สุเทพ เทพรักษ์
หน้าตา
สุเทพ เทพรักษ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 เมษายน พ.ศ. 2478 |
คู่สมรส | พญ.จิราภรณ์ เทพรักษ์ |
พลอากาศเอก สุเทพ เทพรักษ์ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นอดีตจเรทหารทั่วไป อดีตราชองครักษ์พิเศษ[1] และอดีตรองผู้บัญชาการทหารอากาศ
ประวัติ
[แก้]พลอากาศเอก สุเทพ เทพรักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2478 จบการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิต จากโรงเรียนนายเรืออากาศ เคยรับราชการเป็นทหารประจำกองทัพอากาศไทย เคยดำรงตำแหน่งคือ รองผู้บัญชาการทหารอากาศ และเป็นจเรทหารทั่วไป ในปี พ.ศ. 2536[2]
ต่อมาในการก่อการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) พล.อ.อ.สุเทพ ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ[3] และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน[4] และในปี พ.ศ. 2535 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[8]
- พ.ศ. 2507 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[9]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[10]
- พ.ศ. 2535 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[11]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[12]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[13]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[14]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 5 (ภ.ป.ร.5)[15]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๗ (ไม่เป็นกฎหมาย เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติและคณะที่ปรึกษา)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ "สมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 6" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-08-06.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๐ ง หน้า ๒๘๐๗, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิด สำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๖ มกราคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓๑ ง หน้า ๑๗๐๒, ๑๒ เมษายน ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งควมาสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๙๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๓๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๒๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๑๓ มีนาคม ๒๕๑๓