ข้ามไปเนื้อหา

ระวี มาศฉมาดล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ระวี มาศฉมาดล
หัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 กันยายน พ.ศ. 2561
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด9 ธันวาคม พ.ศ. 2496 (71 ปี)
อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
พรรคการเมืองพลังธรรม (2531–2550)
สังคมประชาธิปไตยไทย (2552–2561)
พลังธรรมใหม่ (2561–ปัจจุบัน)

นายแพทย์ ระวี มาศฉมาดล (เกิด 9 ธันวาคม พ.ศ. 2496) เป็นหัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ อดีตเลขาธิการพรรคพลังธรรม

ประวัติ

[แก้]

ระวี เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2496 ที่ ตำบลสะอาดสมบูรณ์ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และรับดับปริญญาตรีแพทยศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในระหว่างศึกษาอยู่เขาได้มีส่วนร่วมในการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2516 และ พ.ศ. 2519

การทำงาน

[แก้]

นายแพทย์ ระวี เข้ารับราชการเป็นแพทย์ประจำ โรงพยาบาลพระแสง และย้ายมาอยู่ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระทั่งลาออกจากราชการ เพื่อเปิดโรงพยาบาลเอกชนของตนเอง ชื่อว่า "โรงพยาบาลเวียงเวช" ที่อำเภอเวียงสระ

นายแพทย์ ระวี ได้เริ่มทำงานการเมืองโดยการสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคพลังธรรม และได้รับเลือกเป็นประธานสาขาพรรคพลังธรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังธรรม 3 สมัย เป็นประธานกรรมการประสานงานพรรคพลังธรรม ภาคใต้ และได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคพลังธรรม จนกระทั่งพรรคพลังธรรมยุติการดำเนินการ ในปี 2550

นายแพทย์ ระวี ได้เข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเข้าร่วมงานกับพรรคการเมืองใหม่ ในตำแหน่งประธานสาขาพรรคการเมืองใหม่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อมาในปี 2561 เขาได้ยื่นขอจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้น ชื่อว่า "พรรคพลังธรรมใหม่"[1] และรับตำแหน่งหัวหน้าพรรค[2][3]

นายแพทย์ ระวี ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก[4] รวมทั้งมีบทบาทในการเข้าร่วมสนับสนุนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี และเข้าร่วมรัฐบาล แม้ภายหลังจะเกิดกระแสการแยกตัวของกลุ่มร้อยเอก ธรรมนัส[5]

ระวี เป็นผู้มีบทบาทในการร้องว่าถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และให้ศาลวินิจฉัยว่าการแก้ไขขัดและแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 2560[6][7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. จดตั้งพรรคหนุนบิ๊กตู่ หมอระวีพลังธรรมใหม่ ไทยรัฐ 1 มีนาคม 2561
  2. "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดทะเบียนจัดตั้งพรรคพลังธรรมใหม่" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-06-09. สืบค้นเมื่อ 2022-04-22.
  3. พลังธรรมใหม่ลงมติ 'หมอระวี'นั่งหัวหน้าพรรค ตั้ง'นาม ยิ้มแย้ม'คุมธรรมภิบาล
  4. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 พฤษภาคม 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-05-08. สืบค้นเมื่อ 2019-05-10.
  5. "ชัช เตาปูน" ยัน 4 พรรค 12 เสียงหนุน "บิ๊กตู่" อีกกระแส "9 ส.ส.พรรคเล็ก-เต้" ขอตาม "ธรรมนัส"
  6. “หมอระวี” น้อมรับคำวินิจฉัยศาลปมบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ ขอเดินหน้าสู้ต่อ กมธ.
  7. 'หมอระวี' เปิดปฏิบัติการ 'แจ็กผู้ฆ่ายักษ์' ร้องศาลรธน. ล้มบัตร 2 ใบ
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓