ข้ามไปเนื้อหา

คารม พลพรกลาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คารม พลพรกลาง
คารม ใน พ.ศ. 2568
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
26 กันยายน พ.ศ. 2566
(1 ปี 123 วัน)
ดำรงตำแหน่งร่วมกับ
รัดเกล้า สุวรรณคีรี (2566–2567)
เกณิกา อุ่นจิตร์ (2566–2567)
ศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ (2567–ปัจจุบัน)
อนุกูล พฤกษานุศักดิ์ (2567–ปัจจุบัน)
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
แพทองธาร ชินวัตร
ก่อนหน้ารัชดา ธนาดิเรก
ไตรศุลี ไตรสรณกุล
ทิพานัน ศิริชนะ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 15 ธันวาคม พ.ศ. 2565
(3 ปี 266 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 กันยายน พ.ศ. 2506 (61 ปี)
อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย
พรรคการเมืองภูมิใจไทย (2565–ปัจจุบัน)
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พลังธรรม (2539–2541)
ไทยรักไทย (2541–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2551–2561)
อนาคตใหม่ (2561–2563)
ก้าวไกล (2563–2565)

คารม พลพรกลาง ป.ม. ท.ช. เป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน สังกัดพรรคภูมิใจไทย เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ และพรรคก้าวไกล และเคยเป็นที่ปรึกษากฎหมาย นิตยสารเรดพาวเวอร์[1]

ประวัติ

[แก้]

คารม พลพรกลาง มีชื่อเล่นว่า ''อ๊อด'' เกิดเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2506 จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง , นิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขากฎหมายมหาชน) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เกิดและโต อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

งานการเมือง

[แก้]

คารม ลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งแรกในสังกัดพรรคพลังธรรม ปี 2539 ที่ จ.นนทบุรี แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ได้คะแนนประมาณ 5 พันเศษ

จากนั้นเข้าร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย เป็นสมาชิกพรรคมาตั้งแต่ปี 2542 เคยเป็นทนายความให้กับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และเป็นที่ปรึกษากฎหมายของนิตยสารเรดพาวเวอร์ ต่อมาได้เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคอนาคตใหม่ และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จนได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ต่อมาเมื่อพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบพรรค เขาได้ย้ายไปร่วมงานกับพรรคก้าวไกลพร้อมกับสมาชิกส่วนใหญ่

ต่อมาในการอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีไทย กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ปรากฎชื่อนายคารม ลงมติไว้วางใจรัฐมนตรีจากพรรคภูมิใจไทย คือ อนุทิน ชาญวีรกูล และศักดิ์สยาม ชิดชอบ เขาให้เหตุผลว่า ทั้งสองคนชี้แจงข้อกล่าวหาของฝ่ายค้านได้อย่างละเอียด จากนั้น ก็ประกาศแยกทางกับพรรคก้าวไกล เพื่อย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย แต่ถูกพรรคก้าวไกลปฏิเสธขับออกจากพรรค จนกลายเป็น “งูเห่าถูกดอง”[2]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 คารมลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดพรรคภูมิใจไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[3] อย่างไรก็ตาม ในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน เขาก็ได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในสัดส่วนของพรรคภูมิใจไทย[4]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]
  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่พรรคก้าวไกล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ทนาย นปช.เปลี่ยนใจไม่ฟ้องผู้พิพากษาคดีก่อการร้าย
  2. ตั้ง “คารม พลพรกลาง” เป็นรองโฆษกรัฐบาล
  3. ผลการเลือกตั้ง2566 : ส.ส.งูเห่า อดีตสังกัด "อนาคตใหม่-ก้าวไกล" สอบตกระนาว
  4. ครม.ตั้ง “คารม พลพรกลาง” นั่งรองโฆษกรัฐบาล
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖

คนตามข่าว : คารม พลพรกลาง ทนายดัง-เดือดใส่อาจารย์กม