ประมวล รุจนเสรี
ประมวล รุจนเสรี | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 มีนาคม พ.ศ. 2482 อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน |
คู่สมรส | วันเพ็ญ รุจนเสรี |
ประมวล รุจนเสรี (เกิด 21 มีนาคม พ.ศ. 2482) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และอดีตหัวหน้าพรรคประชามติ เจ้าของผลงานหนังสือ พระราชอำนาจ
ประวัติ
[แก้]ประมวล เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2482 ที่ตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ด้านครอบครัวสมรสกับนางวันเพ็ญ รุจนเสรี มีบุตร-ธิดา 3 คน
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การทำงาน
[แก้]ประมวล รับราชการในกระทรวงมหาดไทยมาโดยตลอด จนกระทั่งเกษียณอายุราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครอง จากนั้นจึงเข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย[1] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
กระทั่งเกิดวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2550 เมื่อเสนาะ เทียนทอง ประธานที่ปรึกษาพรรคไทยรักไทยเริ่มมีการไม่ลงรอยกับทักษิณ นายประมวลซึ่งเป็นผู้ที่สนิทกับนายเสนาะ ได้เขียนหนังสือออกมา 2 เล่ม ซึ่งเป็นที่ฮือฮาและกล่าวขานกันอย่างมาก คือ การใช้อำนาจเป็นธรรมชาติของมนุษย์ และ พระราชอำนาจ (โดยเฉพาะหนังสือ พระราชอำนาจ นี้ ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา ได้อัญเชิญกระแสพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาแจ้งกับนายประมวล ว่าเมื่อได้ทอดพระเนตรแล้ว ได้มีพระราชดำรัสว่า "…เราอ่านแล้ว เราชอบมาก เขียนได้ดี เขียนได้ถูกต้อง")[2]
จนกระทั่งเกิดการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ. 2549 ที่ท้องสนามหลวง นายประมวลได้ขึ้นเวทีปราศรัยพร้อมกับนายเสนาะ เทียนทอง ด้วย
จากนั้น ประมวลได้เข้าร่วมงานกับพรรคประชาราช แต่ในกลางปี พ.ศ. 2550 ประมวลก็ได้ออกจากพรรคประชาราชเพื่อดำเนินงานทางการเมืองด้วยตนเอง และมีข่าวว่าอาจจะไปร่วมงานกับทางพรรคประชาธิปัตย์ หากตั้งพรรคการเมืองของตัวเองไม่สำเร็จ แต่ท้ายที่สุดก็ได้จัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นมา โดยที่ตนเองเป็นหัวหน้า คือพรรคประชามติ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2535 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2533 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2536 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1 (ส.ช.)[5]
- พ.ศ. 2510 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[6]
- พ.ศ. 2530 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
- พ.ศ. 2529 –
เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ "บทอาเศียรวาท". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-11. สืบค้นเมื่อ 2007-11-02.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๕๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๗๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๑, ๒๓ สิงหาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๒๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๐, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๕๐ ง หน้า ๑๘๙๖, ๑๙ มีนาคม ๒๕๓๐
- สมาชิกเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 1
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2482
- บุคคลจากอำเภอแม่สะเรียง
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นักการเมืองจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคประชาราช
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี