ธำรงค์ ไทยมงคล
ธำรงค์ ไทยมงคล | |
---|---|
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง | |
ดำรงตำแหน่ง 28 สิงหาคม พ.ศ. 2539 – 27 กันยายน พ.ศ. 2539 | |
ก่อนหน้า | สุธรรม แสงประทุม |
ถัดไป | สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2494 |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | เมธินี ไทยมงคล |
ธำรงค์ ไทยมงคล (เกิด 24 มิถุนายน พ.ศ. 2494) อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 19 และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
ประวัติ
[แก้]ธำรงค์ ไทยมงคล เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2494 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จบเนติบัณฑิตไทย จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา และนิติศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา[1]
การทำงาน
[แก้]ธำรงค์ ไทยมงคล ประกอบอาชีพทนายความ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี แต่แพ้ให้กับนายสุพล ฟองงาม จากพรรคไทยรักไทย
ธำรงค์ ไทยมงคล ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 (นายเชาวน์วัศ สุดลาภา) [2] เป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[3] ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ระหว่างปี พ.ศ. 2535 ถึงปี พ.ศ. 2536 ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2539[4]
ธำรงค์ ไทยมงคล มีบทบาทในการสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยการแปรญัตติงบประมาณในการก่อสร้างของมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2540[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2539 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[6]
- พ.ศ. 2538 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]กรมการปกครอง
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐบาลฝ่ายการเมือง (1 นายนิยม คำแหง 2 นายำรงค์ ไทยมงคล)
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 218/2535 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (1นายมนตรี ด่านไพบูลย์ 2 นางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ 3 นายธำรงค์ ไทยมงคล]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายธำรงค์ ไทยมงคล)
- ↑ "อาคารศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-20. สืบค้นเมื่อ 2020-08-05.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2494
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดอุบลราชธานี
- ทนายความชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี
- พรรคกิจสังคม
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.