ข้ามไปเนื้อหา

ปัญจะ เกสรทอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปัญจะ เกสรทอง
รองประธาน​รัฐสภา​และ​ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
3 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
ก่อนหน้าชวน หลีกภัย
ถัดไปอุกฤษ มงคลนาวิน
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 9 เมษายน พ.ศ. 2543
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 26 มิถุนายน พ.ศ. 2542
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้าชุมพล ศิลปอาชา
ถัดไปสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 สิงหาคม พ.ศ. 2474
อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเทศสยาม
เสียชีวิต5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (83 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองสหประชาไทย (2512–2514)
เกษตรสังคม (2517–2526)
ชาติไทย (2526–2535,2539–2543)
ชาติพัฒนา (2535–2539, 2543–?)
คู่สมรสกอบแก้ว เกสรทอง

ปัญจะ เกสรทอง (5 สิงหาคม พ.ศ. 2474 – 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรองประธาน​รัฐสภา​และ​ประธานสภาผู้แทนราษฎร และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์

ประวัติ

[แก้]

นายปัญจะ เกสรทอง เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2474 ที่ตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นบุตรนายแป้น กับนางแตงโม เกสรทอง[1] ด้านครอบครัวสมรสกับ นางกอบแก้ว เกสรทอง (สกุลเดิม: เทพสาร)

จบระดับประถมศึกษา ที่โรงเรียนสตรีวิทยานุกูล จบระดับมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนเพชรพิทยาคม อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศิลปศาสตร์ จากสถาบันราชภัฏเพชรบูรณ์ และดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

การทำงาน

[แก้]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

ปัญจะ เกสรทอง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ 11 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคสหประชาไทย นำโดยจอมพลถนอม กิตติขจร ต่อมาจึงย้ายมาสังกัดพรรคเกษตรสังคม และได้รับเลือกตั้งใน พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2519 และ พ.ศ. 2522

ต่อมาเขาจึงย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งในนามพรรคชาติไทย อีก 4 สมัย คือ พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2535 (มีนาคม)

หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ เขาย้ายไปสังกัดพรรคชาติพัฒนา ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2538 และย้ายกลับมาอยู่พรรคชาติไทยอีกครั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539

และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ได้ย้ายกลับมาสังกัดพรรคชาติพัฒนาอีกครั้ง แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์[2]

ตำแหน่งทางการเมือง

[แก้]

ปัญจะ เกสรทอง เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในปี พ.ศ. 2519 เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ในระหว่างปี พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2534 ต่อมาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย (ครม.50) และตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (ครม.53) ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2540 ต่อมาในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีกตำแหน่งหนึ่ง แทนนายชุมพล ศิลปอาชา ที่ลาออกจากตำแหน่ง[3]

ตำแหน่งในพรรคการเมือง

[แก้]

ปัญจะ เกสรทอง เคยดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคชาติไทย

งานอื่น ๆ

[แก้]

นายปัญจะ เกสรทอง ได้เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันจัดตั้งวิทยาลัยพลศึกษาเพชรบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2514

ถึงแก่อนิจกรรม

[แก้]

นายปัญจะ เกสรทอง ถึงแก่อนิจกรรมด้วยวัย 83 ปี ที่บ้านพักในกรุงเทพมหานครในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558[4] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 ณ วัดเพชรวราราม จังหวัดเพชรบูรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-05. สืบค้นเมื่อ 2010-08-18.
  2. รายชื่อและคะแนนของผู้สมัครทั้งหมดใน จังหวัด เพชรบูรณ์ ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544
  3. "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 53". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-31. สืบค้นเมื่อ 2010-08-18.
  4. ปิดตำนาน "ปัญจะ เกสรทอง" อดีตส.ส.เพชรบูรณ์หลายสมัย อดีตประธานสภาผู้แทนฯ ถึงแก่กรรมแล้ว
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
ก่อนหน้า ปัญจะ เกสรทอง ถัดไป
ชุมพล ศิลปอาชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 - 26 มิถุนายน พ.ศ. 2542)
สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล