อิสระพงศ์ หนุนภักดี
อิสระพงศ์ หนุนภักดี | |
---|---|
![]() อิสระพงศ์ หนุนภักดีในปีพ.ศ. 2501 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร |
ถัดไป | พลอากาศเอก อนันต์ กลินทะ |
ผู้บัญชาการทหารบก | |
ดำรงตำแหน่ง 7 เมษายน พ.ศ. 2535 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 | |
ก่อนหน้า | พลเอก สุจินดา คราประยูร |
ถัดไป | พลเอก วิมล วงศ์วานิช |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 (83 ปี) โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิง แพทย์หญิงสุมนา หนุนภักดี |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
สังกัด | ![]() |
ยศ | ![]() ![]() |
บังคับบัญชา | กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ กองพลทหารราบที่ 6 รักษาพระองค์ กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ กองทัพภาคที่ 2 กองทัพบกไทย |
ผ่านศึก | สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม |
พลเอก พลตำรวจเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี (20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560)ชื่อเล่น ตุ๋ย เป็นอดีตนายทหารบกชาวไทยและอดีตนักการเมืองชาวไทยเคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น อดีตผู้บัญชาการทหารบก,อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย,อดีตเลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติและเป็นพี่ชายของคุณหญิงวรรณี คราประยูรสกุลเดิม"หนุนภักดี"ภริยาของพล.อ.สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของไทยและเป็นบิดาของพล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พล.อ. อิสระพงศ์ หนุนภักดี มีชื่อเล่นว่า "ตุ๋ย" (เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476) ณ ตำบลพงษ์สวาย อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรชายของ พล.ต.ท. ฉัตร หนุนภักดีกับนางประยง หนุนภักดี มีพี่น้อง ทั้งหมด 7 คน ในส่วน พล.อ. อิสระพงศ์ เป็นบุตรลำดับที่ 3 และมีน้องสาว คือ คุณหญิงวรรณี คราประยูร(สกุลเดิม: หนุนภักดี) ซึ่งสมรสกับ พล.อ. สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของไทย
การศึกษา
[แก้]พล.อ. อิสระพงศ์ หนุนภักดี จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ ต่อวิชาทหารที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 5, หลักสูตรทหารร่มและการรบพิเศษ รุ่นที่ 12, โรงเรียนเสนาธิการทหารบกและวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 29 และได้จบหลักสูตรวิชาทหาร ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา คือ
- หลักสูตรผู้บังคับหมวดทหารราบ ที่ค่ายเบนนิ่ง
- หลักสูตรผู้บังคับกองพันทหารราบ ที่ค่ายเบนนิ่ง
- หลักสูตรเสนาธิการทหารบก ณ วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
ชีวิตครอบครัว
[แก้]พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี สมรสกับ คุณหญิง พญ. สุมนา หนุนภักดี มีบุตรด้วยกัน 1 คนคือ •พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
รับราชการทหาร
[แก้]ในประเทศ
[แก้]พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดีรับราชการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 ในตำแหน่งผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ จากนั้นได้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่เป็นลำดับ และดำรงตำแหน่งอื่น ๆ เช่น
- พ.ศ. 2522 : ผู้บังคับกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2525 : ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 6 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2527 : ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2529 : แม่ทัพภาคที่ 2
- พ.ศ. 2533 : รองผู้บัญชาการทหารบก
- พ.ศ. 2535 : ผู้บัญชาการทหารบก
นอกประเทศ
[แก้]ในช่วงราชการทหารที่ต่างประเทศ พล.อ. อิสระพงศ์ หนุนภักดี ได้ปฏิบัติงานที่ประเทศเกาหลีใต้ และไปอาสาสมัครไปเข้ารบในประเทศเวียดนามใต้ในตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายยุทธการ กองพลทหารอาสาสมัคร ผลัดที่ 2 ในปี พ.ศ. 2512 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้ช่วยทูตทหารบก ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ในปี พ.ศ. 2515
รัฐประหาร พ.ศ. 2534
[แก้]ในการรัฐประหาร พ.ศ. 2534 พล.อ. อิสระพงศ์นับเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีบทบาทสำคัญ ด้วยการเป็นรองผู้บัญชาการทหารบก และมีตำแหน่งเป็นเลขาธิการคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ โดยมี พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นประธาน
ซึ่งหลังจากนี้ พล.อ. อิสระพงศ์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี[2] (และได้รับพระราชทานยศเป็น พลตำรวจเอก เป็นกรณีพิเศษอีกด้วยเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2534[3]) จากนั้นจึงได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ต่อจาก พล.อ. สุจินดา คราประยูร ที่ได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จึงถูกมองว่าทั้งหมดนี้เป็นการสืบทอดอำนาจของคณะ รสช. ทั้งนี้เนื่องจากความสัมพันธ์ส่วนตัวของ พล.อ. อิสระพงศ์ กับ พล.อ.สุจินดา ถือว่าสนิทสนมกันมาก เพราะเป็นนายทหารที่จบการศึกษาในรุ่นเดียวกัน อีกทั้งคุณหญิงวรรณี คราประยูร ภริยาของ พล.อ. สุจินดา ก็เป็นน้องสาวแท้ ๆ ของ พล.อ. อิสระพงศ์ และลูกพี่ลูกน้อง ของ พล.อ.อิสระพงศ์ คือ พล.ท. ชัยณรงค์ หนุนภักดี (ยศในขณะนั้น) เองก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 ที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาความมั่นคงด้วย อีกทั้ง พล.ต. ทวีศักดิ์ หนุนภักดี (ยศในขณะนั้น)ได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองทางทหาร (น้องชายของ พล.อ. ชัยณรงค์) มาคุมหน่วยข่าวทหารทั้งหมด ซึ่งทั้งหมดนี้ต่อมาก็ได้บานปลายมาเป็นเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในปี พ.ศ. 2535 ในที่สุด
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พล.อ. อิสระพงศ์ หนุนภักดี ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2532 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2530 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2535 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2533 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 4 อัศวิน (อ.ร.)[7]
- พ.ศ. 2534 –
เหรียญกล้าหาญ (ร.ก.)[8]
- พ.ศ. 2504 –
เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[9]
- พ.ศ. 2516 –
เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[10]
- พ.ศ. 2530 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[11]
- พ.ศ. 2562 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[12]
- พ.ศ. 2512 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[13]
- พ.ศ. 2534 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[14]
- พ.ศ. 2534 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[15]
เหรียญสหประชาชาติ
[แก้]สหประชาชาติ :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เหรียญสหประชาชาติเกาหลี
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
ต่างประเทศ
[แก้]เวียดนามใต้ :
สหรัฐ :
ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2535 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 1[16]
- พ.ศ. 2535 -
ชีวิตหลังการเมือง
[แก้]หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พล.อ.อิสระพงศ์ก็ได้ถูกย้ายจากผู้บัญชาการทหารบก เป็นรองปลัดกระทรวงกลาโหม[17]หลังจากนั้นยุติบทบาททางราชการและบทบาททางการเมืองทั้งหมด โดยมิได้ยุ่งเกี่ยวอีกเลย เหมือนเช่นนายทหารในคณะ รสช.คนอื่น ๆ [18] จนกระทั่งถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคประจำตัวเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา 12.00 น. ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ขณะมีอายุได้ 83 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร มีอดีตนายกรัฐมนตรี พลเอก สุจินดา คราประยูร เจ้าร่วมพร้อม คุณหญิงวรรณี คราประยูร และ นายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ได้รับยศพลตำรวจเอก
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระราชทานยศตำรวจชั้นนายพลเป็นกรณีพิเศษ (จำนวน 8 ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอน 128 ง หน้า 6942 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๕๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๕๕ ง หน้า ๒๖๕๙, ๕ เมษายน ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญกล้าหาญ เก็บถาวร 2018-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๖๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ เมษายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๓๗ ง หน้า ๑๒๓๑, ๒ พฤษภาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๘๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๕, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๙๗ ง หน้า ๓๕๐๔, ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๓๖ ข หน้า ๗๖, ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๕๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๓๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 109 ตอนที่ 27 หน้า 2240, 25 กุมภาพันธ์ 2535
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ
- ↑ บิ๊กตุ๋ย พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี จปร.5 เปิดใจครั้งแรกในรอบหลายสิบปี 'วิกฤตมีทางออก'!? จากโอเคเนชั่น
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2476
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2560
- ทหารบกชาวไทย
- แม่ทัพภาคที่ 2
- ผู้บัญชาการทหารบกของกองทัพไทย
- ตำรวจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
- คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อ.ร.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.3
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย พ.ศ. 2516–2544
- สกุลหนุนภักดี
- เหรียญสหประชาชาติ
- ทหารในสงครามเวียดนาม