ปรีชา มุสิกุล
ปรีชา มุสิกุล | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 21 เมษายน – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 | |
นายกรัฐมนตรี | หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 เมษายน พ.ศ. 2480 อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2518–2549, 2549–2563) รวมไทยสร้างชาติ (2565–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | อารมณ์ มุสิกุล |
นายแพทย์ ปรีชา มุสิกุล (เกิด 1 เมษายน พ.ศ. 2480) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ปัจจุบันสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ
ประวัติ
[แก้]นายแพทย์ ปรีชา มุสิกุล เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2480 ที่ตำบลทรงคนอง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม[1] เป็นบุตรของนายฟื้น กับ นางวาสนา มุสิกุล สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นได้เข้าศึกษาจนสำเร็จปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาอายุรศาสตร์เขตร้อนและสุขวิทยา จากมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ และปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ด้านครอบครัว ได้สมรสกับนางอารมณ์ มุสิกุล มีบุตรชาย คือ นายสุขวิชชาญ มุสิกุล อดีต ส.ส.กำแพงเพชร
งานการเมือง
[แก้]นายแพทย์ ปรีชา มุสิกุล เคยรับราชการในตำแหน่งนายแพทย์ ประจำโรงพยาบาลกำแพงเพชร ต่อมาได้ลาออกจากราชการเพื่อเข้าสู่งานการเมือง และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกำแพงเพชร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมาหลายสมัย
ในปี พ.ศ. 2518 ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 11[2]
ในปี พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[3] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีอีกสมัยหนึ่ง[4] แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย[5]
กระทั่งวันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 นายปรีชาได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ ต่อนาย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรคและได้ทำสำเนาหนังสือลาออกส่งให้เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองโดยให้มีผลทันที [6] กระทั่งในปี 2565 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยการนำของ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาพรรครวมไทยสร้างชาติ ในเวลาต่อมา[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง
- ↑ http://drmlib.parliament.go.th/securepdf/p_73303.pdf[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2012-07-26.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ รายล่า! อดีตส.ส.-อดีตรมต.หลายสมัยลาออกพ้นประชาธิปัตย์
- ↑ เปิดรายชื่อ 11 กรรมการบริหาร-ที่ปรึกษา ‘พรรครวมไทยสร้างชาติ’
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๕ ข หน้า ๙๓, ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๗
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2480
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอสามพราน
- แพทย์ชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดนครปฐม
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรครวมไทยสร้างชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- บุคคลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.