ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์
ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ | |
---|---|
รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
ก่อนหน้า | อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด |
สภาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | อรุณี กาสยานนท์ 31 มกราคม พ.ศ. 2521 จังหวัดพิษณุโลก ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยรักษาชาติ (2561–2562) เพื่อไทย (2562–ปัจจุบัน) |
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ (เกิด 31 มกราคม พ.ศ. 2521) ชื่อเล่น หญิง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย และกรรมการใน คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร) อดีตโฆษกพรรคเพื่อไทย อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย และอดีตนักวิเคราะห์ข่าวการเมือง
ประวัติ
[แก้]ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ ชื่อเดิม อรุณี กาสยานนท์[1] เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2521 ที่จังหวัดพิษณุโลก สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จังหวัดพิษณุโลก ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท จากคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และระดับปริญญาเอก จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
การทำงาน
[แก้]ลิณธิภรณ์ เคยเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก และเป็นอาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ลิณธิภรณ์ เคยร่วมงานการเมืองกับพรรคไทยรักษาชาติ[2] ต่อมาเป็นนักวิเคราะห์ข่าวการเมืองทางสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี[3] ก่อนจะเข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย และได้รับแต่งตั้งเป็นโฆษกพรรคเพื่อไทย[4] สืบแทนอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด เธอมีบทบาทในการตอบโต้ทางการเมืองบ่อยครั้ง[5][6] เธอได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย แต่ภายหลังการลาออกจากตำแหน่งโฆษกพรรคของธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ เธอจึงเข้ามาทำหน้าที่รักษาการโฆษกพรรคเพื่อไทย
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เธอได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง สส.แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 29 และได้รับเลือกตั้งเป็น สส. สมัยแรก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[7]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ สายฟาด จาก เดลินิวส์ออนไลน์
- ↑ เปิดวาร์ป !! 3 เลือดใหม่ “ไทยรักษาชาติ”
- ↑ พิธีกร ’วอยซ์ ทีวี’ โพสต์อำลา ‘ดร.หญิง’ ล่วงหน้า หลังมีชื่อนั่งโฆษกพรรคเพื่อไทยคนใหม่
- ↑ เจาะใจ เจาะฝัน เจาะเบื้องหลัง ‘อรุณี กาสยานนท์’ โฆษกพรรคเพื่อไทย
- ↑ ‘ลิณธิภรณ์’ ฟาด ก้าวไกล ใช้กระแสกดดัน ปม ‘ประธานสภา’ ลั่น พท.ถอยจนสุดแล้ว
- ↑ "อรุณี" ซัดพรรคร่วมรบ. "เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า" หวงอำนาจทำลายรัฐธรรมนูญ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๕, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2521
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- อาจารย์คณะรัฐศาสตร์
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์
- นักวิชาการจากจังหวัดพิษณุโลก
- พิธีกรชาวไทย
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดพิษณุโลก
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคไทยรักษาชาติ
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.