จำนวน 3 เทศกาล ในวงเงิน 3 พันล้านบาท
- เห็นชอบหลักการจัดเทศกาลสงกรานต์ในประเทศไทย ในชื่อ "Maha Songkran World Water Festival"
- เห็นชอบพิจารณาให้สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ ถือเป็นหน่วยงานฝ่ายธุรการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติไปโดยปริยาย โดยมีหน้าที่ดำเนินการ บูรณาการ และขับเคลื่อนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแผนการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ การจัดสรรงบประมาณ การดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมีประสิทธิผล ลดความซ้ำซ้อน ติดตามและเร่งรัดการดำเนินการทบทวน ปรับปรุง แก้ไข ยกเลิก และจัดทำกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ 11 อุตสาหกรรม ของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และประสานงานและสร้างความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมในการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ ประสาน และบูรณาการการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ 11 อุตสาหกรรม ตลอดจนการเผยแพร่ความคืบหน้าและผลการดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ
- เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติม ดังนี้
- ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ แต่งตั้งให้
- ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นกรรมการ
- ผู้อำนวยการสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
- ในคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ แต่งตั้งให้
- ปลัดกระทรวงมหาดไทย และผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เป็นกรรมการ
- ผู้อำนวยการสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม[6]
- ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ แต่งตั้งให้
เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567 มีการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2567 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายว่าในแต่ละสาขาควรเตรียมความพร้อม สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและคน ในช่วงของต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ เพื่อให้ครอบคลุมถึงประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ที่เริ่มต้นต้องการฝึกฝนหรือเรียนรู้เพื่อสร้างอาชีพต่อไปในอนาคต โดยได้มอบนโยบายในการทำงานจำนวน 3 ข้อ รวมถึงที่ประชุมยังรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติเพิ่มเติม และรับทราบผลการประชุมของคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบในหลักการและกรอบวงเงินงบประมาณการจัดประชุมนานาชาติด้านซอฟต์พาวเวอร์ตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ รวมทั้งเห็นชอบหลักการข้อเสนอและกรอบวงเงินงบประมาณในโครงการของอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์เป้าหมายทั้ง 11 สาขา ประจำปี พ.ศ. 2567 โดยมอบหมายให้สำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลางฯ ต่อไป[7]
คณะกรรมการชุดที่ 2
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (ตุลาคม 2024) |
คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ
[แก้]ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2566 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 268/2566 เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2566 แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง ชื่อว่า คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่ผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ในด้านต่าง ๆ ให้มีความคืบหน้าแล้วนำเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติให้พิจารณา
ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้มีแพทองธาร ชินวัตร เป็นประธาน, สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นรองประธาน และพันศักดิ์ วิญญรัตน์ เป็นที่ปรึกษาและกรรมการ พร้อมด้วยกรรมการอีก 46 คน รวมเป็น 49 คน เช่น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม, ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม, อธิบดีกรมการปกครอง, อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน, ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย, ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้าน เป็นต้น โดยมีการประชุมนัดแรกเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 14:00 น. ที่ ห้องประชุมวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ[8] และจะประชุมเป็นประจำทุกเดือน ๆ ละ 1 ครั้ง
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติชุดเดิมสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 เนื่องจากเศรษฐาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[3] ต่อมาเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนถัดมา ได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 368/2567 แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติชุดที่ 2 โดยมีนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เป็นประธานกรรมการ[4]
รายชื่อคณะกรรมการ
[แก้]ชุดที่ 1
[แก้]คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติในชุดแรก มีกรรมการทั้งสิ้น 52 คน ได้แก่
ลำดับ | ชื่อ | ตำแหน่งสำคัญ | ตำแหน่งในคณะกรรมการ | แต่งตั้ง | พ้นจากตำแหน่ง | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | แพทองธาร ชินวัตร | หัวหน้าพรรคเพื่อไทย | ประธานกรรมการ | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2566 | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | |
2 | สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี | อดีตรองนายกรัฐมนตรี | รองประธานกรรมการ | |||
3 | พันศักดิ์ วิญญรัตน์ | อดีตประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี | ที่ปรึกษาและกรรมการ | |||
4 | ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร | ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม | กรรมการ | |||
5 | ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร | ||||
6 | ปกรณ์ นิลประพันธ์ | เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา | ||||
7 | ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา | เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | ||||
8 | ยศพล เวณุโกเศศ | เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา | ||||
9 | สัมพันธ์ ฤทธิเดช | เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา | ||||
10 | ไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล | รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ | ||||
11 | อ้อนฟ้า เวชชาชีวะ | เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ | ||||
12 | ดนุชา พิชยนันท์ | เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ | ||||
13 | อรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ | อธิบดีกรมการปกครอง | ||||
14 | สยาม ศิริมงคล | อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน | ||||
15 | วุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ | อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา | ||||
16 | สุดฤทัย เลิศเกษม | อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ | ||||
17 | บุปผา เรืองสุด | อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน | ||||
18 | ธีรัชย์ อัตนวานิช | อธิบดีกรมศุลกากร | ||||
19 | กุลยา ตันติเตมิท | อธิบดีกรมสรรพากร | ||||
20 | กาญจนา ภัทรโชค | อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ | ||||
21 | ดร.ก้องศักด ยอดมณี | ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย | ||||
22 | ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ | ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย | ||||
23 | เบญจพล นาคประเสริฐ | ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ | ||||
24 | ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง | ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) | ||||
25 | ประสพ เรียงเงิน | ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย | ||||
26 | จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา | ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) | ||||
27 | ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ | ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล | ||||
28 | จุลลดา มีจุล | ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) | ||||
29 | ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ | ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ | ||||
30 | ดร.ศุภวรรณ ตีระรัตน์ | ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร | ||||
31 | กมลนาถ องค์วรรณดี | ผู้ประสานงานเครือข่าย Fashion Revolution ประเทศไทย | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 | ลาออก | ||
อัจฉรา อัมพุช | รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2567 | แต่งตั้งแทน | ||
32 | จรัญ หอมเทียนทอง | อดีตนายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2566 | |||
33 | หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล | ผู้อำนวยการฝ่ายคอนเทนต์ Viu บจก. พีซีซีดับเบิลยู โอทีที (ประเทศไทย) | ||||
34 | ชฎาทิพ จูตระกูล | ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บจก. สยามพิวรรธน์ | ||||
35 | ชุมพล แจ้งไพร | ทูตอาหารเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ | ||||
36 | ดวงฤทธิ์ บุนนาค | อดีตกรรมการสภาสถาปนิก | ||||
37 | ปรีชา สนั่นวัฒนานนท์ | อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท รี้ดเทรดเด็กซ์ จำกัด | ||||
38 | ผศ. พิมล ศรีวิกรม์ | นายกสมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย | ||||
39 | มาริสา สุโกศล หนุนภักดี | อดีตนายกสมาคมโรงแรมไทย | ||||
40 | วิเชียร ฤกษ์ไพศาล | อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการ บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ | ||||
41 | ศุภวุฒิ สายเชื้อ | ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ | ||||
42 | สิทธิชัย เทพไพฑูรย์ | กรรมการสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย | ||||
43 | เสริมคุณ คุณาวงศ์ | อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) | ||||
44 | สุทธิพงษ์ จุลเจริญ | ปลัดกระทรวงมหาดไทย | 9 มกราคม พ.ศ. 2567 | แต่งตั้งเพิ่ม | ||
45 | ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ | ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) | ||||
46 | เชิดชาย ใช้ไววิทย์ | อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ | กรรมการและเลขานุการร่วม | 6 ตุลาคม พ.ศ. 2566 | ||
47 | ภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ | อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ | ||||
48 | ประสพ เรียงเงิน | อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม | ||||
49 | ภาสกร ชัยรัตน์ | อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม | ||||
50 | ชาคริต พิชญางกูร | ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ | ||||
51 | ไม่ทราบ | ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ | ||||
52 | ชุติมา หาญเผชิญ | ผู้อำนวยการสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง | 9 มกราคม พ.ศ. 2567 | แต่งตั้งเพิ่ม |
ชุดที่ 2
[แก้]คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ชุดที่ 2 มีกรรมการทั้งสิ้น 63 คนดังนี้
ลำดับที่ | ชื่อ | ตำแหน่งสำคัญ | ตำแหน่งในคณะกรรมการ | แต่งตั้ง | พ้นจากตำแหน่ง | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี | รองประธานคณะที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี | ประธานกรรมการ | 16 ตุลาคม 2567 | |||
2 | พันศักดิ์ วิญญรัตน์ | ประธานคณะที่ปรึกษานโยบายของนายกรัฐมนตรี | ที่ปรึกษาและกรรมการ | ||||
3 | นัทรียา เจริญวงศ์ | ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | กรรมการโดยตำแหน่ง | ||||
4 | ศุภชัย ปทุมนากุล | ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | |||||
5 | อรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ | ปลัดกระทรวงมหาดไทย | |||||
6 | โชติกา อัครกิจโสภากุล | รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงวัฒนธรรม | |||||
7 | ปกรณ์ นิลประพันธ์ | เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา | |||||
8 | อ้อนฟ้า เวชชาชีวะ | เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ | |||||
9 | นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ | เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน | |||||
10 | ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา | เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | |||||
11 | ยศพล เวณุโกเศศ | เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา | |||||
12 | ดนุชา พิชยนันท์ | เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ | |||||
13 | อนันต์ แก้วกำเนิด | รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ | |||||
14 | สยาม ศิริมงคล | อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน | |||||
15 | นายแพทย์สมฤกษ์ จึงสมาน | อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก | |||||
16 | อาวุธ วงศ์สวัสดิ์ | รักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา | |||||
17 | สุดฤทัย เลิศเกษม | อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ | |||||
18 | เดชา พฤกษ์รัตนรักษ์ | อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน | |||||
19 | ธีรัชย์ อัตนวานิช | อธิบดีกรมศุลกากร | |||||
20 | ปิ่นสาย สุรัสวดี | อธิบดีกรมสรรพากร | |||||
21 | นิกรเดช พลางกูร | อธิบดีกรมสารนิเทศ | |||||
22 | นายแพทย์สุรโชค ต่างวิวัฒน์ | เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา | |||||
23 | โกวิท ผกามาศ | ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย | |||||
24 | ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ | ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร | |||||
25 | ไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล | รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ | |||||
26 | ดร.ก้องศักด ยอดมณี | ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย | |||||
27 | ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ | ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย | |||||
28 | เบญจพล นาคประเสริฐ | ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ | |||||
29 | ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง | ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) | |||||
30 | ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร | ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ | |||||
31 | ชรินทร์ ธีรฐิตยางกูร | ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) | |||||
32 | จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา | ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ | |||||
33 | ผศ. ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ | ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล | |||||
34 | จุลลดา มีจุล | ผู้อำนวยการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ | |||||
35 | สุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย | ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ | |||||
36 | ดร. ชาญชัย สิริเกษมเลิศ | ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ | |||||
37 | พรรณวิลาส แพพ่วง | รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย | |||||
38 | ดร.ศุภวรรณ ตีระรัตน์ | ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร | |||||
39 | สนั่น อังอุบลกุล | ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย | |||||
40 | เกรียงไกร เธียรนุกุล | ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย | |||||
41 | หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล | ผู้อำนวยการฝ่ายคอนเทนต์ Viu บจก. พีซีซีดับเบิลยู โอทีที (ประเทศไทย) | กรรมการตามสาขา | ภาพยนตร์ละครและซีรีส์ | |||
42 | โฉมชฎา กุลดิลก | หัวหน้าสายงานกลยุทธ์องค์กร บมจ. เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น | |||||
43 | ชฎาทิพ จูตระกูล | ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม บจก. สยามพิวรรธน์ | เทศกาล | ||||
44 | ชุมพล แจ้งไพร | ทูตอาหารเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ | อาหาร | ||||
45 | ตริตราภรณ์ โพธิ์ศรี | ออกแบบ | |||||
46 | ธีรภัทร เจริญสุข | นักเขียน คอลัมนิสต์ | หนังสือ | ||||
47 | ปรีชา สนั่นวัฒนานนท์ | อดีตกรรมการผู้จัดการ บริษัท รี้ดเทรดเด็กซ์ จำกัด | เทศกาล | ||||
48 | พิเชษฐ กลั่นชื่น | ศิลปินศิลปาธร | ศิลปะ | ||||
49 | พิมล ศรีวิกรม์ | นายกสมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย | กีฬา | ||||
50 | มาริสา สุโกศล หนุนภักดี | อดีตนายกสมาคมโรงแรมไทย | ท่องเที่ยว | ||||
51 | วิเชียร ฤกษ์ไพศาล | อดีตกรรมการผู้อำนวยการ บมจ.จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ | ดนตรี | ||||
52 | ศุภวุฒิ สายเชื้อ | ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ | |||||
53 | สิทธิชัย เทพไพฑูรย์ | กรรมการสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย | เกม | ||||
54 | เสริมคุณ คุณาวงศ์ | อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) | ศิลปะ | ||||
55 | อัจฉรา อัมพุช | รองประธานกรรมการบริหารอาวุโสบริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด | แฟชั่น | ||||
56 | รุจิกร แสงจันทร์ | รักษาราชการแทนอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ | กรรมการและเลขานุการร่วม | ||||
57 | สุนันทา กังวานกุลกิจ | อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ | |||||
58 | ประสพ เรียงเงิน | อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม | |||||
59 | ภาสกร ชัยรัตน์ | อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม | |||||
60 | ชุติมา หาญเผชิญ | ผู้อำนวยการสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง | |||||
61 | ปณิตา ชินวัตร | ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม | |||||
62 | ชาคริต พิชญางกูร | ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) | |||||
63 | ไม่ทราบ | ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ |
การดำเนินงาน
[แก้]คณะกรรมการชุดที่ 1
[แก้]เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2566 มีมติเห็นชอบในหลักการที่หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ กิจกรรม และอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ของไทยจำนวน 11 ด้านได้เสนอ โดยใช้งบประมาณ 5,164 ล้านบาท ดังนี้
ด้าน | วงเงิน |
---|---|
เทศกาล | 1,009 ล้านบาท |
ท่องเที่ยว | 711 ล้านบาท |
อาหาร | 1,000 ล้านบาท |
ศิลปะ | 380 ล้านบาท |
ออกแบบ | 310 ล้านบาท |
มวยไทย | 500 ล้านบาท |
ดนตรี | 144 ล้านบาท |
หนังสือ | 69 ล้านบาท |
ภาพยนตร์ ละคร และซีรีส์ | 545 ล้านบาท |
แฟชั่น | 268 ล้านบาท |
เกมและอีสปอร์ต | 374 ล้านบาท |
โดยจะมีการทบทวนงบประมาณที่ใช้ร่วมกับสำนักงบประมาณภายในวันที่ 14 ธันวาคม ก่อนส่งให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2567[9][10]
ต่อมาเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2567 มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2567 ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาทั้งหมด 3 เรื่อง คือ การแก้ไขกระบวนการพิจารณาเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ การจัดตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ในอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์บางด้าน และการเสนอร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ พ.ศ. ... เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 และวุฒิสภาไทย ชุดที่ 13 ในช่วงเดือนสิงหาคม–กันยายน พ.ศ. 2567 เพื่อจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (THACCA)
ต่อมาเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567 กมลนาถ องค์วรรณดี ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ด้านแฟชั่นได้โพสต์หนังสือลาออกจากตำแหน่ง พร้อมกับคณะอนุกรรมการทั้งคณะอีก 24 คน โดยให้มีผลในวันที่ 1 กุมภาพันธ์[11] ทำให้เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ได้ระบุว่า จะมีการตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ด้านแฟชั่นชุดใหม่อีก 25 คนในวันที่ 9 กุมภาพันธ์[12]
ต่อมาเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2567 ซึ่งที่ประชุมมีมติแต่งตั้งให้ อัจฉรา อัมพุช รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เป็นกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ด้านแฟชั่น แทนตำแหน่งที่ว่าง และมอบหมายให้เสนอชื่อประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ด้านแฟชั่นคนใหม่ รวมถึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์ด้านแฟชั่นชุดใหม่ รวมถึงมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านศิลปะเพิ่มเติมในสัดส่วนศิลปะการแสดง จำนวน 4 คน[13]
ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567 มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 3/2567 โดยนายแพทย์สุรพงษ์ซึ่งเป็นรองประธานกรรมการ ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมแทนแพทองธารที่ติดภารกิจ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในด้านอาหาร ดนตรี และกีฬาเพิ่มเติม[14] นอกจากนี้ ยังกำหนดกรอบงบประมาณที่ใช้สนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ โดยเฉพาะด้านภาพยนตร์ ซึ่งมุ่งเน้นสร้างผู้ผลิตหน้าใหม่ สำหรับอนาคตอันใกล้ในภาคอุตสาหกรรมภาพยนตร์ จะได้รับงบประมาณจากรัฐบาลสนับสนุนตัวโครงสร้างของภาพยนตร์ จึงขอให้ผู้ผลิตทั้งรายใหม่และรายเก่าที่อยู่ในภาคเอกชน เตรียมนำเสนอโครงการภาพยนตร์ ทั้งในแบบ Pre-Pro-Post หรือ ในแบบ Post Production ซึ่งทางรัฐบาลจะมีกรอบงบประมาณเตรียมไว้ให้ หากผ่านการพิจารณาก็จะได้รับงบฯส่วนนี้ในการพัฒนาภาพยนตร์ รวมถึงยังมีการรายงานความคืบหน้าการจัดงาน Maha Songkran World Water Festival นอกจากนี้ยังมีการตั้งคณะอนุกรรมการซอฟต์พาวเวอร์ประจำจังหวัดเป็นครั้งแรก โดยเริ่มต้นจากจังหวัดนครราชสีมาซึ่งมีความพร้อมก่อน[15]
ต่อมาเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2567 มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 4/2567 ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแต่งตั้งอนุกรรมการเพิ่มเติม ได้แก่ด้านหนังสือ 5 คน และด้านออกแบบ 2 คน[16]
ต่อมาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 5/2567 ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านแฟชั่นชุดใหม่ จำนวน 17 คน พร้อมคณะที่ปรึกษา จำนวน 3 คน รวม 20 คน นอกจากนี้ยังพิจารณาแต่งตั้งอนุกรรมการเพิ่มเติม ได้แก่ด้านหนังสือ 2 คน ด้านดนตรี 2 คน และด้านเกม 1 คน[17] นอกจากนี้ยังรับทราบความคืบหน้าหลักสูตร 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ ของอุตสาหกรรมแฟชั่น ภาพยนตร์ ละคร และซีรีส์ และรับทราบการจัดงานทักก้า สแปลช การประชุมนานาชาติด้านซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power Forum) ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 28–30 มิถุนายน 2567 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์[18]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (ตุลาคม 2024) |
คณะกรรมการชุดที่ 2
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (ตุลาคม 2024) |
คณะอนุกรรมการ
[แก้]บุคคลที่มีชื่อเสียงในคณะอนุกรรมการ
[แก้]ชื่อ | ตำแหน่ง/บทบาท | คณะอนุกรรมการด้าน | วันที่แต่งตั้ง | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|
ชานน สันตินธรกุล | พระเอกละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ชื่อดัง | ภาพยนตร์ | 9 มกราคม พ.ศ. 2567 | [19] |
พรพรรณ เตชรุ่งชัยกุล | ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส มิวสิค จำกัด | ดนตรี | ||
ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล | ผู้กำกับภาพยนตร์และซีรีส์ชื่อดัง | ละครและซีรีส์ | ||
วรฤทธิ์ นิลกลม | อดีตพิธีกรและผู้กำกับซีรีส์วาย | |||
นงลักษณ์ งามโรจน์ | ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส มัลติมีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด (ช่อง 8) | |||
ถกลเกียรติ วีรวรรณ | ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) | ศิลปะการแสดง | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 | [20] |
พิเชษฐ กลั่นชื่น | ศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดง | |||
เพียงดาว จริยะพันธุ์ | ผู้จัดการฝ่ายสื่อสาร Bangkok International Performing Arts Meeting (BIPAM) | |||
อลิสา พันธุศักดิ์ คุนผลิน | กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทิฟฟานี่โชว์พัทยา จำกัด |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เปิด 29 ชื่อ กก.ซอฟต์เพาเวอร์แห่งชาติ ‘เชฟ-ผกก.ดัง-ดวงฤทธิ์’ ร่วมด้วย
- ↑ “เศรษฐา” สวมผ้าไทยประชุม Soft Power “อิ๊งค์” ตื่นเต้น เข้าทำเนียบในรอบ 17 ปี
- ↑ 3.0 3.1 "นายกฯ เตรียมตั้งคกก.ซอฟต์พาวเวอร์ชุดใหม่ เล็งพิจารณาดัน "หมูเด้ง"". ทีเอ็นเอ็น 16. 8 ตุลาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 "นายกฯเซ็นแล้ว ซูเปอร์บอร์ดซอฟต์พาวเวอร์ นั่งปธ.เอง ตั้ง หมอมิ้ง คุมบอร์ดพัฒนาฯแทน". มติชน. 16 ตุลาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2024.
- ↑ "เปิดร่าง'พ.ร.บ.วัฒนธรรมสร้างสรรค์ฯ' ดึงเงิน'กองสลาก'-7 กองทุน ดัน'ซอฟต์พาวเวอร์' 11 สาขา". สำนักข่าวอิศรา. 21 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2024.
- ↑ "คกก.ซอฟต์พาวเวอร์ เคาะหลักการ-งบฯ จัดกิจกรรมสำคัญ". บมจ.อสมท. สำนักข่าวไทย. 9 มกราคม 2024. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ “นายกฯ นิด” มอบนโยบาย 3 ข้อ คกก.ซอฟต์พาวเวอร์ ขอช่วยกันผลักดันให้สำเร็จ
- ↑ แผนรัฐเคลื่อน ซอฟต์พาวเวอร์ 4 ล้านล้าน เปิด ‘รีสกิล’ 20 ล้านครัวเรือนต้นปี 67
- ↑ "บอร์ดซอฟต์เพาเวอร์ เคาะ 5,164 ล้านบาท ขับเคลื่อน 11 อุตสาหกรรม". มติชน. 1 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ‘อุ๊งอิ๊ง’ นั่งหัวโต๊ะบอร์ดซอฟต์เพาเวอร์ เคาะแก้ 3 เรื่องอุตสาหกรรมภาพยนตร์
- ↑ ประกาศลาออกคณะอนุกรรมการฯ ซอฟต์พาวเวอร์ด้านแฟชั่นทั้งคณะ มีผลทันทีวันนี้
- ↑ ‘เศรษฐา’วอนอย่าดราม่า ยันอนุ soft Power ด้านแฟชั่น ไม่มีปัญหา ตั้งชุดใหม่ 9 ก.พ.
- ↑ 'แพทองธาร'แต่งตั้ง'อัจฉรา อัมพุช'นั่งบอร์ดซอฟต์พาวเวอร์ ด้านแฟชั่นคนใหม่
- ↑ คกก.ซอฟต์พาวเวอร์ ตั้ง ผู้บริหารคลื่นวิทยุ-ค่ายเพลงดัง นั่งอนุฯ ด้านดนตรี
- ↑ 'หมอเลี้ยบ' เผยตั้งอนุกรรมการซอฟต์พาวเวอร์ ประจำ 'โคราช' นำร่องเป็นที่แรก
- ↑ ตั้งเพิ่ม อนุกก.ซอฟต์พาวเวอร์ด้านหนังสือ-ออกแบบ มีปราบดา หยุ่น ด้วย...
- ↑ "กก.ซอฟต์พาวเวอร์ ตั้งอนุฯ เพิ่ม ด้านแฟชั่น-หนังสือ-เกม-ดนตรี มีชื่อผู้บริหารแบรนด์ดังพรึบ". มติชน. 24 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'อุ๊งอิ๊ง' เปิดตัวงาน 'THACCA SPLASH : Soft Power Forum'". คมชัดลึก. 24 พฤษภาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ “อิ๊งค์” ตั้ง “นนกุล” นั่งอนุกรรมการด้านภาพยนตร์ อีก 3 คนดังด้านละคร-ซีรีส์
- ↑ ตั้ง "อัจฉรา อัมพุช" คณะยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์คนใหม่-"บอย ถกลเกียรติ" ร่วม