พระยาอัชราชทรงสิริ (แม้น อรุณลักษณ์)
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พระยาอัชราชทรงสิริ (แม้น อรุณลักษณ์) | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 – 18 มีนาคม พ.ศ. 2489 (0 ปี 44 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | พันตรี ควง อภัยวงศ์ |
ก่อนหน้า | พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์) |
ถัดไป | ทวี บุณยเกตุ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2423 จังหวัดธนบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2507 (83 ปี) |
คู่สมรส | นางสาวยวงวัตุยาฯ (นางพินิจการโกศล) คุณหญิงทองดี อัชราชทรงศิริ |
มหาอำมาตย์ตรี พระยาอัชราชทรงสิริ (แม้น อรุณลักษณ์) (12 สิงหาคม พ.ศ. 2423 - 7 มิถุนายน พ.ศ. 2507) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ อดีตอธิบดีกรมต่างๆ อาทิ เช่น อธิบดีกรมที่ดินและโลหะกิจ เป็นต้น อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประวัติ
[แก้]พระยาอัชราชทรงสิริ เกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2423 เป็นบุตรหลวงเทพภักดี (หรุ่น) และนางเทพภักดี (เชย) เกิดที่บางลำภูล่าง อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี[1]
การศึกษา
[แก้]ในด้านการศึกษา สอบไล่ภาษาบาลีได้ชั้นนักเรียนตรีพิเศษของมหามกุฎราชวิทยาลัย สอบไล่ภาษาไทยได้ประโยคหนึ่งจากวัดประยูรวงษ์ สอบไล่ภาษาอังกฤษได้ชั้น 4 จากโรงเรียนอัสสัมชัญและสำเร็จการศึกษาวิชากฎหมายได้เป็นเนติบัณฑิต
การเข้ารับราชการ
[แก้]พระยาอัชราชทรงสิริ เริ่มเข้ารับราชการที่กองหมาย กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2446 เนื่องจากเป็นผู้มีผลงาน มีความซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียร จึงได้เลื่อนตำแหน่งในหน้าที่ราชการตามลำดับ คือเป็นผู้พิพากษาศาลต่างประเทศนครเชียงใหม่ (พ.ศ. 2446) ทำการแทนอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลพายัพ 6 เดือน (พ.ศ. 2450) ผู้พิพากษาศาลต่างประเทศที่กรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2453) อธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลชุมพร (พ.ศ. 2454) อธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลสุราษฎร์ (พ.ศ. 2458) อธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลภูเก็ต (พ.ศ. 2461) ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์กรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2469) อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง (พ.ศ. 2471) และได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นอธิบดีกรมที่ดินและโลหะกิจ (พ.ศ. 2476 - 2479)
ตำแหน่งเป็นพิเศษ
[แก้]พ.ศ. 2481 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
พ.ศ. 2482 - 2489 เป็นที่ปรึกษากฎหมายและกรรมการของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 เป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวายน้ำอภิเษกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ตำแหน่งทางการเมือง
[แก้]ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 ถึงวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2489 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ในคณะรัฐมนตรีชุดที่ 14[2] อันมีนายควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยตำแหน่งจึงเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คนที่ 4
ในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2492 ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 เป็นรองประธานวุฒิสภา
พระยาอัชราชทรงสิริ เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองทั้งกระทรวงยุติธรรมและกระทรวงเกษตราธิการ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถยิ่ง ได้รับความไว้วางใจและรับผิดชอบงานตั้งแต่อายุยังน้อย เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาด้วยตนเองอยู่เสมอ ดังที่พระยามานวราชเสวี ได้เขียนประวัติพระยาอัชราชทรงสิริไว้ในหนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ ความตอนหนึ่งว่า
เจ้าคุณอัชราชทรงสิริ เป็นคนชอบศึกษา ได้ศึกษามาตั้งแต่เด็กจนตลอดชีวิตของท่าน ได้ทำประโยชน์ให้แก่บ้านเมืองโดยเต็มสติปัญญาและความสามารถหลายตำแหน่งต่างๆ กัน เป็นที่รักใคร่ของเพื่อนฝูง ผู้บังคับบัญชาและคนทั้งหลาย ปฏิบัติตนสมแก่ฐานะตลอดมา ทั้งมีหลักธรรมที่ยึดมั่นอยู่เป็นนิจ ได้ให้การศึกษาแก่บุตรธิดาเต็มความสามารถ จนทุกคนสอบไล่ได้ขั้นปริญญาในประเทศไทยแทบทุกคน หลายคนสอบไล่ได้ปริญญาต่างประเทศ เจ้าคุณอัชราชทรงสิริส่งออกไปศึกษาด้วยทุนของตนเองก็มี ที่ได้ทุนหลวงและทุนต่างประเทศก็มี นับว่าท่านได้ฉลองพระคุณบ้านเมืองในการอบรมบุตร เพื่อประโยชน์แก่ราชการและบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี มีน้อยคนที่สามารถทำได้เช่นนี้ แสดงว่าท่านได้ยอมเสียสละอย่างมากมาย
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พระยาอัชราชทรงสิริ ได้สมรสกับนางสาวยวงวัตุยาฯ (นางพินิจการโกศล) มีธิดา 1 คน และสมรสกับคุณหญิงทองดี อัชราชทรงศิริ มีบุตร-ธิดา 9 คน มีชาย 3 คน หญิง 6 คน รวม 10 คน
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]พระยาอัชราชทรงสิริได้ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2507 สิริอายุได้ 83 ปี 9 เดือน 25 วัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2494 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[3]
- พ.ศ. 2502 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2463 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[5]
- พ.ศ. 2471 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
- พ.ศ. 2458 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 4 (ว.ป.ร.4)[7]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-27. สืบค้นเมื่อ 2017-05-03.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๑ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๖๘ ตอนที่ ๗๔ ง หน้า ๕๖๕๖, ๑๑ ธันวาคม ๒๔๙๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๕๓ ง หน้า ๑๔๐๐, ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๒๒๗, ๒๐ มีนาคม ๒๔๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๔๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๑๐, ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๗๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๒๑, ๑๕ สิงหาคม ๒๔๕๘